เทียวเชียงใหม่ 3 วัน 2 คืน ตอน2

เทียวเชียงใหม่ 3 วัน 2 คืน # ตอนที่ 2 สถานที่เที่ยวเชียงใหม่ที่เราจะไปวันนี้คือ  อุทยานหลวงราชพฤกษ์ พระธาตุดอยคำหลวง วัดพระสิงห์ วัดอุโมงค์ และประตูท่าแพ และแวะกินก๋วยเตี๋วยร้านในสวน ต่อด้วยกาแฟมิ่งมิตรน้องๆ สตาร์บัคเลย อุทยานหลวงราชพฤกษ์ทริปเชียงใหม่วันสอง เริ่มต้นด้วยการ ตื่นเช้าเพื่อมาใส่บาตรพระ 2 รูปที่หน้าวัดช้างเคี่ยน หลังโรงแรม จากนั้นกลับไปอาบน้ำกินอาหารเช้าและเตรียมตัวไปเที่ยวต่อ ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะไปไหน

กินข้าวเช้าเสร็จบริษัทให้รถเช่า ก็นำรถมาส่ง เช่ารถ Eco Car ประหยัดน้ำมัน เกียร์ AUTO 900 บาทต่อวัน น้ำมันเต็มถัง ตอนส่งคืนที่สนามบินเชียงใหม่เต็มน้ำมันให้เท่าเดิม ทริปนี้เช้ารถ 2 วันเต็ม


รับรถเรียบร้อยพาเพื่อนๆไปเที่ยวกัน แต่แบบไม่ลุยเท่าไหร่นะ จะบอกว่าทัวร์สายบุญก็ไม่เชิง คราวก่อนเที่ยว ม่อนแจ่ม , ไห้วพระดอยสุเทพ ฯลฯ ทริปนี้ไป “อุทยานหลวงราชพฤกษ์ Royal Park Rajapruek” ไปกันเลย มีเจ้าของบ้านไปด้วยไม่มีหลงทางแต่หลงเธอ ออกจากโรงแรมวิ่งตรงๆ และเลี้ยวขวาครั้งเดียวถึงละ

“อุทยานหลวงราชพฤกษ์ Royal Park Rajapruek”

ความเป็นมาเหรอ เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ.2549 และทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek”
สมัยนั้นเราๆใครหลายคนคงได้มาเที่ยวชมพันธุ์ไม้ในงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 “อุทยานหลวงราชพฤกษ์ Royal Park Rajapruek” จึงมาจากงานนั้น รัฐบาลไหนจัดงานเราๆก็คงรู้

 

สถานที่แนะนำ

โดมไม้เขตร้อนชื้น – แหล่งรวบรวมเฟิร์นโบราณมากมาย รวมทั้งพรรณไม้ดึกดำบรรพ์ และแวะทักทายเจ้าไดโนเสาร์ใจดี
เรือนไม้ดอก – เรือนไม้ดอกผสมผสานการจัดแสดงไม้ดอกจากโครงการหลวง และโครงการขยายผลโครงการหลวง
สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ – แสดงวิถีชีวิตเกษตรทฤษีใหม่ตามแนวพระราชดำริในรูปแบบการดำรงชีพตามหลักปรัชญาเศรษกิจพอเพียง ที่มีการทำนา การปลูกผัก ผลไม้ และเลี้ยงสัตว์
เรือนร่มไม้ – สวรรค์แห่งพรรณไม้ร่มชื้นไม่ว่าจะเป็น พันธุ์ไม้ร่มหายาก สับปะรดสี เฟิร์น และปาล์ม
อาคารกล้วยไม้ – ชื่นชมความงดงามของกล้วยไม้นานาพรรณได้ทั้ง พันธุ์แท้ และพันธุ์ลูกผสมกว่า 300 ชนิด

 

อัตราค่าบริการเข้าชม อุทยานหลวงราชพฤกษ์

นักท่องเที่ยวคนไทย

 

ผู้ใหญ่

100

บาท

เด็ก ส่วนสูง 100-140 ซม.

70

บาท

นักท่องเที่ยวต่างประเทศ

ผู้ใหญ่

200

บาท

เด็ก ส่วนสูง 100-140 ซม.

150

บาท

หมายเหตุ : เด็กส่วนสูงต่ำกว่า 100 ซม. เข้าชมฟรี! ส่วนลดค่าเข้าอุทยานสำหรับองค์กรต่างๆ และหมู่คณะ

เริ่มอากาศร้อนขึ้น ถ่ายเห็นวัดพระธาตุดอยคำไกลๆ เราไปทำบุญที่วัดพระธาตุดอยคำ กันดีกว่า ออกจากที่จอดรถอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ไม่เกิน 15 นาทีถึง

2018-05-13_192141

วัดพระธาตุดอยคำ สร้างในรัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 1230 ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต แต่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดดอยคำ”
 
DSC_0308
 

พ.ศ. 2509 ขณะนั้นวัดพระธาตุดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน) ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา ก่อนที่จะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่

หลวงพ่อทันใจ แห่งวัดพระธาตุดอยคำ ซึ่งสร้างขึ้นในรัชสมัย พญากือนา กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา

ปัจจุบันมีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์หลายต่อหลายครั้งที่มีผู้เดินทางมาขอพร บนบาน แล้ว ประสบความสำเร็จและได้เดินทางกลับมาถวายดอกมะลิเพื่อแก้บนวันนี้ได้ถวายสังฆทาน ทำบุญกันตามกำลังทรัพย์ ให้บุญรักษาคุ้มครองให้ทุกคนมีความนะ

 
DSC_0311
หลวงพ่อทันใจ
ทำบุญกับพระครูสุนทรเจติยารักษ์ (ครูบาพิณ)
“พระธาตุดอยคำ” เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ จิคำและตาเขียวมาก่อน ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ – ย่าแสะ” ปู่แสะย่าแสะมีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤๅษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ”
 
จากตำนานหลายฉบับได้กล่าวว่า เทวดาได้นำพระเกศาธาตุที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแก่ปู่แสะและย่าแสะ นำขึ้นมาฝังและก่อสถูปไว้บนดอยแห่งนี้ และต่อมาในปี พ.ศ. 1230 เจ้ามหันตยศ และเจ้าอนันตยศ 2 พระโอรสแฝดของพระนางจามเทวี แห่งหริภุญชัยนครได้ขึ้นมาก่อเจดีย์ครอบพระสถูปเกศานั้นไว้ ส่วนพระเจดีย์แห่งที่ 2 ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ทางทิศเหนือของดอยคำ คือ พระธาตุดอยสุเทพ
 

ทำบุญเสร็จรู้สึกว่าหิว ระหว่างทางแวะเข้าเมืองเชียงใหม่ แวะกินก๋วยเตี๋ยวร้านในสวน บรรยากาศดี อาหารอร่อย อิ่ม เดินทางต่อไปวัดอีกซักแห่ง วัดนี้ไม่เคยไป วัดอุโมงค์ เป็นไงตามมานะ

วัดอุโมงค์ ตั้งอยู่ที่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง หากไปจากตลาดต้นพยอม วิ่งผ่านสี่แยกคลองชลประทานด้านหลังม.เชียงใหม่ ประมาณ 500 เมตร เข้าซอยทางด้านซ้ายมือไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ชื่อว่าวัดอุโมงค์ได้ยินมานานแต่ทัวร์ออนไทยเพิ่งจะเคยได้มาเห็นกับตาว่าวัดนี้มีอุโมงค์อยู่จริงๆ ไม่ใช่แค่ชื่อวัดเท่านั้น แล้วไม่รู้เลยว่าในอุโมงค์เดินทะลุถึงกันได้ด้วยเป็นอุโมงค์ที่อเมซิ่งมากเพราะสร้างกันตั้งแต่ 700 กว่าปีมาแล้ว
วัดอุโมงค์ สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายราวปี พ.ศ.1839 เพื่อให้ฝ่ายอรัญวาสีจำพรรษา ต่อมาพญากือนา ทรงสร้างอุโมงค์ขึ้นเพื่อให้พระมหาเถระจันทร์ใช้เป็นที่วิปัสสนากรรมฐาน อุโมงค์นี้มีลักษณะเป็นกำแพงภายในเป็นทางเดินหลายช่องทะลุกันได้ ภายในอุโมงค์เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สันนิษฐานว่าวาดในระหว่าง พ.ศ.1900-2000 แต่เดิมคงเป็นภาพจิตรกรรมเต็มบริเวณของทุกห้อง ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกบัว ดอกโบตั๋น และ นกต่างๆ เช่น นกยูง นกกระสา นกแก้ว และนกเป็ดน้ำ


ด้านบนอุโมงค์เป็นเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่ของล้านนา นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีชั้นทรงกลมประมาณ 3 ชั้นเหมือนกลีบบัวซ้อนกันอยู่ ด้านบนมีปลียอด
ด้านหน้าอุโมงค์มีเศียรพระพุทธรูปหินสลักสกุลช่างพะเยา พ.ศ.1950-2100 บริเวณวัดเป็นสวนพุทธธรรม ร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ เป็นสวนป่าที่เหมาะกับการนั่งวิปัสสนา ด้านหลังเป็นสวนป่าและสวนสัตว์ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน เดินเล่นได้

เสร็จจากเข้าไหว้พระในอุโมงค์ เราก็เดินแวะไปกินชาเขียวปั่นร้านมิ่งมิตรอีกสาขานึ่ง ร้านจะใหญ่และบรรยากาศดี หารูปก่อนจะนำมาเพิ่มเติมให้เรื่อยๆ
นั่งพักสบายๆเย็นๆร้านมิ่งมิตร คิดว่าไหนๆเราก็มาอยู่รอบคูเมืองเชียงใหม่แล้ว แวะประตูท่าแพกันดีกว่า
ในตัวเมืองเชียงใหม่  จะมีคูเมือง ที่เป็นคูน้ำล้อมรอบไว้ทั้ง 4 ด้าน ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม (เกือบจะเป็นสีเหลียมจัตุรัส) โดยด้านทั้ง สี่มีความยาวเกือบจะเท่ากัน คูเมืองนี้สร้างพร้อมเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์โดยพญามังรายมหาราชเมื่อ ปีพ.ศ 1839 ซึ่งเชียงใหม่มีอายุครบ  720 ปีในปี 2559 ที่ผ่านมา รอบคูเมือง ประกอบด้วยประตู 5 ประตูเมือง

ประตูสวนดอก 

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของคูเมือง  ที่มาของชื่อเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของพระราชอุทยานของพญามังรายมหาราช  ซึ่งเต็มไปด้วยสวนดอกไม้และต้นพะยอม

ประตูแสนปุง หรือประตูสวนปุง

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคูเมือง คนเชียงใหม่มักเรียกว่า “ประตูสวนปรุง” ประตูนี้เป็นประตูที่เจาะกำแพงสร้างขึ้นใหม่ในสมัยพญาสามฝั่งแกน  เนื่องจากเพื่อความสะดวกแก่พระราชชนนีที่โปรดประทับอยู่ตำหนักนอกกำแพงเมือง  จะได้ทรงเสด็จมาสักการะพระเจดีย์  จึงโปรดให้เจาะกำแพงเมือง  นับแต่อดีตหากมีการเสียชีวิตภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่จะต้องน้ำศพออกจากคูเมืองผ่านประตูนี้ เท่านั้นซึ่งก็ยังยึดถือประเพณีนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน

ประตูช้างเผือก

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของคูเมืองเดิมชื่อ ประตูหัวเวียง  สร้างพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ถือเป็นประตูชัยตามความเชื่อของบรรพชนที่ให้เปิดทักษาประตูเมือง  ให้รับพลังเดชแห่งเมืองทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ หากเดินทางออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ด้วยประตูช้างเผือกจะมุ่งหน้าสู่ อำเภอแม่ริม

ประตูท่าแพ

ตั้งอยูทางทิศตะวันออกของคูเมืองเนื่องจากทิศตะวันออกของคูเมืองเป็นแมน้ำปิง  การเดินทางในสมัยก่อนต้องเดินทางทางน้ำ  เมื่อขึ้นจากแพหรือเรือจะเข้าทางประตูนี้จึงได้ชือว่าประตูท่าแพ  ซึ่งเป็นประตูที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันเป็นอย่างดี  เพราะเป็นจุดตั้งต้นของถนนคนเดินทาแพในวันอาทิตย์  อีกทั้งยังเป็นลานจัดกิจกรรมประเพณีต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่อยู่เป็นประจำตลอดทั้งปี

ประตูเชียงใหม่

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคูเมือง  เป็นประตูที่เป็นจุดตั้งต้นของถนนคนเดินวัวลายในวันเสาร์ บริเวณประตูเชียงใหม่ จะเป็นที่ตั้งของตลาดประตูเชียงใหม่นักท่องเที่ยวมักแวะมาชิมของอร่อยที่ตลาดนี้  ด้านหน้าตลาดจะมีคิวรถสองแถว  เพื่อเดินทางไปอำเภอที่อยู่ทางทิศใต้ เช่น หางดง สันป่าตอง แม่แจ่ม ฯลฯ เรียกได้ว่าคึกคักเนื่องแน่นด้วยผู้คนตลอดทั้งวัน

จากนั้นก็ไปวัดพระสิงห์ ซึ่งเริ่มเย็นแล้ว วัดนี้มีชาวต่างชาติแวะไปเยี่ยมชมจำนวนมาก เมื่อเราได้เดินผ่านรั้ววัดเข้ามาก็ปรากฏรูปหล่อของ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาให้เห็น โดยทางด้านหลังนั้นเป็นวิหารหลวงซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์หลวงพ่อโต ส่วนทางขวามือของวิหารหลวงนั้นก็เป็น หอไตร หรือหอธรรมที่สะท้อนศิลปะความเป็นล้านนาได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้สิ่งที่ผู้มาเยือนไม่ควรพลาดก็คือการเข้าไปสักการะ พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวิหารลายคำ

วัดพระสิงห์
LN-Wat Phrasing Woravihar.png

วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (คำเมือง: ) พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร[1] ตั้งอยู่ในบริเวณคูเมืองเชียงใหม่ ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระสิงห์ฯ เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นประดิษฐานพระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะเชียงแสนรู้จักกันในชื่อ “เชียงแสนสิงห์หนึ่ง”
พญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์มังราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1888 ขั้นแรกให้ก่อสร้างเจดีย์สูง 23 วา เพื่อบรรจุพระอัฐิของพญาคำฟู พระราชบิดา ต่อมาอีก 2 ปี จึงได้สร้างพระอาราม เสนาสนวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร และกุฏิสงฆ์ เมื่อเสร็จเรียบร้อย ทรงตั้งชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ขึ้นครองนครเชียงใหม่ โปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองเชียงราย มาประดิษฐาน
ในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 วัดพระสิงห์ได้รับพระกรุณาโปรดให้ยกเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

พระธาตุ “ปีมะโรง”

 “พระธาตุประจำปีมะโรง”

เสร็จจากไหว้พระวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เริ่มมืดละ เปิด GPS หาทางกลับโรงแรมที่ใกล้และรถไม่ติดมาก แต่แวะหาอะไรกินที่หน้ากาด … อะไรนะ แล้วเข้าที่พัก เป็นอันจบทริปวันที่ 2 … ต่อทริปวันที่ 3 ก้นเลยมั้ย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง