ช่วงนี้ฉีดวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า”

มาทำความรู้จัก วัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า”

มาทำความรู้จัก วัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า”  ที่จะส่งมอบให้ไทยใช้ฉีดเริ่ม 7 มิ.ย.. 64

1.   วัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” (AstraZeneca) เป็นวัคซีนแบบเทคนิคไวรัลแว็กเตอร์ (Viral Vector) ผลิตโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ประเทศไทย

ผลิตจากเชื้อไวรัสชิมแปนซีอะดีโน ใช้ไวรัสเป็นพาหะ พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้วฝากสารพันธุกรรม หนามโปรตีน ของโควิด-19 เข้าไปซึ่งทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวและไม่สามารถก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ 

2.   วัคซีนชนิดที่ใช้เทคนิคไวรัลแว็กเตอร์สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เพราะใช้วิธีการเลียนแบบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงธรรมชาติ จุดเด่นสำคัญของวัคซีนของทีมออกซ์ฟอร์ดนี้ก็คือ มันสามารถกระตุ้นให้ทั้ง “ที เซลล์” และ “บี เซลล์” ในร่างกายตอบสนองสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น

“บี เซลล์” คือเซลล์ที่สร้างแอนติบอดีขึ้น ส่วน “ที เซลล์” เป็นชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือบี เซลล์อีกต่อหนึ่งในการเข้าไปยับยั้งด้วยการฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเท่ากับเป็นการยับยั้งการติดเชื้อนั่นเอง

3.   ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า สามารถป้องกันการติดเชื้อทุกแบบได้  ป้องกันโรคแบบแสดงอาการ 70.4% ป้องกันโรครุนแรง-ถึงขั้นเสียชีวิต 100 % แต่ยังป้องกันโรคแบบไม่มีอาการไม่ได้

4.   เมื่อรับการฉีดวัคซีนชนิดแอสตร้าเซนเนก้า ต้องเข้ารับการฉีดจำนวน 2 โดส โดยต้องทิ้งระยะเวลาห่างจากโดสแรก 28 วัน ถึงจะทำการฉีดโดสที่ 2 ได้

5.   วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าต้องทำการเก็บรักษาในอุณหภูมิ 2-8 องศา

6.   วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเหมาะที่จะใช้สำหรับฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เหมาะสมที่จะฉีดในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้นกันบกพร่อง สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA)เคยชี้แจงว่าพบ “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” ในผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ แต่อยู่ในอัตราการเกิดขึ้นที่ต่ำมาก

10.   อาการต้องเฝ้าระวัง หากรับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้วมีอาการดังนี้หลังจากฉีดควรมาพบแพทย์ เช่น ปวดศีรษะต่อเนื่อง ตาพร่ามัว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ขาบวม ปวดท้องอย่างต่อเนื่อง ผิวหนังมีรอยช้ำปกติ และมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง

ขอบคุณเนื้อหาที่มา : มติชนและกรุงเทพธุรกิต

ล่าสุดแอสตร้าเซนเนก้า รับมอบวัคซีนที่ผลิตในไทย โดยสยามไบโอไซเอนซ์ล็อตแรกตามแผนที่กำหนด

เริ่มดำเนินการฉีด 7 มิ.ย. จากล็อตแรกนี้ จำนวน 1.8 ล้านโดส และจะทยอยส่งเพิ่มเติมตามที่ได้ตกลงกับทางรัฐบาล

โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca หนึ่งเข็ม

ทางศูนย์ฯได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ในคนไทย หลังเข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน เป็นการรายงานเบื้องต้น ภูมิต้านทานที่ตรวจพบมีการตอบสนอง ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ถึงร้อยละ 96.7 เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจวัดภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อเป็นระยะเวลา 4-8 สัปดาห์ตรวจพบได้ร้อยละ 92.4 ดังแสดงในรูป ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ มีค่าตัวกลางเรขาคณิตเท่ากับ 40.61 u/ml เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อมีค่าเท่ากับ 60.86 u/ml ดังแสดงในรูป พบว่าระดับภูมิต้านทานที่พบเพศหญิงจะให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าเพศชาย อายุที่น้อยกว่า 60 ปีจะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี

ขณะนี้กำลังรอวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้และจะมีการตรวจเลือดหาภูมิต้านทานก่อนฉีดเข็มที่ 2 อีก 1 ครั้งและหลังเข็ม 2 แล้ว 1 เดือนภูมิต้านทานน่าจะมีระดับสูงมากและอยู่นาน จากข้อมูลดังกล่าวพอสรุปได้ว่าแม้จะฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ก็เป็นที่น่าพอใจ

มีอยู่ 1 รายที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกแล้วเกิดอาการแพ้เลยฉีดเข็มที่ 2 ใน 3 อาทิตย์ต่อมาด้วยวัคซีน AstraZeneca และตรวจเลือดเมื่อ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca พบระดับภูมิต้านทานสูงมากสูงถึง 241 u/ml อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการฉีดวัคซีนเปลี่ยนชนิดกัน
.
ในกรณีที่เกิดเหตุการฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ขอความกรุณาติดต่อผมขอตรวจภูมิต้านทานด้วย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและรวมถึงอาการข้างเคียงที่อยากทราบมากและการเปลี่ยนชนิดของวัคซีนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง

การปูพรมฉีดเข็มเดียวไปก่อนให้ได้ประชากรมากที่สุดด้วยวัคซีน AstraZeneca จะได้ประโยชน์สูงสุดแล้วตามด้วยกระตุ้นอีก 10 ถึง 12 สัปดาห์ต่อมาหรือนานกว่านั้น หมายความว่าในช่วง 3 เดือนแรก น่าจะปูพรมการฉีดวัคซีนไปเลย ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคนก็สามารถปูพรมไปได้ถึง 30 ล้านคนทีเดียว แล้วหลังจากนั้นก็ตามกระตุ้นรวมทั้งฉีดรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วยก็จะได้เป้าหมายอย่างรวดเร็ว และถ้ามีวัคซีนชนิดอื่นมาเสริมด้วยแล้วจะทำให้การให้วัคซีนกับประชาชนหมู่มากประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

ขอบคุณที่มา เพจ#คุณหมอยง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง