เที่ยวหาดใหญ่-ถนนสายทะเลสาบ อุทยานนกน้ำ

เที่ยวหาดใหญ่-ขอพรพระวัดหาดใหญ่ วัดพระโคะ ถนนสายทะเลสาบ อุทยานนกน้ำ ทะเลน้อย และเก้าเส้ง

สะพานเอกชัย หาดใหญ่
สะพานเอกชัย สะพานยาวที่สุดในประเทศไทย


ทริปเที่ยวหาดใหญ่ 3 วัน 2  คืน รอบนี้ออกบินด้วย Airasia ประมาณ 09.30 น. เป็นเที่ยวบินวันพฤหัส ราคา 390 บาท ไป-กลับ พร้อมใช้บัตรบัตร Airasia กินน้ำฟรีบนเครื่อง ถึงหาดใหญ่ประมาณ 11.00 น. น้องชายตำรวจและหลานชายมารับเหมือนเดิม พร้อมให้รถไว้ใช้งานหนึ่งคัน

ถึงสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ก็ไปเที่ยวกับก่อนเลย ขับรถขึ้นไป ไหว้พระพุทธมงคลมหาราช บนเขาคอหงส์ สวนสาธารณะหาดใหญ่ สมัยเด็กๆเรียนมัธยมหาดใหญ่ จะมาเที่ยวที่นี้บ่อย เดินข้ามมาจากค่ายเสนาณรงค์หาดใหญ่ ผ่านด้านหลังสนามกอล์ฟ


การเดินทางได้หลายเส้นทาง สวนสาธาณะหาดใหญ่ อยู่ถนนกาญจนวนิช สถานที่ใกล้เคียง ค่ายเสนาณรงค์ , วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ หาดคนหาดใหญ่จะรู้ว่า เป็นถนนเส้นหาดใหญ่ – สงขลา สายเก่า เมื่อก่อนไม่มีถนนเลี่ยงเมือง หรือถนนลพบุรีราเมศวร์ เจริญแบบนี้ ก็ตามแผนที่ได้เลย หรือเปิด Google Map ค้นหา พระพุทธมงคลมหาราช หรือ สวนสาธารณะหาดใหญ่

พระพุทธมงคลมหาราช เขาคอหงส์ พระพุทธรูปประจำนครหาดใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ยืนตระหง่านประทานความเมตตาแก่ผู้มาสักการะอยู่บนยอดเขาคอหงส์ แต่แม้จะมีกระเช้าทริปนี้เราไม่ขึ้นกระเช้า

หาดใหญ่พระพุทธมงคลมหาราช
จุดชมวิวหน้าองคพระพุทธมงคลมหาราช
พระพุทธมงคลมหาราช

พระพุทธมงคลมหาราช

พระพุทธรูปประจำนครหาดใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพรที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ หล่อด้วยทองเหลืองเนื้อดีอย่างวิจิตร ความสูงถึง 19.90 เมตร (ไม่รวมฐาน) น้ำหนัก 200 ตัน สร้างขึ้นในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 (72 พรรษา) ของรัชกาลที่ 9 และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธมงคลมหาราช” และมีพระบรมราชานุญาตให้ ใช้ตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ประดิษฐาน ณ ฐานพระพุทธมงคลมหาราช

จุดนั่งขึ้นกระเช้าไปกลับ ระหว่างพระพุทธมงคลมหาราช - ศาลพระพรหม
จุดนั่งขึ้นกระเช้าไปกลับ ระหว่างพระพุทธมงคลมหาราช - ศาลพระพรหม
จุดนั่งขึ้นกระเช้าไปกลับ ระหว่างพระพุทธมงคลมหาราช – ศาลพระพรหม
วิวขึ้นกระเช้าหาดใหญ่

หากใครไม่มีรถก็สามารถใช้บริการรถของสวนสาธารณะได้ เพื่อมานั่งกระเช้าลอยฟ้า ซึ่งเป็นกระเช้าแห่งแรกในประเทศไทย นักท่องเที่ยวจะได้รับความสะดวกในการเดินทางจากพระพุทธมงคลมหาราชไปยังท้าวมหาพรหม ภายในสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่
กระเช้าลอยฟ้า เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ (เว้นวันจันทร์) ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ณ บริเวณสถานีกระเช้าลอยฟ้าพระพุทธมงคลมหาราชและท้าวมหาพรหม ค่าบริการสำหรับชาวไทย 100 บาท เด็ก (สูงไม่เกิน 150 ซ.ม.) 50 บาท และชาวต่างชาติ 200 บาท

กลับจากเที่ยวไหว้พระเขาคอหงส์ ก็ไปส่งหลานที่ตัวเมืองสงขลา แวะตลาดนัดหาของกินลองท้อง และกลับมาพักที่
เที่ยวหาดใหญ่ครั้งใดจะมาพักที่ ลลิตาบูติด ก่อนเข้าที่พักแวะร้านฟาร์มรัก ร้านอาหารเล็ก มีชากาแฟ โรตี ขนมปังอาหารตามสั่ง ก็สั่งที่อยากกินโดยเฉพาะ แกงส้มกุ้งยอดมะพร้าว ผัดสะตอ และไข่เจียวครับ ร้านอาหารฟาร์มรัก

ร้านฟาร์มรัก_แกงส้มกุ้งยอดมะพร้าว
ร้านฟาร์มรัก_แกงส้มกุ้งยอดมะพร้าว

อิ่มท้องก็เลี้ยวรถเข้าที่พัก เป็นห้องสไตล์ญี่ปุ่น เพราะตอนจองเลือกแบบนี้ เสริมที่นอน 1 ที่ สำหรับน้องสาวผู้ติดตาม ห้องพักสะอาด แอร์เย็นสบาย เหมาะกับการพักผ่อนเที่ยวมาทั้งวัน ภาพสถานพัก โรงแรมลลิตาบูติค ห้องพักมีหลากหลายสไตล์ให้เลือก รอบนี้เลือกเป็นสไตล์ญี่ปุ่น

ตื่นเช้าวันที่สองของทริปนี้ กินอาหารเช้าเสร็จ ก็ออกเข้าไปวัดหาดใหญ่ใน เพื่อไหว้ปู่ย่าตายายพ่อแม่บรรพชนที่ใต้ฐานพระนอนวัดหาดใหญ่ใน และไปเยี่ยมผู้ใหญ่ที่เคารพรักที่คลองแหเสร็จ ได้เวลาไปเที่ยวต่อ

เมื่อกล่าวถึงการกราบ หลวงพ่อทวด  ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจว่า ต้องไปที่วัด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี   วันนี้ขอพาไปกราบหลวงพ่อทวดที่วัดพะโคะ อำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา ระยะทางจากสงขลา 68 กม.ใช้เวลาวิ่ง 1.20 นาที โดยวิ่งผ่านสะพานติณสูลานนท์ ซึ่งเชื่อมกับเกาะยอ ซึ่งเป็นเส้นทางวิ่งไปสู่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยไม่ต้องขึ้นแพขนานยนต์ที่หัวเข้าแดง ท่าแพสงขลา

2018-06-07_174622
2018-06-07_173616



วัดพะโคะ เป็นวัดจำพรรษาของสมเด็จพะโคะ หรือหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด อันเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทางภาคใต้มีประวัติเล่าว่า

วันหนึ่ง มีโจรสลัดแล่นเรือเลียบมาตามฝั่ง เห็นสมเด็จพะโคะ (หลวงพ่อทวด) เดินอยู่ มีลักษณะแปลกกว่าคนทั้งหลาย จึงใคร่จะลองดี
โจรสลัดจอดเรือ แล้วจับสมเด็จพะโคะ (หลวงพ่อทวด) ไป เมื่อเรือแล่นมาได้สักครู่ เกิดเหตุเรือแล่นต่อไปไม่ได้ ต้องจอดอยู่หลายวัน จนในที่สุด “น้ำจืด” หมดลง โจรสลัดเดือดร้อน สมเด็จพะโคะ (หลวงพ่อทวด) สงสาร จึงเอาเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเล เกิดเป็นประกายโชติช่วง น้ำทะเลกลายเป็น “น้ำจืด”
โจรสลัดเกิดความเลื่อมใสศรัทธา กราบไหว้ขอขมา แล้วนำ สมเด็จพะโคะ (หลวงพ่อทวด) ขึ้นฝั่ง ตั้งแต่นั้นมาประชาชนจึงพากันไปกราบไหว้บูชากันเป็นจำนวนมาก
วัดพะโตะ เป็นวัดที่”สมเด็จพะโคะ”หรือ”หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”เคยจำวัด สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2057 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 บนเขาพะโคะหรือเขาพัทธสิงค์ โดยมีเจดีย์องค์ใหญ่เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นบนยอดเขา และมีโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระมาลิกเจดีย์ วิหารพุทธไสยาสน์ รอยบาท ศาลาตัดสินความ พระทรงเครื่อง หลักล่ามช้าง และศิวลึงค์ เป็นต้น
สำหรับเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ เป็นที่ประดิษฐานพระมหาธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากเมืองลังกา ส่วนพระพุทธไสยาสน์ มีชื่อว่า”พระพุทธโคตมะ” ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า”พระโคตมะ” และเรียกวัดนี้ว่า วัดพระโคตมะ ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นวัดพะโคะ
บริเวณวัด มีภูเขา 4 ลูกคือ เขาพระพุทธบาท(พะโคะ) เขาพนังตุกแก(เขาน้อย) เขาคูหา และเขาผี และมีชุมชนอยู่ใกล้บริเวณเขาทั้งสี่ ซึ่งตามตำนานในอดีตเล่าว่า เจ้าเมืองลังกาทรงให้ชุมชนเหล่านี้ช่วยเหลือกิจของวัดพะโคะเนื่องในวันสำคัญทางศาสนาเสมอมา

พระมาลิกเจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมภาคใต้แบบลังกาสมัยอยุธยา นอกจากเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุแล้ว ยังมีพระพุทธไสยาสน์ยาว 18 เมตร สูง 25 เมตร ฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่า พระโคตมะ (พะโคะ) ประดิษฐานในพระวิหาร ด้านทิศเหนือของเจดีย์ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุล้ำค่าอีกมากมาย

ตามพงศาวดารเมืองพัทลุง เรียกวัดว่า “วัดหลวง” สร้างในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้พระราชทานที่กัลปนา(ยกให้) ครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2057 ต่อมาสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091 – 2111) ได้รับพระราชทานที่กัลปนาวัดนี้ เรียกว่า”วัดราชประดิษฐาน” และได้สร้างพระโคตมะ หรือพระพุทธรูปไสยาสน์ ที่ประดิษฐานอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
วัดพะโคะ เคยถูกโจรสลัดมลายู ยกทัพเรือมาปล้น 2 ครั้ง เผาผลาญทำลายพระมาลิกเจดีย์ วิหารพระพุทธบาท และศาสนสถานอื่นๆจำนวนมาก จึงต้องมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะครั้งสำคัญขึ้น ในครั้งที่สมเด็จพระราชมุนีสามิราม (สมเด็จพระโคะหรือหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด) ขอพระราชทานที่กัลปนาใหม่ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (ระหว่าง พ.ศ. 2148 – 2158) ได้บูรณะ พระมาลิกเจดีย์สูง 1 เส้น 5 วา (สูงกว่าเดิม 5 วา) โดยได้รับพระราชทานยอดพระเจดีย์เนื้อเบญจโลหะ ยาว 3 วา 3 คืบ มาจากกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระราชมุนีมีความสำคัญต่อวัดนี้มากจนได้มีอนุสาวรีย์ปางธุดงค์จาริกของท่านไว้เคารพสักการะ

เสร็จจากไหว้พระวัดพระโคะ  มุ่งหาไปหามือเที่ยงกินริมทะเลสาบสงขลา จากนั้นเดินทางต่อไปยังถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

ซึ่งเป็นสะพานยกระดับตัดผ่านทะเลสาบสงขลา แยกทะเลสาบสงขลากับทะเลน้อยพัทลุงออกจากกัน เป็นเส้นทางจากสงขลามุ่งหน้าสู่จังหวัดพัทลุง ซึ่งบนสะพานเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวและผู้คนที่ขับรถผ่านไปมา แวะจอดพักรถ เพื่อชมทัศนียภาพรอบสะพานที่สวยงานยาวสุดสายตา

เดิมถนนสายนี้ชื่อ “ถนนสายบ้านไสกลิ้ง – บ้านหัวป่า สมัยก่อนเป็นทางลูกรังซึ่งต้องปิดซ่อมบ่อยในช่วงน้ำหลาก จังหวัดจึงลงทุนสร้างใหม่ ช่วงนั้นนักร้องดังอย่าง เอกชัย ศรีวิชัย มาเล่นคอนเสิร์ตช่วยระดมทุนเพื่อสร้างสะพาน คนจึงเรียกสะพานนี้ว่า สะพานเอกชัย สะพานนี้ทอดยาวบนทะเลน้อย เชื่อมระหว่างอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา หลังสร้างเสร็จสะพานนี้กลายเป็นเจ้าของสถิติสะพานยาวที่สุดในไทยแทนที่สะพานติณสูลานนท์ จังหวัดสงขลา

สะพานเอกชัย สะพานยาวที่สุดในประเทศไทย

ภายหลังเปิดการใช้งานสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดพัทลุง ได้ขอความเห็นจากทุกภาคส่วนให้ร่วมเสนอชื่อถนนสายดังกล่าว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเป็นชื่อที่ไดรับการยอมรับในการเรียกใช้ ซึ่งผลการรับฟังเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นร่วมกันให้ตั้งชื่อถนนใหม่จากเดิม “ถนนสายบ้านไสกลิ้ง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง – บ้านหัวป่า อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา” เปลี่ยนเป็น “ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” เพื่อให้เหมาะสมกับปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

หลังแวะพักรถและถ่ายรูปบนสะพานเอกชัย ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ทริปนี้เรามุ่งหน้าไปสู่จุดหมายที่ต้องเดินทางไปเห็นด้วยตาซักครั้ง นั้นคือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

map-talaynoi
ขอบคุณรูปภาพของเจ้าบ้าน : พัทลุงทูเดย์

เสร็จจากเที่ยวดูอุทยานนกน้ำทะเลน้อยก็ออกเดินทางกับหาดใหญ่ โดยใช้ถนนสายพัทลุง – หาดใหญ่ ไม่ได้กลับทางถนนสายเดิม ก็รู้สึกเสียดายว่า พระอาทิตย์ตกบนสะพานคงจะสวยงาม แต่การขับรถจะลำบากกว่า จึงเลือกถนนสายหลักมากกว่า กลับมาหาอะไรหวานๆ กินและนอนพักผ่อนสบาย

โรงแรมหาดใหญ่

เช้าวันที่สามของการมาเที่ยวหาดใหญ่ ตื่นสายนิดหน่อย จัดกระเป๋าขึ้นรถ กินอาหารเช้าเสร็จเดินทางเข้าไปเยี่ยมผู้ใหญ่ที่เคารพรัก บ่ายๆก็ไปสงขลา เพื่อรับน้องชายและหลาน เพราะวันนี้เป็นวันเสาร์วันหยุด เดินทางไปเที่ยววัดเก้าแสน หรือเก้าเส้ง ซึ่งเป็นชุมชนชาวประมงดั่งเดิมของจังหวัดสงขลา

วิวเมืองหาดใหญ่


ทำไมมาที่นี้ มาดูสถานที่ในตำนานของเก้าเส้ง นั้นคือ “หินหัวนายแรง” ซึ่งตั้งอยู่เขาเก้าเส้ง หากดูตะวันตกทะเลให้ดูที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต แต่หากจะชมตะวันขึ้นจากทะเลให้ดูที่หัวนายแรง

หัวนายแรงที่กลายเป็นหินปิดปากถ้ำ  ชาวบ้านเรียกว่า “หินหัวนายแรง” ส่วนสมบัติเก้าแสนก็กลายมาเป็น”เก้าเส้ง ” อยู่ที่ปลายเนินเขาเล็กๆเข้าเก้าแสน ที่ยื่นออกไปในทะเล


เขาเก้าเส้ง ห่างจากหาดสมิหลาประมาณ 3 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางไปสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งแห่งชาติ

มีตำนานเล่าถึงเขาเก้าเส้ง หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า “หัวนางแรง” ว่า “ครั้งนั้นทางเมืองนครศรีธรรมราชกำหนดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเจดีย์ และจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต บรรดา 12 หัวเมืองปักษ์ใต้ต่างก็นำเงินทองไปบรรจุในพระบรมธาตุ เมืองที่นายแรงเป็นเจ้าเมืองก็เป็นเมืองขึ้นนครศรีธรรมราชด้วย ประกอบกับนายแรงมีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงขนเงินทองเป็นจำนวนมากถึง “เก้าแสน” บรรทุกเรือสำเภา พร้อมด้วยไพร่พลออกเดินทางไปเมืองนครศรีธรรมราช ขณะกำลังเดินทางเรือสำเภาถูกคลื่นลมชำรุด จึงเข้าจอดเรือที่ชายฝั่งหาดทรายแห่งหนึ่ง เพื่อซ่อมแซมเรือ  พอได้ทราบข่าวว่าทางเมืองนครศรีธรรมราชได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จแล้ว นายแรงเสียใจมาก จึงให้ไพร่พลขนเงินทองบรรจุไว้บนยอดเขาลูกหนึ่ง สั่งให้ลูกเรือตัดหัวของตนไปวางไว้ที่ยอดเขา นายแรงกลั้นใจตาย ลูกเรือต้องจำใจตัดหัวเจ้านายไปวางไว้บนยอดเขาตามคำสั่ง เขาลูกนี้ภายหลังเรียกว่า “เขาเก้าแสน” เรียกเพี้ยนไปเป็น “เก้าเส้ง” ก้อนหินที่ปิดทับบนยอดเขาเรียกว่า “หัวนายแรง” ชาวบ้านเชื่อว่าดวงวิญญานของนายแรงยังเป็นปู่โสมเฝ้าทรัพย์มาจนทุกวันนี้”

อีกหนึ่งตำนานเขาเก้าเส้ง
“เก้าเส้ง” ซึ่งถ้าดาโต๊ะโมกอล เจ้าเมืองสาเลย์ อพยพมาสร้างป้อมที่หัวเขาแดงในปลาย คศ. 16 ช่วงนั้นก็น่าจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ ก๊กเส้ง( ฝรั่งสกดชื่อนี้ในหลายรูปแบบเช่น Cotsen, Quoysim, Cogseng, Coxiny) จอมสลัดจีนที่ต่อต้านราชวงมงโกลเรืองอำนาจอยู่ในทะเลจีนในขณะนั้น และเป็นผู้ที่ชิงคืนไต้หวันมาจาการปกครองของสเปน และชาวไต้หวันนับถือท่ายผู้นี้เป้นเทพเจ้า”เกาซุง” อยู่จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับ ก๊กเส้ง จากหนังสือ Rascals in Paradise โดย Jams A. Michener ผมสงสัยมานานแล้วว่าชื่อ”เก้าเส้ง” ที่ชายหาดสงขลาน่าจะมีอะไรเกี่ยวของกับชื่อของจอมสลัดผู้นี้

พระเจดีย์ยอดเขาเก้าเส้ง พระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2372 และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2402 พระเจดีย์นี้เป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ท้องถิ่นภาคใต้) เป็นพระเจดีย์ทรงลังกาฐานสี่เหลี่ยมก่ออิฐถือปูน เป็นโบราณสถานเด่นบนยอดเขาริมทะเล

หลังจากทำบุญกันเรียบร้อย ได้เวลาอิ่มท้อง ซึ่งน้องๆหลานพาไปเลี้ยงที่ร้านอาหารทะเลชายหาดสมิหลาซึ่งมีจำนวนหลายร้าน ร้านไหนมีนักท่องเที่ยวเต็มร้าน แนะนำร้านนั้น เพราะอาหารอร่อย ซึ่งอยากกินกุ้ง หอย ปู ปลา มีครบ
เสร็จจากกินอาหารบ่ายๆ ก็เดินทางไปสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ เพื่อขึ้นเครื่อง Airasia เพื่อกลับสู่กรุงเทพโดยสวัสดิภาพ คงเหลือวันอาทิตย์วันหยุดเพื่อทำภาระกิจส่วนตัวพักผ่อน 1 วัน

เที่ยวหาดใหญ่รอบนี้ มีค่าใช้จ่ายประมาณ ดังนี้

  1. ค่าเครื่องราคาถูกจองห้ามปี จองผ่าน Airasia พยายามจ่ายเงินสดบัตรเดบิต อย่างใช้บัตรเครดิตจะมีค่าธรรม
  2. ค่าทีพัก 2 คืนรวม 600 – 700 บาท จองผ่าน Dtac agoda
  3. ค่าน้ำมัน 1,000 บาท
  4. ค่าอาหารกินกันง่าย ๆ แนะนำตลาดนัดสงขลา แถวบ้านป๋าเปรม อร่อยมาก
  5. ขอว่างชา กาแฟ ขนมปัง ไม่เกิน 300-500 บาท
  6. ค่าเบ็ดเตล็ดทำบุญ อื่น ๆ
  7. ค่าอาหารน้องชายหรือพี่ชายจะเลี้ยงตลอด เกรงใจ แต่พี่น้องกัน

จบทริปนี้นะ ขอบคุณมากที่ติดตาม ทริปต่อไปไปเหนือบ้าง เชียงรายแล้วกันนะ ^_^

เรื่องที่เกี่ยวข้อง