อาการเบื้องต้นของ COVID-19

อาการของคนที่ติดโรค COVID-19 COVID-19 จะมีไข้และมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อ.เจษฎ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กเพจ เผยถึงสามารถดูอาการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการตรวจสอบได้ ตามรายงานของคณะผู้ตรวจสอบขององค์การอนามัยโลก ที่ลงไปสำรวจในพื้นที่ระบาดของโรคในประเทศจีน ดูจากคนไข้ที่ยืนยันว่าติดเชื้อแล้วจำนวน 55924 ราย พบว่า

  • เป็นไข้ (87.9%)
  • ไอแห้ง (67.7%)
  • อ่อนเพลีย (38.1%)
  • มีเสมหะ (33.4%)
  • หายใจถี่ (18.6%)
  • เจ็บคอ (13.9%)
  • ปวดหัว (13.6%)
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือ ปวดข้อ (14.8%)
  • หนาวสั่น (11.4%)
  • คลื่นไส้ หรือ อาเจียน (5.0%)
  • คัดจมูก (4.8%)
  • ท้องเสีย (3.7%)
  • ไอเป็นเลือด (0.9%)
  • เยื่อบุตาอักเสบ (0.8%).

ดังนั้น จะเห็นว่าอาการส่วนใหญ่ของคนที่ติดโรค COVID-19 นั้น จะมีไข้และมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ซึ่งรายงานระบุว่า โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้น 5-6 วันหลังติดเชื้อ ซึ่งระยะการฟักตัวของเชื้อนั้นอยู่ที่ 1-14 วัน

วิธีป้องกันเบื้องต้น ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่โควิค 19 (COVID-19) และอาการเบื้องต้นที่ควรรีบพบแพทย์

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ยังคงอยู่ในการควบคุมอย่างเข้มงวด หลังจากมีการรายงานจากจีนว่าเกิดการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยของจีน

วิธีการป้องกัน COVID-19 แบบสั้นๆ

  1. สวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีทุกครั้งที่ออกจากบ้านไปยังพื้นที่สาธารณะมีผู้คนมาก
  2. หลีกเลี่ยงในพื้นที่ที่มีคนพลุกพล่าน
  3. หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ
  4. ไม่นำมือไปสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น
  5. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

วิธีการป้องกัน COVID-19 แบบยาวๆ

  1. หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัด ที่ๆมีคนเยอะๆ หรือที่ๆอากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก เช่น ผับ โรงหนัง สนามบิน โรงพยาบาล ถ้าหากไม่มีความจำเป็นต้องไปในสถานที่เหล่านี้ ขอให้หลีกเลี่ยง
  2. ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอให้สวมใส่หน้ากากอนามัย (ควรเป็นชนิด N95) และหลีกเลี่ยงไม่อยู่ใกล้บุคคลที่มีอาการ ไอ จาม เป็นต้น
  3. ล้างมือบ่อยๆ : ไวรัสอู่ฮั่น แพร่กระจายผ่านทาง Droplets ต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอจาม ซึ่งละอองเหล่านี้ มักจะติดอยู่กับที่ๆมีการสัมผัสโดยคนหมู่มากบ่อยๆ โดยจุดที่เสี่ยง เช่น ปุ่มกดลิฟท์ ราวบันไดเลื่อน ห้องน้ำสาธารณะ เป็นต้น ในบางครั้ง เราอาจไปสัมผัสกับสิ่งของเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ การล้างมือบ่อยๆ ล้างทุกครั้งก่อนกินอาหาร รวมไปถึงไม่เอามือเข้าปาก ขยี้ตา หรือแคะจมูก จะช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อลงได้มากครับ
  4. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในตลาดค้าสัตว์ที่มีชีวิต หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีกับสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่ป่วย หรือตาย เพราะในขณะนี้ เราได้สันนิฐานกันว่า เชื้อไวรัสอู่ฮั่น เริ่มต้นมาจากการแพร่กระจายจากสัตว์สู่คนในทีแรก และเมื่อเชื้อเข้ามาในคน จึงมีการกลายพันธุ์ จนสามารถแพร่จากคนสู่คนได้นั่นเอง
  5. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ช้อนกินข้าว เป็นต้น
    .
  6. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. หากท่านพึ่งเดินทางกลับมาจากต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดภายใน 14 วัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศ/จังหวัดที่มีรายงานการระบาดหรือไม่ก็ตาม และเริ่มมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด หรือมีอาการผิดปกติใดๆ ให้รีบสวมหน้ากากอนามัยให้ตนเอง และไปโรงพยาบาลโดยด่วน (สามารถเข้าไปที่ห้องฉุกเฉินได้เลย) พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง และเล่าอาการให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฟังโดยละเอียด
  8. สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ครับ หากมีข้อสงสัยอะไร อย่าลังเลที่จะโทรไปถามครับ
  9. จงตื่นตัว แต่อย่าตื่นตูม การ take precaution เป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่การตกใจ ตื่นตูมจนเกินกว่าเหตุ เป็นเรื่องที่ไม่ดี ขอให้จำไว้ว่า “สิ่งที่แพร่ระบาดได้เร็วกว่าเชื้อไวรัส คือความกลัว และความกลัว สร้างความเสียหายได้มากกว่าโรคระบาด”

Cr. Kaiyala Sokonth

ความแตกต่างของอาการไข้หวัดทั่วไปกับCOVID-19

สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์สามารถตรวจหาเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ฟรี สามารถตรวจได้ที่ โรงพยาบาบรัฐฯ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ , โรงพยาบาลราชวิถี , โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยกำหนดเกณฑ์ 2 กรณี ได้แก่

  1. มีประวัติการเดินทางไปกลับ 9 ประเทศสุ่มเสี่ยง ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน สหรัฐ 
  2. มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น เหนื่อย หอบ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ รวมถึงมีไข้ 37.5 องศา รวมถึงบุคลที่อยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยง เช่น ลูกเรือสายการบิน คนขับรถบริการนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะเคยบริการกลุ่มประเทศที่เสี่ยงและบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลเคสผู้ป่วย

สรุปไวรัสโคโรน่า แบบเข้าใจง่ายๆ & สาเหตุและวิธีป้องกัน!

  • ไวรัสโคโรน่าเกิดจากค้างคาว ซึ่งเป็น #สัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันสูงสุดในโลก ค้างคาวไม่เคยเจ็บป่วย แต่มันเพาะเชื้อโรคได้
  • คนกินค้างคาวได้ถ้าปรุงสุก ไม่มีปัญหา แต่ถ้าค้างคาวกินผลไม้แล้วเราเอามากิน เสี่ยง!!
  • ไวรัสโคโรน่ามาจากคำว่า #คราว ที่แปลว่า มงกุฏ เพราะตัวมันแหลมๆ สามารถเกาะติดกับปอดได้ดีกว่าไวรัสอื่น
  • ไวรัสโคโรน่านี้ไม่รุนแรง เป็นแล้วหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่ต้องรักษาตามอาการ เช่น ตัวร้อน ไข้ ไอ หายใจไม่สะดวก ฯลฯ
  • คนที่เคยเป็นแล้ว จะมีภูมิคุ้มกัน จะไม่เป็นอีก ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตคือคนแก่ เนื่องจากร่างการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน อาการแทรกซ้อนอื่นๆ
  • ไวรัสโคโรน่าอยู่ในอากาศได้ 1 ชั่วโมงก็ตาย ทำให้การติดไปกับสิ่งของ พัสดุ เป็นไปไม่ได้เลย
  • ไวรัสโคโรน่าตายด้วยแอลกอฮอล 70% ขึ้นไป เจลล้างมือช่วยได้ ส่วนเหล้าขาว 60% ก็พอช่วยได้ แต่เมามาก
  • ไวรัสโคโรน่่าตายในอุณหภูมิ 57องศา ขึ้นไป เจอแดดก็คือจบแล้ว ปรุงอาหารเกือบสุกก็ตายแล้ว
  • ไวรัสโคโรน่าอยู่ในอากาศไม่ได้ ต้องอยู่กับเมือกเท่านั้น ซึ่งคือการไอ จาม (แบบมีน้ำลายติด) หรือเมือกน้ำลาย ถ้าไม่โดนจังๆ ไม่มีทางติด
  • ติดทางตาไม่ได้ #ยกเว้นกรณีร้ายแรงสุดคือ ถ่มน้ำลายใส่ตา ใครทำคือสุดมาก

ความน่ากลัวคือ ระยะฟักตัว 14-27 วัน ซึ่งไม่แสดงอาการอะไรเลย เพราะไวรัสโตช้า ตายง่าย แต่ใน 14-27 วันนี้สามารถติดคนอื่นได้ ซึ่งมีกรณีเดียวคือการถ่มน้ำลายใส่ เพราะช่วง 14-27 วันนี้จะยังไม่มีการไอ หรือจามออกมา

