วัดท่าซุงอุทัยธานี

น้องมินนี่พาทำบุญกราบหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และชมความงดงามภายในวัดท่าซุง

ความงดงามภายในวัดท่าซุง วิหารทองคำ ที่ทั้งหลังถูกตกแต่งด้วยคำเปลว ซึ่งประตูและหน้าต่างได้ถูกแกะสลักบอกเรื่องราวความเป็นมาของวัดนี้อีกด้วย

ซึ่งสันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้ได้ถูกก่อสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอธุยา โดยมีหลวงพ่อปานเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด เมื่อเวลาผ่านไปวัดท่าซุงก็ได้ทรุดโทรมลงเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2511 หลวงพ่อพระราชพรหมญาณ หรือ (หลวงพ่อฤาษีลิงดํา) ได้ทำการบูรณะวัดท่าซุงแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ จึงทำให้วัดแห่งนี้กลับมามีชื่อเสียงและกลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง ซึ่งสังขารของหลวงพ่อฤาษีลิงดํา ได้ถูกเก็บไว้ที่วิหารแก้วร้อยเมตรแห่งนี้อีกด้วย ว่ากันว่าสังขารของหลวงพ่อฤาษีลิงดํานั้นไม่เน่าไม่เปื่อยอีกด้วย

หอพระไตรปิฏก – หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรยืนสูง ๓๐ ศอก (ประมาณตึก 4 ชั้น) หลวงพ่อสร้างเป็นพระพุทธรูปประทับยืนอุ้มบาตร เดิมเรียกว่า “หลวงพ่อโต” (สร้างคล้ายกับที่ วัดอินทรวรวิหาร กรุงเทพฯ) อยู่บริเวณใกล้กับวิหารสมเด็จองค์พระปฐม ภายในบริเวณนี้มีเจดีย์พุดตาน และเจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม หอพระไตรปิฎกสูงขนาดตึก ๖ ชั้น เป็นสถานที่ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สร้างไว้ให้สักการะบูชาและขอพร และยังเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฏก ชั้นล่างจะเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางมากราบไหว้จุดธูปเทียนและปิดทองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ทางวัดได้สร้างองค์จำลองที่มีขนาดเล็กกว่า ประดิษฐานที่ชั้นล่าง ทางเข้าประตูซ้ายของหอพระไตรปิฏก และมีรูปปั้นหลวงปู่ปานและหลวงพ่ออยู่ข้างๆ มีพระเจ้าหน้าที่คอยดูแลสถานที่ คือพระสำเภา สุธมฺปวโร ที่วัดแห่งนี้มีศาลาไว้ปฏิบัติธรรมที่มีเนื้อที่อยู่ประมาณ 12 ไร่ สามารถรองรับผู้ที่มีจิตศรัทธามาปฏิบัติธรรมได้มากถึงร่วมเจ็ดหมื่นกว่าคนด้วยกัน มีที่ วัดแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 290 ไร่ ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถเดินด้วยเท้าเปล่าได้ทั่วถึง วัดแห่งนี้หากใครที่ได้มาถึงวัดแห่งนี้เป็นครั้งแรกจะต้องตกตลึงเพราะแทบไม่น่าเชื่อว่าที่แห่งนี้จะเป็นวัด เพราะวัดแห่งนี้ทั้งใหญ่และสวย รวมไปถึงความมีระเบียบสะอาดตา ใครที่ได้ไปเที่ยวชมกราบไหว้ในสถานที่แห่งนี้จะต้องประทับใจในความสวยที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน สำหรับคนที่ไม่เคยได้ไปต้องไปให้ได้สักครั้งในชีวิตจะเป็นบุญกุศลแก่ชีวิตท่านอย่างยิ่ง

ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่มาของคำว่า ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เนื่องจาก ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ขึ้นครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ท่านเจ้าอาวาสจึงนำการสร้าง “ปราสาททองคำ” ขึ้นถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ ๕๐ และทางสำนักพระราชวังได้ให้ชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า “ปราสาททองกาญจนาภิเษก” ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจก ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ญาติโยมถวาย รอบนอกปราสาทใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาท ภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญ คือ ๑. ชั้นแรก เป็นพิพิธภัณฑ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยจะนำสิ่งของต่างๆที่ท่านเคยใช้ก็ดี หรือของส่วนตัวท่านก็ดีมาประดิษฐานไว้ หรือสร้างจำลองสถานที่พักที่ท่านเคยอยู่อาศัย เป็นต้น (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปเป็นที่สร้างใหม่ “อาคารสมบัติพ่อให้” ใกล้ลานธรรม ๒. ชั้นที่สองและชั้นที่สาม จะเป็นสถานที่เก็บพระพุทธรูปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวาย ในสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ปรารภกับพระครูสังฆรักษ์สุรจิตว่า สถานที่เก็บพระพุทธรูปของพระพุทธองค์ที่ญาติโยมได้ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อไว้มากมาย จึงควรเก็บรักษาไว้เป็นจุดเดียวกัน และสถานที่เก็บก็จำเป็นจะต้องสร้างให้เหมาะสม และสมเกียรติต่อองค์พระทศพล เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์อย่างสูงสุด เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพต่อมาท่านเจ้าอาวาสได้ปรึกษากับคณะกรรมการสงฆ์เพื่อสร้างปราสาททองคำ สนองดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อโดยได้ทำการก่อสร้างที่โรงทำอิฐเดิมของวัด อันเป็นสถานที่เดิมที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กำหนดไว้

การเดินทางจากแยกถนนสาย 1 เข้าจังหวัดอุทัยธานี ระยะทาง 29 – 32 กิโลเมตร ตามแผนที่นะ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง