ลดหักส่งเงินประกันสังคม จาก 5% เหลือ 2% ก.ย. – พ.ย. 63

ลดเงินสมทบประกันสังคม ม. 33 จาก 5 เหลือร้อยละ 2 ก.ย. – ต.ค.

ครม. เคาะลดเงินหักนำส่ง ประกันสังคม ทั้งฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง เหลือสมทบฝ่ายรรชละ 2% จากเดิม 5% นาน 3 เดือน กันยายน-พฤศจิกายน 2563

ครม. มีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงานเพื่อลดหย่อนการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง

ลดเงินสมทบประกันสังคม ม. 33 จาก 5 เหลือร้อยละ 2

มติดังกล่าว จะทำให้ ทั้งลูกจ้างและนายจ้างของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบร้อยละ 2 ของค่าจ้างผู้ประกัน จากเดิมร้อยละ 5 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 96 บาท (จากที่ต้องจ่ายเดือนละ 432 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2563 โดย รัฐบาลคาดว่าจะเกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจราว 2.4 หมื่นล้านบาท

การลดหย่อนการจ่ายเงินสมทบครั้งนี้ จะเป็นการลดภาระให้แก่ผู้ประกันตน จำนวน 12.79 ล้านคน คิดเป็นเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท และนายจ้าง 4.87 แสนราย คิดเป็นเงิน 1.1หมื่นล้านบาท

ซึ่งคาดว่าจะเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 2.4 หมื่นล้านบาท และหากคิดเป็นจำนวนเงินที่จะประหยัดได้ของผู้ประกันตน มาตรา 33 เฉลี่ย 1,022 บาท และผู้ประกันตนมาตรา 39 เฉลี่ย 1,008 บาท

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ กรณีลดหย่อนเงินสมทบ “ประกันสังคม” นายจ้าง และผู้ประกันตน มาตรา 33 จ่ายเงินเหลือร้อยละ 2 ส่วน มาตรา 39 จ่ายเงินเดือนละ 96 บาท ตั้งแต่ กันยายน – พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้มีประกาศจากกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ รวมทั้งเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด – 19

โดยมีรายละเอียดสรุป 3 ข้อหลัก คือ

1. ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละ 2 ของค่าจ้างของผู้ประกันตน

2. ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 96 บาท

3. ในกรณีที่มีการส่งเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ ให้นายจ้างหรือผู้ประกันตนตามข้อ 1. หรือข้อ 2. แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

จ่ายเงินเหลือร้อยละ 2 ส่วน มาตรา 39 จ่ายเงินเดือนละ 96 บาท

วันนี้ (15ก.ย.63) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตนกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ความว่า
เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติร้ายแรง กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับมีการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีกคราวหนึ่ง เพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มิให้นำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ อันส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในท้องที่ประเทศไทย จึงควรลดหย่อนการออกเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตนดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46/1 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละสองของค่าจ้างของผู้ประกันตน
ข้อ 2 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึงงวดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละเก้าสิบหกบาท
ข้อ 3 ในกรณีที่มีการส่งเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามประกาศนี้ ให้นายจ้าง หรือผู้ประกันตนตามข้อ 1 หรือข้อ 2 แล้วแต่กรณี ยื่นคำร้องขอรับเงินในส่วนที่เกินคืนได้ ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา
ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563
สุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง