บทสวดมนต์ “บทรัตนสูตร” เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เถระได้ศึกษาจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับชาวกรุงเวสาลี ที่มีทั้งโรคระบาด อันตรายจากภูตผีปีศาจ ความอดอยากล้มตาย
พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระอานนท์เถระรำลึกถึงคุณพระรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ ทำสัจกิริยาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชาวกรุงเวสาลี ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนสูตรนี้ ภัยพิบัติร้ายแรงได้ระงับลงอย่างฉับพลัน
สำหรับบทสวดและคำแปลของ “บทสวดรัตนสูตร” มีดังนี้
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ |
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข |
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ |
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง |
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ |
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ |
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง |
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ |
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา |
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง |
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ |
อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง |
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต |
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ |
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง |
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ |
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ |
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา |
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ |
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา |
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ฯ |
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ |
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ |
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ |
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา |
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย |
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ |
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ |
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ |
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา |
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ |
ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ |
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ |
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ |
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต |
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง |
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา |
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ |
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค |
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห |
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ |
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ |
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร |
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ |
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง |
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง |
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา |
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป |
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง |
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ |
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข |
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง |
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ |
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข |
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง |
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ |
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข |
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง |
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ |
คำแปล รัตนสูตร
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในเมืองนี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตผีปีศาจทั้งปวงนั้น จงเป็นผู้มีใจดี และจงฟังธรรมของพระตถาคตเจ้าที่เรากล่าวแล้วนี้ โดยเคารพเถิด เพราะเหตุนี้ที่ท่านทั้งหลาย เป็นผู้มีใจดีอย่างนี้นั้นแล ท่านภูตผีปีศาจทั้งหลาย จงตั้งใจฟัง แล้วกระทำไมตรีจิตในชุมชนหมู่มนุษย์ ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาหมู่มนุษย์ผู้ซึ่งสังเวยท่านด้วยพลีกรรมทั้งกลางวันและกลางคืน ตลอดกาลทุกเมื่อเถิด ฯ
ทรัพย์อันทำให้ยินดีและปลื้มใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือว่ารัตนะอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์หรือรัตนะนั้น ๆ ที่จะวิเศษเสมอด้วยพระตถาคตเจ้านั้นไม่มีเลย คุณวิเศษแม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระศรีศากยมุนีเจ้า ผู้มีพระทัยดำรงตั้งมั่น ได้บรรลุถึงความสิ้นไปแห่งกิเลสและความสิ้นไปแห่งราคะ อันเป็นอมตธรรมอันประณีตแล้ว สิ่งวิเศษใด ๆ จะเสมอด้วยพระธรรมนั้น ย่อมไม่มี คุณวิเศษแม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญสมาธิว่าเป็นธรรมอันสะอาด และบัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า สมาธิเป็นครุธรรมอันให้ผลโดยลำดับสม่ำเสมอ คุณธรรมอื่น ๆ ที่จะเสมอด้วยสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วนั้น ย่อมไม่มี คุณวิเศษแม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระอริยบุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ ที่สัตบุรุษสรรเสริญแล้วนั้น เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า เป็นผู้ควรรับทานที่หมู่ชนนำมาถวาย ทานทั้งหลายที่ถวายในพระอริยบุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ เหล่านั้นย่อมมีผลมาก คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระอริยบุคคลทั้งหลายในศาสนาของพระสมณโคดมเจ้า เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรดีแล้ว มีใจมั่นคง มีความใคร่ออกไปแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้ถึงอรหัตผลที่ควรถึง ได้หยั่งจิตเข้าสู่นิพพาน แล้วได้ความดับกิเลสโดยง่าย แล้วจึงเสวยผลที่ได้นั้นอยู่ตลอดกาล คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
เสาเขื่อนที่ฝังลงดินแล้วย่อมไม่หวั่นไหวสั่นสะเทือนด้วยลมพายุจาก ๔ ทิศ ฉันใด เราตถาคต ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปัญญาอันหยั่งลงเห็นอริยสัจทั้งหลายว่าเป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม มีอุปมาแม้ฉันนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระโสดาบันผู้กระทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย ที่พระตถาคตเจ้าผู้มีพระปัญญาอันลึกซึ่งทรงแสดงไว้ดีแล้ว แต่พระโสดาบันนั้นก็ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ก่อกรรมเป็นเหตุให้ถือเอาการเกิดในภพชาติอีกอย่างแน่นอน คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฎฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ได้แล้ว พร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็นด้วยปัญญานั้นเทียว อนึ่ง พระโสดาบันเป็นผู้พ้นจากอบายภูมิทั้ง ๔ แล้ว เป็นผู้ไม่อาจเพื่อจะกระทำอติมานะ คือเหตุแห่งความฉิบหายอันยิ่งใหญ่ ทั้ง ๖ ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ และการไปเข้าจารีตศาสนาอื่นได้อีกต่อไป คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระโสดาบันนั้นยังกระทำบาปกรรมเล็กน้อย ด้วยกายหรือวาจาใจบ้าง แม้เพราะเหตุคือ การทำบาปกรรมแม้เล็กน้อยนี้ ก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้แล้วว่า พระโสดาบันเป็นผู้เห็นทางพระนิพพานแล้ว จึงไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันเล็กน้อยนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พุ่มไม้ในป่า ออกยอดบานในระยะต้นเดือน ที่อากาศเริ่มร้อนแห่งฤดูร้อนฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ เป็นทางให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่หมู่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงรู้ธรรมอันประเสริฐ ทรงให้ธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้นำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ เป็นผู้ยอดเยี่ยมหาผู้อื่นในโลกเทียบไม่ได้ ได้ทรงแสดงซึ่งพระธรรมอันประเสริฐแล้ว คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
กรรมเก่าของพระอริยบุคคลทั้งหลายสิ้นแล้ว กรรมอันแต่งให้เกิดใหม่ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่านั้น สิ้นพืชคือตัณหาคือเหตุให้เกิดแล้ว ไม่มีความพอใจในภพอีกแล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมดับกิเลสไม่มีเชื้อเหลือไปแล้วฉะนั้น คุณวิเศษแม้อย่างนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระอริยสงฆ์ ด้วยการกล่าวคำสัตย์จริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี ฯ
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงพากันนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ซึ่งเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี ฯ
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงพากันนอบน้อมพระธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี ฯ
หมู่ภูตผีปีศาจประจำถิ่นทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่ในที่นี้ก็ดี ที่ประชุมกันอยู่ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงพากันนอบน้อมพระอริยสงฆ์ผู้มาแล้วอย่างนั้น ซึ่งเป็นธรรมที่เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี ฯ