เที่ยวเพชรบูรณ์ 3 วัน 2 คืน เที่ยววัด ไหว้พระ

เที่ยวเพชรบูรณ์ 3 วัน 2 คืน เที่ยววัด ไหว้พระ

วัดธรรมยาน

ทริปเที่ยวเพชรบูรณ์ 2 วันสุดท้าย ส่วนใหญ่ สัญจรไปทำบุญเที่ยววัดทั้งวัน เริ่มที่วัดมหาธาตุ วัดไตรภูมิ วัดช้างเผือก วัดธรรมยาน หลังที่เมื่อวานแวะไหว้พระพุทธมหาธรรมราชาไปแล้ว ..ตามไปเที่ยววัดทำบุญกันเลย

พระพุทธมหาธรรมราชา
พระพุทธรูป พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เคียงคู่กับหลวงพ่อเพชรมีชัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง จ.เพชรบูรณ์

สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” สันนิษฐานว่า พระพุทธมหาธรรมราชา สร้างในราวปี พ.ศ.1600 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม
ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชสมบัติต่อจากกษัตริย์องค์ก่อน ก็ได้พระราชทานพระพุทธมหาธรรมราชาให้กับพ่อขุนผาเมือง เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี นอกจากนี้ ยังได้มอบพระราชธิดา พระนามว่า นางสุขรมหาเทวี และพระราชโอรสพระนามว่า กมรเตงอัญศรีทราทิตย์ หรือ ศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว ได้กอบกู้กรุงสุโขทัยคืนจากขอมสมาดโขลญได้แล้วพ่อขุนผาเมือง จึงได้สถาปนาให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย
ทำให้นางสุขรมหาเทวีไม่พอพระทัย จึงได้โยน พระพุทธมหาธรรมราชา ลงแม่น้ำป่าสัก และพระนางก็ได้กระโดดน้ำตาย เวลาผ่านไป ได้มีชาวประมงได้ไปหาปลาเวียงแห แต่แล้วก็ได้พระพุทธมหาธรรมราชา สถานที่พบนั้น คือ วัดโบสถ์ชนะมาร (ซึ่งวัดโบสถ์ชนะมารในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้าง) ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์ คิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ คงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงช่วยกันนำขึ้นมาจากแม่น้ำป่าสัก หลังจากนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับวันสารทไทย ปรากฏว่า พระพุทธมหาธรรมราชา ได้หายไปจากวัดไตรภูมิ ทำให้เจ้าอาวาส พระลูกวัด และชาวบ้านต่างพากันค้นหา ในที่สุดก็พบ พระพุทธมหาธรรมราชา ดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณที่พบครั้งแรก
จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมือง จนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชา ลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด จนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงทุกวันนี้

วัดธรรมราชา

พระที่ประดิษฐานอยู่ภายใน

วัดธรรมราชา
วัดธรรมราชา
วัดธรรมราชา
วัดธรรมราชา
วัดธรรมราชา
วัดธรรมราชา

วัดมหาธาตุ 
วัดมหาธาตุ ประวัติความเป็นมา สันนิษฐานจากลานทองจารึกที่ขุดพบในพระเจดีย์หลังอุโบสถว่า พระเจ้าเพชรบูรณ์เป็นผู้สร้างวัดนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๑๙๒๖ และได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระพุทธรูปบูชา และพระเครื่องปี พ.ศ. ๒๔๔๗ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จเมืองเพชรบูรณ์รับสั่งให้เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ เกณฑ์ผู้คนมาถางต้นไม้บริเวณวัด และองค์พระเจดีย์ แล้วเสด็จมานมัสการพระปฏิมากร พระเจดีย์ และ กระทำพิธีบวงสรวง ปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ภายหลัง เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว มีพระราชพิธีราชาภิเษก ทรงรับน้ำจากสระมน (ปัจจุบันถมตื้นเขินหมด แล้ว) ในวัดมหาธาตุ ไปร่วมในพระราชพิธี

สิ่งสำคัญภายในวัด พระเจดีย์ใหญ่ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ก่อด้วยอิฐ ฐานศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๒๖ และเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิพระอรหันต์ พระบูชาและพระเครื่องแบบต่าง ๆ ยอดเจดีย์หัก ชำรุด ลักษณะเจดีย์คล้ายกับเจดีย์ที่อยู่ในเมืองเก่าสุโขทัย คือเจดีย์แบบดอกบัวตูมอยู่บนยอดเรียกว่าเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย พระเจดีย์องค์เล็ก ๒ องค์ พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตอนต้น ๒ องค์ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง ๓๖ นิ้ว องค์ ที่ ๑ ประดิษฐานเป็นพระประธาน

ในอุโบสถ(หลวงพ่องาม) องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารวัดมหาธาตุ (หลวงพ่อเพชรมีชัย)

วัดไตรภูมิ
วัดไตรภูมิ มีประวัติสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา อดีตเคยเป็นวัดกลางเมือง มีอายุประมาณ 435 ปี เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นศูนย์กลางพิธีที่ใช้ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำของชาวเพชรบูรณ์ “ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลก”วัดคู่เมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก

วัดไตรภูมิ
วัดไตรภูมิ

“พระพุทธมหาธรรมราชา” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน พุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระกรรณยาวย้อยจดถึงพระอังสา พระเศียรทรงชฎาเทริด มีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด และรัดประคตเป็นลวดลายงดงาม

พระธรรมราชา

โดยประวัติการสร้างไม่ปรากฏเด่นชัด มีเพียงการสันนิษฐานว่า ภิกษุแก่กล้าวิทยาคม 2 รูป เป็นผู้สร้างขึ้นสมัยลพบุรี ในช่วงที่ขอมเรืองอำนาจ จนกระทั่งต่อมากรุงสุโขทัยขยายอำนาจ จึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน
จนมาถึงยุค “พระยาลิไท” กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์พระร่วง ขณะนั้นเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย ได้ว่างกษัตริย์ปกครอง จึงดำริให้ “ออกญาศรีเพชรรัตนานัครภิบาล” (นามเดิมว่าเรือง) ไปครองเมือง พร้อมกับมอบ “พระพุทธมหาธรรมราชา” ให้ไปเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง

โดยได้กำชับว่าหากแวะที่ใดให้สร้างวัด และนำองค์พระประดิษฐาน ซึ่งการเดินทางสมัยนั้นต้องล่องไปตามลำน้ำต่าง ๆ ใช้ระยะเวลาแรมปีกว่าจะถึงเมืองเพชรบูรณ์ และเมื่อมาถึงมีดำริจะนำ “พระพุทธมหาธรรมราชา” ประดิษฐานวัดมหาธาตุ

แต่เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการขัดต่อพระบรมราชโองการ จึงสร้างวัดขึ้นใหม่และตั้งชื่อว่า “วัดไตรภูมิ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระร่วงที่ได้พระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง พร้อมกับนำองค์พระขึ้นประดิษฐาน

วัดไตรภูมิ เพชรบูรณ์
วัดไตรภูมิ

พระเจดีย์ทรงปรางค์องค์นี้เป็นเจดีย์ขนาด 7.50 คูณ 7.50 เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนปั้นลายประกอบ รูปแบบประกอบด้วยฐานเขียงย่อมุมไม้ยี่สิบ จำนวน 3 ชั้น ต่อด้วยฐานบังทองไม้ (ยืด) ลูกแก้วอกไก่ย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน 3 ชุด รองรับเรือนธาตุ ยกเก็จทำซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอด (หลังคา) เป็นปรางค์ (กลีบขนุน + บันแถลง) ปัจจุบันถล่มทลายเหลือเพียง 2 ชั้น ปัจจุบันการบูรณะให้กลับคืนคงสภาพใกล้แล้วเสร็จ

ด้านหน้าของพระเจดีย์ทรงปรางค์ เป็นอุโบสถ ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงหลังคาไม้มุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ เดิมเคยมีเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหน้า 2 องค์ และมีเจดีย์รายเป็นซากโบราณสถานขนาด 2.0 คูณ 2.0 เมตร

วัดช้างเผือก

วัดช้างเผือก
วัดช้างเผือก

วัดธรรมยาน อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง