‘ป่าแก่งกระจาน’ มรดกโลก ที่ ยูเนสโก ยังไม่กล้าขึ้นทะเบียน

วันที่ป่าแก่งกระจานโด่งดังมาอีกครั้ง กับ พบชิ้นส่วนกระดูก นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ แกนนำชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย ในถังน้ำมัน 200 ลิตรใกล้สะพานแขวนในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน  หลังหายสาบสูญไปเป็นระยะเวลา 5 ปี หลังเกิด กรณีข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกับชุมชนกะเหรี่ยง จนเป็นที่มาของการร้องเรียนต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่า มีการละเมิดสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง ในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน

ขณะนั้นเป็นข่าวโด่งดังเพราะมีเฮลิคอปเตอร์ของทางการตกติดๆกัน 3 ลำ ท้ายที่สุดมีเรื่องปูดออกมาว่าอุทยานฯไปใช้วิธีรุนแรงรื้อบ้านและเผายุ้งข้าวของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยกว่า 20 ครอบครัวจนกลายเป็นเหตุแห่งอาถรรพ์

และ เป็นคดีความในศาลปกครอง เมื่อชาวบ้านบางกลอย จ.เพชรบุรี ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คดีนำกำลังเข้ารื้อทำลายเผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงกว่า 20 ครอบครัว

นายพอละจี หรือบิลลี่ (ซ้ายมือ)

ซึ่งนายพอละจี หรือบิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย.57 โดยได้ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมในระหว่างนำน้ำผึ้งออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยขณะนั้นเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวอ้างว่าได้ปล่อยตัวนายพอละจี พร้อมรถจักรยานยนต์และน้ำผึ้งของกลางไปโดยไม่ได้ดำเนินคดี

ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : 
http://transbordernews.in.th/home/?p=1536 , http://transbordernews.in.th/home/?p=4001

จนมาถึงวันนี้ พบศพนาย พอละจี หรือบิลลี่ ในวันนี้ พบถังน้ำมัน 200 ลิตร ที่บริเวณใกล้สะพานแขวน ภายในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

สะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 6 ก.ย. 62

***********************************

มารู้จักป่าแก่งกระจานกันดีกว่า

ป่าแก่งกระจานของไทย ได้ถูกเสนอชื่อต่อ ยูเนสโก ให้ขึ้นเป็น มรดกโลก แต่ล่าสุด ไม่ได้รับการลงมติให้เป็นมรดกโลกปี 2562 เพราะไทยส่งข้อมูลช้าไม่ทันพิจารณา ใน 3 ปมหลัก คือ ให้ดำเนินการเรื่องขอบเขตระหว่างไทยและเมียนมา, ให้ไปทำข้อศึกษาเปรียบเทียบเรื่องขอบเขตพื้นที่ที่ลดลงว่ายังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามระเบียบข้อที่ 10 ของการขึ้นแหล่งมรดกทางธรรมชาติ และให้ไปทำข้อห่วงกังวลเรื่องชุมชนในพื้นที่

โดยนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน หลังถูกนำกลับมาพิจารณาอีกครั้งช่วงท้ายของการพิจารณาขึ้นมรดกโลก ว่า 
ที่ประชุมมีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Refers) กลุ่มป่าแก่งกระจานของประเทศไทย ตามร่างข้อมติของคณะทำงาน 6 ประเทศ จากคณะกรรมการรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก 21 ประเทศ โดยให้ไทยจัดทำเอกสารเพิ่มเติมที่มีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี รวม 3 ข้อ คือ ให้ดำเนินการเรื่องขอบเขตระหว่างไทยและเมียนมา , ให้ทำข้อศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่ หลังปรับลดลงยังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามระเบียบข้อที่ 10 เรื่องความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ในการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางธรรมชาติ และ สุดท้ายให้ไปทำข้อห่วงกังวลเรื่องชุมชนในพื้นที่ 

ถือเป็นการยกระดับการทำงานของไทยในหลายๆด้านที่ผ่านข้อท้วงติงและข้อกังวล ทั้งการแก้ปัญหาชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ด้วยการดำเนินการสิทธิชุมชนผ่านกฎหมายใหม่ 2 ฉบับที่ประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และปรับลดขอบเขตการขึ้นทะเบียนมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจานเข้ามาร้อยละ 15 หรือประมาณ 2 กิโลเมตร จากแนวเส้นสมมุติของแนวเขตแดนของไทยและเมียนมา ทำให้คลายความกังวลและตกลงกันได้แล้ว คาดว่า จะเร่งรวบรวมและทำข้อมูลเพิ่มเติมทั้งหมดเสนอสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาอีกครั้งปีหน้า 

***********************************

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอุทยานแห่งชาติที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี และมีลักษณะเด่นทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลสาบ น้ำตก ถ้ำ หน้าผาที่สวยงาม มีเนื้อที่ประมาณ 1,821,687.84 ไร่ หรือ 2,914.70 ตารางกิโลเมตร 

สังคมพืชหลักในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แก่ระบบนิเวศของป่าไม้ ซึ่งปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติถึงร้อยละ 85.64 ประกอบด้วยชนิดป่าที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่ 
ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่เป็นบริเวณกว้างในระดับความสูงประมาณ 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ กระลอขน ตะแบก เสลา เขม่าสาย ยางโอน เสม็ดฟอง พญารากดำ มะกอกแบน นกน้อย ผมหอม ตาเสือ เสม็ดเขา หนามขี้แรด ชมพูป่า ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไม้เถา เช่น เถากระไดลิง เป็นต้น 

ป่าดงดิบแล้ง พบขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะตามที่ลุ่มริมฝั่งน้ำในหุบเขา ไหล่เขา และที่ราบต่ำระหว่างภูเขา ที่ระดับความสูงประมาณ 400-500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ดำดง สมอจัน ข่อยหนาม กระเบากลัก หมากเล็กหมากน้อย ถอบแถบ ดีหมี กระชิด หงอนไก่ดง ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไม้เถา เช่น กำลังหนุมาน สะแกวัลย์ หวายลิง เป็นต้น 

ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นอยู่ทางตอนกลางและส่วนเหนือของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตีนนก แดง ตะคร้ำ มะกอก ประดู่ ตะแบก อ้อยช้าง ตะโก ตีนเป็ด งิ้วป่า โมกมัน ติ้ว ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไผ่ หญ้าคา หญ้าปล้อง และไม้เถา เป็นต้น 

ป่าเต็งรัง พบขึ้นอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติในระดับความสูง 200-400 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง พลวง พะยอม ประดู่ ตะแบก เปล้าหลวง แดง ฯลฯ สำหรับพืชพื้นล่างประกอบด้วย หญ้า ลูกไม้ของไม้ชั้นบน และไม้เถา เป็นต้น 

เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานอยู่ในเทือกเขาตะนาวศรีซึ่งเชื่อมต่อกับเทือกเขาภูเก็ตของภาคใต้และตอนเหนือเข้าไปในประเทศพม่า สัตว์ป่าจากประเทศอินเดียและพม่าจะแพร่กระจายลงมาทางทิศตะวันตกของประเทศลงมาถึงบริเวณนี้ และพวกสัตว์ป่าจากประเทศมาเลเซียก็จะแพร่กระจายขึ้นมาตามเทือกเขาภูเก็ตมาถึงบริเวณนี้เช่นเดียวกัน ทำให้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นแหล่งชุมนุมของสัตว์ป่าทั้งจากทิศเหนือและทิศใต้ ชนิดของสัตว์ป่าที่สำคัญได้แก่ ช้างป่า หมีหมา หมาไน หมาจิ้งจอก เสือดาว เสือโคร่ง เลียงผา สมเสร็จ วัวแดง กวางป่า เก้งหม้อ ชะนีมือขาว ลิงเสน นกกระสาคอขาว เหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา นกเค้าหน้าผากขาว กบทูด ปาดยักษ์ เต่าหก จิ้งเหลนภูเขาสีจาง เป็นต้น นอกจากนี้ในบริเวณลำธารและอ่างเก็บน้ำ สำรวจพบปลาน้ำจืดอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ปลานางอ้าว ปลาซิวใบไผ่ ปลาขี้ยอก ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาดุกด้าน ปลากระทุงเหว ปลาหมอช้างเหยียบหรือปลาตะกับปลากระสง และปลากระทิง ฯลฯ 

***********************************

ชาวบ้านยื่นยูเนสโก้เบรคแผนอุทยาน จัดตั้งป่าแกงกระจานเป็นมรดกโลก 17 ต.ค. 14

วันที่ป่าแก่งกระจานโด่งดังมาอีกครั้ง

สะพานแขวนอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 6 ก.ย. 62

กับการ พบชิ้นส่วนกระดูก นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ แกนนำชาวกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บางกลอย ในถังน้ำมันใกล้สะพานแขวนในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน หลังหายสาบสูญไปเป็นระยะเวลา 5 ปี หลังเกิด กรณีข้อพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกับชุมชนกะเหรี่ยง จนเป็นที่มาของการร้องเรียนต่อคกก. กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่า มีการละเมิดสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง ในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน

และความจริงคงจะปรากฎซะที

พ.ศ. 2562        

  • วันที่ 3 ก.ย. 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงความคืบหน้าคดีการสูญหายของ พอละจี รักจงเจริญ หรือ “บิลลี่” ชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอแก่งกระจาน นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนกะเหรี่ยง ซึ่งหายตัวไปกว่า 5 ปี พบว่ามีหลักฐานเป็นกระดูกอยู่ในถังน้ำมัน 200 ลิตร ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งดีเอ็นเอยืนยันว่าตรงกับแม่ของนายพอละจี
  • อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เริ่มทำการสำรวจการถือครองที่ดินของราษฎร ตามโครงการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้สำรวจการถือครองที่ดินในพื้นที่ป่าให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน นับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้

พ.ศ. 2563        

เดือน ก.ค. 2563 จากข้อมูลผลการสำรวจการถือครองที่ดินของราษฎรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานทั้งหมด 1,821,687.84 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมาย 38,999.99 ไร่ สามารถสำรวจได้ 36,945.12 ไร่ (คิดเป็น 94.73%) คงเหลือที่ยังไม่ได้สำรวจ 2,054.87 ไร่

ในจำนวนพื้นที่คงเหลือที่ยังไม่ได้สำรวจ 2,054.8764 ไร่ แยกเป็น 1,917.17 ไร่ เป็นพื้นที่ที่ราษฎรมีความประสงค์ให้อุทยานฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการที่ดินของชุมชนในรูปแบบแปลงรวม โดยขอให้ตั้งคณะทำงานร่วมกับชุมชน ทำการรังวัดแนวเขตพื้นที่ป่าใช้สอย พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ป่าพิธีกรรม พื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณประโยชน์ของชุมชน

อีกส่วนคือพื้นที่ที่ชุมชนไม่เข้าสู่การสำรวจ โดย อุทยานฯ ได้ขีดเส้นเขตรอบนอกที่ดินดังกล่าวไว้ตามแนวทางที่กรมอุทยานแห่งชาติกำหนดไว้ ได้แก่ บ้านลิ้นช้าง บ้านท่าเสลา และบ้านพุน้ำร้อน ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี และบ้านห้วยยาง ต.บึงนคร อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

17 ธ.ค. 2563 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกครั้งที่ 2/2563 เตรียมเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการมรดกโลกเป็นครั้งที่ 4 ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกป่าแก่งกระจาน ในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งต่อไปที่จะจัดขึ้นช่วงเดือน มิ.ย. – ก.ค. 2564 ณ เมืองฝูโจว ประเทศจีน ขณะที่ชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ยังมีความกังวล และคัดค้านการขึ้นเป็นมรดกโลกจนกว่าจะแก้ปัญหาที่ทำกินและสิทธิมนุษยชนได้อย่างแท้จริง

พ.ศ. 2564        

วันที่ 15 ม.ค. 2564 มีรายงานข่าว ชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยล่าง ไม่ต่ำ 32 คน ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เดินเท้าเข้าป่าใหญ่ เพื่อกลับไปยังพื้นที่ตั้งหมู่บ้านเดิมที่บางกลอยบนและใจแผ่นดิน ขณะที่อุทยานฯ ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามขึ้นไปทันทีที่ทราบข่าว

เรื่องที่เกี่ยวข้อง