รถไฟญี่ปุ่น Kiha 183   เริ่มวิ่งทดสอบแล้ว

รถไฟญี่ปุ่น Kiha 183  · รถดีเซลราง KIHA 183 (208 และ 219) เริ่มวิ่งทดสอบ

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

วันนี้ (18 ส.ค. 65) ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ได้โพสต์ภาพลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับรถไฟมือสองจากญี่ปุ่น รุ่นKIHA183 ทำการทดสอบวิ่งจากชุมทางมักกะสันไปยังอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 

ผศ.ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ ได้โพสต์ข้อความว่า

“เหมือนได้ใหม่ เร็วกว่าซื้อใหม่ เพราะกว่าจะผ่านกระบวนการจัดซื้อนานสุดๆ  อย่า Drama ว่าเป็นรถมือสองญี่ปุ่น ทำออกมา ค่าใช้จ่าย ไม่เกิน5แสน ต่อคัน รอสรุป อีกครั้ง คชจ.นี้ ยังไม่รวมค่าแรง เหมือนได้ใหม่  ออกมาทดลอง 3 คันแรกโดยฝีมือช่าง วิศวกรรถไฟไทย  ขอขอบคุณทีมงาน นำโดย ทีมงาน อดิสร ศูนย์ซ่อมรถดีเซลรางมักกะสัน ทั้งช่างส่วนบน ส่วนล่างปรับอากาศ และอีกหลายคนที่เกี่ยวข้อง ส่วนจะวิ่งเส้นไหน รอประชุมสรุปอีกครั้ง จากคณะทำงาน …”

ทั้งนี้ รถไฟมือสองจากญี่ปุ่น รุ่น KIHA183 เป็นรถไฟดีเซลราง KIHA 183 ของบริษัท Hokkaido Railway Company (JR HOKKAIDO) ซึ่งทางประเทศญี่ปุ่นได้บริจาคให้เมืองไทยฟรี จำนวน 17 คัน 

รถไฟมือสองจากญี่ปุ่นนี้ เคยเป็นประเด็นดราม่าในโซเชียลมีเดีย โจมตีจากคนบางกลุ่มในช่วงแรกหลังจากการได้รับบริจาค

โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำมาซ่อมแซม ดัดแปลง ปรับปรุง และตกแต่งใหม่เพื่อนำมาวิ่งในประเทศไทย โดยกำหนดให้เป็น ขบวนรถในเส้นทางระยะสั้น ขบวนรถพิเศษพินิจงานและขบวนพิเศษสำหรับการท่องเที่ยวในเส้นทางต่างๆ

ที่มา : เพจ สถานีรถไฟสายตะวันออกในประเทศไทย

6 ชม.  · รถดีเซลราง KIHA 183 (208 และ 219) วิ่งทดสอบช่วงระหว่างมักกะสัน – ชุมทางฉะเชิงเทรา – มักกะสัน วันที่ 07 เมษายน 2565 ภาพขณะจอดรอทำขบวนเที่ยวกลับ ณ สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

ทำสอบเสร็จ ทำสี แล้วมาลุ้นกันว่า จะวิ่งไปเที่ยวจังหวัดไหนก่อน

ขอบคุณ ทีมงานศูนย์ซ่อมรถดีเซลรางและรถปรับอากาศ
โรงงานมักกะสัน ทุกคน ที่ช่วยกันทำงานมาตลอดครับ อีกไม่นาน เจอกันอีกรอบ
ที่มา สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

ญี่ปุ่น ให้ฟรี รถไฟญี่ปุ่น Kiha 183 Series diesel train จำนวน 17 คัน แก่การรถไฟแห่งประเทศไทย มาปรับปรุงใช้งาน ไทยเสียเฉพาะค่าขนย้าย 42.5 ล้านบาท เท่านั้น : คุ้มสุดคุ้ม ปังมาก

หน้าตารถ รถไฟญี่ปุ่น Kiha 183 ที่ JR Hokkaido บริจาคให้การรถไฟแห่งประเทศไทย หน้ามันเป็นยังไงนะ … มาดูกัน อึดเลยละ

ภาพจาก : http://fortysonseason.blog.fc2.com/blog-entry-4347.html?fbclid=IwAR0wMcJKV5-nmfuHo3DM9P-vP9Ma1yxmGzccktRkuPT2fhFfUc8VuI4HQac

รถไฟดีเซลราง KiHa 183 เป็นรถที่พัฒนาโดย การรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (Japanese National Railways : JNR) มีวัตถุประสงค์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อวิ่งในเส้นทางบนเกาะฮอกไกโด จุดกำเนิดของ KiHa 183 เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 เมื่อการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่นมองเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนรถไฟรุ่น KiHa 80 ที่ใช้มานานและเริ่มเสื่อมสภาพเนื่องจากความหนาวสุดขั้วของฮอกไกโด ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นไม่ไหว

จึงมีการพัฒนารถไฟรุ่นใหม่ทั้งหมด พร้อมกับตั้งชื่อรุ่นว่า KiHa 183 โดยผลิตขึ้นมาในปี พ.ศ.2522 เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1980 บนเส้นทางโอโซระ ฮกไก โอค็อตสค์ และโฮคุโตะบนเส้นทางเซกิโช หลังจากนั้นก็มีการสร้างเพื่อใช้ในเส้นทางอื่นๆ เพิ่มเติมในอีกไม่กี่ปีต่อมา KiHa 183 ทะยอยยุติให้บริการตั้งแต่ปี 2001-2016

Kiha 183 เป็นดีเซลราง (DMU) ใช้เครื่องยนต์ ชนิด Turbo-Diesel โดย JR Hokkaido
เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี 1979
Kiha 183 ออกแบบเพื่อการใช้งานเส้นทางลุยหิมะในฮอกไกโด
ใช้ความเร็วสูงสุด 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ใช้รางขนาด 1.067 เมตรความโดดเด่น
จัดขบวนรถ เป็น 4 ตู้/1 ขบวน

ขอบคุณที่่มา : https://www.facebook.com/KrobkruengJAPAN/posts/2547235632083156

Kiha 183 Series diesel train ลุยหิมะได้ด้วยนะ ฝนบ้านเราสบาย

รถดีเซลราง (DMU) รุ่น KiHa 183 (คีฮา 183) ของบริษัทรถไฟฮอกไกโด (JR Hokkaido) ในภูมิภาคฮอกไกโด

Kiha 183 Series diesel train รุ่นนี้เป็นพระเอกของชาวญี่ปุ่นในช่วงนั้น

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสียขนย้าย 42.5 ล้านบาท คุ้มสุดคุ้ม

ญี่ปุ่น เค้าดูแลรถไฟทุกขบวนดีมาก คุ้มค่าแน่นอน และช่างของการรถไฟก็เก่งๆ เรื่องนี้ซะด้วย

รถไฟรุ่นนี้ ใช้ครั้งแรกในปี 2524 และใช้มานาน เป็นรถโดยปรับอากาศ ถูกปลดระวางและจอดทิ้งไว้ ได้รถไฟรุ่นนี้มา 17 คัน อย่างน้อยก็ได้ 3-4 ขบวน วิ่งเมืองกาญจน์ สวยเลย

ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงทางเทคนิค JR Hokkaido คุ้มค่า

ขณะที่ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ส่วนมากใช้ความกว้างของรางขนาด 1.00 – 1.067 เมตร โดย รฟท. มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐาน เดียวกันคือ Narrow Gauge โดยความกว้างของรางขนาด 1.00 เมตร ของ รฟท. นั้น สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟของประเทศมาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่าได้

ขนาดความกว้างของล้อ กรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที ซึ่งการปรับปรุงสภาพรถและปรับขนาด ความกว้างของฐานล้อเป็นเรื่องที่ศูนย์แผนงานและการผลิต โรงงานมักกะสัน ฝ่ายการช่างกล ดำเนินการ เป็นปกติทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอยู่แล้ว โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อ จาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2 – 3 คันต่อวัน

สำหรับกรณีการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ

ความคุ้มค่า ที่ผ่านมาในอดีต รฟท. เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ซึ่งหลังจากปรับปรุงแล้วสามารถนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น

ซึ่ง รฟท. ได้นำรถโดยสารปรับอากาศ JR West ที่ได้รับ มาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะเพื่อใช้ในกิจการรถไฟ อาทิเช่น ตู้ SRT Prestige และ SRT VIP Train (ขบวนรถหรูสีน้ำเงินเข้มคาดทอง รถไฟชั้นเฟิร์สคลาส) และเคยเป็นขบวนรถไฟที่ให้บริการคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เดินทาง และใช้ประชุม ครม.สัญจรหลายครั้ง นอกจากนี้ ยังให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในรูปแบบของขบวนรถท่องเที่ยว เช่น รถ OTOP Train อีกด้วย

ถือเป็นขบวนรถไฟที่มีผู้โดยสารจองเช่าใช้บริการมากที่สุด เพราะมีความสวยงาม และมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันโดยในปีงบประมาณ 2562 รฟท. มีรายได้จากการให้เช่ารถไฟเฟิร์สคลาส และขบวนรถพิเศษรวมกว่า 10 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้ลดลงเหลือประมาณ 5 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังนำรถ JR West บางส่วนมาปรับปรุงดัดแปลงเป็นรถแค้มป์คาร์ของฝ่ายการช่างโยธา รถ Power car รถสำหรับผู้พิการ Wheel chair ซึ่งสามารถสร้างประโยชน์ในการให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท. ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก

ส่วนรถโดยสารควีนแลนด์ ปัจจุบัน รฟท. ยังใช้ให้บริการในขบวนรถชานเมืองเป็นประจำทุกวัน โดยสังเกตุได้จากขบวนรถที่ทำจาก Stainless คาดสีเขียว ซึ่งล้วนเป็นรถไฟที่ รฟท. ได้รับมาและดำเนินการซ่อมบำรุง และปรับปรุงความกว้างของฐานล้อทั้งสิ้น ซึ่งยังสามารถใช้การได้เป็นอย่างดี

สำหรับรถโดยสารปรับอากาศ 10 คันที่ JR Hokkaido มอบมาก่อนหน้านี้ รฟท. มีแผนจะดัดแปลง เป็นขบวนรถท่องเที่ยว ซึ่งในขณะนี้ได้ดำเนินการผ่านขั้นตอนการปรับปรุงความกว้างของฐานล้อ จาก 1.067 เมตรเป็น 1.00 เมตร เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันจอดอยู่ที่ ศรีราชา และ รฟท. อยู่ระหว่างประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อทำการดัดแปลงเป็นขบวนรถท่องเที่ยว ตามที่มีการร่วมมือกับ ทาง TCDC และมีการวางแผน ทางการตลาดไปก่อนหน้านั้น

ส่วนขบวนรถ ดีเซลราง Kiha183 จำนวน 17 คันล่าสุดนั้น หลังจากรับเข้ามาแล้ว จะต้องทำการปรับปรุงให้เหมาะสมและเป็นปตามแผนงานตามมาตรฐาน ของ รฟท. โดยคาดว่าจะสามารถทยอย นำออกให้บริการได้ ภายในต้นปี 2565

อะไหล่ซ่อมบำรุง ส่วนประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม รถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้น การซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อน ส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น

สำหรับรถดีเซลรางที่ทางบริษัท JR Hokkaido ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนเดินรถของประเทศญี่ปุ่น ได้มอบให้ การรถไฟฯ ถือเป็นความร่วมมือและการรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างการรถไฟฯ และบริษัทในเครือ JR ที่มีมาอย่างยาวนาน โดยการรถไฟฯ มีหนังสือตอบรับมอบรถดีเซลราง ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2560 แต่ติดปัญหาเรื่องการขนย้ายจึงทำให้ล่าช้ามาจนถึงปัจจุบัน และเพื่อการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท JR Hokkaido จึงได้ว่าจ้างบริษัททำการขนย้ายรถไฟทั้ง 17 คัน

ซึ่งจากการตรวจสอบสภาพตู้รถโดยสารในเบื้องต้น ขบวนรถดีเซลรางอยู่ในสภาพดีได้รับการดูแลบำรุงรักษาจากทางญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ซึ่งหลังจากที่การรถไฟฯ ได้รับมอบตู้โดยสารแล้วจะมีการเข้าไปตรวจสอบด้านความปลอดภัย และนำมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานอีกครั้ง ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะนำตู้โดยสารดังกล่าวมาปรับปรุงเพื่อใช้ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ตามนโยบายรัฐบาลต่อไป

คนไทยได้เห็น Kiha 183 กันเร็วๆ นี้ รอเรือเทียบท่าเท่านั้น

เฟซบุ๊กเพจ ข่าวระบบคมนาคมขนส่ง  โพสต์ภาพรถไฟดีเซล รุ่น KIHA183 จาก JR Hokkaido ที่ท่าเรือซากิโมริ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ที่กำลังขนย้ายมายังประเทศไทย

รถไฟดีเซลราง KIHA 183 ขนส่งถึงประเทศไทยแล้ว มาดูกัน 4 เดือนวิ่งรางไทยได้มั้ย

รถไฟดีเซลราง KIHA 183 จำนวน 17 คัน ที่ได้รับมอบฟรีจากJR HOKKAIDO ประเทศญี่ปุ่น ตรวจสอบสภาพเบื้องต้นทุกอย่างยังอยู่ในสภาพดี เพราะทางญี่ปุ่นเพิ่งตรวจสภาพครั้งใหญ่ไป คาดว่าใช้งานต่อได้อีกไม่ต่ำกว่า 50 ปี ซึ่งจะมี ขั้นตอนการปรับแคร่รถให้เท่ารางประเทศไทย ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน

ขอบคุณที่มา ช่อง one

เบื้องต้น ระหว่างการจัดจ้างเพื่อปรับปรุงรถ การรถไฟฯจะนำรถโดยสาร Kiha  183 ทั้ง 17 คัน มาทดลองเปิดให้บริการเช่น ขบวนรถในเส้นทางระยะสั้น โดยเมื่อปรับปรุงแล้วเสร็จจะนำมาใช้ 4 เส้นทางหลัก คือ

1. อุดรธานี – หนองคาย – เวียงจันทน์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากการเปิดให้บริการรถไฟสายลาว – จีน และประชาชนที่เดินทางระหว่างประเทศไทย และ สปป.ลาว

2. นครราชสีมา – ขอนแก่น เพื่อรองรับการบริการในช่วงทางคู่สายขอนแก่นให้มีศักยภาพด้านการเดินทางระหว่างจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดขอนแก่นที่เป็นเมืองขนาดใหญ่ รวมถึงเป็นขนส่งต่อเนื่อง (Feeder) ของรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ – นครราชสีมา

3. กรุงเทพ – หัวหิน – สวนสนประดิพัทธ์ เพื่อทดแทนขบวนรถไฟนำเที่ยวชายทะเลสวนสนประดิพัทธ์ ซึ่งเป็นขบวนรถไฟนำเที่ยวประจำที่มีปริมาณผู้ใช้งานสูง โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการเดินทาง การท่องเที่ยว และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับกลุ่มลูกค้าใหม่และลูกค้าประจ

4. ขบวนรถท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคกลางและจังหวัดใกล้เคียงเช่น อยุธยา ลพบุรี สระบุรี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปากช่องนครปฐม ฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคกลางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ตามฤดูกาลเทศกาล หรืออีเวนต์พิเศษต่างๆ ด้านการท่องเที่ยว

.

#ข่าวช่องวัน