“คลองเตย” ยอดติดเชื้อพุ่ง ศบค.เร่งหามาตรการคุม

นายกรัฐมนตรี post facebook เร่งมาตรการเชิงรุกเขตคลองเตย

กรณีการแพร่ระบาดของโควิดที่เขตคลองเตย ผมได้ติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด โดยมีผู้ติดเชื้อไปแล้วเป็นจำนวนมาก หลายรายอยู่ในชุมชนแออัดที่แพร่ระบาดในครอบครัว และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อวานนี้ในช่วงบ่าย ผมจึงได้เรียกประชุมกับทีมแพทย์ที่ปรึกษา กรุงเทพมหานคร รวมทั้ง ศูนย์ปฏิบัติการ ศบค. อย่างเร่งด่วน เพื่อกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมสถานการณ์ดังนี้ครับ

  1. ให้มีการตรวจเชิงรุกในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างเร่งด่วน ทั้ง 39 ชุมชน เน้นไปที่ที่ 20 ชุมชนที่เกิดการระบาด โดยเร่งตรวจชุมชนที่มีการติดเชื้อ ให้ได้อย่างน้อย 1,000-1,500 คนต่อวัน โดยหน่วยเคลื่อนที่ และรถเก็บตัวอย่างชีวะนิรภัยพระราชทาน โดยจะตรวจเชิงรุกให้ได้อย่างน้อยทั้งหมด 20,000 คน ซึ่งได้ดำเนินการทันทีตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว
  2. หากพบผู้ติดเชื้อ ให้มีการแยกผู้ป่วยออกจากชุมชนตามระดับอาการ เขียว เหลือง แดง เพื่อให้ศูนย์เอราวัณส่งตัวต่อเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลสำหรับกลุ่มนั้นๆ โดยเบื้องต้นจะถูกส่งตัวไปที่ศูนย์แรกรับ-ส่งต่อ ที่สนามกีฬานิมิบุตร หรือศูนย์พักคอยการส่งตัว ที่วัดสะพาน เขตพระโขนง หรือโรงพยาบาลสนาม ที่ จ.สมุทรสาคร
  3. กลุ่มสีแดง หรือกลุ่มติดเชื้อและมีอาการหนัก จะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลของ กทม. ทันที ซึ่งผมมีความเป็นห่วงผู้ป่วยในกลุ่มนี้มากที่สุด จึงได้เร่งรัดให้มีการเตรียมโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยหนักเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด เมื่อวานนี้ ได้มีการเปิดโรงพยาบาลสนาม ICU ที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ เขตทุ่งครุ เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นอีก 432 เตียง และเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยหนักได้รับการรักษาได้อย่างทันการณ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้
  4. ส่วนกลุ่มผู้เสี่ยงสูงที่ยังไม่พบว่าติดเชื้อ จะต้องกักตัวในบ้านจนกว่าจะได้รับการแจ้งผล และให้ผู้นำชุมชนช่วยเป็นผู้ประสานงาน ส่งอาหารให้ผู้กักตัว
  5. วันนี้จะมีการระดมกำลัง 10-20 จุด เพื่อฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด วันละ 1,000-3,000 คน รวมให้ได้อย่างน้อย 50,000 คน ภายใน 2 สัปดาห์ และจะฉีดต่อไปให้ได้ถึง 60% ของประชาชนในชุมชนแออัดคลองเตย หรือประมาณ 80,000 คน
  6. นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่เพิ่มเติม โดยกรุงเทพมหานคร และกระทรวงกลาโหม ที่จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด
  7. ให้มีการดูแลช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วนในการส่งอุปกรณ์ป้องกันโรค อาหาร ยา และสิ่งของจำเป็นอื่นๆให้หน่วยงานที่ต้องลงพื้นที่
  8. ให้ทุกเขตใน กทม. เตรียมการเชิงรุก โดยใช้รูปแบบ Model คลองเตยนี้ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคต

ทั้งหมดนี้ได้ทำไปแล้ว โดยผมได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันการขยายวงของการแพร่ระบาด และให้รายงานความคืบหน้ากับผมโดยตรง ผมจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินความจำเป็นในการปรับแผนการควบคุมสถานการณ์หากมีความจำเป็น เป้าหมายคือการจำกัดวงการแพร่ระบาดให้เล็กที่สุดและควบคุมให้ได้เร็วที่สุด เจ้าหน้าที่ทุกคนกำลังเร่งทำงานกันอย่างเต็มที่เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนทุกคนครับ

3 พ.ค. ผลการประชุมศบค.ชุดเล็ก นายกรัฐมนตรีเข้าประชุมเป็นประธาน เพราะเป็นห่วงสถานการณ์คลองเตย

  • ไม่ lockdown เพราะมีประชาชนจำนวนมาก จะกระทบในวงกว้าง แต่ขอความร่วมมือให้กักตัวอยู่ในที่พัก และ work for homr
  • เร่งกระจายวัคซีค โลตัส พระราม 4 และรร.คลองเตยวิทยา เรื่มฉีด วัคซีนพรุ่งนี้ เริ่ม 13.00 น.จำนวน 1,000 และ 2,000 คนต่อวัน
  • เน้นการตรวจเขิงรุก โดยใช้รถชีวนิรภัย พระราชทาน สำนักงานประกันสังคมจะเปิดจุดคัดกรอง วันที่ 5 พ.ค.นี้อีกครั้ง
  • จนท.จะคัดกรอง ตรวจปูพรม เขียว เหลือง แดง

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี สั่งการให้เร่งกระจายวัคซีนโควิด-19 ลงพื้นที่ชุมชนคลองเตย ในวันพรุ่งนี้ จำนวน 2 จุด คือ โลตัสพระราม 4 และโรงเรียนคลองเตยวิทยา ตั้งแต่เวลา 13.00 คาดจะสาทารถฉีดวัคซีนได้ประมาณ 1,000 คน และเพิ่มเป็น 2,000 – 3,000 คนต่อวัน

พร้อมทั้ง เร่งตรวจเชื้อโควิด-19 เชิงรุก ให้ได้วันละ 1,000 คน จนถึง 19 พ.ค.นี้ คาดจะตรวจเชื้อเชิงรุกได้ถึง 20,000 คน จากจำนวนคนในชุมชนทั้งหมด ประมาณ 8.5 – 9.1 หมื่นคน

พร้อมตัดสินใจให้ยาต้านไวรัส ผู้ป่วยสีเหลืองก่อน ป้องกันเชื่อลงปอด

ความต้องการของชุมชน

  1. อาหาร เพราะหัวหน้าครอบครัวกักตัวไม่มีรายได้ อาหารไม่เพียงพอ โดยให้ผู้นำชุมชน หรือ จนท.ช่วยกระจาย ซึ่งรู้สภาพพื้นดีว่า ครอบครัวไหนต้องการความช่วยเหลือ
  2. การตรวจคัดกรองเชิงลึก ว่า มีใคร ครอบครัวไหนติดเชื้อ

2 สถานที่ กระจายฉีดวัคซีน คลองเตย

  • โลตัส พระราม 4
  • รร.คลองเตยวิทยา
โลตัส พระราม 4
โรงเรียนคลองเตยวิทยา

“คลองเตย” ยอดติดเชื้อพุ่ง 12 ชุมชน  ศบค.เร่งหามาตรการคุมเข้ม

สำหรับการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก ตั้งแต่วันที่ 27 – 30 เม.ย. 2564 ที่ผ่านมา เก็บตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,336 ราย ผลพบเชื้อ 99 ราย มีอัตราการติดเชื้อของประชาชนในชุมชนคลองเตย ประมาณ 5-10%

ที่โรงพยาบาลจุฬา ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ชุมชนคลองเคย พบผู้ป่วยปอดอักเสบจากชุมชนคลองเตย เข้าที่มารักษาตัวมากขึ้น

ชูวิทย์ เร่งตรวจ Covid-19 คลองเตย คลัสเตอร์ใหม่ ใจกลางเมือง

ณ 2 พ.ค. 64 จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด เขตคลองเตย ในการระบาดระลอกเดือน เม.ย.2564 มีทั้งสิ้น 304 ราย แบ่งเป็นผู้อาศัยในแหล่งชุมชนแออัด 193 ราย ส่วนอีก 111 ราย อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ เช่น คอนโด หอพัก เป็นต้น โดยผู้ติดเชื้อ 12 ชุมชนในเขตคลองเตย ประกอบด้วย

ชุมชนในเขตคลองเตย
  • ชุมชนตลาดท่าเรือคลองเตย มีประชากรประมาณ 5,000 คน พบติดเชื้อ 7 คนคิดเป็น 0.14%
  • ชุมชนพัฒนาใหม่ มีประชากรประมาณ 1,469 คน พบติดเชื้อ 78 คนคิดเป็น 5.31%
  • ชุมชนวัดคลองเตยใน 2 มีประชากรประมาณ 2,028 คน พบติดเชื้อ 14 คนคิดเป็น 0.69%
  • ชุมชนร่มเกล้า 2 มีประชากรประมาณ 2,170 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.09%
  • ชุมชนแฟลต 1-10 มีประชากรประมาณ 10,490 คน พบติดเชื้อ 6 คนคิดเป็น 0.06%
  • ชุมชนแฟลต 11-18 มีประชากรประมาณ 3,797 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.05%
  • ชุมชนแฟลต 19-22 มีประชากรประมาณ 2,050 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.10%
  • ชุมชนล็อค 1-2-3 หรือชุมชนร่มใจไพรินแดง มีประชากรประมาณ 8,325 คน พบติดเชื้อ 8 คนคิดเป็น 0.10%
  • ชุมชนล็อค 4-5-6 มีประชากรประมาณ 1,736 คน พบติดเชื้อ 2 คนคิดเป็น 0.12%
  • ชุมชน 70 ไร่ มีประชากรประมาณ 9,685 คน พบติดเชื้อ 37 คนคิดเป็น 0.38%
  • ชุมชนหมู่บ้านมั่นคง มีประชากรประมาณ 278 คน พบติดเชื้อ 3 คน
  • ชุมชนริมคลองวัดสะพาน มีประชากรประมาณ 1,150 คน พบติดเชื้อ 17 คนคิดเป็น 1.48%

โดยในพื้นที่คลองเตบ เจ้าหน้าที่ได้จัดตั้ง

ศูนย์พักคอยสำหรับผู้ติดโควิดที่ วัดสะพาน ระหว่างรอนำส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเป็นการแยกผู้ติดเชื้อ และดูแลในเบื้องต้น

และโรงพยาบาบสนามขึ้นที่ โกดังสเตเดี้ยม คลองเตย อยู่สำนักงานใหญ่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งก.กลาโหม ต้องผรับปรุงระบบระบายอากาศใหม่ มีโรงพยาบาลจุฬใาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลแม่ขาย

วัดสะพาน ศูนย์ตัดกรอง ส่งต่อ
โรงพยาบาล โกดังสเตเดี้ยม

จากสภาพพื้นที่ และสังคม ชุมชนคลองเตยมีความเป็นอยู่แออัด ลักษณะการอยู่อาศัย มีทั้งแฟลตและชุมชนพื้นราง

ปนะชาชนชุมชนส่วนใหญ่ ทำงานอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร  และมีอาชีพที่ไม่สามารถ Work Form Home ได้

หากควบคุมการระบาดของคลัสเตอร์ดังกล่าวไม่ได้ อาจทำให้สถานการณ์ระบาด

รายชื่อชุมชนในเขตคลองเตย

ข้อมูลสถานที่สำคัญๆ โรงพยาบาล โรงเรียน ฯลฯ เขตคลองเตย

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER029/GENERAL/DATA0000/00000537.PDF

เรื่องที่เกี่ยวข้อง