“พกเงินสดติดตัวบ้าง” อย่ามั่นใจว่า แอป เป๋าตัง จะไม่ “ล่ม” อีก

ล่าสุด วันนี้ 12 ก.พ. 64

“พกเงินสดติดตัวบ้าง” อย่ามั่นใจว่า แอป เป๋าตัง จะไม่ “ล่ม” อีก

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

กินก๋วยเตี๋ยวเสร็จ กำลังจะจ่ายเงิน เป๋าตัง ล่ม จ่ายไม่ได้ … มีเงินติดตัวไม่พอค่าก๋วยเตี๋ยว ดีมี Internet Banking …ขอให้คนที่บ้านโอนเงินให้ …

นั่งยุร้านหมูกะทะ 3 ชั่วโมง สุดท้ายจ่ายเงินสด พอกับมาถึงบ้าน ใช้ได้ ….

หรือ ซื้อไข่ไก่แล้ว กำลังจะจ่ายเงิน จ่ายไม่ได้ เงินไม่พอ กลับมือเปล่า …..

บ้างกินชาบู กินเสร็จ Appจ่ายเงินไม่ได้ โดยเงินสดเต็มๆ…

ตอนเย็นแสกนไม่ได้ เลยลบแอพออกไป ตอนนี้โหลดใหม่ ต้องสแกนหน้าบัตรใหม่ แต่มันขึ้นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ …

น่าเบื่อแอปธนาคารก็ยังจ่ายบิลอะไรไม่ได้เลย…

สุดๆไปเลย ดีนะพกเงินสด 55555

หากเพิ่มมาตรา 33 มาใช้ด้วย งานเข้าเลยนะท่าน..

เพื่อนโอนตังมาให้เมื่อวานจนผ่านมา 24. ชม. ตังยังไม่เข้าบัญชี..

อย่าล่มบ่อยเด้อ ลูกค้าแคนเซิลออเดอร์กันหลายคนเลย ลงทุนซื้อของมาไม่ได้ราคาถูกๆนะคะ ของก็เหลือ ใครจะรับผิดชอบ…

“ร้อยพันเรื่องราว เมื่อเย็นวันนี้ ….

แอปพิเคชั่น เป๋าตัง

แอป เป๋าตัง มีฟีเจอร์ G-Wallet สำหรับใช้สิทธิตามมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ภายใต้โครงการต่างๆ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง

แอปเป๋าตัง เราเที่ยวด้วยกันและคนละครึ่ง
ยอดที่พักคงเหลือ ณ วันที่ 7 ก.พ. 64 เวลา 10.26 น.

วันนี้ มาพูดถึงมApp เป๋าตัง ที่ทุกคนกว่าค่อนประเทศ รู้จักกันดี ว่า เป็นแอปพิเคชั่น บนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งใช้ในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อใช้เช็คอินที่พักโรงแรม และใช้สิทธิ์คูปองจ่ายค่าอาหาร ซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยผู้รับสิทธิ์จ่าย 60% รัฐจ่ายให้อีก 40%

แอปเป๋าตัง หน้าใช้สิทธิ์เราเที่ยวด้วยกัน

และเป็นแอปที่ใช้สำหรับจ่ายค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคในโครงการ “คนละครึ่ง” ผู้รับสิทธิ์จ่าย 50% รัฐจ่าย 50% ไม่เกิน 300 บาท/วัน

แอปเป๋าตัง หน้าสแกนจ่ายเงิน คนละครึ่ง

ซึ่งโครงการคนละครึ่ง ได้รับความนิยมประชาชนลงทะเบียนใช้สิทธิ์คนละครึ่งรอบ 2 จำนวน 1.34 ล้านสิทธิ์ ลงทะเบียนเต็มภายใน 9 นาที เนื่องจากเป็นโครงการที่ประหยัดการใช้จ่ายให้กับประชาชนและตัวเองกระจายถึงรากหญ้าร้านแผงลอย ร้านในตลาดนัด ตลาดสด ทุกซอกซอยอย่างทั่วถึง คือ ใครไม่มีคนละครึ่งถือว่าเชยกันไปเลย

เลือกแปงเพื่อดู G- wallet

และ ล่าสุดโครงการเราชนะ กำลังจะมาปรากฎบน app เป๋าตังอีกค่อนประมาณ รวมกับผู้มี ID บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก็สามารถข้ามมาใช้ซื้อของที่ร้านคนละครึ่งที่มี APP ถุงเงิน ได้อีก มันรวมกี่ร้อยล้านละนะ

และที่กำลังจะมา “มาตรา 33 เรารักกัน” 9 ล้านสิทธิ์ทั่วประเทศ

การใช้จ่ายเงิน 4 – 5 โครงการนี้ใช้ระบบชำระเงินผ่าน G-Wallet คือ โอนเงินจากธนาคารต่างๆผ่าน Atm, internet banking แบะที่นิยมคือ โอนจาก Mobile Banking ธนาคารผู้ใช้เข้าสู่ หมาลเลข G-Wallet ของ apo เป๋าตัง เพื่อใช้ในการชำระค่าสินค้า รวมๆก็ร่วม 10 ธนาคาร น่าจะได้

แอปเป๋าตัง ใช้โอน จ่าย เติม ครบในแอปเดียว

นี้ยังไม่นับรวมการทำธุระกรรมการเงินอื่นๆบน app เป๋าตัง อาทิ การโอนเงิน จ่ายค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ

ระบบต่างๆในการโอน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญของลูกค้าและแบงก์จึงถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแมงมุมอยู่ทั่วประเทศ ผ่านโทรศัพท์มือถือที่มี app นี้อยู่ อยากจะใช้เมื่อกดขึ้นมาใช้

เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อทุกคนหยิบมือถือมาใช้พร้อมกับ บางอยากใช้คูปองค่าอาหารเราเที่ยวด้วยกัน บ้างอยากใช้จ่ายค่าอาหารคนละครึ่ง บ้างเติมเติมเงินเข้า G-wellte เพื่อเตรียมจ่ายค่าสินค้า

เครือข่ายการเชื่อมโยง transection การประมวลผล ขนาดมหาศาล จึงเกิดขึ้นกับ app เป๋าตัง อย่างแน่นอน ..ยังไม่นับรวมปัญหานอกเหนือการควบคุม แบบ อุปกรณ์เครือข่ายหลักเสีย อาทิ Hardware เสีย, สวิทช์เกตเวย์เชื่อมโยงเสีย ซึ่งเคยเกิดกับเครือข่ายระบบใหญ่ๆมาเยอะ

ดังนั้น จะเกิดอะไรกับ แอปเป๋าตัง

ก็จะพบว่า จากหลายครั้งที่ผ่านมา พบเจอปัญหา App เป๋าตัง ใช้งานไม่ได้ ซึ่งหากจะบันทึกเป็นสถิติ น่าจะไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ทั้งช่วงเช้า เที่ยงและเสร็จ

บ้างเติมเงินไม่ได้ ทั้งฝั่งของลูกค้า คือจ่ายเงินคนละครึ่งไม่ได้ หรือ ฝั่งร้านค้าเงินไม่โอนมายังบัญชีร้าน

ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับระบบการชำระเงินออนไลน์ ซึ่งมีผู้ใช้บริการพร้อมกันจำนวนมากในเวลาเร่งด่วน

หรือ เกิดปัญหากับระบบการลงทะเบียน, การเติมเงินระหว่างธนาคารไม่ได้ โอนได้เงินไม่เข้า ซึ่งเข้าละแต่อาจช้า และชำระเงินพร้อมกันมากๆ

ตลอดจนการแก้ไข หรือ Update เวอร์ชั่น App เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่กล่าวมาหรือให้รองรับโครงการใหม่ ๆ ประชาชนไม่ได Update app บ้างละ

การทำงานของทีม app เป๋าตังทั้งวางระบบ วิเคราะห์ Database ให้สามารถประมวลผลข้อมูลทั้งหมดในเสี้ยววินาที โดยมีระบบ API เชื่อมต่อไปยังข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น เ

รู้ว่าปีภาศี 62 เรามีเงินฝากธนาคารเท่าไหร่ เกิน 300,000 บาทหรือไม่ จึงต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถ เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาสุ่มหัว รวมกัน ทำงานการวางแผนและพัฒนาระบบ ทั้ง Hardware Software และการพัฒนาโปรแกรม ให้ app เป๋าตังมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง 100% เขื่อมั่นได้ว่า ธนาคารมีบุคลากรแบบนี้ คือ เก่งเว่อร์ และต้องมีระบบความปลอดภัยสูงมากๆ ในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ ถึงเป็นที่มาของเงื่อนไข หลักเกณฑ์การสมัครยาวๆ ที่เราต้องยืนยันตอนลงทะเบียน เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ์ ฯลฯ

และนอกเหนือจากนั้น App เป๋าตัง เชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการทุกบริษัท Dtac (เจ้านี้ได้รับบทเรียนเยอะ), True, Ais, Cat ที่ก็มีเครือข่ายมหึมาอีก

การแก้ไขข้อมูลผิดนิดเดียว ก็จะเกิดสถานการณ์ “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ก็ว่าได้ คือ ไม่ แอป ก็ เครือข่าย

เป็นข้อเท็จจริงที่เราๆผู้ใช้แอปต้องยอมรับและมองผ่านแบบกลางๆ ยอมรับให้ได้ นิ่งเป็นในช่วงเวลาที่เกิดปัญหา เพราะไม่มีใครอยากให้เกิด ไม่ได้เข้าข้างแบงก์นะ เพราะเราก็ใช้ เป๋าตัง ต่อละ รักกระเป๋านี้มาก

กรุงไทย แจ้งปิด APP เป๋าตังชั่วคราว
เวลา 20.14 น. เพจแจ้ง APP ใช้งานได้ปกติ

จึงต้องให้กำลังใจทีมงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง App เป๋าตังทุกคน..เหนื่อยละ

ช่วงเย็นวันเสาร์ที่ผ่านมา จึงเกิดเหตุการณ์ผู้ใช้ App จำนวนมากระบบจึงเกิดปัญหาขึ้นตามมา ซึ่งก็ต้องชมทีมงานฯ ว่าสามารถนำระบบให้ App เป๋าตัง ให้สามารถกลับมาใช้งานปกติได้ภายใน 2 ชม. ดังนั้น การ Backup การย้าย VM ระบบข้อมูลต่าง ๆ จึงทำได้เร็วพอสมควร เพราะฐานข้อมูลเงินยอดเงินของลูกค้าต้องครบทุกบาททุกสตางค์

ต้องให้กำลังใจทีมงานเบื้องหน้าและเบื้องหลัง App เป๋าตังทุกคน ว่า พยายามแก้ไขและนำกลับมาซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่ถูกต้อง 100 %

สิ่งที่กล่าวมานี้ ไม่นับรวมประเด็นการเข้าไปทำงาน จับคนทำผิดเงื่อนไข การโกงกัน ซึ่งระบบก็ต้องประมวลออกมาให้ได้เช่นกัน

การโกงเราเที่ยวด้วยกัน โดยระบบไม่รู้จึงเป็นไปได้ แสนยากมาก ดังนั้น “อย่าพยายามโกง” โดยคิดว่า จำนวนผู้ใช้มากขนาดนี้คงตรวจไม่เจอ เพราะมันตรวจเยอะแน่นอน

ที่กล่าวมาทั้งหมด เพียงอยากบอกว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้กับระบบ APP เป๋าตังที่มีผู้ใช้จำนวนมากมหาศาลแบบนี้ ยิ่งวันเสาร์ช่วงเย็น ร้านค้า ตลาดนัด ตลาดสด ร้านค้าทั่วประเทศ รวมหลายล้านรายใช้ระบบพร้อมกัน ยิ่งมีเหตุการณ์ APP ใช้งานไม่ได้เกิดขึ้น

หากไม่ต้องกังวลว่า นั่งกินก๋วยเตี๋ยวอยู่ถึงเวลาจ่ายเงิน App เป๋าตังใช้ไม่ได้ และไม่มีเงินสดติดตัว ต้องโทรให้เพื่อนหรือแฟนโอนเงินให้ เพราะไม่มีเงินสดติดตัว หรือ ไปตลาดนัดไม่ได้นำเงินสดติดตัวไป เพราะจะไปซื้อไข่ไกคนละครึ่ง ไปถึง App ล่ม ไข่ไก่ก๋ไม่ได้ เสียเวลาอีก

ดังนั้น

“พกเงินสดติดตัวบ้าง” อย่ามั่นใจว่า แอป เป๋าตัง จะไม่ “ล่ม” หรือ มี Internet Bangkok หรือบัตรกดเงินสด ติดตัวไปด้วย จะได้มีวิธีนำเงินมาซื้อไข่ไก่ หรือ ค่าก๋วยเตี๋ยว

ไปต้องไปโทษหรืออารมณ์เสียกับ APP เพราะแบงก์ก็พยามยามลงทุน ทำระบบให้ดีที่สุดแล้ว .. แต่เหตุสุดวิสัยก็เกิดขึ้นได้เสมอกับระบบคอมพิวเตอร์

และหลังจากนี้เชื่อว่าธนาคารจะแก้ไขปัญหาระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อบริการลูกค้าให้ที่สุด

ยังไงเราก็ยังใช้แอปเป๋าตัง ตราบเท่าที่เงินในกระเป๋าใบนี้ยังคงเหลือ … ว่ามั้ย

ล่าสุด วันนี้ 7 ม.ค. ยอดเงินสแกนจ่ายลูกค้า ไม่เข้า ถุงเงิน

วันนี้ 7 ม.ค. ยอดเงินสแกนจ่ายลูกค้า ไม่เข้า ถุงเงิน พ่อค้าแม่ค้าจะลังเลว่าควรให้สินค้าของแก่ลูกค้าหรือไม่ แต่ลูกค้าใน pin ส่งเงินผ่านแล้ว

ซึ่งทางแก้ร้านค้าต้องถ่ายสำเนาข้อมูลตัดเงินลูกค้าไว้ ซึ่งบางร้านมาช้า บางร้านไม่มา ก็กลัวว่าขายของไม่ได้เงิน จึงไม่มั่นใจ ว่าจะขายผ่าน App เป็าตังดีหรือไม่


แอปเป๋าตัง ทำอะไรได้บ้าง

เป๋าตัง ใบใหม่ ใช้งานง่าย ครอบคลุมทุกธุรกรรมการเงิน ไม่ต้องพกกระเป๋าตังรูปแบบเดิม ๆ อีกต่อไป

ใช้งานได้ทันทีเพียงมี รหัสผู้ใช้งาน Krungthai NEXT, หมายเลขบัตรเอทีเอ็ม/เดบิตกรุงไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ก็สามารถลงทะเบียนใช้งานเป๋าตังได้ รวมถึงสามารถใช้สิทธิตามมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่าน G-Wallet และลงทุนในพันธบัตรหน่วยละบาทกับวอลเล็ต สบม.

ฟีเจอร์ G-Wallet สำหรับใช้สิทธิตามมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ภายใต้โครงการต่างๆ เช่น เราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง

– ใช้จ่าย G-Wallet ตามสิทธิโครงการที่ร้านค้าถุงเงินทั่วประเทศ (ตามเงื่อนไขของโครงการ)

– สแกน QR Code เพื่อชำระเงินจาก G-Wallet เพื่อใช้จ่ายตามสิทธิโครงการ

– สร้าง QR Code เพื่อเติมเงินเข้า G-Wallet เพื่อใช้จ่ายตามสิทธิโครงการ และโอน เติม จ่าย

– ใช้เงินจาก G-Wallet ทำรายการ โอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล โอนเงินพร้อมเพย์ และสแกน QR

– ผูกบัตรเครดิต บน G-Wallet ตามสิทธิโครงการ เพื่อใช้จ่ายที่ร้านค้าถุงเงินที่ร่วมโครงการ

ฟีเจอร์สำหรับวอลเล็ต สบม. เพื่อลงทุนในพันธบัตรหน่วยละบาท

– สมัครบริการวอลเล็ต สบม. เพื่อลงทุนในพันธบัตรหน่วยละบาท รองรับผู้ใช้งานตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

– ซื้อพันธบัตรหน่วยละ 1 บาท ผ่านแอปฯ

– เปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ลงทุน

ฟีเจอร์สำหรับลูกค้า Health Wallet

– ตรวจสอบข้อมูลสิทธิและเงื่อนไขการใช้บริการด้านหลักประกันสุขภาพของตนเอง

– รองรับการนัดหมายเพื่อเข้ารับบริการล่วงหน้ากับหน่วยบริการ

– รองรับการค้นหาหน่วยบริการที่อยู่ใกล้คุณ

– ดูข้อมูลประวัติการใช้สิทธิประโยชน์

– บริการแจ้งเตือนนัดหมายหรือเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า

ฟีเจอร์สำหรับลูกค้ากรุงไทย

– โอนเงิน ใช้งานง่าย จบได้ไม่กี่ขั้นตอน พร้อมระบบความปลอดภัยระดับสูงที่ทำให้คุณมั่นใจในทุกครั้งที่โอน

– เติมเงิน เติมได้ง่าย ทุกค่ายมือถือ พร้อมบริการสำหรับตัวแทนเติมเงินมือถือ True และ Dtac รวมถึงค่าทางด่วน Easy Pass, M-Pass

– จ่ายบิล ได้ครอบคลุมทุกค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าน้ำ(นครหลวง, ภูมิภาค) ค่าไฟฟ้า (นครหลวง, ภูมิภาค) ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต รวมไปถึงบิลภาครัฐต่างๆ เช่น เงินกู้ กยศ. ค่าปรับจราจร

– กรุงไทย เติมบุญ (e-Donation) สแกนบริจาคผ่านแอป รับใบอนุโมทนาทางอีเมลได้ทันที พร้อมส่งข้อมูลเพื่อใช้ลดหย่อนภาษี

– รองรับการสแกน QR Code เพื่อโอนเงินหรือชำระเงิน ตามมาตรฐานธนาคารแห่งประเทศไทย

– รองรับการสร้าง QR Code เพื่อรับเงิน ตามมาตรฐานธนาคารแห่งประเทศไทย

– รองรับการสร้างสลิปที่มี QR Code สำหรับตรวจสอบรายการ และสแกนตรวจสอบสลิปที่มี QR Code สำหรับตรวจสอบรายการ

– บันทึกสลิปรายการลงโทรศัพท์มือถือโดยอัตโนมัติ และแชร์ไปผ่านทาง Social Network ได้

– ควบคุม ทุกยอดใช้จ่ายด้วยการกำหนดวงเงินสูงสุดต่อวัน พร้อมตรวจสอบยอดธุรกรรมย้อนหลังได้ถึง 3 เดือน

– รองรับบริการพิเศษ สำหรับ ลูกค้ากยศ. ในการดูข้อมูล และชำระเงิน

– รองรับการสมัครแจ้งเตือนเงินเข้า-ออกผ่านไลน์ Krungthai Connext

เป๋าตัง ใบใหม่ ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ของคนไทย

เบื้องหลัง APP เป๋าตัง ขอบคุณที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

บางส่วนของบทสัมภาษณ์ : สมคิด จิรานันตรัตน์ ที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

“แอพฯเป๋าตัง เป็นแพลตฟอร์มที่ผมช่วยออกแบบตั้งแต่ต้น เป็นแอพฯ ของธนาคารกรุงไทย รับภาระทำโครงการหลาย ๆ อย่างให้กับกระทรวงการคลัง เริ่มตั้งแต่ ชิมช้อปใช้, เราเที่ยวด้วยกัน, คนละครึ่ง, เราชนะ

90 เปอร์เซ็นต์เป็นเด็กรุ่นใหม่

“คนที่ทำแอพฯนี้ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นเด็กรุ่นใหม่ ผมเป็นคนรุ่นเก่ามาช่วยเป็นที่ปรึกษา ช่วยออกแบบ ช่วยคิด ช่วยทำ มีคนเก่ง ๆ มีความรู้ความสามารถจากต่างประเทศมาร่วมโครงการหลายคน คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยมีปัญหาเทคโนโลยี แม้เขาจะไม่ได้ลงลึกถึงมุมของการโค้ดดิ้ง แต่เขาก็เข้าใจว่าเทคโนโลยีมีผลต่อการใช้ชีวิต” 

Thailand Digital Platform ที่ผมทำกับธนาคารกรุงไทยตั้งแต่โครงการ ชิมช้อปใช้, ไทยชนะ, เราไม่ทิ้งกัน (มีคนเช็คอินมากกว่า 120 ล้านครั้ง ถ้ารวมเช็คเอาท์ด้วย 200 ล้านครั้ง) วอลเล็ต สบม. ใช้เวลาพัฒนา 6 เดือน ใช้กับคนส่วนใหญ่ได้ กับ SMEs รายเล็ก เกษตรกร ได้ เราอยากพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกลางๆ ให้คนทำธุรกิจนำไปต่อยอด โดยไม่ต้องลงทุนทำเองทั้งหมด

“ในเรื่องเทคโนโลยี ต้องมีการปรับตลอดเวลา รูปแบบการใช้งานคล้าย ๆ กัน ชิมช้อปใช้ มีการปรับรูปแบบ เทคนิค และการออกแบบ ให้ใช้งานง่ายขึ้น รองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เข้ามาเยอะ ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น เดี๋ยวจะมีโครงการ เราชนะ อีก 31 ล้านคน ใช้ได้สองทาง ผ่านบัตรสวัสดิการกับผ่านแอพเป๋าตัง รัฐบาลก็ได้บทเรียนจาก เราไม่ทิ้งกัน เมื่อเอาเงินเข้าบัญชี แล้วไม่รู้ว่าประชาชนเอาไปใช้อะไรบ้าง แล้วบางบัญชีชื่อไม่ตรงกันก็เข้าไม่ได้ จึงนำมาปรับให้ตอบโจทย์มากขึ้น” 

ระบบเปรียบรูปบนบัตรกับใบหน้าจริง แปลงเป็นตัวเลข 512 ตัว เชื่อได้ว่าเป็นคนเดียวกัน

“ในแอพฯเป๋าตัง ต้องถ่ายภาพหน้าตัวเอง แล้วตรวจสอบกับรูปในบัตรประชาชน สามารถเช็คได้ว่า ถ่ายจากหน้าคนจริง ๆ ไม่ใช่รูปภาพ แมชชีนเลิร์นนิ่งสามารถแยกได้ พอแยกเสร็จก็เอารูปที่ถ่ายนี้ไปเปรียบเทียบกับรูปบนบัตรประชาชน แปลงเป็นตัวเลข 512 ตัวมาเปรียบเทียบกัน ถ้าได้เปอร์เซ็นต์สูงระดับหนึ่ง ก็เชื่อได้ว่าเป็นคนเดียวกัน”

ลองฟังเรื่องนี้ดู Thailand Digital Platform ได้ความรู้ดีนะ

ลองฟังนะ จะได้ความรู้เกี่ยวกับ API ของ Thailand Digital Platform

อีกนิด ผู้ได้รับสิทธิ์โครงการคนละครึ่ง รอบล่าสุด / เร่งยืนยันตัวตน และใช้จ่ายครั้งแรกโดยเร็วภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 มิเช่นนั้นจะถูกตัดสิทธิ์

ล่าสุดวันนี้ 12 ก.พ. 64 ล่ม คนใช้มากเหมือนเดิม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง