ถึงแล้วเบตง

ไม่ได้กิน “ไก่เบตงสับ” ลอด”อุโมงค์เบตง” ถือว่า มาไม่ถึงเบตง

ถ่ายรูปที่สะพานโต๊ะกูแชเสร็จ เลี้ยวซ้ายเลียบทะเลสาบ ซึ่งจะมีสภาพคดโค้ง แต่วิ่งสบาย และไม่แซงทางโค้งโดยเด็ดขาด ผ่านตาพะเยา ซึ่งมีท่าเรือบริการนักท่องเที่ยว แม่หวาด สะพาน 39 อัยเยอร์เวง ดินแดนแห่งการชมทะเลหมอกที่ดีที่สุดใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีจุดบริการนักท่องเที่ยว ร้านกาแฟสด และรีสอร์ท โฮมสเตย์ขนาดเล็ก ๆ อยู่เป็นระยะๆ

ซึ่งที่อัยเยอร์เวง มีบริการรถดูทะเลหมอก ล่องแก่งห่วงยางโดนัท กม.ที่ 32 ซึ่งหากนักท่องเที่ยวเข้าพักที่ตัวอ.เบตง หากต้องการดูทะเลหมอก ก็ต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อขับรถมายังอัยเยอร์เวงระยะทางประมาณ 32 กม.

เส้นทางที่เลี้ยวลดคดโค้งไปตามเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งทอดตัวสลับซับซ้อนจากด่านพรมแดน ตะวันออกมายังฝั่งตะวันตก เป็นเส้นทางจากจังหวัดยะลาเข้าสู่เมืองเบตง อำเภอหนึ่งของจังหวัดยะลา ที่มีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากเมืองหลวงพันกว่ากิโลเมตร การเดินทางโดยรถยนต์เป็นเพียงวิธีเดียวในขณะนี้ที่สามารถลดเลี้ยวไปตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 ได้


ตลอดเส้นทางจากตัวเมืองยะลาสู่เบตง กลายเป็นเส้นทางแห่งความทรงจำของผู้ที่ได้มาสัมผัสและเล่าขานสู่กันฟังถึงความน่าทึ่งของเมืองเล็กๆ กลางหุบเขาซึ่งยังคงสภาพวิถีชีวิตที่ต้องอาศัยความอุดมสมบรูณ์ ของธรรมชาติ ทั้งรูปแบบของบ้านเรือนที่อยู่อาศัยอาหารการกินประจำท้องถิ่น ประเพณี วัฒนธรรมของแต่ละเชื้อชาติ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข 

จากอัยเยอร์เวง ขับมาเรื่อยๆ จนถึงด่านทหารทางเข้าเบตงก่อนถึงป้ายยินดีตอนรับสู่เมืองเบตง OK BETONG

„

เบตง เป็นภาษามลายู หมายถึง ไม้ไผ่ ซึ่งมีอยู่มากในท้องถิ่น ต้นไผ่ จึง กลายเป็น สัญลักษณ์ของอำเภอเบตง เดิมเบตงเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของหัวเมืองมลายู ซึ่ง อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐาน ในหลักศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหง เมื่อถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้ เกิดศึกครั้งใหญ่ขึ้น ระหว่างไทยกับพม่า จนทำให้ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 บ้านเมืองจึงเกิดความวุ่นวาย ระส่ำระสาย โจรผู้ร้ายชุกชุมเจ้าเมืองต่าง ๆ คิดแข็ง เมือง และตั้งตนเป็นอิสระ

ทำให้หัวเมืองมลายู ซึ่งเป็นประเทศราช ของ กรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น มีโอกาสรวมตัวกันแข็งเมือง ขึ้นเป็นรัฐอิสระ สร้างความ เจริญรุ่งเรืองด้านต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยมีศูนย์กลางความ เจริญอยู่ที่เมืองปัตตานี ดังปรากฏหลักฐานร่องรอย และซากปรักหักพังของเมือง เก่าต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำปัตตานี

เบตง อำเภอใต้สุดของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐเปรัคของประเทศมาเลเซีย แบ่งเขตการปกครองเป็น 5 ตำบล คือ ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ ตำบลยะรม ตำบลธารน้ำทิพย์ และตำบลเบตง มีเทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเบตง ส่วนที่เหลืออีก 4 ตำบล ป็นองค์การบริหารส่วนตำบล

เข้าสู่เบตงเวลาประมาณ 16.00 น.ระหว่างทางค้นหาข้อมูลโรงแรมใน Agoda และต้องหาโรงแรมสูงๆ เพื่อจะมีมุมมอง มองเบตงได้ทั้งเมือง

ซึ่งโรงแรมแกรนด์แมนดารินเบตง  เป็นโรงแรมที่สูงที่สุดใน 3 จว.ชายแดนภาคใจ
โรงแรมแกรนด์แมนดารินเบตง เป็นคำตอบที่ดีที่สุด แต่เราไม่จองผ่านเว็บ เพราะแพงกว่า เลือกวิธีโทรไปจองที่โรงแรม ได้ราคา 1,500 บาทต่อ 1 คืน พร้อมอาหารเช้า หากมีบัตรข้าราชการจะลดราคาให้อีก พร้อมแจ้งว่าขอพักที่ชั้นสูงๆ วิวเมือง สรุปได้เข้าพักชั้นที่ 20 วิวเมือง

โรงแรมนี้นักท่องเที่ยวมาเลเซียจะเดินทางเข้ามาพักจำนวนมาก ดูได้จากป้ายทะเบียนรถหน้าโรงแรม ส่วนใหญ่เป็นป้ายทะเบียนรถมาเลเซีย

และข้อดีของการเลือกพักโรงแรมนี้ ที่เพิ่งมารู้คือ โรงแรมนี้ตั้งอยู่ติดกับอุโมงค์และหอนาฬิกาเมืองเบตงกันเลย คือลงจากโรงแรมก็เดินเล่นรอบๆ ได้อย่างชิวชิว

อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์อุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย

ถึงที่พักเช็คอินเรียบร้อย หิวมากขอลงไปหาอะไรกินก่อน เดินออกไปหน้าโรงแรมร้านดังๆที่เบตงจะเปิดเย็นๆ ก็ค้นหาได้มาหนึ่งร้าน คือ ร้านโกช้าง เป็นร้านไม่ใหญ่มากนักแต่มีฟาร์มไก่เบตงเป็นของตัวเอง ดูข้อมูลแล้วบอกร้านนี้ไก่เบตงขึ้นชื่อต้องลองละ เพราะไม่ได้กิน “ไก่เบตงสับ” ลอด”อุโมงค์เบตง” ถือว่า มาไม่ถึงเบตง

ไก่เบตงสับ จานนี้จานเล็ก 300 บาท
น้ำจิ้มไก่ก็เด็ดมาก

ตอนมาไก่จานนี้มาตั้งบนโต๊ะ ก็ไก่สับธรรมดา แต่เมื่อลิ้มลอง ไก่เค้าอร่อยไม่นุ่มเหมือนไก่ที่เรากินข้าวมันไก่ทั่วไป น้ำซอสอร่อย เชื่อแล้วว่า ไก่สับเบตงเค้าขึ้นชื่อจริง เพราะระหว่างทางเดินกับร้านเต้าหยวนเปิดแล้ว โต๊ะจีนเต็มทุกโต๊ะ

มื้อเย็นวันนั้นสั่งอาหารแค่ 2 อย่าง ตอนแรกว่าจะลองผักน้ำ แต่สั่งยำผักกู้ดดีกว่า และอร่อยใช่ได้เลยละ

ยำผักกู้ด หน้าตาดีมาก
|

กินมื้อนี้เสร็จเดินกลับโรงแรม เปลี่ยนชุดว่ายน้ำลงว่ายน้ำผ่อนคลายในสระก่อนเดินเบตงช่วงค่ำนี้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง