เที่ยวกาญจนบุรี#2 เล่นน้ำตกไทรโยค

ทริปเที่ยวกาญจนบุรี “Kanchanaburi” ตอนที่ 2 เล่นน้ำตกไทรโยคน้อย เยี่ยมชมสถานที่ประวัติศาสนตร์ช่องเขาขาด

ตื่นเช้ามาอากาศสดใส เพราะเมื่อวานฝนตก ต้นไม้ แม่น้ำแควน้อยซึ่งไหลลงมาจากเขื่อนเขาแหลม จะดูสดใส น้ำไหลเชี่ยวพอสมควร หลานๆตื่นกันแล้วก็ไปกินอาหารเช้า มีโจ๊กหมู ปาท่องโก๋ ไข่ดาว ไมโล กาแฟ ไส้กรอก และ ผัดกระเพราหมู เป็นอาหารเช้าง่าย ๆ

บรรยากาศ Googview Resort เพราะรัก จึงมาพักที่นี้ Kanchanaburi

เสร็จจากกินข้าวเช้า เดินเล่น ถ่ายรูปและแจ้งนัดเล่นแพเปียกมารับ 10.00 น. “แพเปียก” เป็นแพไม้ไผ่ โดยใช้เรือหางยาว ลากขึ้นไปต้นแม่น้ำไม่กี่กม.และปล่อยไหล หรือ เราจะกระโดน้ำเล่น ให้ตัวไหลตามน้ำไปเรื่อยๆ โดยทุกคนทุกสวมเสื้อชูชีพ เพราะแม่น้ำแควน้อยจะไหลเชี่ยว ไหลไม่เมืองกาญจน์ “Kanchanaburi” ไม่รู้ด้วยนะ

ระหว่างรอเวลาแพเปียกมารับ พาหลานไปน้ำตกไทรโยคน้อยดีกว่า จะ”มีน้ำไหล”มั้ยนะ จากรีสอร์ทขับรถไปเพียง 2 กม.ไปช่วงเช้านักท่องเที่ยวไม่เยอะมาก หาที่จอดรถได้ง่าย และอากาศยังไม่ร้อนมาก ไปกินเลย

น้ำตกไทรโยคน้อย
สถานีน้ำตกไทรโยคน้อย
มีน้ำนะ แต่น้อยจ๊ะ

กลับจากน้ำตกไทรโยคน้อย ถึงที่พัก ปรากฎว่า คนขับแพไม่มีพนักงานมารับ แบ่งเวลารับส่งไม่เป็นระบบ จึงยกเลิกเล่นแพไม้ไผ่ ประหยัดเงินไป 170 x 4 คน รวม 680 บาท เล่นริมรีสอร์ทนี้ละ ไม่ร้อนเพราะมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา

สรุปว่าเปียก น้ำแรงและลึก ต้องใส่เสื้อชูชีพ โดยเฉพาะเด็ก
นอนสบายมีเงาไม้พอดี เหมาะนั่งดื่มมาก 10.00 น.
เรือวิ่งไปวิ่งมา

เสร็จจากเล่นน่ำ 11.30 พอดี มีเวลาอาบน้ำเตรียมเดินทาง 12.00 น. ตรงเวลา Checkout พอดี ไปไหนกันต่อละ ป้ายหน้า “ศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเขาขาด” หรือ “ช่องเขาขาด: (ช่องไฟนรก)

ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก
หรือ Hellfire Pass 

ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (ทางรถไฟสายมรณะ) ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้

การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่มในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมีช่วงที่เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำงานถึง 18 ชั่วโมง โดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการรักษา เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้อง ทำงานตอนกลางคืนด้วยแสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนัง ทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า “ช่องไฟนรก” หรือ Hellfire Pass 

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รื้อทางรถไฟบางส่วนออก ทางรถไฟสายมรณะในปัจจุบันจึงเหลือเพียงแค่ตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกถึงสถานีน้ำตกเท่านั้น

ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

ระหว่างชมนิทรรศการ หลานๆเข้าไปนั่งชมวิดิทัศน์ความเป็นมาของช่องเขาขาด โดยศูนย์ประวัติศาสตร์ได้สร้างห้องมืดสำหรับชมวิดีโอความยาว 10 นาที เพื่อให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับแผ่นดินประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน และเกณฑ์ผู้ใช้แรงงานเชลยศึกซึ่งเป็นทหารชาติต่างๆ มาสร้าง ทางรถไฟเส้นทางมรณะนี้ เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการส่งกำลังบำรุงผ่านทางไทย – พม่า ไปรุกคืบเข้าสู่อินเดียซึ่งอยู่ในอนาณานิคมของอังกฤษ แทนการส่งกำลังทางทะเล เพราะจะรอดพ้นจากการถูกโจมตี และอ้างว่าเป็นการใช้เชลยศึกสร้างทางในจุดที่ไม่ได้ใช้เป็นสนามรบ

คนรุ่นใหม่ๆ คงต้องไปศึกษาประวัติศาสตร์เหล่านี้ไว้บ้างนะ เพื่อให้รู้ว่ากว่าจะมาเป็นประเทศไทยปัจจุบัน ประเทศเราผ่านเหตุการณ์ใดมาบ้าง หลานๆคงได้ความรู้ถึงความโหดร้ายของสงครามกันไปไม่มากก็น้อย

หลังจากชมศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเข้าขาดเสร็จ ยังมีเวลาอีกหลายชั่วโมง พาหลานไปเที่ยวน้ำตกเอราวัณ และ
เขื่อนศรีนครินทร์กัน

ใครยังไม่เคยดูตอนที่ 1 คลิกไปดูกันด้จ้า ภาพบรรยากาศตอนนั่งรถไฟและภาพบรรยากาศรีสอร์ทตอนค่ำ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง