วิธีกดบัตรคนจน ถอนเงินทำอย่่างไร และการหาร้านธงฟ้าซื้อของ แบบสั้น ๆ

วิธีและขั้นตอนการกดบัตรคนจน หลายคนคงสงสัยว่าการถอนเงินจากบัตรคนจนทำอย่างไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เลื่อนอ่านรายละเอียดกันได้เลยจ้า

วิธีการถอนเงินสดจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบบสั้นๆ

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

การเปลี่ยนรหัสครั้งแรก
1.นำบัตรสอดที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
2.ใส่รหัสบัตร การใช้งานครั้งแรก รหัสคือ หมายเลข 6 หลักสุดท้ายของบัตรประชาชน
3.เลือก กดเปลี่ยนรหัสบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (อยู่ด้านซ้ายมือของเมนู)
4.ใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หากต้องการรับผลการเปลี่ยนรหัส หากไม่มี ให้เลือก ดำเนินการต่อ โดยไม่ต้องกรอกข้อมูล
5.เลือก เปลี่ยนรหัสบัตร และ กรอกรหัสใหม่ 6 ตัว
6.กรอกรหัสใหม่อีกครั้งเพื่อยืนยัน

การถอนเงินสด ณ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย

1.นำบัตรสอดที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย
2.กรอกรหัส 6 หลัก
3.เลือก ถอนเงิน
4.เลือก กระแสรายวัน / บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
5.กรอกจำนวนเงิน และรับเงินในช่องรับเงิน
6.ไม่มีค่าธรรมเนียมการถอนเงินทั่วประเทศ

ลืมรหัสผ่านของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจนสามารถเปลี่ยนรหัสใหม่ได้

  1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) เข้าตู้ ATM
  2. กรอกตัวเลข 6 หลัก (เช่น 111111 , 000000 เป็นต้น)
  3. เลือกลืมรหัสคู่บัตร
  4. ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะเบอร์โทรศัพท์ที่เคยลงทะเบียนไว้เท่านั้น) จากนั้นกด “ยืนยัน”
  5. ตั้งรหัสคู่บัตรใหม่ จำนวน 2 ครั้ง
  6. กดหมายเลข OTP และกดยืนยัน

วิธีกดเงินสวัสดิการแห่งรัฐ Youtube

วิธีกดเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบละเอียด

บัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นสวัสดิการของรัฐที่ให้วงเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยทุก ๆ เดือน สำหรับรูดซื้อสินค้าต่าง ๆ ที่จำเป็น, ค่าเดินทางรถโดยสารสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถ บขส. และรถไฟ รวมทั้งเงินช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ตามมาตรการที่ออกมา ซึ่งก็มีผู้ถือบัตรหลายคนมีคำถามว่า เงินส่วนไหนที่เราสามารถถอนออกมาเป็นเงินสดได้บ้าง หรือจะนำบัตรคนจนไปใช้เป็นเหมือนบัตร ATM เลยได้ไหม ใครยังสงสัยเรื่องนี้อยู่ มาดูรายละเอียดกันชัด ๆ 
* วงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กดออกมาเป็นเงินสดได้ไหม ?

           บัตรคนจนจะแบ่งวงเงินในบัตรเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ

          1. วงเงินสำหรับซื้อสินค้าจำเป็นผ่านเครื่อง EDC และร้านค้าที่ร่วมรายการ

          เช่น เงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภคร้านธงฟ้าประชารัฐ 200-300 บาท/เดือน, ค่าโดยสารรถสาธารณะ 500 บาท/เดือน, ค่าก๊าซหุงต้ม 45 บาท ต่อ 3 เดือน
          สำหรับส่วนนี้ผู้ถือบัตรไม่สามารถกดหรือถอนออกมาเป็นเงินสดได้ เพราะเป็นวงเงินที่สำรองไว้ใช้ผ่าน EDC ของหน่วยงาน หรือร้านค้าที่กำหนดเท่านั้น

          2. วงเงินที่ใส่ลงไปใน e-Money

          เช่น เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ 50-100 บาท/เดือน, เงินคืนภาษี VAT 5% จากการใช้บัตรรูดซื้อสินค้าและบริการผ่านร้านธงฟ้าประชารัฐ ซึ่งจะสามารถกดเป็นเงินสดได้เลย

ทั้งนี้ จากข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2563 วงเงินที่สามารถถอนจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ มีดังนี้

บัตรคนจน

* วิธีกดเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

          เราสามารถถอนเงินสดจากบัตรคนจนได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย โดยทำตามขั้นตอนคือ

1. สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใส่รหัส 6 หลัก

บัตรคนจน

2. เมื่อเข้าหน้าเมนู ให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”

บัตรคนจน

         หากตู้ ATM ไหน ไม่มีให้กดเลือก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จะไม่สามารถถอนเงินจากบัตรได้ ดังนั้น ต้องหาตู้ ATM ที่เมื่อสอดบัตรและใส่รหัสเข้าไปแล้ว มีข้อความให้กดเลือก “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” แบบนี้
3. กดปุ่ม “ขอดูยอดเงินคงเหลือ”
บัตรคนจน

          เพื่อตรวจสอบว่ามีเงินโอนเข้ามาหรือยัง หรือมียอดเงินที่สามารถกดได้เท่าไร โดยยอดเงินคงเหลือที่ใช้ได้จะแสดงให้เห็นในหน้าจอ

4. ระบบจะถามว่า ท่านต้องการบริการอื่นอีกหรือไม่ หากต้องการถอนเงิน ให้กดปุ่ม “ต้องการ”

บัตรคนจน


5. หน้าจอจะกลับมาที่หน้าเมนู หลังจากนั้นให้กดปุ่ม “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” อีกครั้ง

6. กดปุ่ม “ถอนเงิน”

บัตรคนจน

7. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการถอน (ขั้นต่ำ 100 บาท ถอนได้ไม่เกินครั้งละ 20,000 บาท)




8. เช็กจำนวนเงินที่ต้องการถอน หากถูกต้องให้กดปุ่ม “ถูกต้อง” แล้วรอรับเงิน

บัตรคนจน

* ลืมรหัสกดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำอย่างไร ?
          หากลืมรหัสบัตร ให้ทำการเปลี่ยนรหัสได้ที่ตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้
บัตรคนจน
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย

* วิธีเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

           การกดเงินสดบัตรคนจนนั้น นอกจากวงเงินในส่วน e-Money แล้ว ยังสามารถทำได้ด้วยการเติมเงินเข้าไปในบัตร ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าบัตรคนจนสามารถเติมเงิน-ฝากเงินได้เหมือนกันกับบัตร ATM ทั่วไปเลย

          การเติมเงินเข้าบัตรคนจน สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้  

1. เติมเงินผ่านตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย 

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก Winning7799 / Shutterstock.com
          โดยนำบัตร ATM ของธนาคารกรุงไทยที่ต้องการหักเงินเข้าบัตรคนจน ไปทำรายการได้เลย ณ ตู้ ATM ของธนาคารกรุงไทย ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 

          – สอดบัตร ATM ธนาคารกรุงไทย ใส่รหัส 6 หลัก
          – เลือกหัวข้อ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ”          – เลือก “เติมเงินเข้าบัตรสวัสดิการฯ”
          – เลือกประเภทบัญชีที่ต้องการหักบัญชี ได้แก่ ออมทรัพย์ หรือ กระแสรายวัน/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (บัตร ATM เราเป็นเงินฝากประเภทไหนก็เลือกประเภทนั้น)
          – ใส่หมายเลข 16 หลักของบัตรคนจนที่ต้องการเติมเงินเข้าไป
          – ตรวจสอบหมายเลขให้ดี แล้วกด “ถูกต้อง”
          – ระบุจำนวนเงินที่ต้องการโอนเข้าไปในบัตร ตั้งแต่ 100-30,000 บาท แล้วกด “ถูกต้อง”

2. เติมเงินผ่านเครื่องรับฝากเงินอัตโนมัติของธนาคารกรุงไทย (ADM)
          โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
          – สอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เครื่อง ADM
          – เลือกหัวข้อ “ฝาก/บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์”
          – กดปุ่ม “บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์”
          – ตรวจสอบเลขบัญชีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
          – นำเงินสดที่ต้องการฝากใส่ลงในเครื่อง
          – ตรวจสอบความถูกต้องแล้วกด “ถูกต้อง”

 3. เติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ 

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก Bai-Bua’s Dad / Shutterstock.com
          สำหรับใครที่ไม่อยากทำรายการด้วยตัวเองผ่านตู้ ATM ก็สามารถเติมเงินได้ผ่านธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้อยู่แล้ว

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก ธนาคารกรุงไทย
* บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสมัคร Internet Banking ได้ไหม 

          อีกหนึ่งความสามารถของบัตรคนจนที่หลายคนอาจยังไม่รู้ คือ สามารถสมัครใช้งาน Internet Banking ได้ด้วย ผ่านบริการ KTB netbank ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งผู้สมัครจะต้องมีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยด้วย โดยสามารถสมัคร KTB netbank ได้่ทั้งที่สาขาธนาคารกรุงไทยโดยตรง หรือตู้ ATM ตามขั้นตอนต่อไปนี้

กดเงินบัตรคนจน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก KTB netbank

นอกจากจะเป็นสวัสดิการช่วยเหลือค่าครองชีพแก่ผู้มีรายได้น้อยแล้ว บัตรคนจนยังถูกออกแบบเพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้จ่ายของผู้มีรายได้น้อย โดยไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากอีกด้วย 

ขอบคุณที่มาข้อมูลเพื่อคนจน : https://money.kapook.com/view198445.html

สิทธิประโยชน์ของบัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 7 ข้อ

ซึ่งผู้ที่ถือบัตรจะได้รับสิทธิ์การช่วยเหลือจากรัฐฯทั้งในรูปแบบของเงินสด และ วงเงินในบัตรเพื่อนำไปใช้ตามร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าเอกชนที่เข้าร่วมรายการ โดยสิทธิประโยชน์ต่างๆจะมีอะไรบ้างนั้น “ฐานเศรษฐกิจ”ได้รวบรวมมานำเสนอ


สิทธิ์ข้อที่ 1 ซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค

สิทธิข้อที่ 1 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของทุกเดือนจะได้วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค คนละ 200-300 บาทต่อเดือน สามารถนำไปใช้ซื้อสินค้าได้ตามร้านธงฟ้าประชารัฐ และวงเงินตรงนี้ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ 

สิทธิข้อที่ 2 ค่าเดินทาง รถโดยสารสาธารณะ


สิทธิข้อที่ 2 ค่าเดินทาง รถโดยสารสาธารณะ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้) โดยจะแบ่งเป็นค่าโดยสารรถเมล์ -รถไฟฟ้า 500 บาทต่อเดือน (ใช้ชำระค่าโดยสารด้วยระบบ e-Ticket),ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน และ ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน

สิทธิข้อที่ 3 คือ ส่วนลดสำหรับการซื้อ ก๊าซหุงต้ม


สิทธิข้อที่ 3 คือ ส่วนลดสำหรับการซื้อ ก๊าซหุงต้ม กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ (ไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้) ในวงเงิน 45 บาท ต่อ 3 เดือน ( 3เดือนใช้ได้ 1 ครั้ง)

สิทธิข้อที่ 4.เงินพิเศษผู้สูงอายุ

ต่อมาในวันที่ 15 ของทุกเดือน ผู้ถือบัตรคนจนหรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับ สิทธิข้อที่ 4.เงินพิเศษผู้สูงอายุ รายละ 50 – 100 บาท (ผู้สูงอายุที่มีรายได้ 30,001-100,000 บาท ได้รับเงินช่วยเหลือ เดือนละ 50 บาท ส่วนผู้สูงอายุที่มีรายได้ 0-30,000 บาทต่อปี ได้รับเงินช่วยเหลือ เดือนละ 100 บาท ) สำหรับเงินในส่วนนี้สามารถกดออกมาเป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้ได้

สิทธิข้อที่ 5.เงินคืนภาษี VAT  5%  

สิทธิข้อที่ 5.เงินคืนภาษี VAT  5%  ผู้ที่เติมเงินเข้าบัตรคนจน แล้วใช้บัตรจ่ายเงินซื้อของในร้านที่เข้าร่วมรายการหรือร้านค้าเอกชนอื่นๆที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านเครื่อง EDC ที่มีการเชื่อมต่อระบบ POS ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 – 30 กันยายน 2563 รัฐจะคืนภาษี VAT 5% ให้ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ยกตัวอย่าง เช่น ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 100 บาท คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจน 5 บาท ใช้จ่ายผ่านบัตรคนจน 1,000 บาท คืน VAT 5% เข้าบัตรคนจน 50 บาท โดยยอดคืนสูงสุดจะไม่เกิน  500 บาท/เดือน และเงินจะโอนเข้าบัตรวันที่ 15 ผู้ถือบัตรคนจนสามารถกดออกมาเป็นเงินสดออกมาใช้ได้ หรือรูดซื้อของตามร้านธงฟ้าฯ และร้านค้าอื่น ๆ ที่ร่วมโครงการได้ หลังจากนั้นในวันที่ 18 ของทุกเดือน

สิทธิข้อที่ 6. ส่วนลดค่าน้ำประปา

สิทธิข้อที่ 6. ส่วนลดค่าน้ำประปา ไม่เกินเดือนละ 100 บาทต่อหนึ่งครัวเรือน โดยผู้ถือบัตรคนจนที่จะได้รับสิทธินี้ก็ต่อเมื่อลงทะเบียนรับสิทธิกับการประปาในพื้นที่ รวมไปถึงใช้น้ำในหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ 

สิทธิข้อที่ 7. ส่วนลดค่าไฟฟ้า


สิทธิข้อที่ 7.ส่วนลดค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 230 บาทต่อเดือนและต่อหนึ่งครัวเรือน โดยหลักเกณฑ์จะเหมือนกับค่าน้ำ ที่ต้องไปลงทะเบียนก่อน และต้องใช้ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด 

ถือเป็นสิทธิ 7 ข้อของผู้ถือบัตรคนจน หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่จะได้รับสิทธิการช่วยเหลือต่างๆจากภาครัฐ ซึ่งเมื่อดูจากวันและเวลา ก็เท่ากับว่าในเดือนมิถุนายน สิทธิข้อ ที่ 1 -3 นั้นก็ได้รับกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือคือข้อที่ 4 – 7 ที่จะเริ่มทยอยเข้าในวันที่ 15 มิถุนายน และ 18 มิถุนายนต่อไป

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีผู้ถือบัตรคนจนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการจ่ายเงินอาจจะมีล่าช้าเกินจากวันที่ได้ระบุเอาไว้ เพราะต้องทยอยจ่าย หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน สามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หมายเลข 0-2109-2345 ในวันและเวลาราชการ

การค้นหา – ตรวจสอบรายชื่อร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ

ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าธงฟ้าประชารัฐได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์ https://shop.moc.go.th/shop#map ซึ่งจะบอกพิกัดตำแหน่งร้านค้า ทั้งร้านที่มีเครื่องรูดบัตร EDC (Electronic Data Capture) และร้านถุงเงินประชารัฐ ที่สามารถให้เข้าไปค้นหาชื่อร้านค้า จังหวัด อำเภอ และตำบลที่ต้องการค้าหาได้

รายชื่อร้านจะขึ้นมาให้เลือก พร้อมคลิกดูแผนที่ตั้งของร้าน

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจรายการสินค้าที่เข้าร่วมกับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงพาณิชย์เช่นกัน โดยเป็นสินค้าที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด 46 สินค้า แยกเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค 38 สินค้า ทั้งหมวดอาหารสด หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดของใช้ประจำวัน หมวดยารักษาโรค, สินค้าเพื่อการศึกษา 5 สินค้า และวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรม 3 สินค้า

รวมถึงยังสามารถตรวจสอบรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการอีก 105 สินค้า 806 รายการ ได้เช่นกันที่ลิงก์ https://www.dit.go.th ซึ่งจะระบุรายชื่อสินค้า และเปรียบเทียบราคาจำหน่ายปลีกร้านธงฟ้ากับราคาปกติในร้านค้าอื่นๆ ด้วย

เดือนกันยายน 2563 ผู้ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” ได้รับสิทธิอะไรบ้าง?

สำหรับผู้ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องเป็นผู้มีรายได้น้อยตามที่รัฐกำหนดไว้ หรือไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งผู้ที่จะได้รับสิทธิบัตรคนจนนั้น จะต้องมีการลงทะเบียนไว้ 

เดือนกันยายน 2563 ผู้ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” จะได้รับสิทธิช่วยเหลือจากภาครัฐทั้งหมด 7 สิทธิ ดังนี้

สำหรับเดือนกันยายน 2563 ผู้ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” จะได้รับสิทธิช่วยเหลือจากภาครัฐทั้งหมด 7 สิทธิ

  • 1 กันยายน 2563

1.วงเงินชำระค่าสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมถึงสินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรมจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดยผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน 1 คน จะได้ 1 สิทธิต่อบัตร สามารถใช้ซื้อสินค้าไม่จำกัดจำนวนภายในวงเงินที่กำหนดไว้ แต่หากซื้อสินค้ามากกว่าวงเงินที่ได้รับ ผู้มีสิทธิต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง

ทั้งนี้แยกเป็นผู้มีสิทธิที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 200 บาทต่อคนต่อเดือน ขณะที่ผู้มีสิทธิที่มีรายได้ไม่เกินกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 300 บาทต่อคนต่อเดือน

2.วงเงินค่าโดยสารรถ ขสมก. บขส. และรถไฟฟ้า วงเงิน 500 บาทต่อเดือน สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถ ขสมก. ผ่านระบบ e-Ticket และรถไฟฟ้า โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการใช้สิทธิ ซึ่งหากใช้วงเงินนี้ไม่หมดในรอบเดือน จะไม่มีการสะสมให้ในเดือนถัดไป เมื่อถึงรอบตามที่กำหนด หรือวันที่ 1 ของทุกเดือน วงเงินจะถูกปรับเป็นค่าเริ่มต้นเสมอ

3.วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด เป็นจำนวนเงิน 45 บาทต่อ 3 เดือน ซึ่งหากค่าก๊าซหุงต้มส่วนเกิน ผู้มีสิทธิต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง 

  • 15 กันยายน 2563

4.เงินคืนภาษี 5% ของยอดเงินที่ใช้จ่ายกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ หากผู้ที่ถือบัตรคนจนนำบัตรไปรูดซื้อของที่ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการคืนภาษี ร้านค้าจะเก็บรวบรวมยอดไว้ในแต่ละเดือน คิดเป็นจำนวน 5% ของยอดที่ใช้จ่ายไป โดยเงินที่คืนจากส่วนนี้ แต่ละคนจะได้คืนสูงสุด 500 บาท

ซึ่งเงินจะโอนเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยจะเป็นการจ่ายเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) สามารถรูดออกมาเป็นเงินสด หรือใช้จ่ายผ่านบัตรกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการได้ แต่เงินจำนวนนี้จะสามารถใช้ได้ในเดือนถัดไป

  • เงินพิเศษเข้าบัตรวันที่ 15 ของทุกเดือน

5.เงินพิเศษผู้สูงอายุ ได้รายละ 50 และ 100 บาท ตามเกณฑ์รายได้ ซึ่งเงินส่วนนี้คณะกรรมการผู้สูงอายุ มีมติต่อมาตรการช่วยเหลือนี้ถึงเดือนกันยายน 2563 นี้เท่านั้น โดยเงินจะโอนเข้าบัตรทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยเงินในส่วนนี้สามารถกดออกมาเป็นเงินสดมาใช้ได้เช่นกัน

  • 18 กันยายน 2563

6.ลดค่าน้ำประปา สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนไว้กับการประปาในพื้นที่ โดยจะต้องใช้น้ำไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็คือเดือนละไม่เกิน 100 บาท เมื่อบิลค่าน้ำประปามาต้องจ่ายเงินสดไปก่อน จากนั้นระบบจะบันทึกข้อมูล และโอนเงินสดกลับมาเข้าบัตรในวันที่ 18 กันยายน 2563 โดยสามารถกดออกมาเป็นเงินสดได้

7.ลดค่าไฟฟ้าประจำเดือน โดยจะต้องใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ก็คือ 230 บาท เมื่อสิ้นเดือนบิลค่าไฟฟ้ามาให้จ่ายเงินไปก่อน เมื่อระบบจัดเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว พบว่าใช้ไม่เกินเกณฑ์ ก็จะโอนเงินช่วยเหลือกลับมาเข้าบัตรให้ 230 บาท ในวันที่ 18 กันยายน 2563 โดยสามารถกดเงินสดออกมาใช้ได้

ซึ่งทั้งสองสิทธิที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน ได้รับนั้น มีกำหนดระยะเวลาของโครงการถึงเพียงเดือนกันยายน 2563 นี้เท่านั้น 

# วิธีใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน แบบสั้น ๆ

ประชาสัมพันธ์ การเปลี่ยนบัตรคนจน เพื่อชำระค่ารถไฟฟ้า บีทีเอส แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง