ประทับใจทริป “เวียงจันทน์” ลาว 2 วัน 1 คืน

ทริป “เวียงจันทน์” ลาว 2 วัน 1 คืน

เกริ่นไงดี ปกติเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะอยู่แถวเชียงใหม่ เชียงราย หาดใหญ่ กระบี่ ภูเก็ต เพชรบูรณ์ หรือ แถวๆ บ้าน ทริปนี้จองตั๋ว Airasia มาอุดรธานี ซึ่งในความคิดขณะนั้น ต้องไป “คำชะโนด” อยากไปดูบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และพักผ่อน

แต่หลังจากหาข้อมูลต่าง ๆแล้ว เป้าหมายทริปนี้ ข้ามแม่น้ำโขงทางด่านจังหวัดหนองคายไปเวียงจันทร์ แต่เดี๋ยวก่อนๆ ข้ามแดนจะใช้ใบผ่านแดนชั่วคราว เสียเวลามาก จึงค้นหนังสือเดินทาง (Passport)  ขึ้นมาดู เหลือเวลาไม่ถึง 3 เดือน เอาไงดี เหลือ 3 วันเดินทาง

ทันนะ หนังสือเดินทาง (Passport) ใช้เวลา 2 วันทำการ วันที่ 3 ไปรับได้ในช่วงบ่าย ค่าทำเล่มใหม่ 1,000 บาท คือ จองคิวออนไลน์ไปก่อนเวลาประมาณ 30 นาที บัตรประชาชน + หนังสือเดินทาง (Passport) เพราะยังไม่หมดอายุต้องไปยกเลิก แต่ก็ให้เล่มเก่าคืนมานะ

ได้มาแล้วหนังสือเดินทาง (Passport) เล่มใหม่ เดินทางพรุ่งนี้ ทันเวลาบินไฟท์เช้าจากสนามบินดอนเมือง

แผนการเดินทางทำเป็นตารางไว้

ทริปนี้จองที่พักไว้พร้อม หาอะไรกินก่อนเดินทาง เดี๋ยวนี้ที่ Food ดอนเมืองอาหารไม่แพง จะได้ไม่ต้องรีบร้อน ไปเรื่อย ๆมีเวลาหลายชั่วโมง ยังไงก็มีที่พักรออยู่ และใช้รถตู้รถเมล์ลาวเป็นหลัก

การเดินทางในทริปนี้เราจะเดินทางด้วยเครื่องบินไปลงที่สนามบินอุดรธานี

ต่อรถตู้หน้าทางออกประตูสนามบิน มีจุดขายตั๋ว ซึ่งมีผู้โดยสารบนรถตู้เพียง 6 คน รถตู้ขับไม่เร็ว

ประมาณชั่วโมงนิด ๆ ก็มาถึง ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1

ตม.ฝั่งไทยใช้เครื่องสแกนหนังสือเดินทาง ตรวจลายนิ้วมือนิ้วชี้ ตรวจรูป ประตูจะเปิด และส่งหนังสือเดินทางให้เจ้าหน้าสแตมปขาออก (ขาเข้าก็เหมือนกัน) หลังผ่านตม. ก็ซื้อตรวจตรงประตูทางออก รถเมล์มี 2 คัน ข้ามสลับกันไปมาฝั่งไทย – ลาว นั่งแป๊บเดียวถึง รถพัดลม ไม่ใช้สิรถเมล์ธรรมดา ไม่ปรับอากาศ ที่นั่งเยอะ

ลงจากรถเมล์ ช่องบูธแลกเงินอยู่ซ้ายมือ วันนั้นแลกเงิน 1,500 บาท ได้มา 3 แสนกว่ากีบ รู้สึกเป็นเศรษฐี แนะนำควรแลกเงินไปบ้าง จะประหยัดกว่าการใช้เงินไทยครั้ง 20 หรือ 100 บาท

จากนั้นมาเขียนใบผ่านแดนเข้า-ออก (คล้ายของไทย กรอกเป็นภาษาอังกฤษ ลอก Passport และไปที่ไหนพักที่ไหน)+ หนังสือเดินทาง (Passport) ก็สามารถผ่านตม.ลาว แต่ก่อนขึ้นรถเมล์เข้าเวียงจันทน์ที่จอดรอผู้โดยสาร ก็ไม่ลืมที่จะหาซื้อ SIM Internet วันนั้นได้ 100 บาท ส่งมือถือให้น้องเค้าเปิด SIM ตรงนั้นเลย (บริเวณด่านลาวมีสัญญาณ Dtac ใช้ได้) ออ. ใครมาชวนเหมารถไม่ต้องไป บอกพี่อยากนั่งรถเมล์ชมบ้านเมือง รถเมล์ปรับอากาศด้วยนะ

จากนั้นไปต่อรถเมล์เข้าเวียงจันทน์ ซึ่งทั้งหมดที่ผ่านมาใช้ภาษาไทยสื่อสารทั้งหมด  คนลาวฟังภาษาไทยได้ และนิสัยดี ทำให้นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเที่ยวลาวกันมากขึ้น

รถเมล์จอดไม่ไกล ไปถามได้เลยว่าขึ้นรถคันไหน – ถามภาษาไทยนะ

ขึ้นรถบัสไม่นาน รถก็ออก พนักงานเก็บเงินมาเก็บเงินเป็นเงินจ๊าด ตอนแรกก็งงๆ แต่ให้น้องชาวลาวข้างๆช่วย เสร็จสรรพได้ตังค์ทอนพร้อมตั๋ว ก็เป็นรถแอร์เย็นสบาย นั่งอ่านภาษาลาว บ้างคำเข้าใจได้และตรงไปตรงมา แต่บางคำก็อ่านไม่ออก ซึ่งมานึกถึงสมัยเก่าก่อนมีการสร้างพยัญชนะภาษาไทยขึ้นจะคล้ายภาษาลาว แต่เรามีคำสระได้มากกว่า

ออ ลืมบอกไป ลาวเค้าใช้มือถือแพงกว่าคนไทย แต่เครือข่าย 4G เค้าแรงดี ไม่มีปัญหาการใช้ Internet Checkin หรือ ส่ง LINE เลย

นั่งรถไปเรื่อย ๆ รถราเมืองลาวไม่มากนัก ยกเว้นเวลาเลิกงาน ส่วนรถเมล์ก็มีไม่เยอะ แต่เค้ามี Web ให้ดูได้ว่าตอนนี้รถมาถึงไหนละ คือดูได้ทุกสาย ซึ่งแบ่งเป็นสี อีกอย่างรถเมล์เค้าวิ่งเลนขวา ดังนั้น การข้ามถนนในลาว ต้องดูรถดีๆนะ เพราะเราเคยชินกับการข้ามถนนและมองขวา แต่ในลาวรถมาทางซ้าย

รถวิ่งมาถึงสถานีขนส่งกลางของเวียงจันทร์ ซึ่งทริปนี้ จองโรงแรมไว้ใกล้ตลาดเวียนเทียน หรือตลาดสดของลาว เพราะจะเดินไปประตูไซก็ง่าย จะไปดูวัดหรือดูทำเนียบประธานาธิบดีลาว วัดพระแก้ว ฯลฯ ก็ง่าย คือ อยู่ระหว่างกึ่งกลาง จึงไม่ได้เหมารถเที่ยว 800-1,000 บาทต่อวัน (แลกเงินมา 1,500 บาทเอง) ออ ใกล้ห้างด้วยนะ

โรงแรม Hemera อยู่กึ่งกลางประตูไซ และวัดสีสะเกด บ่ายไปประตูไซและวัด เช้าไปด้านริมโขง
ถึงห้องพักผ่อนแป๊บ ให้ไม่มีแดด ก็ไปประตูไซกัน

ถึงที่พักก็พักผ่อนแป๊บ บ่ายนิดก็เดินหาอะไรกาแฟและข้าวเที่ยง กินแบบชาวลาว บนห้างใกล้ๆ ที่พัก ซึ่งร้านนี้คนไทยมานั่งหลายโต๊ะ

ส้มตำปลาร้า จานนี้เด็ดสุด ข้าวผัดกุ้งอร่อย

กินอาหารในลาว มีข้อสังเกตคือ จะขายน้ำขวดเล็ก คือพอดื่ม 1 คน และไม่ให้หลอด ต้องขอ และน้ำที่โรงแรมก็ขาดเล็กเหมือน สุดท้ายจะจบด้วย เป๊บซี่ใน Big c เพราะที่นี้ไม่มี 7-11 หรือแม็ค หรือ KFC และสินค้าโดยเฉพาะเครื่องอุปโภคบริโภคจะนำเข้ามาจากประเทศไทย ใน Big c สินค้า 90% มาจากฝั่งไทย

คือ อาหารการกินของลาว ก็มีก๋วยเตี๋ยว ข้าวต่างๆ ปกติ แต่ชอบน้ำซุปเค้า จะหอมและอร่อยมาก แต่สำหรับกาแฟต้องกาแฟขาวเท่านั้น ราคาต่อจ็อก (แก้ว) ก็ไม่ต่างกับประเทศไทย คือไปลาวเหมือนเที่ยวต่างจังหวัดในประเทศไทยเลยละ

กินกาแฟกินข้าวเสร็จ ก็กลับไปโรงแรม เพื่อรอเวลาให้ถึงบ่ายแก่ ซึ่งเหมาะสมกับการออกเดินไปยังประตูชัย ซึ่งจากโรงแรมคิดระยะทางประมาณ 2 บ่ายรถเมล์ เดินถึงประตูชัย มีนักท่องเที่ยวชาวจีนหรือฮ่องกง ถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน

ปะตูไซ เป็นคำประสมมาจากคำว่า “ปะตู” (ປະຕູ) หมายถึง “ประตู” และ “ไซ” (ໄຊ) มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า “ชยะ” หมายถึง “ชนะ” ความหมายของคำจึงเหมือนเช่นเดียวกับคำว่า “ประตูชัย” ในภาษาไทย ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันของคำว่า ปะตูไซ นั้นมีหลายรูปแบบ ได้แก่ Patuxai, Patuxay, Patousai และ Patusai[1]

หลังจากประตูไซสร้างเสร็จ เป็นช่วงที่ลาวมีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ สถานที่นี้ถูกรู้จักกันในชื่อ “อานุสาวะลี” (ອານຸສາວະລີ) ซึ่งหมายถึง “ความทรงจำ” เนื่องจากเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการสดุดีวีรชนจากการประกาศเอกราช[2] ต่อมาในปี ค.ศ. 1975 ขบวนการปฏิวัติฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาว ยึดอำนาจรัฐบาลได้เด็ดขาดและพระมหากษัตริย์สละราชสมบัติ ทำให้เปลี่ยนการปกครองจากแบบเดิมเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ จึงเปลี่ยนชื่อจากอานุสาวะลีเป็น “ปะตูไซ” (ປະຕູໄຊ) เพื่อเป็นเกียรติแก่ชัยชนะของคณะปฏิวัติ จนใช้เรียกกันถึงปัจจุบัน[3] นอกจากนี้ปะตูไซยังถูกเรียกว่าเป็นอาร์กเดอทรียงฟ์แห่งเวียงจันทน์ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับอาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส[1] และมีชื่อเล่นเรียกว่า “รันเวย์แนวตั้ง” เพราะใช้ปูนซิเมนต์สำหรับสร้างสนามบิน[4]

การก่อสร้าง

ประตูไซถูกออกแบบโดย นาย ทำ ไซยะสิทธเสนา สถาปนิกชาวลาว ในปี ค.ศ. 1957 แบบของเขาได้รับเลือกจากกรมโยธาธิการ กรมวิศวกรการทหาร และสถาปนิกเอกชนอีกจำนวนมาก โดย Tham ได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นจำนวน 30,000 กีบสำหรับงานออกแบบของเขา วัสดุที่ใช้ก่อสร้างเป็นปูนซิเมนต์จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่ไว้ใช่สำหรับสร้างสนามบินใหม่ในเวียงจันทน์ แต่รัฐบาลลาวในสมัยนั้นนำมาใช้ในการสร้างปะตูไซแทน ปะตูไซหยุดการสร้างในปี ค.ศ. 1968 แต่ไม่ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ตามแบบที่ออกแบบไว้ในตอนแรก เพราะสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมาปั่นป่วน รวมมูลค่าทั้งหมดประมาณ 63 ล้านกีบ[5]

