หลายคน Post ว่า ค่าไฟเดือนเม.ย. 64 ทำไมแพงจัง ซึ่ง เหมือนกับเดือนเม.ย. 63 ที่ผ่านมา ก็พยายามหาสาเหตุ โดยนำใบเสร็จและบิลค่าไฟ เดือนมี.ค.และเม.ย.มาเปรียบเทียมกับ ซึ่งก็คาดคิดว่า เดือนเมษายน ค่าไฟต้องสูงกว่าปกติ เพราะอากาศร้อน แอร์ทำงานมาก ใช้แอร์มาก แต่ด้วยเดือนเมษายนปีนี้มีประมาณฝนเยอะกว่าปกติ ค่าไฟจึงเพิ่มไม่เยอะ หรือ เป็นเพราะมีการกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19
หากดูใบแจ้งหนี้ค่าไฟเดือนเมษายน เพียงเดือนเดียวจะพบว่า ค่าไฟเพิ่มประมาณ 1,000 บาท แต่หากไปเที่ยบกับเดือนมี.ค.ค่าไฟจะไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างที่คิด ค่อเพิ่ม 300 กว่าบาท เพราะในเดือนมี.ค. มีส่วนลดมาตรการช่วยเหลือสถานการณ์ covid-19 ของรัฐบาล หากนำส่วนลดนั้นบวกกลับเข้าไป และหักลบกับใบแจ้ฃหนี้เดือนเมษายน จะรู้ว่าแต่ละบ้านใช้ไปเพิ่มกี่บาท และหากถามสมาชิดทุกคนในบ้าน จะพูดเสียงเดียวกัน ก็มันร้อนจึงเปิดแอร์ พัดลมเยอะ หากโชคดีค่าไฟฟ้าไม่เกินฐานบันไดค่าไฟการไฟฟ้าไปมาก ค่าไปก็จะไม่เยอะ แต่ยังไงๆ เมษายน จ่ายค่าไฟฟ้าแพงทุกบ้าน
เพราะอะไรค่าไฟเดือนเม.ย.จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างเลยนะ ไปดูกัน
ต้นเหตุของค่าไฟเดือนเม.ย.ที่เพิ่มขึ้น มาจาก
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ความจริงการไฟฟ้าฯ ไม่ได้ขึ้นค่าไฟ และก็ไม่ได้ลดให้ หากรัฐบาลไม่สั่งการ
- เดือนก.พ.และมี.ค. รัฐบาลให้ส่วนลดค่าไฟ ค่าไฟเดือนเม.ย.จึงดูว่าจ่ายมากกว่าปกติ จริงมีส่วนลดในบิล ตามรูป
- อากาศร้อนเดือนเม.ย.ส่งผลให้ใช้ไฟเพิ่มขึ้น และจากลูกหลานปิดเทอม หรือการทำ work from homeการกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19
- จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน จำนวนห้อง และชั่วโมงการใช้
- ค่าไฟเพิ่มขึ้น ตามปริมาณใช้ไฟที่เพิ่ม แบบขั้นบันได ไม่ได้คิดราคาเดียว เหมือนเดิมน้ำมัน
- หากเป็นการใช้ไฟประเภทอื่นๆ ยิ่งมีเวลาการใช้มาเป็นตัวคูณราคาค่าไฟด้วย (รายละเอียดเยอะ แบบตั้งใจให้เยอะ ใช้มาก ใช้ช่วงแย่งชิงกันมาก จ่ายแพง)
- หลักคิด รวยใช้ไฟเยอะ ก็เสียค่าไฟฟ้าแพงจ๊ะ ซึ่งเป็นหลักคิดของผู้ผลิตพลังงานต้นน้ำกันเลย
1. ความจริงการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ได้
ขึ้นค่าไฟ
2. เดือนกุมภาพันธ์ และ เดือนมีนาคม รัฐบาลออกมาตรการลดค่าไฟฟ้าจากสถานการณ์ covid-19 ทำให้เดือนเม.ย.จ่ายค่าไฟเต็ม
– การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. อากาศร้อนเดือนเม.ย.ส่งผลให้ใช้ไฟเพิ่มขึ้น และจากลูกหลานปิดเทอม หรือการทำ work from homeการกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19
อากาศร้อนเดือนเม.ย.ส่งผลให้ใช้ไฟเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ การทำงานของแอร์จะทำงานหนักขึ้น กว่าจะทำให้ห้องอุณหภูมิถึง 22-25 องศา ตามที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนักขึ้น ใช้เวลามากขั้น จากลูกหลานปิดเทอม หรือเจ้าของบ้าน ทำ work from home การกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19 การใช้ computer การเปิดแอร์ ทีวี ตู้เย็นบ่อย ๆ ฯลฯ
ส่งผลให้การใช้ไฟสูง ยิ่งเกินหน่วยไฟฟ้าที่คิดแบบขั้นบรรได ค่าไฟเดือนเม.ย.จึงสูงกว่าปกติ แบบเห็นชัดเจน
(อันนี้ของที่บ้านเพิ่มน้อยเพราะไม่ได้กักตัว แต่ยอมรับว่า อากาศร้อนจึงจำเป็นต้องเปิดแอร์มาขึ้น ค่าไฟจึงเพิ่มเพียง 300 และที่ผ่านมาก็พยายามติดแผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้กับไฟรอบๆ บ้าน)
แผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์ เพื่อประหยัดค่าไฟส่องสว่าง หรือลงทุนติดใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
4. จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน จำนวนห้อง และชั่วโมงการใช้
อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น เมื่อเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง ในราคาเท่ากัน ยิ่งอากาศร้อนปริมาณตวามต้องการใช้ก็มากขึ้น ส่งผลต่อค่าไฟที่เพิ่มขึ้น
– เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชั่วโมง ค่าไฟ 2.5-6 บาท/ชั่วโมง
หากใช้แอร์ 9000 บีทียู 6 ชม.ต่อวัน (2.5x6x30) = 450 บาท หาก 2 ห้อง ค่าไฟ 900 บาทต่อเดือน
ความลับ : ควรล้างทำความสะอาดแผ่นกรองแอร์ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง แอร์เย็น ไม่ต้องลด ไม่ต้องเร่ง ประหยัดค่าไฟฟ้ามากถึง 5-10% (เพิ่งล้างไปต้นเดือน 4 เครื่อง) แต่ค่าไฟเพิ่ม 300 นิดบาท
– ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5-12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30-0.40 บาท/ชั่วโมง
– เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6-8 บาท/ชั่วโมง ที่เหนีบผมก็ใช้ไฟ
– เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5-10 บาท/ชั่วโมง
– เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600-2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6-9 บาท/ชั่วโมง
– เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500-6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท/ชั่วโมง
– เครื่องซักผ้า ฝาบน-ฝาหน้า ขนาด 10 กิโลกรัม ค่าไฟ 2-8 บาท/ชั่วโมง
– พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12-18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15-0.25 บาท/ชั่วโมง
– โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40-1 บาท/ชั่วโมง
– เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3-4 บาท/ชั่วโมง
– หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3-6 บาท/ชั่วโมง
– เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760-900 วัตต์ ค่าไฟ 3-3.5 บาท/ชั่วโมง
– เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1-2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8-14 บาท/ชั่วโมง
หมายเหตุ: คิดจากค่าไฟเฉลี่ยอัตรา 3.9 บาทต่อหน่วย ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง
5. ค่าไฟเพิ่มขึ้น ตามปริมาณใช้ไฟที่เพิ่ม แบบขั้นบันได ไม่ได้คิดราคาเดียว เหมือนเดิมน้ำมัน (ข้อมูลเฉพาะประเภทที่อยู่อาศัย)
– หากเดือนมี.ค.ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย ค่าไฟจะคิดที่หน่วยละ 3.2484 บาท
แต่เดือนเม.ย.อากาศร้อน ใช้ไฟเยอะเกิน 150 หน่วย ราคาค่าไฟละเพิ่มขึ้น
หน่วยที่ใช้เกิด 151 – 400 หน่วย ถึงหน่วยละ 0.9734 สตางค์
สรุปคือการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านมีผลโดยตรงกับค่าไฟฟ้า โดยปกติการไฟฟ้าจะคิดค่าไฟ ดังนี้
– ใช้ไปหน่วยที่ 0-150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท
– ใช้ไปหน่วยที่ 151-400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท
– ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท
ตัวอย่างที่ 1 ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย จะคิดค่าไฟ 698.35 บาท ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท
รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท
ตัวอย่างที่ 2
ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย จะคิดค่าไฟ 1,542.41 บาท (ใช้ไฟเพิ่ม 2 เท่า คิดค่าไฟเพิ่ม 844.06 ) ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท
รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท
ตัวอย่างที่ 3
ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย จะคิดค่าไฟ 2,427.05 บาท (ใช้ไฟเพิ่ม 2 เท่า คิดค่าไฟเพิ่ม 884.64 ) ดังนี้
150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท
250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท
200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท
รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท
ส่วนค่า Ft ในบิลค่าไฟคืออะไร
Ft คำที่เรียกสั้น ๆ ของสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งเป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า
ล่าสุด คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564 โดยให้เรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ยังคงจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.61 บาทต่อหน่วยต่อไปอีก 4 เดือน
หมายเหตุ: จะเห็นว่า ตัวเลข Ft เป็นค่าติดลบ ถ้าสรุปให้เข้าใจแบบง่าย ๆ คือเมื่อไหร่ก็ตามที่ ค่า Ft ซึ่งเป็นตัวเลขติดลบกลายเป็นตัวเลขที่น้อยลง ก็หมายถึง ตัวที่จะนำไปหักกับค่าไฟฐานลดลง ก็อาจจะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้น
แต่หากค่าไฟฟ้าแพงเว่อร์มากๆ สามารถติดต่อการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบได้นะ ใครแอบพ่วงไฟไปใช้บ้างนะ หรือมีความผิดปกติของการจด หรือ ไฟรั่วหรือเปล่า หรือ จากมิเตอร์ค่าไฟ .. อันนี้ต้องค่อยๆไล่หาสาเหตุ
หากประชาชนสงสัยว่าค่าไฟเพิ่มขึ้นผิดปกติสามารถแจ้งการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบในเรื่องไฟฟ้าแพง โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็ปไซต์ www.mea.or.th
แต่เดือนเมษายน ค่าไฟแต่ละบ้านแพงขึ้นจริงๆ “การเช็คมิเตอร์ไฟ”
“ดูเลขจดครั้งก่อนกับเลขจดครั้งหลังเอามาลบกัน ได้ผลลับเท่าไหร่ก็เอามาคูณกับหน่วยค่าไฟเท่ากับหน่วยละกี่บาท แล้วเอาไปเช็คกับมิเตอร์ไฟปัจจุบัน ถ้าตรงกันแสดงว่าถูกต้องเราใช้ไฟเยอะ แต่ถ้าไม่ตรงกันแสดงว่าคนจดค่าไฟจดผิด ซึ่งน้อยมาก พี่เค้ามีกล่องไว้ส่อง” ห้ามไปต่อว่าคนจดมิเตอร์นะ เค้าก็รับจ้างมากการไฟฟ้า ไม่ได้ทำงานการไฟฟ้าหรอก
“ไม่ยาก ดูตัวเลขก่อนหน้านี้ 2 เดือน ไล่ตัวเลขมาปัจจุบันไปดูที่หน้าหม้อมิเตอร์ว่าตัวเลขมันขึ้นที่เท่าไหร่แล้วก็จดเอาไว้ ถ่ายรูปเอาไว้ก็ได้แล้วปิดไฟทุกดวง ปิดทุกอย่าง ถอดปลั๊กทุกอย่าง รอ 10 นาทีแล้วไปดูหม้อไฟอีกทีว่ามันหมุนไหม ถ้ามันหมุนไฟรั่วลงดินจุดใดจุดหนึ่ง ถ้ามันไม่หมุนเป็นอันว่าปกติ“
เมื่อใช้แล้วก็ต้องจ่าย ไม่จ่ายก็โดยตัดไฟ จ่ายค่าต่อมิเตอร์ใหม่อีก “โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง” เรามา “ประหยัดการใช้ไฟ”
- ปิดไฟดวงที่ไม่ใช้
- ปรับลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศมาอยู่ที่ระดับ 26 องศาเซลเซียส
- ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน
- เปลี่ยนไปใช้เครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพสูง
- และหมั่นล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน
- เปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ พกกระติกน้ำแข็งไว้ดื่ม
- ไม่ควรกักตุนอาหารไว้ในตู้เย็นเกินความจำเป็น ตรวจขอบยางประตูตู้เย็นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
- เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED เลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า (เบอร์ 5)
- ควรปิดสวิตช์และดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
- หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า
- ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งติดตั้งสายดิน พร้อมเครื่องตัดไฟรั่ว
แค่เค้าคืนค่าฯ มิเตอร์ให้ ก็ขอบคุณแล้วละครับ ท่องไว้ประหยัดๆๆ
ขอบคุณข้อมูล : การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพจต่างๆ และ www.ddproperty.com