ลดภาษีที่ดิน 90% หมดเขต 31 สิงหา 63 – กทม.ขยายถึง 31 ต.ค.นี้

ล่าสุด กทม.ขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีไปถึง 31 ต.ค. 2563 วันสุดท้าย

จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 กรุงเทพมหานครได้ประกาศขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน ทำให้กำหนดการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างวันสุดท้าย คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2563

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ ภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์ โดยภาษีที่ได้รับการชำระนั้น จะนำเงินไปใช้พัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 มติเห็นชอบการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2563 ในอัตรา 90% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ให้แก่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย และรกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

ปอท.โดยอาศัยอำนาจมาตรา 14 ขยายระยะเวลาชำระออกไป อีก 1-2 เดือนคือ กันยายน และตุลาคม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ยอมรับว่าอปท.หลายแห่งยังมีปัญหาแจ้งประเมินฯชำระภาษีไม่ทัน ส่งผลให้ต้องขยายระยะเวลาออกไป อีก 1-2 เดือนคือ กันยายน และตุลาคม โดยอาศัยอำนาจมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติ (พรบ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562  

ซึ่งล่าสุดกทม. ส่งหนังสือขอขยายเวลาชำระภาษีจากสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม ไปอีก 2 เดือน รวมถึงจังหวัดอื่น แต่ทั้งนี้อยากให้ประชาชนสอบถามไปยังอปท.ในพื้นที่เพราะแต่ละแห่งจะกำหนดระยะเวลาไม่เหมือนกัน บางแห่งอาจขอขยายเวลาถึงสิ้นเดือนกันยายนเพราะปริมาณงานเหลือไม่มาก บางแห่งอาจสิ้นสุดเดือนตุลาคม รวมถึงรายที่ได้รับใบแจ้งชำระภาษี ไปแล้วยังไม่ชำระภายในเดือนสิงหาคม หากในพื้นที่ ขยายเวลาก็สามารถชำระหลังวันที่ 31 สิงหาคมได้โดยไม่เสียเบี้ยปรั

ที่มา ฐานเศรษฐกิจ

จดหมายแจ้งภาษีที่ดินส่งไปที่บ้าน

31 สิงหาคม 2563 นี้ จะเป็นวันครบกำหนดการชำระการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างครั้งแรก โดยในช่วงเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2563 ที่ผ่ามาหน่วยงานจัดเก็บภาษีที่ดิน ได้แก่ สำนักงานเขต และ เทศบาล จัดส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภดส. 6) และแบบแสดงรายการคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภดส.7 หรือ ภดส.8) ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน และแจ้งว่าหากเห็นด้วยกับการประเมินฯ ให้ชำระภาษีภายในวันที่ 31สิงหาคม 2563 แต่หากไม่เห็นด้วยกบการประเมินต้องใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ภดส. 6 ดังกล่าว

หากผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เห็นด้วยกับการประเมินฯ ต้องใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ภดส. 6 โดยผลของการไม่คัดค้านการประเมินภายในกำหนดเวลา จะถือว่าเป็นการยอมรับการประเมินของเจ้าพนักงานฯ  ส่งผลให้ไม่สามารถฟ้องร้องโต้แย้งการประเมินภาษีฯ ไปยังศาลภาษีอากรได้อีกต่อไป

ดังนั้น ควรจะให้เวลากับการอ่านเอกสารทั้งหมดและคัดค้านการประเมินฯ ภายในกำหนดเวลาเพื่อไม่เสียสิทธิทางศาล

เกณฑ์การชำระภาษี

1. กรณีที่ดินประกอบการเกษตร ถ้าเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา บทเฉพาะกาลของแห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้ 3 ปีแรก (ปี 2563-2565) จะได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี แต่ถ้าเจ้าของเป็นนิติบุคคล สำหรับที่ดินมีมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราการใช้ประโยชน์ประกอบเกษตรกรรม  0.01% คิดเป็นค่าภาษี 500 บาท แต่เมื่อลดจำนวนภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะชำระภาษีเพียง 50 บาท

2. กรณีที่อยู่อาศัย สำหรับบ้านหลังหลักที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดา และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท และกรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 10 ล้านบาท สำหรับบ้านหลังอื่นหากมูลค่า ราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย  0.02% คิดเป็นค่าภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดจำนวนภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะชำระภาษีเพียง 100 บาท

3. กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประกอบการพาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม มูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรารกร้างว่างเปล่า/อัตราการใช้ประโยชน์อื่น  0.3% คิดเป็นค่าภาษี 15,000 บาท แต่เมื่อลดจำนวนภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะชำระภาษีเพียง 1,500 บาท เป็นต้น

ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย 

สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยเอง บ้านหลังที่ 2 ให้ญาติพี่น้องอยู่อาศัย ให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยแบบรายเดือน (เช่น บ้านเช่า อพาร์ทเม้นท์ หอพัก คอนโด เป็นต้น) และโฮมสเตย์ ให้เสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย

2) ให้ครอบคลุมถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อสร้าง หรือปรับปรุงต่อเติมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยด้วย เช่น บ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง หรือคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการตกแต่ง เป็นต้น

3) ไม่รวมถึงโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่าง การพัฒนา หรือสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้ขายตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน หรือกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม 

สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ให้หมายความรวมถึงการปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำนาเกลือสมุทร การทำสวนป่า การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค หรือจำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม และให้รวมถึงที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ต่อเนื่องที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมนั้นด้วย

2) สำหรับระยะเวลาในการประกอบเกษตรกรรมให้รวมถึงช่วงเวลาพักการเกษตร เพื่อฟื้นฟูสภาพที่ดิน หรือการพักที่ดินระหว่างฤดูกาลผลิต หรือการตัดวงจรโรคด้วย

ทั้งนี้ การออกประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และเรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ทั้ง 2 ฉบับ จึงเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของภาษีบำรุงท้องที่เดิม ลดการใช้ดุลยพินิจ และทำให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีความชัดเจน โปร่งใส เป็นมาตรฐาน และสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของการทำประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรมในปัจจุบัน

ที่มา กระทรวงการคลัง

ปัญหาที่เกิดขึ้น

พบว่าข้อมูลที่ระบุมาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ขนาดพื้นที่ไม่ถูกต้อง ประเภทการใช้สอยไม่ถูกต้อง ชื่อของเจ้าของบ้านไม่ถูกต้อง เป็นต้น สิ่งที่ต้องรู้คือ การยื่นเรื่องแก้ไขข้อมูลเหล่านี้ต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันหลังจากจดหมายแจ้งส่งถึงผู้รับ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว จะไปแก้ไขหลังจากนั้นก็ยังไม่มีรายละเอียดว่าทำได้หรือไม่ และทำได้อย่างไร

วิธีการยื่นคำคัดค้านออนไลน์ (เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ) ดังนี้

  • ขั้นตอนที่ 1 แสกนคิวอาร์โค้ดที่ปรากฏอยู่ในหน้าแรกของแบบที่จัดส่งระบุว่า “ใบคำร้องคัดค้านหนังสือแจ้งการประเมิน ภดส. 6,7,8 (แบบ ภดส.10)”  แล้วกดไปหาลิงก์ตามที่แสกนได้ หรือจะเข้าเว็บไซท์ https://online.tks.co.th/bangkok-oppose-taxation/5001 ถึง /5044 (โดยตัวเลข 4 หลักท้ายตั้งแต่ 5001-5044 ขึ้นอยู่กับเขตที่ตั้งของที่ดินฯ ซึ่งจะต่างกันในแต่ละคิวอาร์โค้ด จึงแนะนำให้สแกนคิวอาร์โค้ดจะดีที่สุด
  • ขั้นตอนที่ 2 เมื่อเข้าหน้าเว็ปไซต์แล้วจะปรากฏหน้าเข้าสู่ระบบคำร้องคัดค้านการประเมินภาษีหรือเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ภดส.10)
  • ขั้นตอนที่ 3  ให้กรอกเลขที่หนังสือแจ้งการประเมิน (ตามที่แต่ละท่านได้รับ)  และรหัสผ่าน (คือเลขท้าย 4 ตัวในบาร์โค้ดที่ให้ชำระเงินในหนังสือของแต่ละท่าน)
  • ขั้นตอนที่ 4 เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อย จะปรากฏหน้าแบบคำร้องคัดค้านการประเมินฯ (ภดส. 10)  แสดงชื่อผู้เสียภาษี, ปีภาษีที่แจ้งประเมิน, หนังสือแจ้งประเมินเลขที่, วันที่ออกหนังสือแจ้งประเมิน  ให้กรอกวันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้งประเมินตามจริง (ซึ่งจะต้องไม่เกิน 30 วันนับจนถึงวันที่คัดค้าน) และเหตุผลในการคัดค้าน เช่น  ลักษณะการทำประโยชน์ไม่ถูกต้อง  พื้นที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่ถูกต้อง ราคาที่ใช้ประเมินไม่ถูกต้อง  ที่ดินฯ ไม่ใช่ของท่าน  ท่านเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นต้น
  • ขั้นตอนที่ 5 ในข้อ 2  ของแบบ ภดส. 10 จะให้แนบเอกสารหลักฐาน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะบียนบ้าน  โฉนดที่ดิน แบบขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร สำเนาใบแสดงสิทธิ์อาคารชุด สำเนาคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องกับที่ดินฯ  หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
  • ขั้นตอนสุดท้าย เมื่อกรอกข้อมูลและแนบไฟล์เอกสารหลักฐานแล้วให้กดส่งข้อมูล เป็นอันเสร็จสิ้นในการยื่นคำร้องคัดค้านการประเมินภาษีที่ดินฯ

สำหรับปีหน้า และทุกๆ ปีต่อไป หากไม่มีประกาศขยายระยะเวลาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็จะได้รับ ภดส.6 และ ภดส.7 หรือ ภดส. 8 ระหว่างเดือน ก.พ.-มี.ค. และต้องชำระภาษีภายในวันที่ 30 เม.ย

การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือผ่าน QR code ของระบบ Online Banking

การเรียกเก็บและการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การส่งใบประเมินเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปยังเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในกรณีที่ตรวจสอบใบประเมินดังกล่าวแล้วพบว่าถูกต้อง ผู้เสียภาษีค่อยไปชำระภาษี ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายช่องทาง เช่น สำหรับกรุงเทพมหานครสามารถชำระที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือผ่าน QR code ของระบบ Online Banking ในท้ายใบประเมิน หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง ส่วนในต่างจังหวัดสามารถชำระได้ที่สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือตามช่องทางอื่นที่กำหนด

ประชาชนในกรุงเทพมหานครสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารในเรื่องการขยายระยะเวลาชำระภาษีได้ที่กองรายได้ กรุงเทพมหานคร โทร. 02-221-2141 ถึง 69 และในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอบถามได้ที่กองคลังในแต่ละเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล

ล่าสุด กทม.ขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีไปถึง ต.ค. 2563

จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษีภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 กรุงเทพมหานครได้ประกาศขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน ทำให้กำหนดการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างวันสุดท้าย คือ วันที่ 31 ตุลาคม 2563

ขยายกำหนดเวลาการผ่อนชำระภาษีด้วย

จากเดิมที่กฎหมายกำหนดให้ผ่อนชำระภาษี 3 งวด ภายในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคมนั้น กรุงเทพมหานครได้ขยายกำหนดเวลาการผ่อนชำระภาษี 3 งวด ออกไปอีก 2 เดือน ดังนั้น การผ่อนชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 3 งวดจึงมีกำหนดการใหม่ดังนี้

ผ่อนงวดที่ 1 ชำระภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2563
ผ่อนงวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563
ผ่อนงวดที่ 3 (งวดสุดท้าย) ชำระภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563
ขยายกำหนดเวลาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีที่ดินออกไปอีก 2 เดือนด้วย

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ยังขยายกำหนดเวลาส่งหนังสือแจ้งเตือนประชาชนที่มีค่าภาษีค้างชำระออกไปอีก 2 เดือน จากเดิมภายในวันที่ 30 กันยายน 2563 เป็นภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 รวมถึงขยายกำหนดเวลาการแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดินหรือสำนักงานที่ดินสาขาออกไปอีก 2 เดือน จากภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2563 เป็นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563

ของคุณภาพจาก ช่อง 3 และข้อมูล posttoday เพื่อบริการประชาชน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง