ครม. ขยายจ่าย ค่าน้ำ-ค่าไฟ บัตรคนจน ต่ออีก 1 ปี จนถึงเดือนกันยายน 2564 / สิทธิ์เดือนต.ค. ได้อะไร

ครม. ขยายเวลาช่วย ค่าน้ำ-ค่าไฟ ผู้ถือบัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ต่ออีก 1 ปี จนถึงเดือนกันยายน 2564

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

สิทธิพิเศษทั้ง 4 รายการของ บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่จะหมดอายุในเดือนกันยายน 2563

จากกรณี สิทธิพิเศษทั้ง 4 รายการของ บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่จะหมดอายุในเดือนกันยายน 2563 ประกอบด้วย

1.เงินพิเศษผู้สูงอายุ เดือนละ 50-100 บาท (ตามเกณฑ์รายได้)
2.เงินคืนภาษี 5% เมื่อซื้อสินค้ากับร้านค้าที่ร่วมโครงการคืนภาษี ได้สูงสุดเดือนละ 500 บาท
3.ค่าใช้ไฟฟ้าฟรี (ใช้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด) เดือนละ 230 บาท
4.ค่าใช้น้ำประปาฟรี (ใช้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด) เดือนละ 100 บาท

ครม. มีมติขยายเวลาช่วยค่าไฟ-ค่าน้ำ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ออกไปอีก 1 ปี โดยมีผลจนถึงเดือนกันยายน 2564.

22 กันยายน 2563 / น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุม ครม. วันอังคารที่ 22 กันยายน 2563 ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล เรื่อง “บัตรคนจน” โดยระบุว่า ครม. มีมติขยายเวลาช่วยค่าไฟ-ค่าน้ำ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ออกไปอีก 1 ปี โดยมีผลจนถึงเดือนกันยายน 2564.

มติครม. เรื่อง การขยายเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา

 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา และอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 1,423.5 ล้านบาท ให้แก่กองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม สำหรับการดำเนินมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาฯ มีรายละเยด ดังนี้
                    1. วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้มีบัตรฯ อย่างต่อเนื่อง
                   2. วิธีดำเนินการ
                   การขยายเวลามาตรการบรรเทาฯ จะเป็นการดำเนินการคงเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 มีสาระสำคัญ ดังนี้
                             2.1 กรณีค่าไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือนให้ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ในวงเงิน 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ เป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด
                             2.2 กรณีค่าน้ำประปา ให้ใช้น้ำประปาในวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ เป็นผู้รับภาระค่าน้ำประปาทั้งหมด
                             ทั้งนี้ ผู้มีบัตรฯ ต้องนำใบแจ้งค่าไฟฟ้าและใบแจ้งค่าน้ำประปาไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ สำนักงานการประปานครหลวง และสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยทุกสิ้นเดือนการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค จะส่งบันทึกรายชื่อผู้มีบัตรฯ ที่ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาภายใต้วงเงินที่กำหนดให้กรมบัญชีกลาง เพื่อที่กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนประชารัฐฯ) มาจ่ายคืนผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ช่อง e-Money)
                             นอกจากนี้ กรณีค่าน้ำประปาจะมีการพิจารณาดำเนินการให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น ประปาหมู่บ้าน เป็นต้น
                   3. กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีบัตรฯ จำนวนประมาณ 13.9 ล้านคน คิดเป็นครัวเรือนประมาณ 8 ล้านครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิเท่านั้น)
                   4. ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนกันยายน 2564 รวมเป็นระยะเวลา              12 เดือน
                   5. งบประมาณ ประมาณการสำหรับค่าไฟฟ้าจำนวน 1,390 ล้านบาทต่อปี ประมาณการสำหรับค่าน้ำประปาจำนวน 33.5 ล้านบาทต่อปี งบประมาณรวมทั้งสิ้น 1,423.5 ล้านบาทต่อปี โดยขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้แก่กองทุนประชารัฐฯ
                   ทั้งนี้ คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ


‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ หรือ “บัตรคนจน” เดือนตุลาคม 2563 ให้อะไรบ้าง

ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเดือนตุลาคม 2563 เงินเข้าบัญชีวันไหนบ้าง

วันที่ 1 ตุลาคม 2563

วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค รับคนละ 200-300 บาทต่อเดือน

ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน: ทุกคนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้)

ผู้ที่ถือบัตรคนจนจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 500 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ดังนั้นในช่วงเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2563 ผู้ที่มีบัตรคนจนจะได้รับเงินบัตรเข้าตามรายละเอียดด้านล่าง

  • ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาท ปกติได้รับ 300 บาทต่อเดือน เพิ่มมาเป็น 800 บาทต่อเดือน
  • ผู้ที่มีรายได้เกิน 3 หมื่น ปกติได้รับ 200 บาทต่อเดือน เพิ่มมาเป็น 700 บาทต่อเดือน

เงื่อนไขเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม 500 บาท

  • ต้องใช้เงินภายในเดือนนั้น หากไม่ได้ใช้ หรือมีวงเงินเหลือจะไม่สามารถสมทบในเดือนถัดไปได้
  • ไม่สามารถใช้ร่วมกับมาตรการคนละครึ่งได้
  • ไม่สามารถกดออกมาเป็นเงินสดได้

เงินช่วยเหลือเพิ่มเติม 500 บาทจะถูกโอนเข้าบัตรคนจนวันไหน ให้รอติดตามรายละเอียดอีกครั้ง

ค่ารถโดยสารสาธารณะ

ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน: ทุกคนที่ถือบัตรคนจน ไม่สามารถกดเเป็นเงินสดออกมาใช้ได้ รายละเอียดตามลิสด้านล่าง

  • ค่าโดยสารรถเมล์, รถไฟฟ้า 500 บาท ต่อเดือน ใช้ชำระค่าโดยสารผ่านระบบ e-ticket เฉพาะผู้ที่ถือบัตรใน 7 จังหวัด ได้แก่ กทม., ปทุมธานี, นนทบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม และ พระนครศรีอยุธยา
  • ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาท ต่อเดือน
  • ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาท ต่อเดือน

วงเงินซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท ระยะเวลา 3 เดือน

ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน: ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่สามารถกดเป็นเงินสดออกมาใช้ได้ ต้องใช้จ่ายผ่านบัตร ใช้เป็นส่วนลดในการซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่ได้รับเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องรูดบัตร EDC) โดยเงินจะเข้าบัตรทุกๆ 3 เดือน ถ้าหากไม่ได้ใช้สิทธิ์ภายใน 3 เดือนจะถูกตัดยอดเงินไป


วันที่ 15 ตุลาคม 2563

เงินค่าภาษี VAT 5%

ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เติมเงินเข้าบัตร แล้วมีการใช้เงินจากบัตร เพื่อรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเครื่อง EDC ที่มีการเชื่อต่อระบบ POS ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 ทางรัฐจะมีการคืนภาษี VAT 5% ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เงินในส่วนนี้ที่เป็นการคืนภาษี สามารถนำบัตรคนจนไปกดเงินสดออกมาใช้ได้ หรือสามารถนำไปซื้อจ่ายผ่านร้านธงฟ้า และ ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้

ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน: เป็นผู้ที่เติมเงินเข้าบัตรคนจน และมีการใช้จ่ายเงินซื้อของในเดือนกันยายน 2563 ถึงจะได้รับภาษี VAT 5% คืนเข้าบัตร ตามยอดใช้จ่าย

  • ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 100 บาท รับ VAT 5% เข้าบัตรคนจน 5 บาท
  • ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 200 บาท รับ VAT 5% เข้าบัตรคนจน 10 บาท
  • ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 500 บาท รับ VAT 5% เข้าบัตรคนจน 25 บาท
  • ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 1000 บาท รับ VAT 5% เข้าบัตรคนจน 50 บาท
  • ยอดเงินคืนสูงสุดจะไม่เกิน 500 บาทต่อเดือน

วันที่ 18 ตุลาคม 2563

ค่าไฟฟ้าไม่เกิน 230 บาท ต่อเดือนต่อครัวเรือน

เป็นการต่ออายุจากมาตรการเดิม โดยผู้ที่ถือบัตรจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าน้ำ ค่าไฟต่อเดือนต่อครัวเรือนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ไปจนถึงเดือนกันยายน 2564

กรณีใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ติดต่อเป็นระยะเวลา 3 เดือน สามารถใช้สิทธิ์ค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการปัจจุบัน
กรณีใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ผู้ที่ถือบัตรคนจนสามารถใช้สิทธิ์ตามมาตรการนี้ ในวงเงิน 230 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน หากใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องเป็นผู้จ่ายค่าไฟฟ้าทั้งหมด

ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน: ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ตามที่กำหนด และได้ทำการลงทะเบียนรับสิทธิ์แล้ว

ค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อเดือน ต่อครัวเรือน

  • ต่ออายุจากมาตรการเดิม โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ไปจนถึงเดือนกันยายน 2564
  • ผู้ที่ถือบัตรคนจนใช้น้ำประปาเกินวงเงิน 100 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน จะต้องเป็นผู้จ่ายค่าน้ำประปาเองทั้งหมด

ผู้ที่มีสิทธิ์รับเงิน: ครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด และได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์เรียบร้อย

วิธีและขั้นตอนการกดบัตรคนจน และค้นหาร้านซื้อสินค้า

วิธีและขั้นตอนการกดบัตรคนจน หลายคนคงสงสัยว่าการถอนเงินจากบัตรคนจนทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เลื่อนอ่านรายละเอียดกันได้เลยจ้า

วิธีการถอนเงินสดจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบบสั้นๆ

การเปลี่ยนรหัสครั้งแรก
1.นำบัตรสอดที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
2.ใส่รหัสบัตร การใช้งานครั้งแรก รหัสคือ หมายเลข 6 หลักสุดท้ายของบัตรประชาชน
3.เลือก กดเปลี่ยนรหัสบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (อยู่ด้านซ้ายมือของเมนู)
4.ใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หากต้องการรับผลการเปลี่ยนรหัส หากไม่มี ให้เลือก ดำเนินการต่อ โดยไม่ต้องกรอกข้อมูล
5.เลือก เปลี่ยนรหัสบัตร และ กรอกรหัสใหม่ 6 ตัว
6.กรอกรหัสใหม่อีกครั้งเพื่อยืนยัน

การถอนเงินสด ณ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย

1.นำบัตรสอดที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
2.กรอกรหัส 6 หลัก
3.เลือก ถอนเงิน
4.เลือก กระแสรายวัน / บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
5.กรอกจำนวนเงิน และรับเงินในช่องรับเงิน
6.ไม่มีค่าธรรมเนียมการถอนเงินทั่วประเทศ

ลืมรหัสผ่านของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจนสามารถเปลี่ยนรหัสใหม่ได้

  1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) เข้าตู้ ATM
  2. กรอกตัวเลข 6 หลัก (เช่น 111111 , 000000 เป็นต้น)
  3. เลือกลืมรหัสคู่บัตร
  4. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะเบอร์โทรศัพท์ที่เคยลงทะเบียนไว้เท่านั้น) จากนั้นกด “ยืนยัน”
  5. ตั้งรหัสคู่บัตรใหม่ จำนวน 2 ครั้ง
  6. กดหมายเลข OTP และกดยืนยัน

วิธีกดเงินสวัสดิการแห่งรัฐ Youtube

วิธีกดเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบละเอียด

บัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสวัสดิการของรัฐที่ให้วงเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยทุก ๆ เดือน สำหรับรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่จำเป็น, ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถ บขส. และรถไฟ รวมทั้งเงินช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ตามมาตรการที่ออกมา ซึ่งก็มีผู้ถือบัตรหลายคนมีคำถามว่า เงินส่วนไหนที่เราสามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้บ้าง หรือจะนำบัตรคนจนไปใช้เป็นเหมือนบัตร ATM เลยได้ไหม ใครยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ มาดูรายละเอียดกันชัด ๆ 
* วงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กดออกมาเป็นเงินสดได้ไหม ?

           บัตรคนจนจะแบ่งวงเงินในบัตรเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ

          1. วงเงินสำหรับซื้อสินค้าจำเป็นผ่านเครื่อง EDC และร้านค้าที่ร่วมรายการ

          เช่น เงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาท/เดือน, ค่าโดยสารรถสาธารณะ 500 บาท/เดือน, ค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน
          สำหรับส่วนนี้ผู้ถือบัตรไม่สามารถกดหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้ เพราะเป็นวงเงินที่สำรองไว้ใช้ผ่าน EDC ของหน่วยงาน หรือร้านค้าที่กำหนดเท่านั้น

          2. วงเงินที่ใส่ลงไปใน e-Money

          เช่น เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ 50-100 บาท/เดือน, เงินคืนภาษี VAT 5% จากการใช้บัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งจะสามารถกดเป็นเงินสดได้เลย

ทั้งนี้ จากข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2563 วงเงินที่สามารถถอนจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ มีดังนี้

บัตรคนจน

* วิธีกดเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

          เราสามารถถอนเงินสดจากบัตรคนจนได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย โดยทำตามขั้นตอนคือ

1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใส่รหัส 6 หลัก

บัตรคนจน

2. เมื่อเข้าหน้าเมนู ให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”

บัตรคนจน

         หากตู้ ATM ไหน ไม่มีให้กดเลือก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะไม่สามารถถอนเงินจากบัตรได้ ดังนั้น ต้องหาตู้ ATM ที่เมื่อสอดบัตรและใส่รหัสเข้าไปแล้ว มีข้อความให้กดเลือก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” แบบนี้
3. กดปุ่ม “ขอดูยอดเงินคงเหลือ”
บัตรคนจน

          เพื่อตรวจสอบว่ามีเงินโอนเข้ามาหรือยัง หรือมียอดเงินที่สามารถกดได้เท่าไร โดยยอดเงินคงเหลือที่ใช้ได้จะแสดงให้เห็นในหน้าจอ

4. ระบบจะถามว่า ท่านต้องการบริการอื่นอีกหรือไม่ หากต้องการถอนเงิน ให้กดปุ่ม “ต้องการ”

บัตรคนจน


5. หน้าจอจะกลับมาที่หน้าเมนู หลังจากนั้นให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” อีกครั้ง

6. กดปุ่ม “ถอนเงิน”

บัตรคนจน

7. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอน (ขั้นต่ำ 100 บาท ถอนได้ไม่เกินครั้งละ 20,000 บาท)




8. เช็กจำนวนเงินที่ต้องการถอน หากถูกต้องให้กดปุ่ม “ถูกต้อง” แล้วรอรับเงิน

บัตรคนจน

* ลืมรหัสกดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำอย่างไร ?
          หากลืมรหัสบัตร ให้ทำการเปลี่ยนรหัสได้ที่ตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้
บัตรคนจน
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย

* วิธีเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

           การกดเงินสดบัตรคนจนนั้น นอกจากวงเงินในส่วน e-Money แล้ว ยังสามารถทำได้ด้วยการเติมเงินเข้าไปในบัตร ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าบัตรคนจนสามารถเติมเงิน-ฝากเงินได้เหมือนกันกับบัตร ATM ทั่วไปเลย

          การเติมเงินเข้าบัตรคนจน สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้  

1. เติมเงินผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย 

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก Winning7799 / Shutterstock.com
          โดยนำบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทยที่ต้องการหักเงินเข้าบัตรคนจน ไปทำรายการได้เลย ณ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

          – สอดบัตร ATM ธนาคารกรุงไทย ใส่รหัส 6 หลัก
          – เลือกหัวข้อ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”          – เลือก “เติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ”
          – เลือกประเภทบัญชีที่ต้องการหักบัญชี ได้แก่ ออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร ATM เราเป็นเงินฝากประเภทไหนก็เลือกประเภทนั้น)
          – ใส่หมายเลข 16 หลักของบัตรคนจนที่ต้องการเติมเงินเข้าไป
          – ตรวจสอบหมายเลขให้ดี แล้วกด “ถูกต้อง”
          – ระบุจำนวนเงินที่ต้องการโอนเข้าไปในบัตร ตั้งแต่ 100-30,000 บาท แล้วกด “ถูกต้อง”

2. เติมเงินผ่านเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติของธนาคารกรุงไทย (ADM)
          โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
          – สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เครื่อง ADM
          – เลือกหัวข้อ “ฝาก/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์”
          – กดปุ่ม “บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์”
          – ตรวจสอบเลขบัญชีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
          – นำเงินสดที่ต้องการฝากใส่ลงในเครื่อง
          – ตรวจสอบความถูกต้องแล้วกด “ถูกต้อง”

 3. เติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ 

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก Bai-Bua’s Dad / Shutterstock.com
          สำหรับใครที่ไม่อยากทำรายการด้วยตัวเองผ่านตู้ ATM ก็สามารถเติมเงินได้ผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้อยู่แล้ว

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย
* บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสมัคร Internet Banking ได้ไหม 

          อีกหนึ่งความสามารถของบัตรคนจนที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือ สามารถสมัครใช้งาน Internet Banking ได้ด้วย ผ่านบริการ KTB netbank ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยด้วย โดยสามารถสมัคร KTB netbank ได้่ทั้งที่สาขาธนาคารกรุงไทยโดยตรง หรือตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก KTB netbank

นอกจากจะเป็นสวัสดิการช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยแล้ว บัตรคนจนยังถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย โดยไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากอีกด้วย 

ขอบคุณที่มาข้อมูลเพื่อคนจน : https://money.kapook.com/view198445.html

สิทธิประโยชน์ของบัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 7 ข้อ

ซึ่งผู้ที่ถือบัตรจะได้รับสิทธิ์การช่วยเหลือจากรัฐฯทั้งในรูปแบบของเงินสด และ วงเงินในบัตรเพื่อนำไปใช้ตามร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าเอกชนที่เข้าร่วมรายการ โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆจะมีอะไรบ้างนั้น “ฐานเศรษฐกิจ”ได้รวบรวมมานำเสนอ


สิทธิ์ข้อที่ 1 ซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค

สิทธิข้อที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของทุกเดือนจะได้วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค คนละ 200-300 บาทต่อเดือน สามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าได้ตามร้านธงฟ้าประชารัฐ และวงเงินตรงนี้ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ 

สิทธิข้อที่ 2 ค่าเดินทาง รถโดยสารสาธารณะ


สิทธิข้อที่ 2 ค่าเดินทาง รถโดยสารสาธารณะ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้) โดยจะแบ่งเป็นค่าโดยสารรถเมล์ -รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน (ใช้ชำระค่าโดยสารด้วยระบบ e-Ticket),ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน และ ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน

สิทธิข้อที่ 3 คือ ส่วนลดสำหรับการซื้อ ก๊าซหุงต้ม


สิทธิข้อที่ 3 คือ ส่วนลดสำหรับการซื้อ ก๊าซหุงต้ม กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้) ในวงเงิน 45 บาท ต่อ 3 เดือน ( 3เดือนใช้ได้ 1 ครั้ง)

สิทธิข้อที่ 4.เงินพิเศษผู้สูงอายุ

ต่อมาในวันที่ 15 ของทุกเดือน ผู้ถือบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับ สิทธิข้อที่ 4.เงินพิเศษผู้สูงอายุ รายละ 50 – 100 บาท (ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 30,001-100,000 บาท ได้รับเงินช่วยเหลือ เดือนละ 50 บาท ส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้ 0-30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินช่วยเหลือ เดือนละ 100 บาท ) สำหรับเงินในส่วนนี้สามารถกดออกมาเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้ได้

สิทธิข้อที่ 5.เงินคืนภาษี VAT  5%  

สิทธิข้อที่ 5.เงินคืนภาษี VAT  5%  ผู้ที่เติมเงินเข้าบัตรคนจน แล้วใช้บัตรจ่ายเงินซื้อของในร้านที่เข้าร่วมรายการหรือร้านค้าเอกชนอื่นๆที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเครื่อง EDC ที่มีการเชื่อมต่อระบบ POS ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 – 30 กันยายน 2563 รัฐจะคืนภาษี VAT 5% ให้ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ยกตัวอย่าง เช่น ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 100 บาท คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจน 5 บาท ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 1,000 บาท คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจน 50 บาท โดยยอดคืนสูงสุดจะไม่เกิน  500 บาท/เดือน และเงินจะโอนเข้าบัตรวันที่ 15 ผู้ถือบัตรคนจนสามารถกดออกมาเป็นเงินสดออกมาใช้ได้ หรือรูดซื้อของตามร้านธงฟ้าฯ และร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการได้ หลังจากนั้นในวันที่ 18 ของทุกเดือน

สิทธิข้อที่ 6. ส่วนลดค่าน้ำประปา

สิทธิข้อที่ 6. ส่วนลดค่าน้ำประปา ไม่เกินเดือนละ 100 บาทต่อหนึ่งครัวเรือน โดยผู้ถือบัตรคนจนที่จะได้รับสิทธินี้ก็ต่อเมื่อลงทะเบียนรับสิทธิกับการประปาในพื้นที่ รวมไปถึงใช้น้ำในหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ 

สิทธิข้อที่ 7. ส่วนลดค่าไฟฟ้า


สิทธิข้อที่ 7.ส่วนลดค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 230 บาทต่อเดือนและต่อหนึ่งครัวเรือน โดยหลักเกณฑ์จะเหมือนกับค่าน้ำ ที่ต้องไปลงทะเบียนก่อน และต้องใช้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด 

ถือเป็นสิทธิ 7 ข้อของผู้ถือบัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่จะได้รับสิทธิการช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐ ซึ่งเมื่อดูจากวันและเวลา ก็เท่ากับว่าในเดือนมิถุนายน สิทธิข้อ ที่ 1 -3 นั้นก็ได้รับกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือคือข้อที่ 4 – 7 ที่จะเริ่มทยอยเข้าในวันที่ 15 มิถุนายน และ 18 มิถุนายนต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีผู้ถือบัตรคนจนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจ่ายเงินอาจจะมีล่าช้าเกินจากวันที่ได้ระบุเอาไว้ เพราะต้องทยอยจ่าย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน สามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หมายเลข 0-2109-2345 ในวันและเวลาราชการ

การค้นหา – ตรวจสอบรายชื่อร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ

ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าธงฟ้าประชารัฐได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ https://shop.moc.go.th/shop#map ซึ่งจะบอกพิกัดตำแหน่งร้านค้า ทั้งร้านที่มีเครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture) และร้านถุงเงินประชารัฐ ที่สามารถให้เข้าไปค้นหาชื่อร้านค้า จังหวัด อำเภอ และตำบลที่ต้องการค้าหาได้

รายชื่อร้านจะขึ้นมาให้เลือก พร้อมคลิกดูแผนที่ตั้งของร้าน

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจรายการสินค้าที่เข้าร่วมกับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์เช่นกัน โดยเป็นสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด 46 สินค้า แยกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค 38 สินค้า ทั้งหมวดอาหารสด หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดของใช้ประจำวัน หมวดยารักษาโรค, สินค้าเพื่อการศึกษา 5 สินค้า และวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม 3 สินค้า

รวมถึงยังสามารถตรวจสอบรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการอีก 105 สินค้า 806 รายการ ได้เช่นกันที่ลิงก์ https://www.dit.go.th ซึ่งจะระบุรายชื่อสินค้า และเปรียบเทียบราคาจำหน่ายปลีกร้านธงฟ้ากับราคาปกติในร้านค้าอื่นๆ ด้วย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง