ตำแหน่ง วันเวลา ดู “ฝนดาวตกเพอร์ซิอัส” ได้เมื่อไหร่ ตอนไหน

“12-13 สิงหาคม นี้ มานอนดูฝนดาวตกเพอร์ซิอัส” ท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หลังเวลา 22.30 น.

ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์

ฝนดาวตกกลุ่มนี้เป็นฝนดาวตกที่ติดกลุ่มในจำนวนฝนดาวตกที่น่าดูที่สุดในรอบปี เพราะมีปริมาณดาวตกค่อนข้างมาก ดาวหางที่ให้กำเนิดฝนดาวตกกลุ่มนี้คือ ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล ซึ่งเคยตกเป็นข่าวโด่งดังพอสมควรว่ามีโอกาสจะชนโลกในอีกกว่าศตวรรษข้างหน้า ช่วงที่ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิลกลับมาเยือนโลกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2535 ได้ทำให้เกิดฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในปี 2534 และ2535 ด้วยจำนวนมากกว่า 400 ดวงต่อชั่วโมง ส่วนปี 2536 และ 2537 มีจำนวนลดลงเป็น 300 และ 220 ดวงต่อชั่วโมง ตามลำดับ หลังจากนั้นก็มีจำนวนดาวตกขณะที่มีอัตราสูงสุดอยู่ในราว 100-160 ดวงต่อชั่วโมง

ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสในครั้งนี้ จะเริ่มตกตั้งแต่ช่วง 17 กรกฎาคม. -24 สิงหาคม

แต่จะตกมากที่สุดในวันที่ 12 และ 13 สิงหาคมนี้ โดยจะเริ่มตกหลัง22.30น. โดยจะสามารถรับบมได้บริเวณท้องฟ้าทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์

“ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์” คืนวันที่ 28 ก.ค. ตั้งแต่เวลาประมาณตี 1 ครึ่ง ถึงรุ่งเช้า 29 ก.ค.63 ตี 4

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เชิญชวน ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์ (Delta Aquarids) หรือฝนดาวตกในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ (Aquarius) เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 12 กรกฎาคม – 23 สิงหาคม ของทุกปี ปีนี้มีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 25 ดวงต่อชั่วโมง

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ คือ หลังเที่ยงคืนวันที่ 28 ก.ค. 63 เวลาประมาณ 01:30 น. เป็นต้นไป ถึงรุ่งเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 63 เวลาประมาณ 04:08 น เนื่องจากช่วงดังกล่าวไร้แสงจันทร์รบกวนศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณทางใต้ของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ทิศตะวันออก

แหงนหน้า (นอน) มองฟ้าทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

หากสภาพท้องฟ้าปลอดฝนและไร้เมฆบดบังชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ ไม่ต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วยสังเกตการณ์ เพียงแหงนหน้ามองฟ้าทางทิศตะวันออก หรือนอนชมก็สะดวกดีครับ นาน ๆ แวบมาที จะได้ไม่เมื่อยคอ

ปรากฏการณ์ฝนดาวตก เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อยเหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้ เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า

ดาวหางนีโอไวส์ ห่างโลกออกไปแล้ว รอมั้ยอีก 7,000 ปี มาดูรูปกัน

ที่มา https://www.facebook.com/APOD.Sky
ที่มา https://www.facebook.com/APOD.Sky
ที่มา https://www.facebook.com/APOD.Sky

ดาวหางนีโอไวส์ – C/2020 F3 (NEOWISE) เป็นดาวหางที่ค้นพบเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563  ซึ่งเป็นดาวหางคาบยาว สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตได้เช่นกันครับแต่ยังอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้มองเห็นได้ยากเนื่องจากมีเมฆ สำหรับช่วงเวลาชมดาวหาง

ดูดาวหาง ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ใกล้แสงขอบฟ้า ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น

ดาวหางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จำเป็นต้องหาสถานที่ซึ่งท้องฟ้าด้านนี้เปิดโล่ง หรือสังเกตจากสถานที่สูง สภาพอากาศปลอดโปร่ง ดาวหางมีแนวโน้มจะสว่างพอสมควร แต่การอยู่ใกล้ขอบฟ้า ทำให้ความสว่างลดลง จำเป็นต้องใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ ช่วงนั้นดาวหางอยู่ในกลุ่มดาวสารถี ให้สังเกตตำแหน่งของดาวหางเทียบกับดาวศุกร์และดาวคาเพลลาในกลุ่มดาวสารถี หลังจากขึ้นเหนือขอบฟ้าแล้ว จะมีเวลาสังเกตดาวหางได้ไม่นานก่อนที่ความสว่างของท้องฟ้ายามเช้าจะกลบแสงของดาวหาง

หลังจากวันที่ 10 กรกฎาคม ดาวหางนีโอไวส์จะมีมุมเงยต่ำมากจนสังเกตได้ยาก จากนั้นขึ้นและตกในเวลาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถสังเกตได้จากประเทศไทย 

มีดังนี้
.
วันที่ 1 – 14 ก.ค. 2563 สามารถสังเกตได้ในช่วงเช้ามืดใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้

ตำแหน่งดาวหางนีโอไวส์ (เทียบกับดาวฤกษ์) ในวันที่ 10-14 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงสุดท้ายที่ดาวหางปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดของประเทศไทย

 แสดงขอบฟ้าของวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 ที่เวลาประมาณ 35 นาที ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 

หลังวันที่ 18 ก.ค. 2563 เป็นต้นไป สามารถสังเกตได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ

วันที่ 20 – 23 ก.ค. 2563 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการชมดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด โดยเฉพาะวันที่ 23 ก.ค. เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์เข้าใกล้โลกที่สุดครับ

นายปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช เผยภาพดาวหางนีโอไวส์ (NEOWISE) หรือ C/2020 F3 ที่บันทึกไว้เมื่อวันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2563 เวลา 5:00 น. ณ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

“ดาวหางนีโอไวส์” (NEOWISE) เหนือฟ้า แม่ริม เชียงใหม่

สำหรับเทคนิคและทักษะสำคัญในการถ่ายภาพดาวหาง

1. การติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์ ที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์ของนักดาราศาสตร์ ซึ่งจะมีหอดูดาวสังเกตการณ์ตลอดทั้งปีและคอยอัพเดทข่าวสารเกี่ยวกับดาวหางที่อาจมีค่าความสว่างมากขึ้น จนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น https://theskylive.com ซึ่งมีข้อมูลดาวหางแบบ Real Time และค่าความสว่าง ตำแหน่งดาวหางล่วงหน้าอย่างละเอียด

2. การหาตำแหน่งดาวหางจากโปรแกรม Stellarium ในการใช้โปรแกรมบางครั้งจำเป็นต้องอัพเดทโปรแกรมเวอร์ชั่นล่าสุด และสามารถดาวน์โหลดข้อมูลดาวหางลงไว้ในโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบตำแหน่งดาวหางในแต่ละวันได้ ดังรายละเอียดตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2CcgdPi

ห่างออกมาจากพระจันทร์ ขวามือ
เมืองไทย : ภาพคุณ Beebie Zaa

3. การวางแผนถ่ายภาพดาวหางในแต่ละวัน โดยสามารถใช้โปรแกรม Stellarium ในการแสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวหาง รวมทั้งการคาดการณ์ค่าความสว่างของดาวหางในแต่ละช่วงได้อีกด้วย นอกจากค่าความสว่างของดาวหางแล้ จำเป็นต้องตรวจสอบดวงจันทร์ที่อาจจะทำให้มีแสงรบกวนได้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2ZOjqwW

4. อุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพดาวหางสว่าง สำหรับอุปกรณ์ในการถ่ายภาพดาวหางสว่างนั้น มีเพียง A.กล้องดิจิทัล B.ขาตั้งกล้องที่มั่นคง C.เลนส์ไวแสง แต่สำหรับดาวหางนีโอไวส์ครั้งนี้ แนะนำเลนส์ที่ช่วงทางยาวโฟกัส 24-70 mm. หรือ 70 – 200 mm. เนื่องจากขนาดปรากฏของดาวหางมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก

5. การหามุมรับภาพ เพื่อให้เราสามารถวางแผนเลือกใช้เลนส์และอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพดาวหาง โดยสามารถใช้โปรแกรม Stellarium ในการหามุมรับภาพ ตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2WydE1o แต่สำหรับคนที่อยากได้แบบใหญ่ ๆ ถ่ายเฉพาะตัวดาวหาง ก็สามารถใช้ทางยาวโฟกัสสูง แต่จำเป็นต้องถ่ายบนฐานตามดาวด้วย

6. การตั้งค่าถ่ายภาพดาวหาง เริ่มจากการใช้ค่ารูรับแสงกว้าง เช่น f/2.8 เพื่อให้กล้องไวแสงมากที่สุด, คำนวณค่าความเร็วชัตเตอร์จากสูตร 400/600 ให้สัมพันธ์กับช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์ที่เลือกใช้ รายละเอียดตามลิงก์นี้ https://bit.ly/2Cpsdxw, ตั้งค่าความไวแสง ISO โดยอาจเริ่มจาก ISO 800 ขึ้นไป และปรับเพิ่มขึ้นตามสภาพแสงของท้องฟ้า

7. การมองหาดาวหางด้วยตาเปล่า ระหว่างวันที่ 18-23 ก.ค.นี้ สามารถเริ่มต้นมองหาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เวลา 19.30 น.เป็นต้นไป และใช้การถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้างประกอบการค้นหา เนื่องจากกล้องถ่ายภาพสามารถรวมแสงวัตถุจาง ๆ ได้ดีกว่าตาเปล่า แล้วเช็คดูภาพที่หลังกล้อง หรืออาจใช้กล้องสองตาในการค้นหาด้วยเช่นกัน

ขอบคุณภาพและข้อมูล จาก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

Clip youtube ดาวหางนีโอไวส์ – C/2020 F3 (NEOWISE) 

Cr. ภาพ : www.facebook.com/APOD.sky, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
http://thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/c2020f3/
รูปเพจไทยคู่้ฟ้า