  • ความรุนแรง อัตราการเสียชีวิต ถือว่าเบากว่า SARS MERS มาก แต่ด้วย 14 วันไม่แสดงอาการ ทำให้ระบาดง่ายกว่า คือถ้าเห็นว่าป่วยไปเลยยังหลีกหนีได้ แต่ถ้าไม่เห็นอาการเราไม่รู้เลยว่าใครติดไวรัส
  • อาการเป็นแล้วล้มลงเลย ตายทรมาน ฯลฯ มาจากข่าวปลอมทั้งนั้น ส่วนใหญ่มาจากหนังเรื่อง Flu ปี2014 ซึ่งมีการแค็ปภาพออกมาใช้เยอะที่สุด

Credit :ข้อมูลของ
นายแพทย์ พิเชฐ บัญญัติ
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

วิธีสังเกตอาการ

หากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมี ไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกัน

เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจาก COVID-19 ได้ดังนี้

– เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
– เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
– ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
– ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
– งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
– เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
– ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
– สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยตรง ควรใส่หน้ากาก
อนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

ป้องกันตัวเองกัน ขึ้นเครื่องบินอย่างไร จึงจะไม่ติด covid-19

เนื่องจากสนามบินและเครื่องบินถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เสี่ยงในการติดเชื้อ เราจะป้องกันตัวเองอย่างไรดี

แม้ว่าจะมีคนบอกว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ ไม่อับอากาศเพราะเขาใช้วิธีกรองอากาศเทคโนโลยีแบบเดียวกับห้องผ่าต้ดก็ตาม หรือบอกว่าเขาพ่นยาฆ่าเชื้อและเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่องก็ตาม
เราควรมีมาตรการส่วนตัวเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อลงอีก ดังนี้

  1. พกเจลล้างมือแบบพกพาไปด้วยแล้วล้างมือบ่อย ๆ
    เพราะเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ มันเกาะติดไปกับน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย แล้วคนที่เป็นโรคนี้อาจจะเผลอเอาไปป้ายตามพนัก ทึ่เปิดช่องเก็บของ โต๊ะวางถาดอาหาร ประตูห้องน้ำฯลฯ
    ไวรัสสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น 2-9 ชั่วโมง และถูกกำจัดได้ด้วยแอลกอฮอล์
    ดังนั้นหากจับหรือสัมผัสกับสิ่งใดที่สนามบินหรือบนเครื่องบิน ให้ล้างมือทันที และล้างมือให้บ่อยเข้าไว้
    ..เก็บของเหนือศีรษะเสร็จ นั่งลงเรียบร้อย ให้ล้างมือ
    ..เปิดที่วางถาดอาหารแล้วให้ล้างมือ
    ..เข้าห้องน้ำ กลับมาถึงที่นั่งให้ล้างมือ ฯลฯ
  2. อย่าเอามือสัมผัสใบหน้าเด็ดขาด โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนที่ปาก จมูกและตา เนื่องจากไวรัสเข้าร่างกายผ่านทางเยื่ออ่อนเหล่านี้ได้
    สำหรับเด็กต้องสอน และกำชับเรื่องเอามือเข้าปากให้บ่อยเข้าไว้
  3. ใส่ผ้าปิดปากอนามัยทุกครั้งที่ขึ้นเครื่อง โดยให้ครอบจมูก บีบลวดให้ตัวผ้าแนบสันจมูกให้มิด แล้วดึงหน้ากากอนามัยให้ปิดลงมาถึงคาง
    แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะบอกว่าถ้าไม่ป่วยไม่จำเป็นต้องปิดปากก็ตาม
    บนเครื่องที่นั่งแออัด การใส่ผ้าปิดปากจะได้ป้องกันการไอจามรดกัน
    อีกอย่าง การที่มีผ้าปิดหน้า เป็นการเตือนตนเองว่าอย่าเอามือไปสัมผัสใบหน้า
    เวลาถอดผ้าปิดปาก ให้พับเอาด้านสีเขียวเข้าข้างใน พยายามอย่าเอามือไปสัมผัสด้านสีเขียวอีก เอาสายรัดไว้แล้วโยนทิ้ง
    ให้ใช้หน้ากากกระดาษเพียงครั้งเดียว ไม่ใช้ซ้ำ
    ถ้าหน้ากากเป็นผ้า ถึงบ้านให้ถอดซักทันที
  4. ถ้าไม่จำเป็น ไม่ต้องกินอาหาร ชา กาแฟ และน้ำบนเครื่อง จะได้ไม่ต้องถอดหน้ากากออก และลดรายการสัมผัสลง
  5. เมื่อกลับถึงบ้าน ถือเป็นความจำเป็น ต้องล้างมือซ้ำด้วยน้ำกับสบู่ทุกครั้ง
  6. หาทางเพิ่มภูมิต้านทานให้ตัวเองโดยกินวิตามินซีชีวภาพ 1-2 กรัมในวันเดินทาง วิธีนี้จะช่วยประกันการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีกทางหนึ่ง

