วิธีการลงทะเบียน เว็บไซต์ ม.33 เรารักกัน เยียวยา 4,000 บ. วันแรก
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
วิธีการลงทะเบียน : เว็บไซต์ ม.33 เรารักกัน
การลงทะเบียนโครงการ “ม.33 เรารักกัน“ เพื่อรับเงินเยียวยา 4,000 บาท หากลงทะเบียนแล้ว “ไม่ได้รับสิทธิ์” สามารถ “ขอทบทวนสิทธิ์” ได้
ข้อมูล – หลักฐานที่ใช้ลงทะเบียน “โครงการ ม.33 เรารักกัน” ชื่อกลางไม่ต้องใส่
- ชื่อ – นามสกุล
- เลขที่ ID ในบัตรประจำตัวประชาชน
- รหัสหลังบัตร
- วันเดือนปีเกิด
- หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้
- อีเมล์หากมี
กดยืนยัน – ไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ
ม.33 เรารักกัน ผู้ได้รับสิทธิ์ มีเงื่อนไข ดังนี้
ผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รัฐบาลจึงเยียวยา โครงการ ม33 เรารักกัน รายละ 4,000 บาท โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
1) ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
2) เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
3) ไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และไม่ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ
4) ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันเกิน 500,000 บาท ( ณ 31 ธ.ค. 63 )
กำหนดการลงทะเบียน โครงการ ม.33 เรารักกัน
วันที่ 21 ก.พ. – 7 มี.ค. 2564
ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com
วันที่ 8-14 มี.ค. 2564
ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งประมวลผลคัดกรองวันที่ 15-21 มี.ค. 2564 ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ์ผ่านทาง www.ม33เรารักกัน.com และกดยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
วันที่ 22, 29 มี.ค. และ 5, 12 เม.ย. 2564
ผู้ได้รับสิทธิ์ จะได้วงเงินผ่าน “เป๋าตัง” ครั้งละ 1,000 บาท
วันที่ 22 มี.ค. – 31 พ.ค. 2564
เริ่มใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ ผ่านร้านค้า/ผู้ประกอบการ/บริการ ภายใต้ร้านธงฟ้าที่ใช้แอปฯ “ถุงเงิน” คนละครึ่ง และ “เราชนะ”
การขอทบทวนสิทธิ์
วันที่ 15 – 28 มี.ค. 2564
เปิดให้ขอทบทวนสิทธิ์ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com
วันที่ 29 มี.ค. – 4 เม.ย. 2564
ธนาคารทำการตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งประมวลผลคัดกรอง
วันที่ 5-11 เม.ย. 2564
ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิ์ผ่านทาง www.ม33เรารักกัน.com และกดยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
วันที่ 12, 19 เม.ย. 2564
ผู้ได้รับสิทธิ์ จะได้วงเงินผ่าน “เป๋าตัง” ครั้งละ 2,000 บาท
วันที่ 12 เม.ย. – 31 พ.ค. 2564
เริ่มใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ ผ่านร้านค้า/ผู้ประกอบการ/บริการ ภายใต้ร้านธงฟ้าที่ใช้แอปฯ “ถุงเงิน”/ โครงการ “คนละครึ่ง” / โครงการ “เราชนะ”
ที่มา : ศูนย์สารนิเทศ ฝ่ายข่าว สำนักงานประกันสังคม
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการ ม33เรารักกัน
- 1. สาระสำคัญของโครงการ ม33เรารักกัน (โครงการฯ)
- 1.1 ช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการฯ คือ ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
- 1.2 การได้รับสิทธิตามโครงการฯ ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
- 1) มีสัญชาติไทย
- 2) เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยมีข้อมูลในระบบประกันสังคม ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการ ม33 เรารักกัน (15 กุมภาพันธ์ 2564) หรือเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 (วันที่ถูกตัดสิทธิจากโครงการเราชนะ)
- 3) ไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ
- 4) ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ในลักษณะดังต่อไปนี้
- – เงินฝาก ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก ใบรับฝากเงิน และผลิตภัณฑ์เงินฝากอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
- – คำนวณจากบัญชีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- – ไม่รวมคำนวณเงินฝากใน “บัญชีร่วม” “บัญชีเพื่อ” และสลากออมทรัพย์
- – ไม่รวมคำนวณเงินฝากในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ
- 5) ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม 2564
- 1.3 การได้รับสิทธิตามโครงการฯ ของผู้ลงทะเบียน การลงทะเบียน ตรวจสอบ ประมวล และคัดกรองผู้ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการม33เรารักกัน
- 1) ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม 2564
- 2) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารฯ) จะทำการตรวจสอบข้อมูลกับฐานข้อมูลรวมทั้งประมวลผลและคัดกรองผู้ได้รับสิทธิ ระหว่างวันที่ 8 – 14 มีนาคม 2564
- 3) ผู้ลงทะเบียนฯ ที่ผ่านการตรวจสอบคัดกรองตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯ สามารถตรวจสอบสถานะ ผู้ได้รับสิทธิทาง www.ม33เรารักกัน.com และจะต้องเปิดใช้งานและยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หลังจากนั้นจะได้รับการสนับสนุนวงเงินผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เป็นรายสัปดาห์ โดยผู้มีสิทธิที่ผ่านการตรวจคัดกรอง ดำเนินการ ดังนี้
- – ตรวจสอบสถานะผู้ได้รับสิทธิทาง www.ม33เรารักกัน.com และกดใช้งานและกดยืนยันตัวตนใช้งานแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ระหว่างวันที่ 15 – 21 มีนาคม 2564 (หากไม่กดยืนยันรับสิทธิภายในกำหนด ถือว่าข้าพเจ้าสละสิทธิ)
- – ได้รับวงเงินจากโครงการผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ ในวันที่ 22, 29 มีนาคม และ 5, 12 เมษายน 2564
- – เริ่มใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการกับร้านค้าเดียวกันกับโครงการเราชนะได้ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2564
- 4) วงเงินที่ได้รับจากโครงการฯ สามารถสะสมได้ แต่จะสามารถใช้จ่ายได้ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
- 1.4 ร้านค้าและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ม33เรารักกัน ประกอบด้วย
- 1) เป็นผู้ประกอบการร้านธงฟ้าฯ ที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
- 2) เป็นผู้ประกอบการประเภทร้านค้าในโครงการคนละครึ่ง
- 3) เป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการที่เข้าร่วมโครงการ “เราชนะ” ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการข้างต้นไม่เป็นผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืน ในมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ หรือ ไม่เป็นผู้ที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการอื่น ๆ ของรัฐ หรือฝ่าฝืนมาตรการใด ๆ ของรัฐเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และจะต้องให้ความยินยอมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม กำหนด ผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” เพื่อเข้าร่วมโครงการ ม33เรารักกัน
- 1.5 การดำเนินการเพื่อเข้าร่วมโครงการฯ และการได้รับสิทธิตามโครงการฯ ของผู้ประกอบการ
- 1) เป็นผู้ประกอบการที่ผ่านคุณสมบัติตามข้อ 1.4
- 2) เปิดใช้งาน ผ่านกระบวนการยืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” และกดยืนยันรับสิทธิตามโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
- 3) ผู้ประกอบการประเภทบริการต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงไทยฯ แล้วแต่กรณี
- 4) ผู้ประกอบการร้านธงฟ้าและผู้ประกอบการประเภทร้านค้าในโครงการคนละครึ่ง/เราชนะ ต้องให้ความยินยอมตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
- 5) ผู้ประกอบการสามารถรับชำระค่าสินค้าและ/หรือบริการจากผู้ประกันตนที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ได้ผ่านแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน”
- 6) ต้องเป็นการรับชำระค่าสินค้าและ/หรือบริการโดยตรงจากผู้ประกันตนตามราคาสุทธิของสินค้าและ/หรือบริการนั้น ๆ และมีการซื้อ-ขายสินค้าหรือรับบริการกันจริง ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการดำเนินการผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด