จ้างงาน โครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่

จ้างงานใน 4,009 ตำบล สร้างกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่

.โครงการ 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ เปิดรับเกษตรกรที่อยากพัฒนาอาชีพตนเอง
ให้เป็นการเกษตรแบบยั่งยืน คุ้มค่า และใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกร ตำบลละ 2 รายขึ้นไป

โดยรับสมัครและคัดเลือกเกษตรกร จาก 4,009 ตำบล 75 จังหวัด
ตำบลละ 2 รายขึ้นไป แต่ไม่เกิน 50 ราย รวมแล้ว 32,000 ราย ทั่วประเทศ

จ้างงานแรงงาน ตำบลละ 1 คนขึ้นไป

จ้างงานแรงงาน ตำบลละ 1 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 25 คน รวมเป็น 16,000 คน
เพื่อช่วยดำเนินงานโครงการ

ค่าตอบแทน

ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 9,000 บาท

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการฝึกอบรม ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่สำคัญคือ กรมพัฒนาที่ดิน จะไปขุดบ่อเก็บน้ำให้ช่วยปรับปรุงดิน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น พืช สัตว์ ประมง
.
ปัจจุบัน มีผู้เข้าร่วมโครงการแล้ว เป็น เกษตรกร 20,583 ราย โดยยังเปิดรับสมัครจนถึงสิ้น มี.ค.64 / ส่วนแรงงานสมัครครบตามจำนวนแล้ว

เกษตรกรที่สนใจ สมัครได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือที่ https://ntag.moac.go.th/

แบบสำรวจความสนใจเข้าร่วมโครงการ”๑ ตำบล ๑ กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่”

ตรวจสอบข้อมูลการสมัคร


แนวทางการรับสมัคร

การรับสมัครเกษตรกร

๑. คุณสมบัติเกษตรกร แก้ไขเพิ่มเติม
  1. เป็นเกษตรกรทั่วไป หรือเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือทายาทเกษตรกร หรือแรงงานคืนถิ่น หรืออาสาสมัครเกษตรกรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขั้นไป และมีสัญชาติไทย กรณีอายุเกิน ๖๐ ปี ขอให้อยู่ในดุลพินิจของคณะทำงาน ระดับอำเภอ โดยคำนึงถึงศักยภาพของเกษตรกรในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และประโยชน์ของโครงการ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มเกษตรกร
  3. พื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องเป็นพื้นที่ที่เป็นผืนเดียวกันไม่น้อยกว่า ๓ ไร่ และเป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารสิทธิ์ต้องเป็นของผู้สมัครหรือเป็นของทายาทของผู้สมัคร
    1. ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม, บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก, พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน, พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน หรือที่เรามักเรียกกันว่า “พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่” )
    2. บิดามารดา
    3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
    4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
    5. ปู่ ย่า ตา ยาย
    6. ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม
    ทั้งนี้ต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้กับผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ และต้องมีที่พักเพื่อทำกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการ หรือมีการสร้างที่พักภายหลัง ขุดบ่อเสร็จภายใน ๖๐ วัน
  4. เจ้าของเอกสารสิทธิตามข้อ ๓ ต้องยินยอมให้ส่วนราชการใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อการขยายผลต่อไป เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๕ ปี
  5. ผู้สมัครและพื้นที่ที่ใช้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่อยู่ในโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ๕ ประสาน) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

๒. วิธีการรับสมัคร
  1. สมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ntag.moac.go.th
  2. ยื่นใบสมัครกับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล หรือที่สำนักงานเกษตรอำเภอ

๓. วิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ

คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ ผู้แทนจากสภาเกษตรกรในพื้นที่ และผู้แทนจากชุมชนในพื้นที่ เป็นผู้คัดเลือกเกษตรกรในแต่ละตำบล โดยการ

  1. พิจารณาความสอดคล้องของข้อมูลผู้สมัครกับคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ
  2. ตรวจสอบคุณสมบัติของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขของกรมพัฒนาที่ดิน หรือ ข้อมูลอื่นๆ และการลงตรวจสอบสภาพพื้นที่จริง เพื่อประเมินความเหมาะสม ในด้านการเก็บกักน้ำของดิน คุณสมบัติของน้ำ เช่น ความเค็ม ความเป็นกรด-เบส เป็นต้น
  3. คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ อาจกำหนดเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
  4. การพิจารณาผลของคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ ให้มีการบันทึกความเห็น เหตุผลในการตัดสิน และมติที่ประชุมให้ชัดเจน
  5. พิจารณาขึ้นบัญชีผู้ผ่านการคัดเลือกตามข้อ (๑) , (๒) และ (๓) โดยใช้ข้อมูลลำดับจากวันที่สมัคร เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการพิจารณา และขึ้นบัญชีสำรองในกรณีที่มีผู้ผ่านการคัดเลือกเกินเป้าหมายที่ได้รับการจัดสรร และอาจมีการพิจารณาเพิ่มเติมหากมีการจัดสรรเป้าหมายเพิ่ม
  6. เชิญผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าทำสัญญากับโครงการ พร้อมนำเอกสารหลักฐานและใบยินยอมการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มอบให้เจ้าหน้าที่โครงการฯเก็บไว้เป็นหลักฐาน

แนวทางการจ้างงาน

๑. คุณสมบัติของผู้รับจ้างงาน แก้ไขเพิ่มเติม
  1. เป็นเกษตรกรทั่วไป หรือทายาทเกษตรกร หรือแรงงานคืนถิ่น หรืออาสาสมัครเกษตรกรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  2. อายุระหว่าง ๑๘ – ๖๐ ปีบริบูรณ์ และมีสัญชาติไทย
  3. วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือเทียบเท่า
  4. มีที่พักอาศัยอยู่ในตำบลที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ หรือในตำบลข้างเคียงที่มีพื้นที่ติดกัน
  5. ต้องมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ , โทรศัพท์เคลื่อนที่ (smartphone) ฯลฯ
  6. ไม่เป็นข้าราชการประจำ หรือข้าราชการบำนาญ รวมทั้งข้าราชการการเมือง ลูกจ้างของกระทรวง กรมที่มีฐานะเทียบเท่าพนักงานส่วนท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และไม่เป็นลูกจ้างเอกชน
  7. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
  8. ต้องไม่เป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงแปลงตามโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
  9. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง

๒. การปฏิบัติหน้าที่
  1. สนับสนุนการวางแผนการผลิตแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ของผู้เข้าร่วมโครงการฯ และปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดำเนินงานภายใต้โครงการฯ
  2. จัดเก็บและรวบรวมข้อมูลด้านการเกษตรในพื้นที่ตำบล พร้อมทั้งจัดทำรายงานเสนอสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
  3. นำความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับถ่ายทอดสู่เกษตรกรในหมู่บ้านได้ และติดตามสถานการณ์การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่
  4. ประสานเชื่อมโยงการทำงาน และประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรม โครงการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เข้าถึงระดับหมู่บ้าน
  5. จัดทำแผนผลการปฏิบัติงานรายเดือน และรายงานผลการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบทุกสิ้นเดือน
  6. รายงานผลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค การดำเนินงานตามโครงการในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทราบ เดือนละ 1 ครั้ง
  7. ประสานงานหรือร่วมประชุมกับคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับอำเภอ
  8. ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย

๓. วิธีการรับสมัคร
  1. สมัครด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ ntag.moac.go.th

๔. การคัดเลือกผู้รับจ้างงาน

คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ ผู้แทนจากสภาเกษตรกรในพื้นที่ และผู้แทนจากชุมชนในพื้นที่ เป็นผู้คัดเลือกเกษตรกรในแต่ละตำบล โดยการ

  1. วิธีการสัมภาษณ์ มีคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน องค์ประกอบที่ใช้ในการพิจารณา ประกอบด้วย
    • ความรู้ ความสามารถ
    • คุณลักษณะอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
  2. การทดสอบภาคปฏิบัติ
  3. เกณฑ์การตัดสิน ผู้ที่จะถือว่าเป็นผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมการจ้างงานภายใต้โครงการ ๑ ตำบล ๑ กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ จะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนรวมในการสัมภาษณ์และปฏิบัติ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน
  4. คณะทำงานขับเคลื่อนฯ ระดับอำเภอ สามารถกำหนดเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกได้ตามความเหมาะสม
  5. การจัดจ้างจะเป็นไปตามคะแนนที่ได้ โดยจะเรียงลำดับที่จากผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า ถ้าได้คะแนนเท่ากัน จะให้ผู้ที่มีลำดับการสมัครก่อนเป็นผู้อยู่ในลำดับที่สูงกว่า

ประกาศคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 

ขอบคุณที่มา : https://ntag.moac.go.th/?fbclid=IwAR01wYlPAH-xN9NVfnuZEqtTez3xzn-RQ_Fb2WB4gjndu-3IzXlXIcEloVs

เรื่องที่เกี่ยวข้อง