Hospitel ได้มาตรฐาน รับ Covid-19

Hospitel ได้มาตรฐาน

กระทรวงสาธารณสุข ยัน Hospitel ได้มาตรฐาน ทุกแห่งผ่านการตรวจประเมินและขึ้นทะเบียน จัดหาแล้วเกือบ 5,000 เตียง ดูแลผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หากอาการเปลี่ยนแปลงส่งรักษาในโรงพยาบาลหลัก เตรียมหาเพิ่มให้ได้ 5-7 พันเตียง มั่นใจเพียงพอรองรับผู้ป่วยใน กทม.และปริมณฑล พร้อมออกประกาศให้ รพ.เอกชน และคลินิกดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ประสานส่งต่อหาเตียง หากไม่ดำเนินการมีความผิดตามกฎหมาย

หลักเกณฑ์การผู้ป่วยที่จะรับการรักษา ใน Hospitel

เกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

1. ผู้ป่วยยืนยันที่ไม่มีอาการ หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วัน เมื่อไม่มีภาวะแทรกซ้อนให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และครบ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)

2. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะร่วม หลังนอนโรงพยาบาล 4-7 วันเมื่ออาการดีขึ้นให้พักต่อที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)

3. ผู้ป่วยยืนยันโควิดที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่ไม่มีอาการ หรือ ไม่มีภาวะเสี่ยง/ภาวะอื่นร่วม เข้าพัก รักษา สังเกตอาการที่ Hospitel จนครบ 10 วัน (และ 14 วันในกรณีสงสัยเชื้อกลายพันธุ์)

4. ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ แนะนําให้ เอกซเรย์ปอดทุกราย หากปอดผิดปกติควรอยู่โรงพยาบาล

รายชื่อ Hospitel

รายชื่อหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ COVID-19 ของโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมสถานที่กักตัวทางเลือก (Alternative State Quarantine หรือ ASQ) ที่รับกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศก่อนหน้านี้ ดังนี้

1. โรงแรมมาเลเซีย

โรงพยาบาลสุขุมวิท จำนวนเตียง: 80 เตียง

2. โรงแรมรอยัล รัตนโกสินทร์

โรงพยาบาลปิยะเวท จำนวนเตียง: 158 เตียง

3. โรงแรมอินทรารีเจ้นท์

โรงพยาบาลปิยะเวท จำนวนเตียง: 455 เตียง

4. โรงแรมโอโซน โฮเต็ล แอท สามย่าน

โรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ จำนวนเตียง: 40 เตียง

5. โรงแรมสินสิริ รีสอร์ท

โรงพยาบาลเสรีรักษ์ จำนวนเตียง: 64 เตียง

6.โรงแรมชีวา กรุงเทพ

โรงพยาบาลกรุงเทพ จำนวนเตียง: 77 เตียง

7. โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท

โรงพยาบาลธนบุรี จำนวนเตียง: 324 เตียง

8. โรงแรมสินสิริ

โรงพยาบาลสินแพทย์ จำนวนเตียง: 52 เตียง

9. โรงแรม ฌ เฌอ – เดอะ กรีน โฮเทล

โรงพยาบาลเกษมราษฏร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รัตนาธิเบศร์ จำนวนเตียง: 400 เตียง

10. โรงแรมโอทู ลักซ์ชัวรี่

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ จำนวนเตียง: 194 เตียง

11. โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำนวนเตียง: 171 เตียง

12. โรงแรมเดอะกรีนวิว

โรงพยาบาลบางปะกอก 9 จำนวนเตียง: 400 เตียง

13. โรงแรมเมเปิล

โรงพยาบาลสินแพทย์ ศรีนครินทร์ จำนวนเตียง: 150 เตียง

14. โรงแรมเวิร์ฟ โฮเต็ล

โรงพยาบาลเมดพาร์ค จำนวนเตียง: 324 เตียง

15.โรงแรมแกรนด์ วเวอร์อินน์ (สาธร)

โรงพยาบาลเมดพาร์ค จำนวนเตียง: 108 เตียง

ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาในรพ.สนาม และ hospitel ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นผู้ป่วยในและสามารถเคลมประกันโควิด-19 ได้

เลขาธิการ คปภ. ออกคำสั่งนายทะเบียนด่วน ให้กรณีผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาในรพ.สนามและ hospitel ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ถือว่าเป็นผู้ป่วยในและสามารถเคลมประกันโควิด-19 ได้

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว โดยมีการแพร่กระจายไปยังคลัสเตอร์ (Cluster) ใหม่ๆ ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น และประชาชนยังคงให้ความสนใจในการทำประกันภัยโควิด-19 มาช่วยบริหารความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มียอดทำประกันภัยโควิด-19 รวมทั้งสิ้นเกือบ 11 ล้านฉบับ ซึ่งเป็นยอดกรมธรรม์ประกันภัยที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 กว่า 1 ล้านฉบับ และมียอดการจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมทั้งสิ้น 171 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เกือบ 100 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้ ได้มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีเตียงไม่เพียงพอในการรองรับผู้ติดเชื้อ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ดังกล่าว และเพื่อรองรับมาตรการของรัฐบาลที่มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและโรงแรมเป็นโรงพยาบาลกักตัว (hospitel) ในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดประเด็นการตีความว่าการที่ผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งทำประกันภัยไว้ และเข้ารับการรักษาในสถานที่เหล่านั้น จะสามารถเคลมประกันได้หรือไม่ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ สำนักงาน คปภ. จึงได้ประชุมหารืออย่างเร่งด่วนกับสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย และได้ข้อสรุปเป็นที่ยุติว่าให้สามารถเคลมประกันได้ เพื่อให้ระบบประกันภัยสามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนในวิกฤตนี้ ตนในฐานะนายทะเบียนจึงได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 16/2564 เรื่อง การรักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 17/2564 เรื่อง การรักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารแนบท้าย เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่า หากต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนามหรือ hospitel จะยังได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป

เรื่องที่เกี่ยวข้อง