เที่ยวภูเก็ต 3 วัน 2 คืน …ตอน 3

Reviwe หาดทรายและสวนในที่พักไป วันนี้ตอนที่ 3 เที่ยวภูเก็ต 3 วัน 2 คืน มาชมภาพแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตต่อแบบยาวๆ สั้น ๆ มีเวลาจะมาเล่าและแนะนำเส้นทางอีกครั้ง ไปกันเลย

เริ่มเข้าวัดทำบุญวัดวัดไชยธาราราม  วัดฉลองกันก่อน วัดที่มาภูเก็ตต้องแวะ

 “วัดฉลอง” เป็นวัดที่มีมาแต่ก่อนเก่า ตามหลักฐานที่ปรากฎมีศาลาเก่าแก่อยู่หลังหนึ่งทางด้านทิศตะวันออก(ของวัดในปัจจุบันนี้) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระปฎิมาจากสภาพขององค์ท่าน นับว่า…เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาช้านานแล้ว จนไม่อาจคำนวณอายุที่แน่นอนได้ชาวบ้านฉลองและคนทั่วไปเรียกท่านว่า “พ่อท่านเจ้าวัด” 

ด้านซ้ายขององค์ท่านมีรูปหล่อของชายชรานั่งถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า “ตาขี้เหล็ก”เล่ากันว่าตอนที่สร้างโบสถ์เสร็จ มีปูนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ช่างนึกสนุกจึงนำปูนมาปั้นเป็นรูปตาแก่ ประชาชนนิยมบนตาขี้เหล็กด้วยหมากพลูและบุหรี่มาจนทุกวันนี้  ส่วนด้านขวาของ “พ่อท่านเจ้าวัด” นั้น มีรูปหล่อเป็นยักษ์ถือกระบองแลดูน่ากลัว ชาวบ้านเรียกว่า “นนทรีย์”รูปหล่อทั้ง 3 องค์นี้ ท่านศักดิ์สิทธิ์นัก จนเป็นที่โจษขานกันมานานแล้วภายในวัดฉลองมีกุฏิจำลองพ่อท่านสมเด็จเจ้า

     ภายในจะประดิษฐ์สถานหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนของหลวงพ่อทั้ง 3 ท่าน คือ หลวงพ่อแช่ม, หลวงพ่อช่วง, หลวงพ่อเกลื้อม เป็นพระคู่วัดฉลองไว้ให้ประชาชนมาสักการะของพรจากหลวงพ่อทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นรูปหุ่นขึ้ผึ้งที่สวยงามมาก

     ตรงข้ามโบสถ์หลังจะเป็นที่ตั้งของพระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมีประกาศ เป็นที่ประดิษฐสถานของพระธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา นำมาให้ชาวภูเก็ตได้สักการะกันภายในพระมหาธาตุเจดีย์บนข้างฝาผนังจะมีรูปเขียนภาพจิตรกรรมตามพุทธประวัติ และ มีรูปปั้นพระพุทธรูปปางต่างๆภายในอุโบสถ์ตลอดทางขี้นไป

     ว่ากันว่าหากมาถึงภูเก็ตแล้ว ควรได้เดินทางมาไหว้หลวงพ่อแช่มที่วัดฉลองหรือวัดไชยธาราราม วัดคู่บ้านคู่เมืองภูเก็ต เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมี และเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก ทุกวันนี้หลวงพ่อแช่มยังคงเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจให้กับชาวภูเก็ต และชาวไทยทั่วทุกภาคหรือแม้แต่เพื่อนบ้านผู้มาเยือนดินแดนไข่มุกแห่งอันดามันนี้เสมอ

     ประวัติตอนหนึ่งของหลวงพ่อแช่มนั้นเล่าว่าในปี พ.ศ.2419 ซึ่งตรงกับสมัยของรัชกาลที่ 5 หลวงพ่อแช่มได้ช่วยเหลือชาวภูเก็ตต่อสู้กับพวกอั้งยี่ ชาวกรรมกรเหมืองแร่ที่ได้ก่อเหตุจลาจล ไล่ฆ่าฟันโจมตีชาวบ้านและจะยึดครองเมืองภูเก็ต ในครั้งนั้นหลวงพ่อได้มอบผ้าประเจียดสีขาวให้ชาวบ้านทุกคนโพกหัวเพื่อเป็นเครื่องรางป้องกันอันตราย ซึ่งได้สร้างความเชื่อมั่นและขวัญกำลังใจให้กับชาวภูเก็ตเป็นอย่างมาก และใช้วัดฉลองเป็นที่มั่นราวกับป้อมค่ายที่ใช้ในการต่อสู้ จนกระทั่งสามารถเอาชนะพวกอั้งยี่ได้ เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงทราบความจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสมณศักดิ์แก่หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์แห่งเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในสมัยนั้น และได้พระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยธารารามแต่นั้นมา

ต่อด้วยตื่นเช้าแวะ 7-11 และร้านอาหารเพื่อซื้อหาของข้าวสวย กับข้าวคาวหวาน ตักบาตรวัดสุวรรณคีรีเขต ในช่วงชาวในตัวกะรน ไม่มีรถรามากมาย บรรยากาศสบายๆ เลยแวะเข้าไปชมโบสถ์วัดสุวรรณคีรีเขต

วัดสุวรรณคีรีเขต หรือ วัดกะรน ( เรียกตาม ชื่อสถานที่ตั้ง ) ได้รับการประกาศ ตั้งเป็นวัด เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 บรรยากาศภายในวัด ดูกว้างขวาง และร่มรื่นดี มองเห็นโบสถ์ใหม่ สร้างอย่างสวยสดงดงามมี พญานาค 2 ตัว โอบล้อมโบสถ์ไว้ ตัวโบสถ์ สร้างด้วยศิลปะแบบไทย บานประตู และหน้าต่างทุกบาน แกะสลักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พุทธประวัติ และ ทศชาติชาดก หรือ พระเจ้าสิบชาติ

ภายในโบสถ์ อากาศเย็นสบาย ผนังด้านหน้า เหนือพระประธานเป็น ภาพวาดสีสด เทพชุมนุม และ เทพประทานพร ส่วนผนังด้านหลัง เป็น ภาพวาดพุทธประวัติ ตอนมารผจญ มี พญามาร และสมุน รบกวน การบำเพ็ญเพียร ของ พุทธองค์ และมี พระแม่ธรณีบีบมวยผม เพื่อช่วยปราบมาร

ตักบาตรเสร็จ ก่อนเข้าที่พักแวะเดินย่ำทรายเก็บภาพหาดกะรน ยามเช้ากันก่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง