ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน หรือ ถ้ำหลวง

ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน หรือ ถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย

ดอยนางนอน
มุมมอง ดอย “นางนอน”

ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะมีการสั่ง ‘ปิด’ แล้ว คาดว่าให้พ้นช่วงฤดูฝน โดยอาจมีระยะเวลา 6 เดือน ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจก้องโลก กู้ภัย 13 ชีวิตทีมหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย เพื่อทำการฟื้นฟูและปรับสภาพพื้นที่ภายในถ้ำและวนอุทยาน ตลอดจนรอยขุดเจาะให้กลับสู่ภาวะปกติมากที่สุด

ถ้าำหลวง ขุนน้ำนางนอน
ถ้าำหลวง ขุนน้ำนางนอน
เครดิต นายสองสามเก้า กุมภาพันธ์ 2558 ที่มา https://pantip.com/topic/33242751

โดยจะมีการเปิดทางน้ำให้น้ำไหลเข้าถ้ำตามเดิม เพื่อรักษาระบบนิเวศภายในถ้ำ แต่ต้องเคลียร์พื้นที่ภายในถ้ำให้เสร็จเรียบร้อยก่อน ส่วนแนวทางในการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต ในเบื้องต้นระบุว่าอาจจะไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวถ้ำจุดที่ลึกมากเกินไป

แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ คาดว่าถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จะถูกเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก พร้อมเตรียมถอดบทเรียน สร้างแนวทางการรักษาความปลอดภัยเต็มรูปแบบ พร้อม สร้างหอประวัติหรือพิพิธภัณฑ์และจุดรำลึกถึง “วีรบุรษแห่งถ้ำหลวง – จ่าแซม”

จ่าแซม หรือ จ.อ.สมาน กุนัน อดีตหน่วยชีล จนท.ตระเวนระงับเหตุฝ่าย รปภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บ.ท่าอากาศยานไทย ที่อุทิศชีวิตเพือการกู้ภัยในครั้งนี้ พร้อมจัดแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีภาระกำลังที่ทุกหน่วยงานและทั่วโลก ระดมมาให้ความช่วยเหลือ 13 ชีวิตภายในถ้ำได้อย่างอัศจรรย์ หรือ ภาระกิจที่แทบเป็นไปไม่ได้ แต่ฮีโร่ทุกคน ทำให้เกิดขึ้นได้

หมูป่า
ลูกหมูป่า วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

วันนี้เรามารู้จัก ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน หรือ ถ้ำหลวง จ.เชียงรายกัน ในมุมมองของสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งใหม่

แม้ที่ผ่านคนไทยจะไม่ค่อยได้แวะไปเที่ยวถ้ำนี้ นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมถ้ำส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  ที่ต่อไปคนทั่วโลกจะเข้ามาชม วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน นี้อย่างแน่นอน

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (Tham Luang – Khun Nam Nang Non)

ระยะทางจากสนามบินเชียงราย - วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
ระยะทางจากสนามบินเชียงราย – วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน มีเนื้อที่ประมาณ 8 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,000 ไร่ อาณาเขตติดต่อ – ทิศเหนือ จดดอยจ้องและห้วยน้ำจอง , ทิศใต้ จดดอยผู้เฒ่าและลำห้วยน้ำค้าง , ทิศตะวันออก จดบริเวณพื้นที่ราบที่อยู่ข้างๆ ภูเขาทั้งหมด

กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน  วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 โดยมีครอบคลุมหัวดอยนางนอน ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่สำหรับบริการนักท่องเที่ยวอยู่ 2 แห่ง คือ 1. บริเวณวนอุทยานถ้ำหลวง ที่มีเนื้อที่ 12 ไร่ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านน้ำจำ ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย

หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่
1. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) เลขที่ 775 ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
โทร. 053711402 โทรสาร 053711961
2.ที่ทำการวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ต.โป่งผา อ. แม่สาย จ. เชียงราย 57130
โทร / แฟ็กซ์ 053714914 โทรสาร 053711961
3. องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์ / โทรสาร 053646627
โฮมเพจ / เว็บไซต์ : http://www.pongpha.go.th

ถ้ำหลวงขุนนางนอน เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีการสำรวจพบว่ามีความยาวมากกว่า 7 กม. ถือเป็นถ้ำที่มีความยาวมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศไทย

ถ้ำหลวง ยาวเป็นอันดับ 4 ในประเทศไทย

1ถ้ำพระวังแดงพิษณุโลก13,789mกรมป่าไม้ / CSS / โอซีซี / SMCC1997-2004
2ถ้ำแม่ลานนาแม่ฮ่องสอน12,720mการเดินทางออสเตรเลีย1986-1992
3ถ้ำใหญ่น้ำหนาวเพชรบูรณ์10,631mSMCC2004-2014
4ถ้ำหลวงเชียงราย10,316mAPS / BEC / SMCC / Unsworth1986-2016

สภาพป่าของที่นี่ เป็นป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สัก เต็ง รัง เหียง พลวง ประดู่ มะค่า ตะเคียน ยอป่า และมีไม้ไผ่ขึ้นตลอดทาง

ถ้ำนางนอน เป็นถ้ำที่กว้างใหญ่ ภายในถ้ำมีน้ำซับตลอดทั้งปี และจะมีน้ำไหลในช่วงฤดูฝน มีหินงอกหินย้อยสวยงาม และมีค้างคาวอาศัยอยู่ด้วย

ภายนอกถ้ำประกอบไปด้วยชั้นหินปูน หมวดหินราชบุรี ที่เกิดอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ต่อยุคเพอร์เมียน ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 345-230 ล้านปี หินที่พบมีทั้งหินปูน และหินอ่อน มีสีเทาถึงเทาดำ มีซากบรรพชีวิน สลับด้วยหินดินดานสีเทา

ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ เป็นถ้ำประเภทถ้ำกึ่งแห้ง เนื่องจากบางส่วนยังมีการเกิดของหินงอก และหินย้อยอยู่ และบางส่วนแห้งแล้ว โดยปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้าง ถ้ำหลวงมีปากถ้ำที่สูง โถงถ้ำแรกที่เปิดกว้าง จะมีระดับพื้นดินที่ต่ำกว่าปากถ้ำมาก เนื่องจากเป็นร่องทางน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ โดยมีร่องน้ำผ่านระหว่างโถงที่ 1 ที่มีร่องรอยหินถล่มด้านซ้ายมือ
เมื่อสิ้นสุดบันไดจากบริเวณปากถ้ำ เป็นทางเดินดินสั้นๆ ต่อจากนั้นเป็นขั้นบันได ที่เทด้วยปูนซีเมนต์จำนวน 5-6 ขั้น ยกระดับขึ้นทอดเข้าสู่ความยาวของตัวถ้ำ โดยที่ในช่วงฤดูฝน น้ำจะท่วมภายในถ้ำ และบริเวณร่องน้ำโถงที่ 1 ดังนั้นจึงไม่พบหลักฐานทางโบราณคดีภายในถ้ำนี้

ปากทางเข้าถ้ำ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก มีความยาวรวม 759.76 เมตร เมตร และโถงแยกฝั่งตรงข้ามทางเดินเข้าถ้ำ มีความยาว 68.27 เมตร ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ สำรวจจนสิ้นสุดห้องลับแล เนื่องจากทางที่จะไปโถงอื่นๆ นั้นลำบากมาก

ถ้ำหลวง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นถ้ำที่ค่อนข้างวิบาก มีเนินสูงชัน มีปล่องทางแคบๆ อยู่หลายจุด อุปสรรคความยากลำบากมากมายภายในถ้ำ และยังมีถ้ำเล็กๆ อีก 3 แห่งในบริเวณเดียวกัน

โถงปากถ้ำ เป็นห้องโถงกว้าง 15 เมตร พื้นที่โล่ง โปร่ง หายใจได้สะดวก มีแสงส่องเข้ามาถึงภายใน มีผนังถ้ำสวยงามให้ชม สามารถพบเกล็ดหินสะท้อนแสงหินงอก หินย้อย ธารน้ำ ถ้ำลอด และถ้ำแขนง เมื่อเดินถัดจากโถงปากถ้ำเข้าไปไม่นาน จะเจอห้องโถงที่ 2 และ 3 ลักษณะคล้ายกัน มีหินงอกหินย้อยสวยงาม

ถัดจากโถง 2 และ 3 มาสักพัก จะพบกับทางดิ่งลง เรียกว่า ‘นครบาดาล’ ซึ่งเส้นทางเดินจุดนี้ จะเป็นทางเดินลำบากสลับกับอุโมงค์ มีโคลนเลน มีหินขวางไปเรื่อยๆ จากโถง 3 ไปประมาณ 1 กม. กว่าๆ จะเจอ ‘สามแยก’ ทางซ้ายไปพัทยาบีช เนินนมสาว (จุดที่ 13 ชีวิตอยู่รอความช่วยเหลือ )ทางขวาไปด้านถ้ำผาหมี

มีข้อมูลจากนักสำรวจถ้ำ ระบุว่า “ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก มีความยาวรวม 759.76 เมตร และโถงแยกฝั่งตรงข้ามทางเดินเข้าถ้ำ มีความยาว 68.27 เมตร ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ สำรวจจนสิ้นสุดห้องลับแล เนื่องจากทางที่จะไปโถงอื่นๆ นั้นลำบากมาก”

จุด พัทยาบีช จากทางสามแยก เดินเข้าถ้ำมาทางซ้ายอีกประมาณ 600 เมตร จะเจอกับโถงพัทยาบีชเป็นจุดที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยคาดการณ์ว่าเด็กๆ ทั้ง 12 คนและโค้ชเอก จะติดอยู่ตรงนั้นในตอนแรก แต่เมื่อเข้าไปถึงจริงๆ กลับพบน้ำท่วมสูง

ผนังถ้ำเหนือพัทยาบีช
ผนังถ้ำเหนือพัทยาบีช
พัทยาบีช
พัทยาบีช

เส้นทางไปยังโถง พัทยาบีช ลำบากเช่นกัน มีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายท้องปลา สลับเนินทราย มีอุโมงค์แคบสลับกับพื้นดินขี้เลน เดินไปสักพัก จะเจอจุด “คอบีบ” เป็นทางแคบๆ ที่ต้องมุดตัวให้ผ่านไป พอทะลุออกไปได้ก็ถึงหาดพัทยา มีเป็นลานทรายมีความยาวเกือบ 2 กม. ลักษณะทรายเม็ดขาว มีน้ำเลียบตลอดแนว มีอากาศเพียงพอ แต่มืดสนิท

จุดเนินนมสาว เป็นจุดที่อยู่ห่างจากพัทยาบีชไปประมาณ 200-400 เมตร ซึ่งเป็นจุดที่ทีมกู้ภัยพบทั้ง 13 ชีวิต รอการช่วยเหลือทางทีมนักประดาน้ำกว่า 10 ประเทศ รวมทั้งหน่วยชีล แห่งกองทัพเรือของไทย ลักษณะเป็นเนิน น้ำท่วมไม่ถึง แต่ในอนาคตอาจจะเหมาะกับการเข้าไปเที่ยวในจุดที่อยู่ลึกในถ้ำขนาดนั้น เพราะระหว่างทางจะมีน้ำท่วมและต้องมุดถ้ำสูงต่ำเป็นช่วงๆ ซึ่งเป็นอันตรายได้ง่าย และปริมาณออกซิเจนจะน้อย จึงไม่ปลอดภัย ยกเว้น ทีมนักสำรวจถ้ำที่มีความพร้อม 100%

การเดินทางโดยรถยนต์
วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อยู่ห่างจากถนนจังหวัดเชียงราย-อำเภอแม่สาย (ถนนพหลโยธิน) 2.2 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างอำเภอแม่จัน-อำเภอแม่สาย ถนนลาดยางตลอดสายจนถึงวนอุทยานฯ การเดินทางไปวนอุทยานสะดวกสบายมากเนื่องจากอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย 60 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอแม่จัน 14 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอแม่สาย 8 กิโลเมตร

หมายเหตุ : ถ้ำหลวง จะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมพื้นที่ถ้ำ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝน เนื่องจากน้ำจะไหลเข้ามาท่วมภายในถ้ำซึ่งจะไม่ปลอดภัย และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ พบว่า นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมถ้ำส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  อาจเนื่องมาจากภายในถ้ำค่อนข้างเปียกชื้น และทางวนอุทยานฯ ไม่ได้มีการติดตั้งแสงไฟส่องสว่าง นักท่องเที่ยวต้องยืมหรือเช่าไฟฉายจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รวมทั้งถ้ำหลวงอาจไม่ใช่ลักษณะถ้ำที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวไทย แต่อาจมีความเหมาะสมในเชิงการศึกษาวิจัยมากกว่า

สุดท้ายของการเขียนถึง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ขอเชิดชูและรำลึกถึง “จ่าแซม” จ.อ.สมาน กุนัน จนท.ตระเวนระงับเหตุฝ่าย รปภ.ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บ.ท่าอากาศยานไทย ที่สละชีพเพื่อช่วยเหลือน้องๆหมูป่าทั้ง 13 ชีวิต และขอชื่นชม ฯลฯ กับเหล่าชีล นักประดาน้ำทุกชาติ และข้าราชการทุกสังกัด หน่วยงานและเอกชน ประชาชนที่ได้พร้อมใจกันในเหตุการณ์ครั้งนี้ … ขอได้รับความขอบคุณอย่างยิ่ง

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอำเภอแม่สาย
พระธาตุดอยตุง
– ดอยช้างมูบ และจุดชมวิวดอยช้างมูบ
สวนแม่ฟ้าหลวง (สวนดอกไม้เมืองหนาว)
– Tree Top Walk สะพานเดินเรือนยอดไม้ ดอยตุง
– พระตำหนักดอยตุง
– สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง/ สวนดอกกุหลาบพันปี
– หอพระราชประวัติ
– จุดชมวิวดอยนางนอน
– ถ้ำเสาหินพญานาค
– ถ้ำปุ่ม – ถ้ำปลา
– ถ้ำหลวงนางนอน
– ขุนน้ำนางนอน
– วัดพระสาน หรือ วัดวัดหิรัญญาวาส
– ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ
– หนองน้ำพุมหัศจรรย์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง