เตือนฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่ กทม. เกินมาตรฐาน

6 พ.ย. 2562

แฟนเพจ กรมควบคุมมลพิษ รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ทั้ง 44 สถานี เมื่อเวลา 7.00 น. พบว่าปริมาณฝุ่นละอองตรวจวัดค่าได้ระหว่าง 33-76 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดี 6 สถานี ระดับปานกลาง 22 สถานี

ส่วนระดับที่ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 16 สถานี ดังนี้ ริมถนนกาญจนาภิเษก, ริมถนนดินแดง, เขตปทุมวัน, เขตบางคอแหลม, เขตยานนาวา, เขตธนบุรี, เขตคลองสาน, เขตบางกอกน้อย, เขตภาษีเจริญ, เขตบางพลัด, เขตบางขุนเทียน, เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ต.ปากน้ำ อ.เมือง และ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน และ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในวันนี้ จะมีเมฆบางส่วน อากาศจะเย็นในตอนเช้า กับลมสงบ และมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

ทั้งนี้ คพ. จะดำเนินการประสานแจ้งหน่วยงานในพื้นที่ดังกล่าว เร่งดำเนินมาตรการควบคุม กำกับ และดูแลแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรม เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นให้กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติโดยเร็วที่สุด.

ขอบคุณเฟซบุ๊ก กรมควบคุมมลพิษ

เตือนฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่ กรุงเทพฯ. เกินมาตรฐาน ควรสวมหน้ากากฯ สาเหตุจากสภาพอากาศ ฝนตกน้อยลง อยู่ในช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ทำให้ฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น

แฟนเพจ กรมควบคุมมลพิษ เผยผลการตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประจำวันที่ 30 ก.ย.62 ว่า ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ตรวจวัดได้ระหว่าง 40-78 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินเกณฑ์มาตรฐาน 33 สถานี (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ได้แก่ เขตบางขุนเทียน เขตปทุมวัน เขตธนบุรี เขตวังทองหลาง เขตดินแดง เขตสัมพันธวงศ์ เขตพญาไท เขตบางรัก เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตจตุจักร เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตภาษีเจริญ เขตคลองเตย เขตบางซื่อ เขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตบึงกุ่ม เขตบางพลัด และบริเวณถนนสิรินธร

จ.นนทบุรี บริเวณ อ.บางกรวย และ อ.ปากเกร็ด, จ.ปทุมธานี บริเวณ อ.คลองหลวง, จ.สมุทรปราการ บริเวณ อ.พระประแดง และ อ.เมือง, จ.สมุทรสาคร บริเวณ อ.กระทุ่มแบน และ อ.เมือง และจ.นครปฐม บริเวณ อ.เมือง ปริมาณฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้าเกือบทุกพื้นที่ คุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับสาเหตุเนื่องจากสภาพอากาศ ที่กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า ช่วงเช้าลมสงบ ความชื้นสูง เกิดการผกผันกลับของอุณหภูมิในช่วงเช้า ประกอบกับระยะนี้มีฝนตกน้อยลง เป็นระยะที่กำลังเปลี่ยนฤดูกาล (transition) จึงทำให้ฝุ่นละอองสะสมเพิ่มขึ้น.

ช่วงเย็นวันที่ 30 ก.ย. ฝุ่น PM2.5 วิกฤตที่สุดในโลก

เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ควรสวมหน้ากากอนามัย

จากสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 สูงเกินมาตรฐานดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งเตือน ให้ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทางสุขภาพที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ในพื้นที่ที่ฝุ่นละอองเกินมาตรฐานควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรม หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านเป็นเวลานาน ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อเป็นการป้องกันฝุ่นละออง รวมถึงป้องกันโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นไปตามหลักการป้องกันไว้ก่อน

งดการเผาในที่โล่งทุกชนิด บำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดควันดำ

กรมควบคุมมลพิษ กทม. บก.จร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่งทุกชนิด บำรุงรักษาเครื่องยนต์ไม่ให้เกิดควันดำ ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทดแทนการใช้รถส่วนบุคคล ตรวจสอบและไม่ใช้รถขนส่งสาธารณะที่มีควันดำ และขอความร่วมมือสถานที่ก่อสร้างและโรงงานอุตสาหกรรมควบคุมและลดการระบายฝุ่นและมลพิษทางอากาศ

ลงทุนแมน สรุปเนื้อหา อะไรคือ PM 2.5

Particulate Matter 2.5 (PM2.5) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมกว่า 20 เท่า

ค่าฝุ่นละอองจะอยู่ในรูป ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m3)

ด้วยความที่ขนาดเล็กมาก ทำให้ PM2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

ระยะสั้น ก็จะทำให้ หายใจไม่สะดวก แสบจมูก หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ระยะยาว จะมีผลถึง มะเร็งปอด โรคหัวใจ โรงหลอดเลือดในสมอง (Stroke)

References
-UK AIR Air Information Resource
-วันเวลาที่ตรวจสอบ: 30 ก.ย. 2562 เวลา 10.00

กลุ่มเสี่ยง สวมหน้ากากป้องกันไว้ ดีกว่าจ่ายค่ารักษาแพงมาก

องค์กรอนามัยโลก กำหนดให้ PM2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นสาเหตุ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคมะเร็งปอด, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคติดเชื้อเฉียบพลัน ในระบบหายใจส่วนล่าง 

เมื่อทำให้เกิดโรคก็ย่อมทำให้มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมาแน่นอน และไม่ได้ถูกๆ เลย เช่น โรคภูมิแพ้ หรือ ระบบทางเดินหายใจ จะมีค่าใช้จ่ายขั้นต่ำที่ 500 – 1,5000 บาทต่อครั้ง

โรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดอักเสบ ค่ารักษาเริ่มต้นอยู่ที่ 5,000 – 10,000 บาทต่อครั้ง

โรคถุงลมโป่งพอง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดในสมอง ค่ารักษาเริ่มต้นอยู่ที่ 50,000 -100,000 บาทต่อครั้ง และและโรคมะเร็งปอด ค่ารักษาจะอยู่ที่ 100,000 – 1 ล้านบาท

ภาพประกอบจาก กรมควบคุมมลพิษ และ ข่าว3มิติ 30 ก.ย. 62
https://wealthmeup.com