ชมความยิ่งใหญ่ของประตูชัย ลาว ไปไหนต่อ ต้องมุ่งไปพระธาตุหลวง เวียงจันทน์ เพื่อชมความสวยงามและความศรัทธาของชาวลาวที่มีต่อพุทธศาสนากัน แล้วปัญหาคือไปยังไง 2.7 กม.ไม่เดินนะ

รถเมล์ก็ไม่ค่อยมี นานๆมาสักคัน ตกลงไปต่อรองราคาสกายแล็ปลา สนุนราคา 100 บาท ขอจ่ายเป็นเงินจ๊าดนะ ไปกันเลยเดี๋ยวพระธาตุหลวงจะปิดซะก่อน การเข้าพระธาตุต้องเสียค่าธรรมเนียม

พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี (ลาว: ທາດຫລວງ หรือ ลาว: ພຣະທາດຫລວງ) นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตรา

ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า 27 พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ 5 วา ผนังหนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนครเวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์นั้นด้วย ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 238

ในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมา ดังปรากฏการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดาวลาวฉบับต่างๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2109 หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ 6 ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า “พระธาตุหลวง”) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน

นั่งชม พระธาตุหลวง แบบเต็มตา และปลื้มใจกับความศรัทธาของพี่น้องลาว เสร็จหากวิธีกลับที่พักละซิ ตอนแรกกะจะนั่งรถเมล์ แต่ด้วยฝนกำลังจะตกและรถเมล์ก็มีน้อย ตัดสินใจโบกสกายแล็ป เหมือนเดิมประมาณ 100 บาท แต่ให้เงินลาวนะ ขึ้นรถไม่นานฝนตก แต่ดีนะ รถคันนี้มีพลาสติกป้องกันฝนค่อนข้างดี ไม่เปียก รถขับมาส่งถึงหน้าโรงแรม

ถึงโรงแรมแม้ว่าจะเสียบการ์ดเปิดแอร์ไว้ แต่แอร์ไม่เย็น ก็ขอเปลี่ยนห้อง ซึ่งน้องพนักงานที่นี้ก็พยายามหาห้องที่แอร์เย็นให้เราจนได้ บอกห้องนี้ wifi ไม่ถึงนะ ก็ลองดูเล่นได้นิ แต่โรงแรมที่นี้ต้องปรับปรุงเรื่องความชัดของทีวี ส่วนห้องพักก็ OK ไม่มีฝุ่นหรือกลิ่นบุหรี่ น้ำไหลแรงมาก ก็อาบน้ำรอฝนหยุด กะว่าจะไปเดินเล่นตลาดริมโขง แต่ฝนก็ยังตก

เอาแบบนี้ ยืมร่มโรงแรมออกไปหาอะไรร้อนๆ กินดีกว่า เดี๋ยวดึกจะหิว ใกล้ๆ นี้เอง เป็นก๋วยเตี๋ยวไก่ กระหล่ำห่อหมู และตีนไก่ตุ๋น สรุปทีเดียวไม่พอ กินไป 2 ชุด อร่อย คือที่นี้เค้ากินติ่มซำกลางคืนเหรอ

ก่อนกลับแวะ Big-C ขอทดลองเบียร์ลาวหน่อย สรุปว่าขมมาก ไม่หมด

ทริปวันแรกก็จบลงอย่างสมบูรณ์แบบ นอน พรุ่งนี้ได้มีแรงเดินชมบ้านเมืองพี่น้องชาวลาวกันครึ่งวัน ก่อนข้ามไปฝั่งไทย