“ไอโอ คืออะไร – Whai is IO” มี สงครามไอโอ ในไทยจริงหรือ ?

ไอโอ คืออะไร มี สงครามไอโอ จริงหรือ

ทวิตเตอร์ปิดบัญชี IO ขอบคุณภาพเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์

คำว่า “ไอโอ” โด่งดังขึ้น หลังส.ส.ฝ่ายค้านพรรคอนาคตใหม่เดิม อภิปรายอ้างมีการปฏิบัติการ ไอโอ ขององค์กรภาครัฐบางองค์กรเพื่อคุกคามคนที่เห็นต่าง ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อ 25 ก.พ. จนทำให้เกิดการถกเถียงทั้งในและนอกสภา ว่า มีปฏิบัติการนี้จริงหรือไม่

ทวิตเตอร์ปิด 926 บัญชี ในไทย เกี่ยว IO

ล่าสุด สดร้อนๆ คำว่า “ไอโอ”โด่งดังมาอีกครั้ง เมื่อ ทวิตเตอร์ เปิดเผยรายงานการตรวจสอบทางบล็อก blog.twitter.com “ทวิตเตอร์” ประกาศปิดบัญชีทวิตเตอร์ ในประเทศไทย 926 แอคเคาท์

https://blog.twitter.com/en_us/topics/company/2020/disclosing-removed-networks-to-our-archive-of-state-linked-information.htmlhttps://blog.twitter.com/en_us/topics/company/2020/disclosing-removed-networks-to-our-archive-of-state-linked-information.html

พบเป็นบัญชีทวิตเตอร์ขององค์กรที่ใช้บัญชีเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการด้านข่าวสาร (IO) ขัดกฏของทวิตเตอร์ เนื่องจากเจ้าของบัญชีเหล่านี้ละเมิดนโยบายด้านการป้องกันการบิดเบือนชี้นำเนื้อหา

ทวิตเตอร์ได้บันทึกบัญชีผู้ใช้งานที่ถูกระงับนี้ไว้ในฐานข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานที่มีความเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการด้านข่าวสารของรัฐเพื่อชี้นำความเห็นในทวิตเตอร์ ซึ่งจะมีการเพิ่มบัญชีผู้ใช้งานที่ละเมิดกฎเข้ามาเป็นระยะ ๆ 

บัญชีผู้ใช้งานเหล่านี้สามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้

นอกจากนี้ทวิตเตอร์ยัง เปิดโอกาสให้เจ้าของบัญชีที่ยืนยันว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการของรัฐแต่ถูกระงับการใช้งาน ยื่นคำร้องขอกลับมาใช้งานได้ด้วย

ไทยจึงนับเป็นประเทศที่ถูกตรวจพบ IO มากที่สุดใน 5 ประเทศ รวมถึง คิวบา อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย

ไอโอ คืออะไร What is Io ?

“ไอโอ” (IO) ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Information Operation หรือ “ปฏิบัติการข่าวสาร” ซึ่งในอดีตถูกนำมาใช้ชิงความได้เปรียบในการรบหรือการทำสงคราม

หลักการสงครามไอโอ (IOWAR)

หลักการ “ไอโอ” คือการใช้สื่อต่างๆในโซเซียล อาทิ ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค เว็บไซต์ โทรทัศน์ เผยแพร่ความคิดและความเชื่อของ “ฝ่ายตน” ให้คนเสพสื่อเหล่านี้ได้อ่าน ฟัง ทำให้เกิดความคิด ถึงเข้าใจผิดคล้อยตามความประสงค์ของ “ฝ่ายตน” หรือ การแสดงความเห็น ผลิตสื่อ เขียนข้อความ ทำลายข้อมูลที่ขัดแย้งกับฝ่ายตน และที่เป็นหลักการสำคัญคือ ขื่อในการเสนอข้อความในสื่อบางประเภท เช่น facebook ทวิตเตอร์ ไม่มีการเปิดเผยตัวตนที่ชัดเจน พิสูจน์ได้ยากว่าใครเขียน ข้อความ ผลิตสื่อแบบนี้

แต่เมื่ออ่านและทำความเข้าใจเชื่อมโยง ประเด็น คำพูด วัตถุประสงค์หลัก keyword ที่สำคัญคือ ที่มา จะรู้โดย “เจตนา” ว่า นี้คือ การใช้ ไอโอ บอมซึ่งกันและกัน

ต้องมีทีมไอโอที่ “รักษาความลับ” ได้ พิสูจน์ตัวตนไม่ได้ ปกปิดร่องรอย

การทำไอโอ จึงต้องมีทีมงานที่มีทักษะการใช้สื่อใหม่ได้อย่างดี ทั้งการสร้างบัญชี facebook ทวิตเตอร์ ฯลฯ ซึ่งต้องอ้างอิงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ อีเมล์ยืนยันตัวตน รูป ชื่อผู้ใช้ ที่ปกปิดอย่างไรไม่ให้เข้าถึงข้อมูล เป็นบุคคลที่ค้นหาเป้าหมายเก่ง คิดประเด็นตอบโต้เก่ง ประเด็นนำเสนอได้ มีวาทะเด็ด ตาต่อตา ฟันต่อฟันได้ เขียนให้เชื่อบุคคลคล้อย หรือ ให้เป็นเป็นเรื่องโจ๊กเอาตลกไปเลยก็มี

และที่สำคัญ มีคนมากพอ มากพอในที่นี้ คือ 1 บุคคล สามารถมีหลายบัญชี หลายชื่อ ในสังคมโซเซียล ซึ่งจะใช้วิธีบัญชีจำนวนมากนี้ ในการยับยั้ง หยุด โจมตี แสดงความเห็น บนเพจเฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรม ได้ หรือจะใช้วิธี report หรือโต้แย้ง ในเพจต่างๆ ไปยังบริษัทเจ้าของว่า เพจนั้น ๆ มีเนื้อหาไม่เหมาะสม ฯลฯ จนเจ้าของเพจระงับการใช้เพจชั่วคราว หรือ ระงับการใช้โดยถาวรไปเลยก็มี หากเจ้าของเพจมีข้อมูลเชื่อได้ว่า เพจดังกล่าวทำผิดกฎของสังคมโซเซียลจริง

ยิงเว็บให้ล่มมีปัญหาการเข้าใช้

ร้ายไปกว่านั้น หากฝ่ายตรงข้ามมีเป็นเว็บไซต์ นำเสนอข้อมูลที่ไม่ตรงใจ โจมตีฝ่ายคน ก็จะหามือดีที่เขียนโปรแกรมหรือใช้คำสั่ง การบอม DDos หรืออธิบายง่าย ๆ ทำให้เหมือนมีคนมาใช้ข้อมูลมหาศาลบนเว็บฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ server ทำงานหนัก จนทำให้ผู้เข้าใจเว็บคนอื่นเข้าใช้ไม่ได้ หรือใช้ไม่ได้ไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ที่สำคัญ ของ สำคัญ บุคคลที่ทำไอโอต้องรักษาความลับได้ และรู้ตัวทุกขณะว่า กำลังทำผิดกฎสังคมโซเซียล ต้องไม่หลุด เพราะ เมื่อไหร่ความลับแตก ออกมายังบุคคลภายนอก ว่าองค์กรใด ตั้งทีม IO ที่ไม่สร้างสรรค์ ย่อมส่งผลเสียต่อองค์กรอย่างรุนแรง

แต่หากจับไม่ได้ไล่ไม่จน คือ “ระบุตัวตน IP เชื่อมโยงกับองค์กรไม่พบ” ซึ่งเรื่องนี้เป็นไปได้ยากมาก / องค์กรนั้นๆ ก็จะปฏิเสธว่า “ไม่มีปฏิบัติ ไอโอ” นั้นทันควัน แต่หากหลักฐานปรากฎชัด ก็จะออกมาในเชิงว่า เป็นการตั้งทีมเพื่อ PR ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร หรือ พูดแบบง่ายว่า เป็นทีม IO ที่สร้างสรรค์ ซึ่งชื่อ IO ก็บอกไปข้างต้นว่า ใช้เพื่ออะไร

ระมัดระวังการเสพและเป็นส่วนหนึ่งของสงคราม IO

ดังนั้น การเสพสื่อจึงต้องระมัดระวังไม่ตกเป็นเครื่องมือ ตกอยู่ในสงครามไอโอของใคร

ทำได้คือ “ศึกษาข้อมูลทั้ง 2 ฝ่าย และใช้พื้นฐานข้อเท็จจริงประกอบ” โดยไม่ใช้อารมณ์ หรือเชื่อข้อความ อินโฟกราฟฟิค ของใครง่ายๆ เพราะหากเราเชื่อ และพิมพ์แสดงความเห็น กดแชร์ กดไลน์ หรือสื่ออะไรไป ย่อมทำให้สงครามไอโอ ลุกโชตืช่วงมากขึ้นอย่างช่วยไม่ได้

ฉะนั้น อย่าทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครอบครองสื่อและใช้เราเป็นเครื่องมือสร้างสงครามไอโอ หรือ ปฏิบัติการด้านข่าวสาร (IO)

……………………………………………….

ที่มา : เป็นเพียงประสบการณ์ความเห็นที่รวบรวมจากสังคมออนไลน์ และข้อเท็จจริงที่ปรากฎในข่าวและโซเซียลปัจจุบัน เพื่อนำเสนอข้อมูลให้สาธารณะเข้าใจว่า IO คืออะไรเท่านั้น ไม่มีเจตนากล่าวถึงองค์กรหนึ่งองค์กรใดโดยเฉพาะ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง