ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ ประชุม “เอเปค 2022” 16 – 19 พ.ย. 2565

เอเปค 2022

การประชุมเอเปค 2022[3] (อังกฤษ: APEC Thailand 2022) เป็นการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกซึ่งกำหนดจัดขึ้นในประเทศไทย ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2565[

โดยการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน ก่อนหน้านี้ไทยเคยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2535 และ 2546

ประเทศประเทศไทย
วันที่18-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
(การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค)[1]
คำขวัญเปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล
(อังกฤษ: Open. Connect. Balance.)
สถานที่จัดงานศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์กรุงเทพมหานครการประชุมอื่น ๆกรุงเทพมหานคร
ขอนแก่น
ภูเก็ต
เชียงใหม่
ก่อนหน้า2021
ถัดไป2023
เว็บไซต์www.apec2022.go.th
ประเด็นสำคัญเศรษฐกิจชีวภาพ[2]
เศรษฐกิจหมุนเวียน[2]
เศรษฐกิจสีเขียว[2]

ตราสัญลักษณ์ของการประชุม ออกแบบโดยชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเป็นรูป “ชะลอม” ซึ่งเป็นเครื่องจักสานไทยที่ใช้ใส่สิ่งของในการเดินทาง หรือนำไปมอบกับบุคคลที่เคารพในสังคมไทยจากรุ่นสู่รุ่น ทำจากไม้ไผ่ สะท้อนถึงการค้าที่เปิดกว้าง เชื่อมโยงมิตรภาพเข้าด้วยกัน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ประกอบด้วยชะลอม 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ และใช้สีน้ำเงิน ชมพู เขียว สื่อให้เห็นถึงคำขวัญของการประชุม “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”

สำหรับการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนั้น รัฐบาลไทยได้เลือกศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นสถานที่จัดการประชุมหลัก และหอประชุมกองทัพเรือเป็นสถานที่จัดเลี้ยงรับรองผู้นำเขตเศรษฐกิจพร้อมคู่สมรส[9] นอกจากนี้ยังได้จัดสรรวงเงินงบประมาณสำหรับการประชุมครั้งนี้จำนวน 3,283.10 ล้านบาท อีกด้วย

ผู้นำเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุม

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

การประชุมนี้เป็นการเข้าร่วมครั้งแรกของแอนโทนี แอลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย, กาบริเอล โบริช ประธานาธิบดีชิลี, ยุน ซ็อก-ย็อลประธานาธิบดีเกาหลีใต้, บองบอง มาร์กอสประธานาธิบดีฟิลิปปินส์และจอห์น ลี ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง

ผู้นำเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมเอเปค 2022

เขตเศรษฐกิจชื่อที่ใช้ในการประชุมเอเปคตำแหน่งพระนาม/ชื่อ
 ออสเตรเลียเครือรัฐออสเตรเลียนายกรัฐมนตรีแอนโทนี แอลบานีส
 บรูไนเนอการาบรูไนดารุซซาลามสุลต่านสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์
 แคนาดาแคนาดานายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด
 ชิลีสาธารณรัฐชิลีประธานาธิบดีกาบริเอล โบริช
 จีนสาธารณรัฐประชาชนจีนประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
 ฮ่องกงเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนผู้บริหารสูงสุดจอห์น ลี
 อินโดนีเซียสาธารณรัฐอินโดนีเซียประธานาธิบดีโจโก วีโดโด
 ญี่ปุ่นญี่ปุ่นนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ
 เกาหลีใต้สาธารณรัฐเกาหลีประธานาธิบดียุน ซ็อก-ย็อล
 มาเลเซียมาเลเซียนายกรัฐมนตรีอิซมาอิล ซับรี ยักกบ
 เม็กซิโกสหรัฐเม็กซิโกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ(*)ตาติอานา โกลว์ติเอร์
 นิวซีแลนด์นิวซีแลนด์นายกรัฐมนตรีจาซินดา อาร์เดิร์น
 ปาปัวนิวกินีปาปัวนิวกินีนายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565
 เปรูสาธารณรัฐเปรูประธานาธิบดีเปโดร กัสติโย
 ฟิลิปปินส์สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประธานาธิบดีบองบอง มาร์กอส
 รัสเซียสหพันธรัฐรัสเซียประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน
 สิงคโปร์สาธารณรัฐสิงคโปร์นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง
 ไต้หวันสาธารณรัฐจีน (จีนไทเป)ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีมอร์ริส ชาง
 ไทยราชอาณาจักรไทยนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา (เจ้าภาพ)
 สหรัฐสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีโจ ไบเดิน
 เวียดนามสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามประธานาธิบดีเหงียน ซวน ฟุก

*) ประธานาธิบดี อันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์แห่งเม็กซิโก ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมสุดยอดได้จึงส่งผู้กแทนมา

ที่มาข้อมูล วิกิพีเดีย

เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ Open. Connect. Balance.

Welcoming 2022, another promising year, Thailand is ready to host the Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC) 2022 in order to revive and restore the regional economy. In the wake of the ongoing global pandemic of COVID-19, #APEC2022THAILAND will challenge economic impacts left by the virus under the concept “Open. Connect. Balance.” What is this ideology behind the theme? Let’s learn more!

ไทยเปิดศักราชใหม่ 2022 ในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปคและการเป็นผู้นำในการปลุกฟื้นเศรษฐกิจทั่วภูมิภาค พร้อมปรับกระบวนทัศน์สู่การฟื้นฟูครั้งใหญ่ เพื่อรับความท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งแรงกระเพื่อมไปทั่วโลก ด้วยความร่วมมือจากผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจอย่างพร้อมเพรียง ภายใต้แนวคิด “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ Open. Connect. Balance. แนวคิดนี้คืออะไร มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน

เอเปค2565

ประเด็นสำคัญที่ไทยนำเสนอในการประชุมนั้น

จากที่ประชุมคกกฯ เมื่อ 8 ส.ค. 65 นายกฯ ตระหนักถึง ให้ความสำคัญ และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จึงต้องการส่งต่อความสำคัญของประเด็นเหล่านี้ อาทิ

  • การส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19
  • การอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน
  • การแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างสมดุล
  • โมเดลเศรษฐกิจ BCG  หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy)

ซึ่งนายกฯ ได้เน้นว่า ควรประชาสัมพันธ์ได้รับรู้ถึงความสำคัญในการประชุมครั้งนี้ รวมถึงประเด็นต่างๆที่ไทยให้ตวามสำคัญ

ความคืบหน้าการจัดประขุม ฯ

ที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติฯ ยังได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

คณะอนุกรรมการด้านสารัตถะฯ คณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนวยการฯ และคณะอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ฯ ขณะที่หน่วยงานต่างๆ ได้รายงานความพร้อมการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคที่จะมีขึ้นในเดือน ส.ค. นี้ พร้อมกับรายงานการเตรียมการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีและประชุมที่เกี่ยวข้องที่จะมีขึ้นช่วงก่อนการประชุมระดับผู้นำ อาทิ การประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาสตรี และเอสเอ็มอีในเดือนก.ย. สาขาการคลังในเดือน ต.ค. รวมถึงการประชุมสภาสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC)  การประชุม APEC CEO Summit และการหารือระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับที่ภาคเอกชนไทยจะเป็นเจ้าภาพในช่วงประชุมสัปดาห์ผู้นำในเดือน พ.ย.

รัฐบาล ประกาศวันหยุด เพื่อการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 16-18 พ.ย. 65

รัฐบาลประกาศเพิ่ม วันหยุดพิเศษ ตั้งแต่ 16-18 พ.ย. 65 ช่วงการประชุมเอเปค เฉพาะพื้นที่กทม. และปริมณฑล เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด และความสะดวกสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมรวมวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ 

ที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติฯ ได้เห็นชอบให้มีการกำหนดวันหยุดพิเศษในช่วงสัปดาห์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันพุธ ที่ 16 พ.ย.  ศุกร์ ที่ 18 พ.ย. 2565 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติเช่นเดียวกับที่ไทยเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาด้านการจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งเพื่อให้การอารักษาและรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการที่มีความจำเป็นต้องให้บริการประชาชน อาทิ โรงพยาบาล ศาล ตลอดจนธนาคาร ให้พิจารณาตามสมควร ทั้งนี้เรื่องวันหยุดต้องรอเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสการเป็นเจ้าภาพเอเปคของประเทศไทยเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ประชาชนจดจำได้ว่าประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 และยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในวาระสำคัญนี้ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการคลังดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป 

การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแถลงการณ์ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 มุ่งสร้างสรรค์และฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม และเกิดการฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (Regenerative Tourism) เพื่อนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีของทุกภาคส่วน

โดยในที่ประชุมได้มีการรายงานผลการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเอเปค พ.ศ. 2563-2567 การหารือแนวทางความร่วมมือของเอเปคเพื่อเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวในช่วงหลังโควิด-19 และบทบาทของภาคการท่องเที่ยวต่อการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค

📣แถลงการณ์ฉบับเต็ม: https://www.tatnewsthai.org/news_detail.php?newsID=5245

The Minister of Tourism and Sport issued a Chair’s Statement for the 11th APEC Tourism Ministerial Meeting, with the aim to restore tourism in the Asia-Pacific region and create Regenerative Tourism for the well-being of all sectors.

The meeting discussed initiatives under the APEC Tourism Strategic Plan 2020-2024, APEC’s cooperation to accelerate tourism revitalisation in the post-COVID-19 era, and the role of the tourism sector in promoting the well-being of the people in the region.

📣To read full statement: https://www.tatnews.org/2022/08/thailand-issues-chairs-statement-for-the-11th-apec-tourism-ministerial-meeting/

เอเปค2565 #APEC2022THAILAND

การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry: MMRF5) มุ่งสู่เป้าหมายด้านการป่าไม้อย่างยั่งยืน

โดยในที่ประชุมนำเสนอแนวคิด BCG Economy Model เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ สร้างมูลค่า และส่งเสริมรูปแบบธุรกิจที่ยั่งยืน

📌อ่านเพิ่มเติม: http://www.mnre.go.th/th/news/detail/131307

The Minister of Natural Resources and Environment’s statement at The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry (MMRF5) underscores the strengthening of cooperation in sustainable forest management.

The meeting highlighted the BCG Economy Model as a strategy to achieve sustainable forest management. With BCG, technology and innovations are used to create value and promote sustainable businesses models.

📌For more details: http://www.mnre.go.th/th/news/detail/131307

เอเปค2565 #APEC2022THAILAND

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (SOM3) ที่เชียงใหม่

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 3 (SOM3) ที่เชียงใหม่ เดินหน้าสานต่อการหารือเรื่องการส่งเสริมความเชื่อมโยงในทุกมิติ เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยมีการจัดประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและรื้อฟื้นการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ APEC Safe Passage Taskforce (SPTF) ซึ่งหารือถึงความสำเร็จที่ผ่านมาในการผลักดันข้อริเริ่มที่จะอำนวยความสะดวกการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาค และเตรียมความพร้อมรับมือความท้าทายใหม่ ๆ ในอนาคต โดยประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้ ได้แก่

  1. การวางแนวทางการทำงานของเอเปคให้สอดคล้องและสนับสนุนการทำงานของกรอบความร่วมมืออื่น ๆ และตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน
  2. การแปรผลข้อเสนอในที่ประชุมไปเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม
  3. การเตรียมความพร้อมให้เอเปคสามารถรับมือวิกฤติใหม่โดยยังสามารถรักษาการเดินทางข้ามพรมแดนไว้ได้

อ่านบทความฉบับเต็มต่อได้ที่: https://bit.ly/3AnLTMf

The Third APEC Senior Officials’ Meeting (SOM3) in Chiang Mai continues to drive forward APEC 2022’s priority to reconnect the Asia-Pacific region safely and seamlessly, following disruptions in the travel and tourism industries from COVID-19. The final meeting of the APEC Safe Passage Taskforce (SPTF) took stock of key achievements and discussed the way forward to ensure crisis-proof resilience against future pandemics. Three key issues that underline the essence of the SPTF’s work since the beginning of the year are as follow:

  1. Engagement with key stakeholders to ensure that APEC’s work complements global safe passage initiatives.
  2. Translating proposals and initiatives into a meaningful implementation that contributes to safer and more seamless travel.
  3. Building resilience for cross-border travel within the region in the face of future pandemics or crises.

For more information: https://bit.ly/3CpK5VE

เอเปค2565 #APEC2022THAILAND

การประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 ซึ่งมุ่งสร้างสมดุลระหว่างสาธารณสุขกับเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 ซึ่งมุ่งสร้างสมดุลระหว่างสาธารณสุขกับเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อการรองรับการระบาดใหญ่ในอนาคต และส่งเสริมการลงทุนเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพ

📌เพิ่มเติม: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/178003/

Mr. Anutin Charnvirakul, Deputy Prime Minister and Minister of Public Health, chaired the APEC 12th High Level Meeting on Health and the Economy. The meeting focuses on balancing health and economy in the Asia-Pacific region to build resilience against future pandemics and promoting health system investment for health security.

📌More: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/178004/

เอเปค2565 #APEC2022THAILAND

ประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7

กระทรวงเกษตรฯ เปิดฉากเจ้าภาพ APEC 2022 จัดประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 พร้อมส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค 5 มิติ ชูครัวไทยสู่ครัวโลก

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการ #กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดฉากเจ้าภาพ #APEC2022 เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 (The Seventh APEC Virtual Food Security Ministerial Meeting) ในวันนี้ 26 สิงหาคม 2565 ร่วมกับสมาชิกเอเปคอีก 21 เขตเศรษฐกิจ ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

โดยไทยมุ่งเน้น นโยบาย BCG Model และ 3S (Safety Security และ Sustainability) รวมถึงนโยบายต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า สินค้าเกษตรและอาหารไทยมีผลผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมผลักดันครัวไทยสู่ครัวโลก

การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7

การประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 นี้ ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมได้ออกแถลงการณ์แสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค ผ่านนโยบายสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย

1) การสนับสนุนความปลอดภัยอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า

2) การปรับปรุงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี

3) การส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

4) การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตรอาหาร และ 5) การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

พร้อมผลักดันการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหาร #เอเปค ผ่านการขับเคลื่อนนโยบาย 3S (Safety Security และ Sustainability) ทั้งเรื่องส่งเสริมความปลอดภัยอาหารให้ได้มาตรฐานสากล ถูกหลักโภชนาการ รวมถึงส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงการพัฒนา ฐานข้อมูลด้วยระบบ Big Data และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนภาคเกษตร ด้วย BCG Model อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจะในเอเชียแปซิฟิก หรือ APEC เป็นการรวมตัวระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาค ปัจจุบันเอเปคมีสมาชิกรวม 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรของสมาชิกเอเปครวมกว่า 2,900 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP รวมกันมากกว่า 1,700 ล้านล้านบาท เกินครึ่งของ GDP โลก

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 ย้ำความสำคัญเรื่องการทำงานเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม สมดุล และยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

แถลงการณ์ของประธานการประชุมสะท้อนเจตนารมณ์ร่วมกันของเอเปคเพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในภูมิภาค ในประเด็นสำคัญ 5 ด้าน

  1. ส่งเสริมความมั่งคงอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่
  3. ส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
  4. การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตร อาหาร และ
  5. การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

📌อ่านคำแถลงการณ์เพิ่มเติม: https://www.moac.go.th/news-preview-441591792777

Dr. Chalermchai Sri-On, Minister of Agriculture and Cooperatives, chaired the 7th APEC Food Security Ministerial Meeting, highlighting the need for APEC to work toward an inclusive, balanced and sustainable growth in the Asia-Pacific region.

The Chair’s Statement reflected the consensus outcomes in 5 key areas:

  1. Supporting food security and trade facilitation
  2. Improving livelihoods and well-being
  3. Promoting sustainability of natural resources and environment
  4. Enhancing innovation and technology in the agri-food sector
  5. Balancing economy, social and environment

📌To read full statement: https://www.moac.go.th/news-preview-441591792777

เอเปค2565 #APEC2022THAILAND