ความเคลื่อนไหวนักเรียน นักศึกษา และคณะประชาชนปลดแอก

ทำไมน้องๆ เขาร้องเพลงแฮมทาโร่ – “แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย” และถาม-ตอบ นายก ฯ

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

26 ก.ค. 2563 ปรากฎการณ์กลุ่มนวชีวินเยาวชน นักศึกษา “แฟลชม็อบ” ต่อแถวร้อง เพลงแฮมทาโร่ แทะเมล็ดทานตะวัน วิ่งรอบอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย วิ่งกันนะแฮมทาโร่ คืออะไร? ทำไมต้องเพลงแฮมทาโร่ ทำไมแจกเมล็ดทานตะวัน? แฮมทาโร่คือใคร? ชอบกินอะไร? นอนที่ไหน?

แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น เรื่องราวเกี่ยวกับความน่ารักของเหล่า “แฮมสเตอร์” หลากหลายตัวละคร โดยมี “หนูแฮมทาโร่ ” เป็นตัวชูโรง ต่อมาได้สร้างเป็นการ์ตูนอนิเมะ ออกฉายในประเทศญี่ปุ่น และอีกกว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย

ดังนั้น เยาวชน นักศึกษารุ่นใหม่ ๆ น้อยคนที่จะไม่รู้จัก แฮมทาโร่ และในไทยก็มีเพลง แฮมทาโร่ เวอร์ชั่นเดิม ซึ่งเพลงแฮมทาโร่ ชอบแทะ เมล็ดทานตะวัน

ซึ่งคลิปที่สื่อเจ้าหนึ่งเคยลงใน youtube ก่อนหน้านี้ ในโรงแรียนแห่งหนึ่ง ร่วมร้องเพลง แฮมทาโร่ เวอร์ชั่นใหม่ และเพลงนี้ก็ถูกส่งต่อๆ กัน จนกลายเป็นแฮกแท็ก #วิ่งกันนะแฮมทาโร่ และนัดกินแม็คฟรี ณ ราชดำเนิน กันตามที่เป็นข่าวดังไปทั่วโลก

(เดิม) แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย เป็น หนูแฮมสเตอร์ แทะ เมล็ดทานตะวัน เป็นอาหารหลัก

แต่เนื้อเพลง”แฮมทาโร่” “ของอร่อยที่สุดก็คือ เมล็ดทานตะวัน ” แปลงร่างเป็น “ของอร่อยที่สุดก็คือ ภาษีประชาชน” และ (ยุบสภา) การเคลื่อนไหวแบบโลกโซเซียลนำพาครั้งนี้จึงไม่ธรรมดาและขำไม่ออกของใครหลายคน

แล้วปรากฎการณ์แฮมทาโร่เดิมมาได้ไงนะ

ในต่างประเทศ พบว่าเมื่อแฟนคลับที่มารอชมคอนเสิร์ตได้ยิน “เพลงแฮมทาโร่” จะเกาะไหล่กันแล้ววิ่งเป็นวงกลมอย่างสนุกสนาน ซึ่งวัฒนธรรม วิ่งแฮมทาโร่ ดังกล่าวก็ได้ส่งมาถึงประเทศไทย

เนื้อเพลง”แฮมทาโร่” เปลี่ยนตามยุคสมัย

เนื้อเพลง”แฮมทาโร่” “ของอร่อยที่สุดก็คือ เมล็ดทานตะวัน ” แปลงร่างเป็น “ของอร่อยที่สุดก็คือ ภาษีประชาชน”

เดิม แฮมทาโร่ จากเรื่อง แฮมทาโร่ แก๊งจิ๋วผจญภัย เป็น หนูแฮมสเตอร์ ในการ์ตูนสำหรับเด็กที่เน้นสื่อถึงความน่ารัก มิตรภาพและผองเพื่อน ทำให้เกิดภาพจำว่า แฮมสเตอร์เป็นตัวการ์ตูนแบบใสๆ แทะ เมล็ดทานตะวัน เป็นอาหารหลัก

ซึ่งการชุมนุมการวิ่งครั้งนี้ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามข้อเรียกร้อง คือ 1.ประกาศยุบสภา 2.หยุดคุกวคามประชาชน และ 3.แก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ 

เพลง”แฮมทาโร่” แบบฉบับเดิม

เพลง”แฮมทาโร่” ล่าสุด

ที่มา : https://www.brighttv.co.th/news/politics/hamtaro-mob-lyrics

จุดเริ่มนัดและใครท้าเลี้ยงแมคโดนัล

สำหรับกิจกรรมครั้งนี้ เริ่มจาก #วิ่งกันนะแฮมทาโร่ ในโซเซียล และการที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า

“ถ้ามีคนกด Like ข้อความนี้เกิน 10,000 คน ผมจะเลี้ยงแมคโดนัล” ในวันอาทิตย์นี้ ก่อนที่มีจะมีผู้ร่วมกดไลค์ได้ยอดตามจำนวนในวันถัดมา และให้เพื่อนในเฟซบุ๊กนำเสนอร้านแมคโดนัล ก่อนที่จะสรุปเป็นสาขาราชดำเนิน

และนายสมบัติโพสต์เฟซบุ๊ก ต่อมาว่า ไม่ได้แจ้งการชุมนุมในวันนี้ โดยให้เหตุผลว่า “เพราะผมแค่ไปกินแมคฯ ส่วนคนอื่นก็แค่ไปกินแมคฯ เหมือนผม”

ความคิดหนูวิ่งในกรงมาจากไหนนะ

เจ้าของแนวคิดการวิ่งครั้งนี้ และนำเพลงจากการ์ตูนญี่ปุ่นมาดัดแปลงเนื้อหาบางช่วง เช่น ก็คือ “จูดี้” วัยรุ่นหญิงผู้เปิดเผยตัวเพียงชื่อเล่น ใส่หน้ากากผ้าเวลารณรงค์ และไม่อยากให้รูปของเธอเป็นที่ปรากฏในวงกว้าง

“ทีแรกหนูคิดว่าเราจะวิ่งกันแค่รอบเดียว แต่พอจะจบรอบแรกเครื่องเสียงที่มีปัญหากลับใช้งานได้พร้อมกับมีคนตะโกนบอกว่า วิ่งต่อรอบที่สอง” จูดี้ กล่าวกับบีบีซีไทยในการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์พร้อมเสริมว่า ประหลาดใจที่มีผู้มาร่วมงานมากกว่าทีคาดไว้มาก

“เดิมที่คาดว่าจะมีผู้มาร่วมวิ่งกับทางแกนนำอย่างมากแค่ 100 คน แต่ผลปรากฏว่าในวันนั้นมากกว่า 1,000 คน”

จูดี้บอกว่า ผู้ที่เข้าร่วมส่วนใหญ่กลับเป็นนักเรียน-นักศึกษา ราว 60% เป็นหญิง ซึ่งยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมกิจกรรมที่เธอและทีมงานนวชีวิน จัดในวันนั้นถึงได้ดึงดูดกลุ่มผู้หญิงได้มากขนาดนั้น อาจจะเป็นความน่ารักของการ์ตูนตัวหลักที่ใช้เป็นธีมของงานอย่าง “แฮมทาโร่” หรือไม่ก็อาจจะเป็นจำนวนผู้ติดตามและใช้สื่อโซเชียลส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง

ทำไมต้องเป็น “แฮมทาโร่”

จูดี้ เล่าถึงที่มาของความคิดการใช้การ์ตูนเป็นตัวชูโรงในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ว่า การ์ตูนแฮมทาโร่ของญี่ปุ่นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตอนสมัยมัธยม เธอเรียนภาษาญี่ปุ่น ชอบเพลงรีมิกซ์ของแฮมทาโร่ และคิดว่าเพื่อน ๆ ทุกคนก็จะชอบเหมือนกัน

“แฮมทาโร่ ก็คือวัฒนธรรมประชานิยม หรือ ป๊อปคัลเจอร์ จากประเทศญี่ปุ่น สามารถเข้าถึงคนจำนวนมาก อยู่แล้ว เมื่อคุยกันกับทีมงานเลยได้ความคิดว่าให้ร้องเพลงแฮมทาโร่มาเป็นสื่อในการส่งสารที่ต้องการ อะไรที่เคยแมส (เข้าถึงคนจำนวนมาก) ในญี่ปุ่น มันต้องแมสได้อีก” เธอกล่าว

จูดี้ เคยไปร่วมชุมนุมพร้อมกับครอบครัวสมัย กปปส แต่เมื่อโตขึ้นได้อ่านหนังสือมากขึ้น จึงมีความคิดต่างจากครอบครัวกปปส.

ที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-53555953

ขอบคุณ : มติชนTV

ส่อง#แฟลชม็อบขยายเป็นวงกว้าง เหนือ อีสาน ตะวันออก จรด ใต้

แฟลชม็อบ กระจายออกไปในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ล่าสุด จังหวัดระยอง ซึ่งแฟลชม็อบกระจายเร็วกว่า Covid-19 ผ่านช่องทางโซเซียล และมีสื่อเป็นตัวช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังรายชื่อ # ด้านล่าง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
จุดเทียนไว้อาลัยประชาธิปไตย
.
กลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย
#ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป
#CUassemble

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
#KUไม่ใช่ขนมหวานราดกะทิ

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง
#ช้างเผือกจะไม่ทน

มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
#ศาลายางดกินของหวานหลากหลายสี

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
#กันเกราไม่เอากะลา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
#มศวขอมีจุดยืน
#รากฐานจะหารด้วย

มหาวิทยาลัยศิลปากร
#ศิลปากรขอมีซีน

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (รังสิต)
#ที่ยุบอนาคตใหม่พี่มหาลัยกูทั้งนั้น

มหาวิทยาลัยรามคำแหง
#ลูกพ่อขุนไม่รับใช้เผด็จการ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
#BUกูไม่ใช่สลิ่ม
.มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
#อยู่ข้างบ้านเสียงดังไม่ได้

มหาวิทยาลัยราชภัฏ
#ราชภัฏอยากงัดกับสลิ่ม

มหาวิทยาลัยขอนแก่น
#KKUขอโทษที่ช้าโดนสลิ่มลบโพสต์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
#ถึงมออยู่ใกล้หลายค่ายก็ไม่ได้ชอบเผด็จการ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
#พระจอมเกล้าชอบกินเหล้าไม่ชอบกินสลิ่ม

มหาวิทยาลัยนเรศวร
#มอนออยากออกจากกะลา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
#ราชมงคลจะไม่ทนอีกต่อไป

มหาวิทยาลัยพะเยา
#ฟ้ามุ่ยไม่คุยกับเผด็จการ

มหาวิทยาลัยบูรพา
#ทีมลูกระนาดอยากจะฟาดบ้างแม่

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุร
#ศาลาวีรชนจะไม่ใช่ที่หลบฝนอีกต่อไป
.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
#ถึงจะอยู่ไกลขอส่งใจที่ลานแปดเหลี่ยม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
#ฝุ่น6ล้านหรือจะสู้ท่าน9เสียง

ที่มา Facebook : THE STANDARD TEAM

วิ่งแฮมทาโร่ วิ่ง วิ่ง / แฟลชม็อบ ที่ไหน – ลำดับสถาณการณ์จนถึง “คณะประชาชนปลดแอก”

นับตั้งแต่ต้นปีมีการ วิ่งไล่ลุงและแฟลชม็อบ เกิดขึ้นในหลายๆ จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน นักศึกษาในมหาวิทยาลัย และ โรงเรียนมัธยมใหญ่ๆ ซึ่งมีอิสระทางความคิด แม้บางคนในบางกลุ่มจะถูกนำไปโยงกับแกนนำบางพรรค แต่จะมีหัวขบวนที่เชื่อมโยงทางการเมืองหรือไม่นั้น ไม่ขอสรุป คงต้องตามกันยาวๆ

19 กรกฎาคม นักศึกษาและประชาชนกว่าพันคน นัดชุมนุมแฟลชม็อบ #เชียงใหม่จะไม่ทนtoo ที่ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ หนุนข้อเรียกร้องกลุ่มเยาวชนปลดแอก ได้แก่ รัฐบาลประกาศยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน และร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

29 กรกฎาคม “เด็กนนท์พร้อมชนเผด็จการ” วิ่งแฮมทาโร่กลางสายฝน ที่บริเวณริมเขื่อนท่าน้ำนนท์ จังหวัดนนทบุรี ท่ามกลางสายฝน

เปิดเพลงแฮมทาโร่เวอร์ชันแปลงเพลง และเปิดพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจกิจกรรมกล่าวปราศรัย กิจกรรมโชว์จากเหล่าเยาวชน และมีการวิ่งแฮมทาโร่ 3 รอบ ก่อนที่จะชู 3 นิ้ว และปิดกิจกรรม ร่วมกันเก็บขยะ ดูแลความสะอาดของสถานที่

30 กรกฎาคม “‘สามพระจอมจะยอมได้ไง” เครือข่ายนักศึกษาฯ พระจอมเกล้าฯ 3 แห่ง เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, ธนบุรี และพระนครเหนือ ร่วมกับกลุ่มอาชีวะพิทักษ์ประชาชน และกลุ่มอาชีวะโค่นเผด็จการ

จัดกิจกรรมแฟลชม็อบออนทัวร์ ภายใต้คำขวัญ ‘สามพระจอมจะยอมได้ไง’ ที่ลานเฉลิมพระเกียรติ มจพ. (พระนครเหนือ) สานต่อเจตนารมณ์และข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มเยาวชนปลดแอก

นี้ละ “ไก่โอ๊ค” นักศึกษาบีบวิ่งแฮมทาโร่่

บริเวณเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมนวชีวิน ร่วมวิ่ง ‘Hamtaro Oak Oak Run’ เพื่อประณามการที่ตำรวจและครูในจ.นนทบุรีคุกคามนักเรียนที่ เข้าร่วมกิจกรรม “เด็กนนท์พร้อมชนเผด็จการ” เมื่อ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา และเป็นกิจกรรมปิดท้ายแฟลชม็อบของ ‘สามพระจอม’ ด้วยการถือของเล่นบีบไก่โอ๊ควิ่งล้อมวงไปพร้อมกับการร้อง เพลงแฮมทาโร่ และใช้รหัสเปล่งเสียงสอดรับกันว่า “อะหรือ อะหรือว่าเป็น…เผด็จการ” 

พร้อมนัดครั้งต่อไปเจอกันที่ “เจ้าคุณทหารลาดกระบัง”

30 กรกฎาคม กลุ่มรวมพลคนชัยภูมิ ไม่ก้มหัวให้เผด็จการ กว่า 400 คน รวมแฟลชม็อบ ที่ ด้านหลังศาลากลาง แทนจุดเดิม หลังจากนั้นได้รวมเดินไปชุมนุมที่ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล จ.ชัยภูมิ พร้อมกล่าวคำสักการะและแถลงข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล #ชัยภูมิสิบ่ทน #ลูกพ่อแลไม่แคร์เผด็จการ

31 กรกฎาคม “ฝั่งธนฯ จะไม่ทน” วิ่งแฮมทาโร่ รวมตัวแสดงออกทางการเมือง ส่งเสียงประชาธิปไตย ที่สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ ใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ร่วมกิจกรรมเขียนข้อความแสดงความเห็นทางการเมืองบนผ้าใบสีขาว

และกิจกรรมการ ล้างจาน เชิงสัญลักษณ์ หลังจากที่มีข้อความดังเปรียบเทียบถึงพฤติกรรมผู้ชุมนุมโพสต์ใน Facebook “ทุกคนล้วนอยากช่วยประเทศ แต่ไม่ใครอยากช่วยแม่ล้างจาน…”

จากนั้นเยาวชนนักศึกษา #ฝั่งธนฯ จะไม่ทน” ร่วม ‘วิ่งแฮมทาโร่’ เป็นวงกลม ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมง จึงยุติลง

1 ส.ค. คนอุบลรวมพลไล่เผด็จการ #คนอุบลรวมพลไล่เผด็จการ ณ ศาลหลักเมืองอุบลฯ

2 ส.ค. อีสาน

  • แฟลชม็อบ #เผด็จการเป็นเหตุ #ศรีสะเกษจะไม่ทน ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ แสดงพลังประชาธิปไตยคนรุ่นใหม่และคนที่รักในประชาธิปไตย ช่วงหนึ่งเยาวชนปราศรัยเรื่องความเหลื่อมล้ำ และรณงค์สมรสเท่าเทียม 
  • “สหภาพปลดแอกร้อยเอ็ด” แฟลชม็อบ ลานหน้าบึงพลาญชัย นักศึกษาโชว์ช่วยแม่ล้างจานก่อนไล่เผด็จการ วิ่งแฮมทาโร่ พร้อมบีบไก่โอ๊ค และอ่านแถลงการณ์ พร้อมปราศรัยโดยจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน”

กิจกรรมชุมนุมแฮร์รี พอตเตอร์

6 ส.ค. การชุมนุมแฮร์รี พอตเตอร์ เป็นการชุมนุมของ กลุ่มนักศึกษาผู้ร่วมจัดกิจกรรมเสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตยแต่งตัวในธีม “แฮร์รี พอตเตอร์”  ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พื้นที่สน.ชนะสงคราม โดยไม่ขออนุญาตจัดชุมนุม

นายอานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ขึ้นปราศรัยเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นครั้งแรก ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ประกาศของเรียกร้อง 3 ประการคือ

1. ให้ยกเลิก และแก้ไขกฎหมายที่มีผลเป็นการขยายพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่อาจกระทบกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
3. ต้องรับฟังเสียงของนิสิต นักศึกษา และประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย

6 ส.ค. ทวิตเตอร์ของกลุ่ม hwmovemvnt ได้ประกาศยกเลิกการจัดกิจกรรม #หอวังจะพังเผด็จการ ที่เดิมทีจะมีขึ้นวันที่ 7 ส.ค.นี้ ในเวลา 15.30 ของ ที่บริเวณหน้าอาคารวชิรุณหิศ(ตึก10) โดยให้เหตุผลว่าทางโรงเรียนหอวังขอให้เปลี่ยนรูปแบบการจัดงาน ทั้งยังเกรงว่ากิจกรรมดังกล่าวอาจไม่ปลอดภัย และเป็นการคุกคามต่อนักเรียน ที่เข้าร่วมการชุมนุมค่ะ”

นายก ฯ เยี่ยมสื่อออนไลน์ ถาม-ตอบ ข้อเรียกร้องของนักศึกษา

เมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางไปเยี่ยมสื่อออนไลน์ เหมือนเป็นเชิงจะสื่อให้น้องเยาวชนนักศึกษากับข้อเรียกร้องที่เกิด รวมถึงการปรับคณะรัฐมนตรี การแก้เศรษฐกิจ บริหารบ้านเมือง และอีกหลากหลายประเด็น รวมถึงสภาพชีวิตปัจจุบัน เพื่อให้ได้คำตอบต่อสาธารณชน

เนื้อหาเต็ม : https://thestandard.co/prayut-chan-o-cha-interview/

เกิด “คณะประชาชนปลดแอก”

7 ส.ค. แถลงเปิด “คณะประชาชนปลดแอก” – Free People โดยระบุว่า จะไม่ใช่เยาวชนอีกต่อไป แต่นี่คือ “ประชาชน” ประกอบด้วย Free YOUTH และ กลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) นำโดย นายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เลขาธิการกลุ่มเยาวชนปลดแอก ,น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธาน สนท. ยื่นยัน 3 ข้อเรียกร้องรัฐบาล และ เรียนเชิญพล.อ.ประยุทธ์ ขึ้นเวที 16 สิงหาคม 2563 เวลา 15.00 น. ยุติประมาณ 21.00 น. ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

คณะประชาชนปลดแอก

Preview(opens in a new tab)

ยื่นยันเคารพความเห็นทุกคน แต่จะไม่เข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น หรือร่วมกรรมาธิการใดๆ กับรัฐบาล และทุกองค์กร เยาวชน นักศึกษา ยังคงอยู่ยืนหยัดและร่วมยืนยันข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ
1. ยุบสภา
2. หยุดคุกคามประชาชน
3. ร่างรัธรรมนูญ

และหลักการ 2 ข้อ ที่ไม่เอา คือ การรัฐประหาร และรัฐบาลแห่งชาติ

“เรามีการขีดเส้นสเตปแรก เพราะกลัวว่าจะมีการยุบสภาโดยที่ไม่ได้ทำอะไรกับรัฐธรรมนูญเลย ดังนั้นกรอบแรก เราจะขีดเส้นใต้ให้กับรัฐบาลและรัฐสภา ว่า ภายในสมัยประชุมนี้ที่จะสิ้นสุดลงปลายเดือน ก.ย. ก่อนปิดสมัยประชุมนี้จะต้องไม่มี 250 ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. และรัฐธรรมนูญอีก

พวกเราคือประชาชน และคนที่คิดว่าประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวจะต้องมีพรรคการเมือง นายทุนใหญ่ มีบุคคลสำคัญอยู่เบื้องหลัง เขาเป็นคนที่ดูถูกความคิดประชาชนเป็นอย่างมาก คณะประชาชนปลดแอก ไม่ได้ถูกพรรคการเมือง ส.ส. หรือ สภาฯ ชักใย แต่พวกเราต่างห่างที่จะชักใยพรรคการเมือง ชักใยรัฐสภา”

และ ไม่ปิดกั้นประเด็นที่ ทนายอานนท์พูด หรือจะขึ้นเวทีการชุมนุม ล่าสุด นายอานนท์ ถูก สน.สำราญราษฎร์ จับข้อหายุยงปลุกปั่น

ความคิดเห็นและทัศนะคติของทนายอานนท์ คลิก เป็นผลให้เกิดการจับกุม

แถลงเปิด “คณะประชาชนปลดแอก”
ภาพนี้คงสื่ออะไรได้บ้าง

7 ส.ค.63 เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขออำนาจศาลออกหมายจับ โดยแจ้ง 7 ข้อหา แกนนำและผู้ปราศรัย กลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ที่ เข้าร่วมชุมนุมในวันที่ 18 ก.ค ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ล่าสุด ศาลอาญา ไม่รับรับคำร้อง และคืนคำร้อง การฝากขังนายอานนท์ และ นายภาณุพงศ์เนื่องจากพนักงานสอบสวนยืนคำร้องต่อศาลเกินกำหนดระยะเวลาฝากขัง

วันนี้ 8 ส.ค. 08.30 น. ตำรวจจะนำทั้ง 2 ไปศาลอาญาอีกครั้ง

ล่าสุด ศาลอาญา ให้ประกันตัวปล่อยตัวชั่วคราว “ห้ามกระทำการใด ๆ ลักษณะเดียวกันกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา”

เปรียบเทียบการทำงานคดีบอสและบ่อน 4 ศพ

#ธรรมศาสตร์จะไม่ทน นำภาพผู้ต้องหาคดีหมิ่น ฯ ฉายบนเวที

10 ส.ค. 2563 กลุ่มนักศึกษาธรรมศาสตร์ #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน จัดให้มีการชุมนุมปราศรัย ณ ลานพญานาค ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต อ.คลองหลวง ปทุมธานี โดยมีประเด็นเรียกร้อง 3 ข้อหลักเดิม แต่ประเด็นที่ร้อน รุนแรง คือ

อานนท์ นำภา ทนายความสิทธิมนุษยชน ขึ้นปราศรัย

เวที “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เปิดคลิป ดร.ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธ์ นักวิชาการผู้ลี้ภัยทางการเมือง

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ตัวแทนแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม อ่านแถลงการณ์ “ประกาศกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1” ข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ ดังนี้
1. ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ แล้วเพิ่มบทบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้ เช่นเดียวกับที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับคณะราษฎร
2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน
3. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 และให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน
4. ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
5. ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรี ให้ยกเลิก6. ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
7. ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
8. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด
9. สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
10. ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีกแถลงการณ์ระบุด้วยว่า ข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่ใช่ข้อเรียกร้องเพื่อล้มล้างสถาบันกษัตริย์ แต่เป็นข้อเสนอโดยความปรารถนาดีเพื่อให้สถาบันกษัตริย์ได้อยู่เป็นมิ่งขวัญแก่ประชาราษฎร์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยต่อไป

และนัดหมายกิจกรรมต่อไปในวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ที่สวนลุมพินี ก่อนยุติกิจกรรม

ซึ่งล่าสุดช่วงค่ำวันนี้ เฟซบุ๊ก “ธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ได้ประกาศยกเลิกนัดหมายการชุมนุมในวันที่ 12 ส.ค. ที่สวนลุมพินีตามที่ประกาศไว้โดยให้เหตุผลว่า “เนื่องจากมีรายงานว่าอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาก่อความไม่สงบ” แต่ยังเชิญชวนให้ประชาชนติดตามกิจกรรม เพราะพวกเขามี “เซอร์ไพรส์”

ประเด็นที่มีการให้ความเห็นอย่างกว้างขวาง ของการชุมนุมครั้งนี้ นอกจากแถลงการณ์ 10 ข้างต้น คือ

มีการฉายภาพโปรเจคเตอร์ขนาดยักษ์บนเวที  เป็นรูป นายสมศักดิ์  เจียมธีรสกุล และนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ 2 ผู้ต้องหาหนีคดีตามความผิด มาตรา 112 และลี้ภัยต่างประเทศ พร้อมข้อความและตราสัญลักษณ์ ซึ่งอาจส่อไปในทางหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นายก ฯ ประยุทธ์ การชุมนุมเป็นสิทธิ แต่การชุมนุมที่เกินเลยมาก ๆ เหมาะสมหรือไม่

สิ่งที่ไม่ควรบังคับกันคือ การทำความดีเพื่อชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ในหัวใจคนไทยทุกคน…ไปบังคับใครไม่ได้เพราะเป็นส่วนที่มาจากใจของทุกคน ทุกอย่างต้องทำจากหัวใจ ทำความดีด้วยหัวใจ ไม่ต้องให้ใครบังคับเราคือคนไทย เราเป็นคนไทยอยู่ในพื้นแผ่นดินไทยที่เรารักหวงแหน มีบรรพบุรุษ มีสถาบันที่สร้างให้พวกเรา ดังนั้น เราจะต้องสืบสานต่อไปในอนาคต” นายกฯ กล่าว

“การทำแบบนั้นเหมาะสมหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไรกฎหมายอยู่ตรงไหน แล้วอย่าบอกว่าเอากฎหมายไปกดทับ มันไม่ใช่ เพราะถ้าละเมิดทุกคนก็ต้องถูกลงโทษ ไม่เช่นนั้นทุกคนก็เสียหาย เจ้าหน้าที่ก็เสียหายไม่ทำงานก็ถูกฟ้องร้องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แล้วมันจะอยู่กันอย่างไร เพราะฉะนั้นสถาบันต่าง ๆ ต้องช่วยกันดูแลรับผิดชอบกันบ้าง”

นายกฯ กล่าวและบอกว่านักศึกษาจะชุมนุมที่ไหนอีกก็ตาม “ถ้าผิดกฎหมายก็คือผิดกฎหมาย”

ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์

“ตัวผมนั้นเชื่อและศรัทธาในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าก้าวล่วงสถาบันก็ต้องถือว่าเราอยู่คนละข้างกัน ขอเรียกร้องให้การชุมนุมอยู่ในกรอบของกฎหมาย และขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรักษากฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด” 

สุดารัตน์  เกยุราพันธุ์ ติง ไม่ควรก้าวล่วงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

คุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ย้ำว่า ไม่ควรก้าวล่วงไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่จะนำมาซึ่งความขัดแย้ง แตกแยกของคนในชาติ จนอาจเป็นเหตุของการรัฐประหารยึดอำนาจอีกครั้ง ส่วนข้อเสนอทางออกเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวว่า ตนขอย้ำอีกครั้งว่า หากจะมีรัฐบาลแห่งชาติจริง เพื่อไทยขออาสาเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบรัฐบาลแห่งชาติให้

มธ.ออกแถลงการณ์ “ขอโทษ”แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 3 ข้อ

11 ส.ค. 2563 มธ.ออกแถลงการณ์ “ขอโทษ” กรณีเหตุการณ์ชุมนุม 10 สิงหาคม 2563 พร้อมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม 3 ข้อ

15 ส.ค. “เพนกวิน” ได้ประกันตัว ศาลตั้งเงื่อนไข ไม่ทำความผิดเดิมซ้ำ ขณะที่เจ้าตัวประกาศ ยืนยันไปร่วมชุมนุมใหญ่ 16 ส.ค.นี้ แน่นอน

ศาลอาญาอนุญาตให้ประกันตัว นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้ตำแหน่งของ ผศ.อดิศร จันทรสุข อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นนายประกัน โดยมีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกัน มีโทษปรับ 100,000 บาท

รายชื่อ 31 แกนนำที่อยู่รายชื่อจับตาของสันติบาลและนครบาล จาก iLawFX

กลุ่มคณะประชาชนปลดแอก ยื่นหนังสือขอชุมนุม 16 สิงหาคม #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ

วันที่ 16 ส.ค. นี้ กลุ่มคณะประชาชนปลดแอก หรือ Free People ที่นำโดย

  1. นายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี นิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อดีตรองประธานสภานิสิตจุฬาฯ แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก
  2. น.ส.ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ เป็นนิสิต คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และนายสิรภพ อัตโตหิ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ แกนนำกลุ่มเสรีเทยพลัส
  3. น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ธรรมศาสตร์ (มธ.) ประธานสหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนท.
  4. นายณัฐชนน ไพโรจน์ คณะรัฐศาสตร์ มธ. หัวหน้าพรรคโดมปฏิวัติ
  5. นายกานต์นิธิ ลิ้มเจริญ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แกนนำกลุ่มประชาลาด
  6. นายภานุมาศ สิงห์พรหม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ฯลฯ

    ได้ประกาศจัดชุมนุมใหญ่ ที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 16 ส.ค. 15.00 น. ใช้ชื่อว่า #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ #โบกพัดซัดเผด็จการ

ไปดูว่า # ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ เตรียมตัวหากเผชิญเหตุขนาดไหน จากภาพ INFO

การเตรียมตัวหากเกิดความรุนแรง ที่มา # ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ
แม้กระทั่งการเตรียมตัวไปม็อบ มี INFO ให้ครบ

16 ส.ค. 63 การชุมนุมใหญ่ไล่รัฐบาล ปราศรัยตอกย้ำ 3 ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล คือ หยุดคุกคามประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และยุบสภา ภายใต้จุดยืน 2 ข้อ โดย

16 ส.ค. 63 ทนายอานนท์ นำภา นักกิจกรรมทางการเมือง ขึ้นเวทีปราศรัยในการชุมนุมของคณะประชาชนปลดแอก บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยเป็นการปราศรัยในชุดบุคคลกลุ่มสุดท้ายของการชุมนุมของวันนี้

31 แกนนำ

ทนายอานนท์ กล่าวขอบคุณผู้ชุมนุมและผู้ที่ออกมาปกป้องแกนนำและผู้ปราศรัย พร้อมเรียกร้องแก้รัฐธรรมนูญ และเลือกสมาชิกร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากประชาชนทุกสาขาอาชีพ ภูมิภาค และพวกเราจะอยู่ข้างพรรคการเมืองที่อยู่ข้างประชาชนอย่างแท้จริง

“ถ้ามีใครเป็นอะไร อย่าหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพวก จะมีที่ยืนในประเทศนี้”

รวมถึงเรียกร้องการปฏิรูปสถาบัน และเราต้องช่วยกันปกป้องพวกเขาเหล่าเยาวชน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ที่ออกมาต่อสู้ พร้อมย้ำว่า เราจะสู้ไปด้วยกันและให้มันจบที่รุ่นเรา จะไม่ยอมแพ้หากภารกิจยังไม่สิ้นสุด

ซึ่งการการประกาศจุดยืนข้อเรียกร้อง คือ ต้องไม่มี 250 ส.ว. ต่อต้านรัฐประหาร และเน้นย้ำ 3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน รวมถึงทิ้งท้ายว่าถ้าการเมืองดี ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

และหากในเดือน ก.ย. รัฐบาลยังไม่มีการตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง จะยกระดับการชุมนุมต่อไปในสถานที่แห่งนี้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

จากนั้นแกนนำทั้ง 31 ราย ที่ขึ้นเวทีในวันที่ 18 ก.ค. 2563 ขึ้นมาแสดงตัวบนเวที พร้อมให้ประชาชนร่วมเปิดไฟแฟลช ประกาศลั่นไปพร้อมผู้ชุมนุม “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ” และร่วมกันร้องเพลงเพื่อปิดการชุมนุมในวันนี้ ประกาศยุติการชุมนุมไปในเวลาประมาณ 22.45 น.

ตำรวจปทุมรวบ 6 แกนนำ ธรรมศาสตร์จะไม่ทน

19 ส.ค. ตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี แถลงข่าวจับ 6 แกนนำกิจกรรมธรรมศาสตร์จะไม่ทน โดยมี

1. นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล 2. นายภาณุพงศ์ จาดนอก 3. นายอานนท์ นำภา 4. นายณัฐชนน ไพโรจน์ 5. นายธนวัฒน์ จันผลึก (พิธีกร) 6. นายสิทธิ์นนท์ ทรงศิริ (พิธีกร)

19 ส.ค.63 เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ชนะสงคราม ได้แสดงตัวพร้อมอ่านหมายจับกุมนายอานนท์ นำภา ที่หน้าศาลอาญา ในข้อหายุยงปลุกปั่นตาม ป.อาญา ม.116, ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตฯ, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ม.14(3) และข้อหาอื่น จากกรณีชุมนุมวันที่ 3 ส.ค. 2563 กิจกรรมเสกคาถาผู้พิทักษ์ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ท้องที่ สน.ชนะสงคราม และตำรวจได้ควบคุมตัวไป สน.ชนะสงครามต่อไป

และในวันเดียวได้มีการจับกุมแกนนำที่ร่วมชุมนุมอีก 8 คน ในต่างพื้นที่ต่างสน.และได้นำแก่นนำมาขอฝากขังต่อศาลอาญาพร้อมกัน

ซึ่งในช่วงดึกของวันที่ 19 ส.ค. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เดินทางไปที่ สน.สำราญราษฎร์

ศาลให้ประกันตัว 9 ผู้ต้องหา

ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประันตัวตามยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้ผู้ต้องหาทั้งหมด โดยมีผู้เป็นนายประกันผู้ต้องหา ดังนี้

สำหรับรายชื่อนายประกันแกนนำขึ้นเวทีกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่ขณะนี้ศาลกำลังพิจารณาว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ มีดังนี้

  1. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  2. รศ.ดร.สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. อ.เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. อ.ดร.เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ว่าที่เรือตรีธนวรรธน์ สุวรรณปาล ข้าราชการครู 
  6. สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา ส.ส.นครปฐม พรรคก้าวไกล
  7. อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
  8. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล
  9. การุณ โหสกุล ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย

ศาลพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าวแล้ว มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมด ระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกันในวงเงินคนละ 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก มิฉะนั้นถือว่าผิดสัญญาประกัน ศาลได้แจ้งคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าวและปล่อยตัวผู้ต้องหาแล้ว

9 คนที่ถูกจับกุม ในต่างพื้นที่กัน แกนนำทั้ง 9 คนที่ถูกออกหมายจับในคดีชุมนุมกับเยาวชนปลดแอกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. และชุมนุม #เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ประกอบด้วย

1. นายอานนท์ นำภา แกนนำคณะประชาชนปลดแอก

2. นายบารมี ชัยรัตน์ แกนนำสมัชชาคนจน

3. น.ส.สุวรรณา ตาลเหล็ก แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาฯประชาธิปไตย

4. นายกรกช แสงเย็นพันธ์ แกนนำกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย

5. นายเดชาธร บำรุงเมือง หรือ ฮอคกี้ แรปเปอร์เพลงประเทศกูมี

6. นายณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์

7. นายธานี สะสม

8. นายทศพร สินสมบุญ

9. นายธนายุทธ ณ อยุธยา

7 ข้อหาในการจับกุม 9 คน ไม่มี ม.112

1. ร่วมกันกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนฯ (ป.อาญา มาตรา 116)

2. ร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองฯ

3. ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมจํานวนมากในลักษณะมั่วสุม หรือในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคฯ

4. ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรฯ

5. ร่วมกันวาง ตั้ง ยื่นหรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกระทําด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรฯ

6. ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนนฯ

7. ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ

ไผ่ ดาวดิน เผาหมายเรียก สภ.ขอนแก่นขอนแก่น

เวลา 21.30 น.หลังกิจกรรมของแนวร่วมประชาชนอีสานเพื่อประชาธิปไตย ณ อนุสาวรีย์ จ.ขอนแก่น จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการเผาหมายเรียกให้ไปรายงานตัวของ สภ.เมืองขอนแก่นในวันที่ 28 สิงหาคม 2563 จากกรณีการทำกิจกรรมทางการเมือง

พร้อมทั้งประกาศเชิญชวนให้ประชาชนร่วมปักหลักชุมนุมแบบค้างคืนที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ แยกคอกวัว ที่กรุงเทพฯ วันที่ 27 สิงหาคมนี้

24 ส.ค. นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่​ จัดกิจกรรม​มช.งัดข้อเผด็จการ​ คนล้นออกมานอกหอประชุมที่จัดงาน

24 ส.ค. หลังตำรวจควบคุมตัว ไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก จากจังหวัดระยอง ในหมายจับ ขึ้นปราศรัยเวที #ธรรมศาสตร์และการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 ส.ค. มายังสภ.คลองหลวง

เสื้อสวยมาก

21.45 น.เกิดเหตุวุ่นวายที่บริเวณหน้าสภ.คลองหลวง หลังประชาชน และนักศึกษาดันแผงกั้นเหล็กเข้าไปที่หน้า สภ.เพื่อขอเปลี่ยนตัวแทน ‘เพนกวิน-รุ้ง’ ไปอยู่กับ ‘ไมค์ระยอง’

25 ส.ค. ศาลจังหวัดธัญบุรีอนุญาตปล่อยตัว “ทนายอานนท์” และ “ไมค์ ระยอง” แบบไม่มีเงื่อนไข

หลังจากศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งสองผู้ขอประกันได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวให้ผู้ต้องหาทั้งสองศาลพิจารณาคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าวแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยทำสัญญาประกันโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์หากผิดสัญญาปรับในวงเงิน 100,000 บาท

จับฟอร์ด เจมส์ แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก

26 ส.ค. ที่ สน.สำราญราษฎร์ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมตัว นายทัตเทพ หรือฟอร์ด เรืองประไพกิจเสรี เลขาธิการกลุ่มเยาวชนปลดแอก (เพิ่งเรียนจบจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ) ผู้ต้องหาลำดับที่ 6 พร้อมกับ นายภานุมาศ สิงห์พรม หรือเจมส์ เจมส์-ภานุมาศ (กำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ) ผู้ต้องหาลำดับที่ 30 ตามหมายจับศาลอาญา ในความผิดตามมาตรา 116 และข้อหาอื่นๆ รวม 7 ข้อหา มาสอบสวนพร้อมทำบันทึกจับกุมกรณีขึ้นปราศรัยบนเวทีชุมนุมเมื่อวันที่ 18 ก.ค.ที่ผ่านมา

พนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ได้ควบคุมตัวนายทัตเทพ หรือ ฟอร์ด และนายภานุมาศ หรือ เจมส์ ไปฝากขังที่ศาลอาญาตามขั้นตอน โดยคัดค้านการประกันตัวในชั้นสอบสวน

ช่วงเย็นที่ผ่านมา ศาลอาญาอนุญาตปล่อยชั่วคราว “ฟอร์ด-เจมส์” 2 แกนนำเยาวชนปลดแอก หลังถูกแจ้ง 7 ข้อหา ร่วมชุมนุมเมื่อ 18 ก.ค.63 ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยศาลพิจารณาเงื่อนไข ห้ามกระทำผิดในลักษณะที่ถูกกล่าวหาอีก หากผิดสัญญาประกัน ศาลจะปรับเป็นจำนวนเงิน 1 แสนบาท

จนถึงขณะนี้ ผู้ที่ถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ดังนี้

  • 18 ก.ค การชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • 20 ก.ค การชุมนุมและปราศรัยที่กองทัพบก เพื่อตอบโต้ พ.อ.หญิง นุสรา วรภัทราทร อดีตโฆษกกองทัพบกว่าการชุมนุมเยาวชนปลดแอกเป็น “ม็อบมุ้งมิ้ง”
  • 3 ส.ค. การชุมนุม “แฮร์รี พอตเตอร์” ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย.
  • 10 ส.ค. การชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ที่ มธ. ศูนย์รังสิต
  • 16 ส.ค. การชุมนุมของกลุ่มประชาชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย.

ไผ่ดาวดิน ไผ่ ดาวดิน พร้อม 15 ผู้ชุมนุม รายงานตัวตามหมายเรียก

28 ส.ค. ที่ สน.สำราญราษฎร์ นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน พร้อมพวกรวม 15 คน เดินทางเข้ารายงานตัว ตามหมายเรียก สน.สำราญราษฎร์ โดยนัดเดินเท้าเข้ารายงานตัว ซึ่งมีการสาดสีใส่ตำรวจและกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่าแนวกั้นยกแผงเหล็กของเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าไปใน สน.สำราญราษฎร์

ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ภายหลังเข้าแสดงตัวรับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด พ.ร.บ.จราจร และ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ กรณีการชุมนุมร่วมกับกลุ่มเยาวชนปลดแอก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 

ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมส่วนมากจะขอไปให้การในชั้นศาล โดยตำรวจจะเร่งดำเนินการตามกฎหมายให้เร็วที่สุด และจะนัดส่งสำนวนให้อัยการ วันที่ 16 ก.ย. นี้

รายชื่อผู้ที่ถูกหมายเรียกทั้ง 15 ราย ในวันนี้ ประกอบด้วย

1. นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน
2. นายณวรรษ เลี้ยงวัฒนาแอม
3. นายกานต์นิธิ ลิ้มเจริญ
4. น.ส.ลัลนา สุริโย
5. น.ส.จิรฐิตา ธรรมรักษ์
6. นายณัฐพงษ์ ภูแก้ว
7. น.ส.สิรินทร์ มุ่งเจริญ หรือ เฟลอ
8. นายธนชัย เอื้อชา
9. น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
10. นายยามารุดดิน ทรงศิริ หรือ ดิน
11. นายชลธิศ โชติสวัสดิ์ หรือ เอฟ
12. นายปรัชญา สุรกําจรโรจน์ หรือ อาร์ท ตัวแทนกลุ่ม Rap Against Dictatorship
13. นายทักษกร มุสิกรักษ์
14. นายกฤษณะ ไก่แก้ว
15. นายจักรธร ดาวแย้ม

กรณีสาดสีใส่ตำรวจ ของ นายชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ หรือ “แอมมี่ เดอะบอททอมบลูส์” เป็นการกระทำของคนเดียว

จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ราดสีขาวใส่ตัวเอง หลังได้รับการประกันตัว

“สีซักออก แต่ความอยุติธรรมซักไม่ออก”

น.ส.จุฑาทิพย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ถูกจับกุมเมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ขณะกำลังเดินทางโดนรถยนต์รับจ้างไปมหาวิทยาลัย โดยตำรวจจากกองกำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ แสดงตนเข้าหยุดรถและแสดงหมายจับ

หนึ่งในข้อหาคือ ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน

หลังจากบันทึกการจับกุมเสร็จสิ้น ตำรวจได้นำตัว น.ส.จุฑาทิพย์จาก สน.สำราญราษฎร์ ไปยังศาลอาญาเพื่อขออำนาจฝากขัง

ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขัง และ น.ส.จุฑาทิพย์ได้ขอประกันตัว โดยมี อ.อรอนงค์ ทิพย์วิมล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ เป็นผู้ประกัน ซึ่งศาลได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกันในวงเงิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้อีก มิฉะนั้นถือว่าผิดสัญญาประกัน

“ม็อบแฮร์รี พอตเตอร์” รายงานตัวสน.ชนะสงคราม

1 ก.ย. เวลา 13.50 น. วันเดียวกันนี้ นักศึกษาและประชาชนซึ่งเป็นผู้จัดและร่วมกิจกรรมเสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย หรือ “ม็อบแฮร์รี พอตเตอร์” เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เดินทางเข้ารายงานตัวตามหมายเรียกที่ สน.ชนะสงคราม

ทั้งหมดใส่เสื้อคลุมสีดำเลียนแบบตัวละคร “แฮร์รี พอตเตอร์” มาพบตำรวจ ประกอบด้วย

  • น.ส. ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร
  • น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว
  • นักศึกษากลุ่ม “มอกะเสด” จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • นักศึกษา กลุ่ม “มหานครเพื่อประชาธิปไตย” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

3 ก.ย. อานนท์ นำภา-ภาณุพงศ์ จาดนอก ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ หลังศาลมีคำสั่งถอนประกัน

ศาลอาญาระบุในข่าวแจกว่าพยานหลักฐาน “ชี้ให้เห็นถึงการกระทำว่าเป็นการผิดเงื่อนไขตามสัญญาประกัน และเพื่อเป็นการป้องกันผู้ต้องหาจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น กรณีมีเหตุสมควร จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา และรับตัวไว้หมายขัง”

ศูนย์ทนายฯ รายงานว่าศาลไม่ตัดสิทธิการยื่นขอประกันตัวใหม่ แต่นายอานนท์แถลงว่าไม่ขอยื่นประกัน และได้โพสต์ข้อเขียนยืนยันการต่อสู้ 2 ข้อความระบุว่า 

“ยินดีที่ได้ต่อสู้กับทุกคน เราเดินมาไกล จงเดินต่ออย่างกล้าหาญ หน้าที่นอกคุกผมจบแล้ว ขอเดิมพันทั้งหมดเพื่อการเปลี่ยนแปลง 19 กันยายนนี้ ช่วยยืนยันทีว่าเรามาถูกทางเชื่อมั่นในทุก ๆ คน 3 ก.ย. 63 ณ ศาลอาญา” และ 

“ให้การขังผมในวันนี้เป็นใบเสร็จของการคุกคสมประชาชน 19 ก.ย. 63 ไปเอาคืน เชื่อมั่นและศรัทธา”

ส่วนในกรณีของนายภาณุพงศ์ ศูนย์ทนายฯ รายงานว่าผู้พิพากษาเห็นว่า จากการที่นายภาณุพงศ์ยอมรับว่าขึ้นพูดที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตนั้น ศาลเห็นว่าเป็นการทำผิดเงื่อนไขประกัน แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงอายุ อาชีพ และพฤติการณ์ที่ถูกกล่าวหาให้เพิกถอนการปล่อยชั่วคราว เห็นว่ายังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวนหรือการดำเนินคดี ศาลจึงเห็นควรให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาสักครั้งหนึ่ง แต่มีเงื่อนไขว่าให้เพิ่มวงเงินประกันจาก 100,000 บาท เป็น 200,000 บาท และให้ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อศาลใน 15 วัน หากไม่ดำเนินตามคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว 

หลังจากนั้นนายภาณุพงศ์ปฏิเสธที่จะยื่นขอประกันตัวใหม่ตามเงื่อนไขที่ศาลให้เพิ่มเงินประกัน ศาลจึงมีคำสั่งเพิกถอนประกันตัวนายภาณุพงศ์ด้วย 

หลังจากศาลมีคำสั่งถอนประกัน นายภาณุพงศ์ได้เขียนข้อความในกระดาษระบุว่า

“ขบวนการประชาธิปไตยเริ่มออกเดินทาง เมื่อทุกคนรู้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันคือการหลงระเริงด้วยอำนาจของเหล่าชนชั้นผู้นำ การออกเดินทางในครั้งนี้ พวกเรามีอุดมการณ์แห่งความเป็นประชาธิปไตย มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการเดินหน้าสู้ต่อความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำ รวมถึงระบบศักดินาที่กัดกร่อนกินระบอบประชาธิปไตยของเราเรื่อยมา”หากขบวนการในการเดินทางครั้งนี้จะต้องขาดใครสักคน ขอทุกคนจงเชื่อมั่นในจุดมุ่งหมายที่เราร่วมทางกันมา อย่าหยุดรอใครให้เวลามันเดินไปอย่างเสียเปล่า แต่ขอจงสู้ต่อไปเพื่อนำชัยชนะมาสู่ขบวนการของพวกเรา การเสียสละอิสรภาพของใครคนใดคนหนึ่งเป็นเพียงการต่อสู้ที่ต้องพบเจอของนักสู้ ผมเชื่อมั่นในตัวทุกคนว่าถ้าผมไม่ได้รับอิสรภาพ ทุกคนจะเดินต่อไปได้ และจะพบชัยชนะตามที่เราต่อสู้มา (ลงชื่อ) ไมค์ ภาณุพงศ์”

3 ก.ย. กิจกรรมรวมพลคนไม่ทน หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

น้องอั๋ว จุฑา​ทิพย์​ แสดงออกเชิง​สัญลักษณ์​ ใช้ดินสอพอง​ผสมน้ำ สาดใส่ป้ายเรือนจำพิเศษ​กรุงเทพ​

4 ก.ย. นักศึกษาจัดกิจกรรม “ล้างบาปตำรวจไทย” หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ข้อมูลผู้ถูกจับกุมในกรุงเทพ ได้แก่ : ที่มา bbc

นายพริษฐ์ ชิวารักษ์

กลุ่ม: แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม / สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) / นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์

การดำเนินคดี:

  • ตำรวจแสดงหมายจับเมื่อ 14 ส.ค. จากการชุมนุมวันที่ 18 ก.ค. ถูกควบคุมตัวจากย่านเมืองทองธานี จ.นนทบุรี ไป สน.สำราญราษฎร์ ตำรวจนำตัวส่งศาลขออำนาจฝากขังและศาลอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อ 15 ส.ค.
  • สน. นางเลิ้งออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา 6 ข้อหา เช่น ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. โรคติดต่อ, พ.ร.บ. สะอาด จากการชุมนุมที่หน้ากองทัพบกเมื่อ 20 ก.ค. เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อ 25 ส.ค. และปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

นายภาณุพงศ์ จาดนอก

กลุ่ม: เยาวชนตะวันออกเพื่อประชาธิปไตย

การดำเนินคดี:

  • ตำรวจแสดงหมายจับเมื่อ 7 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. และถูกควบคุมตัวจากหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ไป สน.สำราญราษฎร์ ตำรวจนำตัวส่งศาลขออำนาจฝากขังและศาลอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อ 8 ส.ค.
  • วันที่ 24 ส.ค. ตำรวจเข้าแสดงหมายจับและจับกุมนายภาณุพงศ์ขณะยืนถือป้ายประท้วงโครงการถมทะเล ก่อนที่นายกฯ และคณะรัฐมนตรีจะเดินทางมาถึงตลาด 100 เสา ใน อ.เมือง จ.ระยอง หมายจับนี้ออกโดยศาลจังหวัดธัญบุรี คาดว่าเกี่ยวข้องกับการขึ้นเวทีปราศรัยที่การชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ที่ มธ. ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค. จากนั้นได้ถูกนำตัวมาสอบสวนที่ สภ.คลองหลวง วันที่ 25 ส.ค. ตำรวจนำตัวไปขออำนาจศาลจังหวัดฝากขังและศาลอนุมัติให้ประกันตัวในวันเดียวกัน

นายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี

กลุ่ม: เลขาธิการกลุ่มเยาวชนปลดแอก / สมาชิกกลุ่มประชาชนปลดแอก / บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การดำเนินคดี: ตำรวจ สน. สำราญราษฎร์แสดงหมายจับและจับกุมนายทัตเทพ ระบุกระทำความผิดหลายข้อหาจากการเป็นผู้จัดการชุมนุมกลุ่มเยาวชนปลดแอกเมื่อวันที่ 18 ก.ค. โดยทัตเทพ เป็นผู้ต้องหารายที่ 11 ที่ถูกออกหมายจับจากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก

นายอานนท์ นำภา

กลุ่ม: ทนายความสิทธิมนุษยชน

การดำเนินคดี:

  • ตำรวจแสดงหมายจับเมื่อ 7 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. และถูกควบคุมตัวจากที่พักย่านเสนานิคม ไป สน.สำราญราษฎร์ จากนั้นถูกนำตัวไปสอบสวนที่ สน.บางเขน และนำไปคุมขังที่ สน.ห้วยขวาง จนถึงวันรุ่งขึ้น ตำรวจนำตัวส่งศาลขออำนาจฝากขังและศาลอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อ 8 ส.ค.
  • สน. นางเลิ้งออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา 6 ข้อหา เช่น ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. โรคติดต่อ, พ.ร.บ. สะอาด จากการชุมนุมที่หน้ากองทัพบกเมื่อ 20 ก.ค. เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อ 25 ส.ค. และปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
  • ตำรวจแสดงหมายจับในคดีที่ 2 เมื่อ 19 ส.ค. จากการขึ้นปราศรัยเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่การชุมนุม “แฮร์รี พอตเตอร์” ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อ 3 ส.ค. วันที่ 20 ส.ค. ตำรวจนำส่งศาลขออำนาจฝากขังระหว่างการสอบสวน และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้
  • วันที่ 25 ส.ค. หลังจากรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน. นางเลิ้ง คดีชุมนุมที่หน้ากองทัพบก ตำรวจ สภ.คลองหลวงได้แสดงหมายจับในคดีที่เขาร่วมชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ที่ มธ. ศูนย์รังสิตเมื่อวันที่ 10 ส.ค. เป็นหมายจับที่ 3 ตำรวจนำตัวขออำนาจศาลจังหวัดธัญบุรี และศาลให้ประกันตัวในวันเดียวกัน

นายปิยรัฐ จงเทพ

กลุ่ม: นักกิจกรรมเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านรัฐประหาร เคยร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง / อดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่

การดำเนินคดี:สน. นางเลิ้งออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา 6 ข้อหา เช่น ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. โรคติดต่อ, พ.ร.บ. สะอาด จากการชุมนุมที่หน้ากองทัพบกเมื่อ 20 ก.ค. ปิยรัฐเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อ 25 ส.ค. และปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

นายกานต์นิธิ ลิ้มเจริญ

กลุ่ม: ประชาลาด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) / นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

การดำเนินคดี: วันที่ 20 ส.ค. เพจ ‘Ladkrabang Politics-ประชาลาด’ เผยแพร่หมายเรียกให้ กานต์นิธิ ไปรายงานตัวที่ สน.สำราญราษฎร์ ในวันที่ 28 ส.ค. เวลา 10.00 น. จากการร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกเมื่อ 18 ก.ค.

นายณัฐวุฒิ สมบูรณ์ทรัพย์

กลุ่ม: ประกอบธุรกิจส่วนตัว

การดำเนินคดี: ตำรวจ 8 นายเข้าแสดงหมายจับและจับกุมขณะที่เขาขับรถอยู่บนทางด่วนช่วงสายวันที่ 20 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. และถูกนำตัวไป สน. สำราญราษฎร์ ณัฐวุฒิ อายุ 24 ปี บันทึกภาพวิดีโอขณะที่ตำรวจอ่านข้อกล่าวหาตามหมายจับ ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกับผู้ต้องหาที่ถูกแสดงหมายจับก่อนหน้านี้ วันดียวกันตำรวจได้นำตัวไปศาลเพื่อขออำนาจฝากขัง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา

กลุ่ม: ดาวดิน

การดำเนินคดี: ได้รับหมายเรียกลงวันที่ 18 ส.ค. ให้ไปพบพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ข้อหาร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และข้อหาอื่น ๆ รวม 6 ข้อหา ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค.

นายกรกช แสงเย็นพันธ์

กลุ่ม: ขบวนการประชาธิปไตยใหม่

การดำเนินคดี: ตำรวจแสดงหมายจับกุมที่หน้า สน.สำราญราษฎร์ เวลา 00.30 น. ของวันที่ 20 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. ยื่นประตัวโดยใช้ตำแหน่ง ส.ส. ของวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นประกัน แต่ตำรวจไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า อาจมีการหลบหนีและยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ต่อมาตำรวจได้นำตัวส่งศาลเพื่อขออำนาจฝากขัง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

นางสุวรรณา ตาลเหล็ก

กลุ่ม: 24 มิถุนาประชาธิปไตย / นักกิจกรรมผู้ช่วยเหลือนักโทษการเมืองและอดีตนักต่อสู้ขบวนการแรงงาน

การดำเนินคดี:

  • ตำรวจแสดงหมายจับกุมที่หน้า สน.สำราญราษฎร์ เมื่อคืนวันที่ 19 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. ตำรวจนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขังในวันที่ 20 ส.ค. และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้
  • สน. นางเลิ้งออกหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา 6 ข้อหา เช่น ฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. โรคติดต่อ, พ.ร.บ. สะอาด จากการชุมนุมที่หน้ากองทัพบกเมื่อ 20 ก.ค. เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อ 25 ส.ค. และปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

น.ส.สิรินทร์ มุ่งเจริญ

กลุ่ม: สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / กลุ่ม Spring Movement ของ จุฬาฯ / นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การดำเนินคดี: ได้รับหมายเรียกลงวันที่ 18 ส.ค. ให้ไปพบพนักงานสอบสวน สน.สำราญราษฎร์ ข้อหาร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง และข้อหาอื่น ๆ รวม 6 ข้อหา ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค.

นายธนายุทธ ณ อยุธยา

กลุ่ม: นักร้องเพลงแร็ป วงอีเลเว่น ฟิงเกอร์ หรือ “แร็ปเปอร์คลองเตย”

การดำเนินคดี: ตำรวจแสดงหมายจับในวันที่ 20 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. ถูกนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

นายบารมี ชัยรัตน์

กลุ่ม: เลขาธิการ สมัชชาคนจน

การดำเนินคดี: ตำรวจแสดงหมายจับและจับกุมเมื่อ 19 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. จากนั้นถูกนำตัวไป สน. สำราญราษฎร์ และส่งตัวขออำนาจศาลฝากขัง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

นายทศพร สินสมบุญ

กลุ่ม: ไม่มีข้อมูล

การดำเนินคดี: ตำรวจแสดงหมายจับในวันที่ 20 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น มาตรา 116 และข้อหาอื่น ๆ ในการชุมนุม รวมทั้งข้อหานำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันกระทบต่อความมั่นคงตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 8 ข้อหา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ

กลุ่ม: นักสิทธิมนุษยชน

การดำเนินคดี: ได้รับหมายเรียกให้ไปรายงานตัวในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค.

นายเดชาธร บํารุงเมือง

กลุ่ม: นักร้อง-นักดนตรี กลุ่ม Rap Against Dictatorship

การดำเนินคดี: เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวตามหมายจับเช้าวันที่ 20 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. ถูกนำตัวไปที่ สภ. สมุทรปราการเพื่อลงบันทึกประจำวัน ก่อนนำตัวไปที่ สน.สำราญราษฎร์ ตำรวจนำตัวส่งศาลเพื่อขออำนาจฝากขัง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

นายธานี สะสม

กลุ่ม: อดีตสมาชิกกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง และอดีตผู้ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

การดำเนินคดี: ตำรวจแสดงหมายจับในวันที่ 20 ส.ค. ในคดีร่วมชุมนุมเยาวชนปลดแอกวันที่ 18 ก.ค. ถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่น มาตรา 116 และข้อหาอื่น ๆ รวม 7 ข้อหา ตำรวจนำตัวขออำนาจศาลฝากขัง และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกัน 100,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักประกัน แต่มีเงื่อนไขห้ามกระทำการใด ๆ ในลักษณะเดียวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้

ประวัติบุคคลที่เกี่ยวข้องการเคลื่อนไหว :

นายทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เลขาธิการกลุ่มเยาวชนปลดแอก

ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี

ฟอร์ด – ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เลขาธิการกลุ่มฟรียูธ บัณฑิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เพิ่งจบการศึกษา อดีตสภานิสิตสามัญ สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยถูกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลดออกจากสภานิสิตฯ พร้อมกับนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล ประธานสภานิสิต จุฬาฯ ในข้อหาแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม กรณีความไม่เรียบร้อยจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาฯ แต่ถูกศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนคำสั่งจุฬาฯ

ต่อมา นายทัตเทพ เข้าร่วมเครือข่ายคนรุ่นใหม่ หรือ NGN Revive ของพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะเครือข่ายคนรุ่นใหม่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2562 จากนั้นได้ร่วมกับ นายธนวัฒน์ วงค์ไชย อดีตประธานสภานิสิตจุฬาฯ เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรม “วิ่งไล่ลุง” เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ที่สร้างความฮือฮา ก็คือ เขาร่วมกับแฟนหนุ่มจูบกลางอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ระหว่างที่กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรีฯ สภาผู้แทนราษฎร

ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. นายทัตเทพ ได้เข้าร่วมกับ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข เดินทางมารวมตัวหน้าสถานทูตกัมพูชา เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการชูป้ายเรียกร้องความเป็นธรรม กรณีที่ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ อดีตแอดมินเพจ “กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ๆ” ถูกอุ้มหายในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ก่อนจะถูกตำรวจ สน.วังทองหลาง ออกหมายเรียกในข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ ประธาน สนท.

อิ๋ว – จุฑาพิพย์ ศิริขันธ์ ประธานสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นชาวจังหวัดอำนาจเจริญ หลานสาวของ นายเตียง ศิริขันธ์ อดีตบุคคลที่ร่วมเคลื่อนไหวในนามเสรีไทยภาคอีสานเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอสมัครเข้าพรรคโดมปฏิวัติ ทำงานในสภานักศึกษา กระทั่งได้มาทำงานกับ สนท. และดำรงตำแหน่งประธานคนที่ 3 ต่อจาก เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์

หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ ได้จัดกิจกรรมการแขวนป้าย “ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม” ที่ลานโพธิ์ หน้าคณะศิลปศาสตร์ ก่อนจัดแฟลชม็อบที่ลานปรีดี จุดกระแสส่งต่อไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ กระทั่งสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหลายกลุ่มกิจกรรมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดแฟลชม็อบที่ลานพญานาค ศูนย์รังสิต แต่เมื่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แพร่ระบาด และนักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงสอบ จึงหันไปจัดกิจกรรม Mob From Home แทน
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์

อานนท์ นำภา

อายุ 35 ปี เป็นคนจังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มทำงานด้านสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ปี 2549 และเป็นทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่ปี 2551 โดยเริ่มทำงานที่บริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งก่อนจะออกมาก่อตั้งสำนักงานทนายความราษฎรประสงค์ เพื่อให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจากเหตุการณ์ทางการเมืองช่วงปี 2553 และยังร่วมเป็นทนายความในเครือข่ายของศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม (ศปช.) และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

หลังรัฐประหาร 2557 อานนท์เข้าร่วมเป็นทนายความเครือข่ายของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คอยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับผู้ได้รับผลกระทบจากการรัฐประหาร รวมทั้งติดตามสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนมาจนถึงปัจจุบัน

อานนท์ยังมีบทบาทในฐานะนักกิจกรรม โดยร่วมก่อตั้งกลุ่มพลเมืองโต้กลับ (Resistant Citizen) ในปี 2558 เน้นทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อชี้ให้เห็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในยุค คสช. ต่อมาเข้าร่วมเคลื่อนไหวในนามกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เพื่อเรียกร้องให้ คสช. มีการจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว

อานนท์เป็นนักเคลื่อนไหวที่ชอบเขียนบทกวี โดยเฉพาะบทกวีทางการเมือง ซึ่งเคยได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์อ่าน ชื่อเรื่อง “เหมือนบอดใบ้ไพร่ฟ้ามาสุดทาง” เมื่อปี 2554 และยังเขียนบทกวีลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวเป็นระยะ

อานนท์ถูกดำเนินคดีจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายคดี คดีล่าสุดที่เขาได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหา คือกรณีการทำกิจกรรมฉายโฮโลแกรมการอ่านประกาศคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. และตามมาด้วยคดีนี้
ที่มา : BBC

ภาณุพงศ์ จาดนอก

อายุ 24 ปี เป็นคนระยอง อยู่ที่ อ.บ้างฉาง เกิดและโตที่นั่นจนเรียนจบชั้นมัธยม ก่อนไปเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาณุพงศ์เคยทำงานจิตอาสาในนาม “กลุ่มเยาวชน Youngleaders Thailand” ระดมวัยรุ่นมาทำงานช่วยเหลือคนยากคนจน โดยเขาได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหายากจนจากช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้กับคนใน อ.บ้านฉาง

เขาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นตอนที่ไปถือป้ายประท้วง ถามนายกฯ ว่าจะรับผิดชอบและเยียวยาอย่างไรกับการทำให้ประชาชนชาวระยองเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รอบสอง หลังจากรัฐบกพร่องในการควบคุมบุคคลต่างชาติที่ได้รับการยกเว้น กรณีทหารอียิปต์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ฝ่าฝืนมาตรการกักกันโรค

เขาเห็นว่าจากเหตุการณ์นี้ สะท้อนว่าผู้ใดก็ตามที่เห็นต่างจากรัฐบาลหรือจาก พล.อ.ประยุทธ์ ก็จะโดนกีดกันและเลือกปฏิบัติ
ที่มา : BBC

พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน

อายุ 21 ปี เป็นคนกรุงเทพฯ กำลังศึกษาอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

ช่วงที่เขาศึกษาอยู่ชั้นมัธยมปลาย เขาได้เข้าร่วมกับกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ที่ทำเรื่องการปฏิรูปการศึกษา เขาเริ่มจากการเรียกร้องให้ปฏิรูปวิชาหน้าที่พลเมือง ซึ่งเป็นวิชาที่เพิ่มขึ้นมาตามนโยบายของรัฐบาล จากนั้นไม่นานเขาได้รวมกลุ่มเรียกร้องให้รักษาสิทธิ์เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในฐานะอดีตแกนนำกลุ่มสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) พริษฐ์มีบทบาทในการเคลื่อนไหวด้านการเมือง ทั้งการยื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้เร่งรัดการจับกุมผู้ก่อเหตุทำร้ายนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์หรือ “จ่านิว” เขายังเป็นคนที่นำถุงกระดาษคลุมศีรษะเข้าคูหาเลือกตั้งเพื่อแสดงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วยต่อการเลือกตั้งของรัฐบาล คสช.

หมายเหตุ : ขออนุญาต ไม่ update ข้อมูลหลังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่เกี่ยวกับการชุมนุม / ยกเว้น : ภาพรวม, การแจ้งข่าวที่สำคัญ, สถานที่หนัดชุมนุมจะได้กลับบ้านก่อนได้สะดวก หรือ ข้อมูลที่น่าจะรู้ไว้จะได้เข้าใจ เพื่อไม่ต้องทำผิดกฎหมายบ้านเมือง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง