คืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า (เงินประกันการใช้ไฟฟ้า) 21.5 ล้านราย 3 หมื่นล้านบาท วิธีการขอเงินคืน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงเรื่องการแจกเงินว่า “วันนี้ยืนยันการจ่ายเงินคนละ 2,000 บาท จะยังไม่มีการจ่าย เบื้องต้นจะมีมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ประมาณ 3,000 บาทต่อครัวเรือน”

ครั้งแรกที่ผู้โอนบ้านหรือที่อยู่อาศัยเสร็จแล้ว ผู้ชื้อต้องยื่นขอใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าจะเรียกเก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” ซึ่งมีรูปแบบการวางหลักประกันการใช้ไฟหลายแบบ เงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เป็นต้น ซึ่งคุณจะได้เงินคืนก็ต่อเมื่อคุณเดินทางไปทำเรื่องยกเลิกการใช้ไฟฟ้า

เหตุผลที่การไฟฟ้าต้องเก็บ “เงินประกันการใช้ไฟฟ้า” เนื่องจากเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า โดย ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นส่วนลดในค่าไฟฟ้าแต่ละปี

โดยอัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันคืนเมื่อยกเลิกใช้ไฟฟ้า มีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  • มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)
  • มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้)
  • มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)
  • มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (กิจการขนาดเล็ก)

ผู้ที่จะได้รับเงินคืนค่าประกันค่ามิเตอร์ การไฟฟ้าจะทะยอยคืนได้ในรอบบิล “สิ้นเดือนมีนาคม” นี้ โดยมีมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าประกันค่ามิเตอร์ คืนทั้งสิ้น 21.5 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท

ประชาชนสามารถดำเนินการขอคืนเงินกับหน่วยงานที่ท่านยื่นเรื่องขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ท่านขอใช้ไฟฟ้าจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ให้บริการพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
  • ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ให้บริการกับผู้ใช้ไฟฟ้าในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกเว้น 3 จังหวัดข้างต้น

สิ่งสำคัญที่ควรเข้าใจ

“เงินประกันของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละครัวเรือน จะมีจำนวนเงินไม่เท่ากัน โดยขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ และ มิใช่ว่าทุกคนในบ้านจะได้เงิน แต่ผู้ที่ได้เงินจะเป็นผู้ที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น

ซึ่งการไฟฟ้านครหลวง กฟน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟภ ได้ข้อสรุปเปิดให้ประชาชนและกิจการขนาดเล็กลงทะเบียนผ่าน 2 การไฟฟ้าได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นไป กำหนดเริ่มจ่ายเงินคืนให้เจ้าของมิเตอร์ตั้งแต่วันที่ 31 มีค 2563 เป็นต้นไปจนกว่าจะจ่ายครบจำนวนทั้งหมด

ส่วนกรณีทายาทเจ้าของมิเตอร์และซื้อบ้านมือสอง หรือกลุ่มนิติบุคคลรับมอบอำนาจนั้น ทางกฟน. กฟภ.ขอเวลา 2 สัปดาห์ในการทำระบบ ตั้งทีมขึ้นมาแก้ปัญหาอย่างโปร่งใส เพื่อให้กระบวนการคืนเงินเป็นไปอย่างถูกต้องและโปร่งใสถึงมือเจ้าของมิเตอร์จริง ซึ่งทั้ง 2 การไฟฟ้าจะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

โดยขั้นตอนการลงทะเบียน ผู้ยื่นเรื่องสามารถเดินทางไปยังการไฟฟ้า ซึ่งผู้ที่อยู่ในกทม สามารถเดินทางไปยังการไฟฟ้านครหลวง ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถเดินทางไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือตอนนี้การไฟฟ้าเตรียมวางระบบในการลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่นของการไฟฟ้าได้ด้วย พร้อมแบ่งการยื่นเรื่องเป็น 3 ขั้นตอนคือ

1. กรอกหมายเลขบัตรประชาชน

2. กรอกชื่อ นามสกุล และ

3. กรอกเลขที่สัญญาการที่กำหนดอยู่ในบิลค่าไฟฟ้า หากตรงกันจะได้รับเงินคืนตั้งแต่วันที่ 31 มีค 2563 เป็นต้นไป

ส่วนกรณีทายาทเจ้าของมิเตอร์ ซื้อบ้านมือสอง หรือกลุ่มนิติบุคคลรับมอบอำนาจ กลุ่มเหล่านี้ทาง 2 การไฟฟ้าขอเวลา 2 สัปดาห์ในการทำระบบ ตั้งทีมขึ้นมาแก้ปัญหาให้ เพื่อคืนเงินกับให้เจ้าของมิเตอร์ตัวจริงทุกคน

แต่กรณีซื้อบ้านมือสองชื่อเจ้าของมิเตอร์ไฟยังเป็นชื่อเจ้าของบ้านเดิม ก็ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าของมิเตอร์ว่าจะรับเงินเองหรือให้เจ้าของบ้านคนใหม่ โดยกกพ.และ 2 การไฟฟ้าจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า

เรื่องที่เกี่ยวข้อง