เที่ยวน่าน พระวัดพระธาตุช้างค้ำ วัดพระธาตุเขาน้อย

ทริปเที่ยวน่าน ไหว้พระวัดพระธาตุช้างค้ำ วัดพระธาตุเขาน้อย และวัดศรีพันต้น

ทริปเที่ยวน่าน 4 วัน 3 คืน วันสุดท้าย ยังอยากเที่ยวน่านต่ออยู่เลย ยังมีเวลาเที่ยวน่านอีก 4 ชั่วโมง เพราะต้องคืนรถเช่า 13.30 น. เครื่องออก 14.30 น. เช็คอินไว้เรียบร้อย ไม่อยากกลับไฟท์ค่ำเพราะราคาจะแพงกว่าหลายร้อย และจะถึงดึกเกินไป ทริปนี้ตามที่เคยบอก จองข้าม ๆๆๆ ปี ได้ไป-กลับ 600 บาท ตั้งใจเที่ยวน่านตอนบนก่อน

ส่วนทริปเที่ยวน่าน ทริปหน้าค่อยกับมาเก็บดอยเสมอดาว ทำงานเก็บเงินก่อน เงินหาลำบากนะ เกิดมาก็ไม่ได้มีมรดกตกทอดมาด้วย ดีที่มีผู้ใหญ่ให้ความเมตตา

เกริ่นเยอะไปละ เที่ยวน่านวันสุดท้าย ออกจากที่พัก “น่านพันวา” 10.30 ไปหาอะไรกินก่อน แถวๆ “พูคาน่านฟ้า” โรงแรมของน้องนพรุจเค้าละ ก็โดนต่อว่าต่อขานเหมือนกัน ว่า “ทำไมพี่ไม่มาพักโรงแรมผม” คำตอบคือ “แขกจองเต็มตลอด” ยังเสียดายไม่ได้แวะเข้าไปชมภายใน แอบดูตามเว็บ เห็นหน้าตาห้องพักตกแต่งได้คลาสสิกเข้ากับเมืองเก่าน่านดีมาก

จอดรถเสร็จ เดินข้ามถนนมา มีให้เลือกกิน 3 ร้าน แต่ตั้งใจว่าอยากกินติ่มซ่ำเมืองน่าน ไม่ต้องเยอะ สรุปว่า มติการเลือกเป็นเอกฉันท์ “ร้านเลิศรส”

จากน่านพันวา ถึง ร้านเลิศรถ น่าน

ร้านไม่ได้ใหญ่โตเป็นห้องแถวในตลาด ตรงข้ามธนาคารออมสิน ใกล้โรงแรมพูคาน่าฟ้านั่นละ

มือนี้สั่งเกาเหลาเลือดหมู ข้าวเปล่า และติ่มซ่ำ 3 อย่าง มีอะไรบ้างละในรูปนั้นละ แต่ที่ชอบและเป็นมติเอกฉันท์เหมือนเดิมคือ “ความหอม เลิศรส” ของเกาเหลาเลือดหมู หอมและอร่อย มีใบตำลึงพอประมาณ ไม่น้อยเกินไป ก็กินหมดทุกอย่างละตามที่เห็น ทำไมกินน้อยจัง ? … เป็น “คนตัวเล็ก”

ซึ่งเท่าที่นั่งกินประมาณ 20 นาที จะมีลูกค้ามาสั่ง 2 ถุง 3 ถุง ทั้งโจ๊ก บะหมี่ ก๋วยจั๊บ ราคาเหรอไม่แพงครับตามนี้

ราคาอาหารร้านเลิศรถ เมืองนี้หมดไป 100 กว่าบาท

เสร็จจากหาอะไรกินเล็กๆ ไม่อิ่มเกินไปเดี๋ยวก้มกราบพระลำบาก ก็ไปไหว้พระธาตุDYO

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ก็อยู่ตรงข้ามแยกวัดภูมินทร์เลย มาวัดนี้เพราะเห็นตั้งแต่เมื่อคืน แต่ไม่ได้เข้ามากราบเพราะน้องเค้าใส่ขาสั้นไม่เหมาะสมกับสถานที่

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน นับเป็น ปูชนียสถานสำคัญ เป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลทางด้านศิลปะสุโขทัย ภายในวัดประดิษฐาน เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัว ประดับอยู่โดยรอบ พระธาตุเจดีย์สร้าง ด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐาน รองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก ช้างแต่ละตัวโผล่ส่วนหัวลอย ออกมาครึ่งตัวขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจาก เหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชั้น และเป็น องค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับ มาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไปเป็นส่วนยอด

พระพุทธรูปทองคำ ปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรี ศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคำ 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬี ทำเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 14 แห่งราชวงค์ภูคา เป็นผู้สร้างเมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกใหญ่ที่สุดในประเทศ

 เจดีย์ช้างค้ำ ซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นเพียงครึ่งตัว ประดับอยู่โดยรอบ พระธาตุเจดีย์สร้าง ด้วยอิฐถือปูน มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานจากชั้นแรกสูงถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ำอยู่ในลักษณะ เหมือนฐาน รองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวม 24 เชือก ช้างแต่ละตัวโผล่ส่วนหัวลอย ออกมาครึ่งตัวขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจาก เหลี่ยมฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชั้น และเป็น องค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทำเป็นฐานเขียงรองรับ มาลัยลูกแก้ว ลดหลั่นกันไปเป็นส่วนยอด 

ปัจจุบันพระธาตุเจดีย์ช้างค้ำกำลังอยู่ระหว่าง บูรณะซ่อมแซม ติดแผ่นทองใหม่ทั้งองค์ สังเกตฐานเจดีย์พระธาต มี “ช้างค้ำพระเจดีย์” ( ภาพซ้ายคือก่อนสังเกตแผ่นทองเริ่มหลุด ภาพขวาวันที่ 7 ก.ย. กำลังบูรณะ) ภาพซ้าย : ขอบคุณ รถตู้เช่า พิษณุโลก GOODVAN – นำภาพมาเปรียบเทียบให้เห็น

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร – พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เดิมเป็นที่ประทับของพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ พระเจ้าน่าน ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2446 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น มีมุขด้านหน้า หลังคามุงด้วยไม้แป้นเกล็ด บนเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา ครั้นเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงพิราลัย เจ้านายบุตรหลานของเจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้มอบหอคำหลังนี้พร้อมที่ดินให้แก่รัฐบาล เพื่อใช้เป็นอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน ต่อมาเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้น กรมศิลปากรจึงได้ขอรับมอบอาคารเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ขึ้นในปี พ.ศ. 2517 และประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2530

เปิดทำการวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
หยุดทำการวันจันทร์และอังคาร

สิ่งของในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน สมบัติของเจ้าผู้ครองนครเมืองน่านรักษาสืบต่อกันมาหลายชั่วคน เป็นงาช้างข้างซ้าย ยาว 94 เซนติเมตร วัดโดยรอบส่วนที่ใหญ่สุดได้ 47 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม ได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 5 ส่วนครุฑที่แบกรับงา ทำจากไม้สักทั้งท่อน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2469

ค่าธรรมเนียมเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวไทย 20 บาทชาวต่างประเทศ 100 บาทผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป นักเรียนในเครื่องแบบ นักบวชทุกศาสนา ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม โทรศัพท์ 0-5471-0561, 0-5477-2777

ซุ้มต้นลีลาวดี เมื่องน่าน หรือต้นลั่นทม บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ที่ขึ้นเป็นแถวเรียงราย 2 ข้างทางเดิน แผ่ขยายกิ่งก้านโค้งเข้าหากัน ดูคล้ายอุโมงค์ต้นไม้ เหมาะอย่างยิ่งที่จะมาพักผ่อนหย่อนใจ ด้วยเดินเล่นชมบรรยายากาศที่ร่มรื่น

วัดพระธาตุเขาน้อย

วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์

องค์พระธาตุเขาน้อยตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้าน ตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่อ อิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าได้ รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริต เดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า

และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันวัดพระธาตุเขาน้อย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ และเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนดอยเบาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 240 ม.

ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหา อุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542

จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน

หน้าวัดมีทางขึ้นเป็นบันไดนาค 303 ขั้น

เสร็จจากไหว้พระประมาณ 12.00 น. ก่อนสตาร์ดรถโทรไปแจ้งก่อนว่า จะคืนรถประมาณ 13.00 น. ลงเขาวัดพระธาตุเขาน้อยยังมีเวลาเหลือจึงแวะกราบพระวัดพระศรีพันต้น ซึ่งระหว่างทางได้เล็งๆเอาไว้

วัดศรีพันต้น

วัดศรีพันต้น เป็นอีกวัดที่มีความสวยงามมากในตัวเมืองน่าน วัดศรีพันต้นมีจดเด่นอยู่ที่วิหารของวัดที่มีสีทองอร่ามโดยเฉพาะพญานาคเจ็ดเศียรที่เฝ้าบันไดหน้าวัด มีความสวยงามใหญ่โต ปั้นแต่งโดยช่างชาวน่านชื่อ “สล่ารง” หรือ นายอนุรักษ์ สมศักดิ์ ตามประวัติสร้างโดยพญาพันต้น เจ้าผู้ครองนครน่าน แห่งราชวงศ์ภูคา (ครองนครน่าน ระหว่าง พ.ศ. 1960 – 1969 ) ในอดีตมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ของวัด บางช่วงสมัย จึงเรียกว่า วัดศรีพันต้น

วัดสลีพันต้น (คำว่า สลี หมายถึง ต้นโพธิ์) ภายในวิหารวัดศรีพันต้นมีภาพลายเส้นประวัติของพระพุทธเจ้าและประวัติการกำเนิดเมืองน่าน โดยช่างชาวน่าน

วัดศรีพันต้นเคยเป็นที่พำนักของหลวงปู่ครูชันทะ อดีต เจ้าอาวาสวัดศรีพันต้นซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ มีวิชารักษาคนป่วยด้วยการเป่าคาถาเสกน้ำมนต์และการใช้สมุนไพรพื้นบ้านรักษาได้ผลดีมากโดยเฉพาะโรคกระดูกและแผลอักเสบจากตุ่มฝีหนองตลอดชีวิตของหลวงปู่ครูบาชันทะ ท่านได้เมตาไปรักษาคนป่วยในโรงพยาบาลน่านเป็นประจำทุกวัน จนถึงแก่มรณะภาพ

กราบพระวัดพระศรีพันต้นเสร็จ ขับรถมุ่งสู่สนามบินน่าน เพราะมีนัดส่งรถเช่า 13.00 น. แต่ไม่ลืมแวะปั๊มปตท.เติมน้ำมันรถเต็มถัง ถึงสนามบินน้องที่มาส่งรถมารอหน้าสนามบิน บอกหนูไม่ตรวจรถนะ เพราะเผื่อหนูฝากส่งรถ 5 คัน ใจกล้าดี เลยบอกไปว่ารถเรียบร้อยดี พร้อมโชว์รูปไมค์น้ำมันเต็มถังให้ดู และคืนกุญแจรถไป

สรุปเส้นทางที่วิ่งทริปเที่ยวน่าน

  1. จากน่านเข้าปัว นอน 1 คืน
  2. จากปัวเข้าบ่อเกลือ นอน 1 คืน
  3. จากบ่อเกลือเข้าน่าน นอน 1 คืน
  4. เที่ยวตัวเมืองน่านเย็นบินเข้ากรุงเทพ

ถือว่าเป็นเส้นทางที่มีความสุขสดชื่นมากมาย เป็นทริปที่อิ่มทั้งบุญทั้งใจ

เดินขึ้เครื่องกันเลย

เดินทางกลับถึงสนามบินดอนเมืองโดยสวัสดิภาพ จบทริป 4 วัน 3 คืน บ๊าย บาย “ทริปเที่ยวน่านนคร”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง