เปิดระยะเวลาอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกรประมง

เปิดระยะเวลาอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร

เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนโครงการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไว้แล้ว แต่ยังคงประสบปัญหาไม่ได้รับเงินเยียวยาเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ขอให้รีบดำเนินการอุทธรณ์เงินเยียวยา ประกอบด้วย

  1. เกษตรกรที่ปรับปรุงข้อมูล ปี 62/63 ภายใน 30 เม.ย. 63 สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ตั้งแต่วันนี้ – 5 มิ.ย. 63 ไม่เว้นวันหยุด
  2. เกษตรกรที่ปรับปรุงข้อมูลระหว่าง 1 – 15 พ.ค. 63 สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ตั้งแต่ 31 พ.ค. – 5 มิ.ย. 63
    .
    เกษตรกรสามารถโทรศัพท์สอบถาม หรือเดินทางไปขออุทธรณ์ด้วยตัวเอง ณ ที่ทำการทั้ง 8 แห่งได้แก่
  3. สำนักงานเกษตรอำเภอ และจังหวัด
  4. สำนักงานประมงอำเภอ และจังหวัด
    3, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และจังหวัด
  5. สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขตหรือศูนย์เครือข่ายใกล้บ้าน
  6. เขตบริหารอ้อย และน้ำตาลทราย 1 – 8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายภาคที่ 1- 4
  7. สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด
  8. การยางแห่งประเทศไทย (จังหวัด/สาขา)
  9. สำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัด
    .
    โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่คอยให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พร้อมตอบข้อซักถามต่าง ๆ ให้แก่พี่น้องเกษตรกร และเมื่อยื่นเรื่องอุทธรณ์เสร็จแล้วถัดไปอีก 8 วัน เกษตรกรที่ยื่นเรื่องอุทธรณ์สามารถตรวจสอบสถานะได้ด้วยตนเองที่ www.moac.go.th

เกษตรกรชาวประมง สามารถตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมประมง ได้ที่เว็บไซต์ https://smartfarmer.fisheries.go.th/fisherman/index.php และหากไม่พบข้อมูลการขึ้นทะเบียนกับกรมประมง มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ขอให้ติดต่อกับสำนักงานประมงจังหวัด/สำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่ หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 2104 9444 หรือ Line : @dofhelpdesk ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 นี้

สำหรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมประมง มีอยู่ 5 ประเภท ดังนี้

1. ทบ.1 ทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ฟาร์มเลี้ยง โรงเพาะฟัก

2. ทบ.3 ทะเบียนชาวประมง ได้แก่ ทะเบียนชาวประมง (ภาคสมัครใจ) / ทะเบียนเจ้าของเรือประมงพื้นบ้าน / ทะเบียนผู้ได้รับอนุญาตทำการประมง / ทะเบียนผู้ได้รับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตาม ม.174 แห่ง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 / ทะเบียนคนประจำเรือประมงทั้งเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้าน (แรงงานไทย)

3. ทะเบียนผู้จดแจ้งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ม.175 แห่ง พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558

4. ทะเบียนผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

5. ทะเบียนผู้จดแจ้งการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ในพื้นที่ตามประกาศของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตาม ม.77 พ.ศ.2558

หลักฐานประกอบการขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร ณ สำนักงานประมงจังหวัด / สำนักงานประมงอำเภอในท้องที่ภูมิลำเนา แบ่งออกได้ ดังนี้

การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1)
ณ สำนักงานประมงจังหวัด / สำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่ตั้งฟาร์ม

  • คุณสมบัติ ประกอบการยื่นขึ้นทะเบียน

1. อายุไม่น้อยกว่า 15 ปี

2. มีบ่อหรือกระชังหรืออื่นๆ เพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและเลี้ยงจริง 

3. การขึ้นทะเบียนรายบุคคล 

  • เอกสาร ประกอบการยื่นขึ้นทะเบียน

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. มีเอกสารแสดงสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน, หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน, นส 3 ก, ส.ป.ก 4-01 เป็นต้น หรือใบรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดิน

การขึ้นทะเบียนชาวประมง (ทบ.3)
ณ สำนักงานประมงจังหวัด / สำนักงานประมงอำเภอในท้องที่ ภูมิลำเนา

  • คุณสมบัติ ประกอบการยื่นขึ้นทะเบียน

1. ชาวประมงที่ทำการประมงทั่วไป โดยไม่ใช้เรือได้รับการรับรองและขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นรายบุคคล อายุไม่น้อยกว่า 15 ปี 

  • เอกสาร ประกอบการยื่นขึ้นทะเบียน

1. บัตรประจำตัวประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. เอกสารการรับรอง เป็นผู้ทำการประมง โดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน หรือ อปท. หรือ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น หรือ สมาคมประมง หรือ สภาองค์กรชุมชน หรือ สภาเกษตรกร.

ขอให้เกษตรกร ชาวประมงทุกคน รีบดำเนินการตรวจสอบสถานะ การขึ้นทะเบียนกับกรมประมงโดยเร็ว หากมีข้อมูลที่ผิดพลาด หรือ ไม่พบชื่อในฐานข้อมูล หรือ มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียนฯในช่วงนี้ จะได้รีบดำเนินการ โดยสามารถตรวจสอบสถานะการขึ้นทะเบียนฯ ได้ที่ https://smartfarmer.fisheries.go.th/fisherman/index.php หรือ ติดต่อกับสำนักงานประมงจังหวัด/สำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่ หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 0 2104 9444 หรือ Line : @dofhelpdesk ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2563

ที่มา : https://www.facebook.com/i.am.fisheries/posts/2455175001248946

เรื่องที่เกี่ยวข้อง