ข้อมูลของ covid19 ที่น่าสนใจ

ผู้ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้

Wuhan woman with no symptoms infects five relatives with coronavirus – study – Reuters

พบผู้ป่วย Covid-19 กลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้งในญี่ปุ่น

27/02/2020 ก่อนหน้านี้มีข่าวไกด์หญิงคนหนึ่งที่ติดเชื้อ Covid-19 ในญี่ปุ่นเข้ารับการรักษาตัวกับทางโรงพยาบาลในเมืองโอซกา จนผลตรวจออกมาเป็นลบ และถูกปล่อยตัวให้กลับบ้าน แต่ข่าวล่าสุดรายงานว่าหลังจากที่เธอกลับมารับการตรวจซ้ำ ตอนนี้เชื้อในร่างกายของเธอมีผลตรวจเป็นบวกอีกแล้ว

เมื่อวันที่ 29 มกราคม เธอได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อ Covid-19 หลังจากนั้นเธอก็เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่โอซากาจนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ อาการของเธอก็ดีขึ้นจนทางโรงพยาบาลปล่อยตัวกลับบ้าน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เธอกลับไปตรวจร่างกายซ้ำเพื่อความแน่ใจพบว่าผลตรวจเป็นลบ (ไม่พบเชื้อ)

หลังจากนั้นเธอก็กลับมาพักที่บ้าน แต่! หลังจากนั้นเธอก็มีอาการเจ็บคอ และเจ็บหน้าอก เธอจึงตัดสินใจกลับไปเข้ารับการตรวจอีกครั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ผลปรากฏว่าเป็นบวก พบเชื้อในร่างกายของเธออีกครั้งหนึ่ง แต่โชคดีที่ตลอดระยะเวลาที่เธอถูกปล่อยตัวกลับมาพักที่บ้านเธอสวมหน้ากาก และหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนอยู่ตลอด

รัฐบาลประจำจังหวัด Osaka ระบุว่ามีความเป็นไปได้ 2 อย่างที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงคนนี้

กรณีแรก คือ เธออาจได้รับเช้อซ้ำอีกครั้งในระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่กรณีนี้อาจารย์แพทย์ของมหาวิทยาลัยโอซากากลับมองว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะปกติร่างกายเราจะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอยู่แล้ว นอกจากว่าร่างกายของเธอยังไม่แข็งแรงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์

กรณีที่สอง คือ เชื้อนี้อาจมีการหลบอยู่ในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อรอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอและแสดงอาการขึ้นมาอีกครั้ง

ข่าวนี้ทำให้เราเห็นว่าความจริงแล้วยังไม่มียาหรือวิธีการใดที่สามารถรักษาเชื้อ Covid-19 ให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นช่วยกันระวังการแพร่เชื้อ และคอบเฝ้าสังเกตุอาการของตัวเองกันด้วยนะคะ เพื่อตัวเราและส่วนรวม

จีนพบผู้ป่วยกลับมามีเชื้อ covid19 อีกครั้ง หลังหายป่วยแล้ว

21/02/63 เจ้าเจียนผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจชาวจีนและหัวหน้าทีมแพทย์ที่ทำงานในพื้นที่มณฑลหูเป่ยของจีนเตือนว่า ผู้ป่วยบางรายที่หายจากการติดเชื้อโคโรนาไวรัสแล้วยังมีโอกาสแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้

“มันอันตรายมาก เราจะนำคนไข้กลุ่มนี้ไปไว้ที่ไหน เราไม่สามารถส่งพวกเขากลับบ้าน เพราะอาจนำเชื้อไปแพร่ให้คนในบ้าน แต่ก็ไม่สามารถให้อยู่โรงพยาบาลต่อได้ เนื่องจากพื้นที่ไม่เพียงพอ” เจ้าให้สัมภาษณ์กับ Southern People Weekly

นอกจากนี้ เจ้ายังให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Beijing News ด้วยว่า หนึ่งในผู้ป่วยของเขาได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน หลังจากผลตรวจให้ห้องแล็บ 2 ครั้งยืนยันว่าไม่พบเชื้อโคโรนาไวรัสแล้ว ทว่าไม่กี่วันต่อมาผู้ป่วยรายนี้กลับเป็นไข้และตรวจพบเชื้อโคโรนาไวรัสอีกครั้ง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง