ตำรวจแนะวิธีตั้งค่าบล็อกข้อความ SMS จากมิจฉาชีพ
ตำรวจสอบสวนกลาง แนะวิธีการตั้งค่าโทรศัพท์มือถือด้วยตนเอง เพื่อบล็อกข้อความ SMS จากมิจฉาชีพ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ระบบ IOS เมื่อพบ SMS หลอกลวง ผ่านทาง Message ธรรมดา สามารถกดบล็อกได้ โดยเข้าไปที่แอปพลิเคชันข้อความ เลือกข้อความที่ส่งมา แตะรายชื่อด้านบนสุด แล้วกดที่ปุ่ม info (รายละเอียดเพิ่มเติม) เลือก Block this Caller (บล็อกผู้โทรนี้) กรณีได้รับ SMS หลอกหลวง ผ่าน iMessage แนะนำเปิดการใช้ฟิลเตอร์เพื่อไม่ให้รับ iMessage บุคคลที่ไม่รู้จัก โดยไปที่ การตั้งค่า เลือกข้อความ กดในหัวข้อการฟิลเตอร์ข้อความ เลือก ไม่รู้จักและสแปม แล้วเลือกเปิด ฟิลเตอร์ผู้ส่งที่ไม่รู้จัก
ระบบ Android เมื่อพบ sms หลอกลวง ให้กดค้างที่ข้อความ แล้วแตะที่ ไอคอน 3 จุด แล้วเลือก ‘Block’ (บล็อก) หรือเปิดการใช้งานป้องกันสแปม โดยเข้าไปที่ แอปพลิเคชันข้อความแล้วแตะที่ไอคอน 3 จุด มุมบนขวา เลือก Block numbers and spam แล้วเลือกเปิด Caller ID and spam protection ทั้งนี้ การตั้งค่าของระบบ Android อาจไม่เหมือนกันในทุกรุ่น
ทั้งนี้ สามารถแจ้งเบอร์มิจฉาชีพ เบอร์แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ส่งข้อความ SMS หลอกหลวง เพื่อให้ระบบดำเนินการปิดกั้น แจ้งผ่านทางสายด่วนของค่ายมือถือได้ที่
กสทช. แจ้งผ่านสายด่วน 1200
AIS แจ้งผ่านสายด่วน 1185 (ลูกค้า AIS โทรฟรี)
TRUE แจ้งผ่านสายด่วน 9777 (ลูกค้า TRUE โทรฟรี)
DTAC แจ้งผ่านสายด่วน 1678 (มีค่าบริการครั้งละ 3 บาท หากส่งเป็น SMS ไม่เสียค่าบริการ)
NT (ผู้ใช้ TOTmobile กับ MY ) แจ้งผ่านสายด่วน 1888 (ลูกค้า NT โทรฟรี)
LINE ประเทศไทย (LINE Thailand official) โพสต์เฟสบุ๊กเตือนประชาชนที่ใช้แอปพลิเคชั่น LINE ให้ระวังมิจฉาชีพ!
หลังมิจฉาชีพโทรศัพท์แอบอ้างเป็นพนักงานจาก LINE ประเทศไทย โดยแจ้งว่า “บัญชีของคุณถูกระงับ” หรือ “จะระงับบัญชี LINE ของคุณ”
LINE ประเทศไทย ขอแจ้งว่าบริษัทไม่มีนโยบายติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ รวมถึงไม่ขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน
จิตอาสาตำรวจสอบสวนกลาง ขอแนะนำแนวทาง “3 ไม่ 1 ควร”
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มอบหมายให้จิตอาสาตำรวจสอบสวนกลาง โดยกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ประชาสัมพันธ์เตือนภัย ประชาชนผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์
ให้ทราบแนวทาง การป้องกันภัยการถูกหลอกลวงทางออนไลน์ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาชญากร เพื่อสืบสวนติดตามจับกุม กำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่สร้างปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน
“จิตอาสาตำรวจสอบสวนกลาง” จึงขอแนะนำแนวทาง “3 ไม่ 1 ควร” ช่วยกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนี้
- “ไม่เชื่อ” หากได้รับสายจากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือองค์กรต่าง ๆ ควรสอบถามไปที่หน่วยงานดังกล่าวโดยตรง
- “ไม่ตกใจ” หากมีโทรศัพท์แจ้งว่าท่านได้กระทำความผิดอาญาและจะถูกดำเนินคดี อย่าเพิ่งตกใจ ให้คิดว่าเป็นมิจฉาชีพไว้ก่อน
- “ไม่โอน” หากมีการอ้างว่า ต้องให้ท่านโอนเงินเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ห้ามโอนเงินให้เด็ดขาด เพราะไม่ใช่การปฏิบัติหรือวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐ
- “ควรแจ้งเบาะแส” หากท่านได้รับสายที่น่าเชื่อว่าเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ควรแจ้งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ทราบ เช่น หมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขบัญชีธนาคาร
ขอแนะนำวิธีปฏิบัติ เมื่อเกิดการทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดพลาด
กรณีที่เราโอนเงินผิดบัญชีไปให้ผู้อื่น
เมื่อรู้ตัวว่ากดโอนเงินผิดบัญชีไปให้ใครก็ไม่รู้ ก่อนอื่นเลย ขอให้ตั้งสติ และดำเนินการตามขั้นตอนนี้
1.รวบรวมหลักฐานการ โอนเงินผิดบัญชี ได้แก่ สลิปโอนเงิน หรือหน้าจอการโอนเงินจาก Internet banking นำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ
2. ติดต่อธนาคารที่เราใช้โอนเงิน เพื่อแจ้งเกี่ยวกับปัญหาโอนเงินผิดบัญชีที่เกิดขึ้น โดยธนาคารอาจแจ้งให้ส่งหลักฐานการโอนเงินผิด หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการโอนเงินเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการตรวจสอบ
3. ธนาคารประสานงานกับเจ้าของบัญชีที่ได้รับเงินโอนผิดไป เพื่อให้ผู้รับโอนโอนเงินคืน โดยที่ธนาคารจะไม่สามารถดึงเงินออกจากบัญชีของผู้รับเงินโอนได้โดยพลการเด็ดขาด
– กรณีที่ผู้รับเงินโอนผิด ยินยอมโอนเงินคืนให้ ธนาคารก็จะโอนเงินคืนเข้าบัญชีผู้โอน
– กรณีผู้รับโอนไม่ยินยอมคืนเงิน ก็สามารถดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
กรณีมีผู้อื่นโอนเงินผิดมาบัญชีของเรา
1.ไปลงประจำวันที่สถานีตำรวจแล้ว ติดต่อไปยังธนาคารเจ้าของบัญชี เพื่อสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการโอนเงินยอดที่เราสงสัย ว่าเป็นการโอนเงินอะไร โดยธนาคารจะสามารถให้ข้อมูลเบื้องต้นได้ เช่น ใครเป็นผู้โอนเงินจำนวนนี้
2. หากพบว่ายอดเงินที่ได้ทำการตรวจสอบกับธนาคารนั้น ไม่ควรเป็นยอดเงินที่ถูกโอนเข้ามาในบัญชีของคุณ ซึ่งอาจเกิดจากการโอนเงินเข้าผิดบัญชี ให้รีบติดต่อโอนเงินกลับคืนไป โดยอาจติดต่อผ่านธนาคาร และขอคำแนะนำในกรณีการโอนเงินดังกล่าวคืนเพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าเราเพิกเฉย เจ้าของเงินก็สามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกเงินคืนจากเราได้
-กรณีมีผู้อื่นโอนเงินมาให้เราผิดบัญชี แล้วมีการโทรศัพท์เข้ามาสอบถาม เพื่อป้องกันการถูกหลอกจากมิจฉาชีพ อย่ารีบหลงเชื่อและโอนเงินกลับคืนไปทันทีเด็ดขาด ต้องทำการตรวจสอบกับธนาคารให้มั่นใจว่ามีเงินโอนเข้ามายังบัญชีของเราจริง ๆ เสียก่อน และขอคำแนะนำจากธนาคารในการดำเนินการคืนเงิน
จิตอาสาเตือนภัย ขอนำเสนอวิธีสำรวจพฤติกรรมที่อาจทำให้ท่านเสียเงินให้แก่มิจฉาชีพ “เชื่อคนง่าย ไม่เอะใจ ไม่วางสาย ไม่ศึกษา”
ทุกวันนี้แก๊งคอลเซนเตอร์ ยังคงอาละวาด สร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่คนไทยเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจกันไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ทั่วถึง ยังมีประชาชนบางรายที่ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ทำออกมา และด้วยเหตุนี้ มิจฉาชีพแก๊งคอลเซนเตอร์ ก็ยังคงหากินกับเหยื่อที่ยังมีภูมิต้านทานทางไซเบอร์ที่ต่ำ และขอแค่ 1 คนจาก 100 คน หรือเพียงแค่ 1 เปอเซนต์ ของเหยื่อที่หลงเชื่อ ก็เพียงพอที่จะคุ้มค่าเหนื่อยและกระทำความผิดต่อไป รวมถึงการเปลี่ยนมุข เปลี่ยนเรื่องราว เปลี่ยนสตอรี่ ก็สามารถทำให้แก๊งพวกนี้ยังคงหากินกับเรื่องพวกนี้ได้อยู่เรื่อยๆ
เราลองมาดูกันว่า พฤติกรรมแบบไหนบ้างที่อาจทำให้ท่านเสียเงินให้แก่มิจฉาชีพ จนต้องมานั่งเจ็บกระดองใจ นึกเสียดายเงินที่อุตส่าห์หามาได้อย่างยากลำบากกันครับ
1.เชื่อคนง่าย – ใครพูดอะไรก็เชื่อ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซนเตอร์โทรมาใช้อุบายโกหกหลอกล่อ หว่านล้อมต่างๆนานา ก็หลงเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
2.ไม่เอะใจ – ขาดสติ ไตร่ตรองว่าสิ่งที่คู่สนทนาพูดนั้น มันสมเหตุสมผล มากน้อยเพียงไร
3.ไม่วางสาย – ยิ่งพูดคุยนาน ยิ่งมีโอกาสถูกกล่อมให้เชื่อได้มากยิ่งขึ้น สุดท้าย ก็โอนเงินให้มิจฉาชีพไป
4.ไม่ศึกษา – ไม่หมั่นหาความรู้ ตามสื่อสังคมออนไลน์ของหน่วยงานรัฐและเอกชน เกี่ยวกับการเตือนภัยมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะแก๊งคอลเซนเตอร์
สรุปสั้นๆเพียง 4 ข้อ ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ท่องจำง่าย เพราะเป็นคำคล้องจอง “เชื่อคนง่าย ไม่เอะใจ ไม่วางสาย ไม่ศึกษา” เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะท่องจำคำสี่คำนี้ได้ขึ้นใจ อย่างน้อยขอแค่ ให้ท่านนึกคำสี่คำนี้ได้ ก่อนที่ท่านจะกดรับสายจากเบอร์แปลก ครับ
บก.ปอท. หวังว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่มอบความรู้ให้แก่ท่าน เกี่ยวกับภัยต่างๆที่แฝงมากับเทคโนโลยี โดยเฉพาะการเตือนภัยต่างๆ เป็นการเติมวัคซีนทางไซเบอร์เพื่อให้ท่านมีภูมิคุ้มกันที่ดีห่างไกลจากมิจฉาชีพครับ เพราะเรามีความเชื่อว่า การป้องกันนั้นย่อมดีกว่าการแก้ไข
จิตอาสาเตือนภัย จุดสังเกตบัญชีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ปลอม
ขอแนะนำวิธีการสังเกตด้วย 5 จุดสังเกตเบื้องต้น ที่จะทำให้ทราบว่า เป็นบัญชีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ปลอมหรือบัญชีอวตาร เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมออนไลน์จากบัญชีผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ปลอม ดังนี้
1. การยืนยันบัญชีโดยแพลตฟอร์ม (Verified/เครื่องหมายติ๊กถูก) หากบัญชีไม่ได้รับการยืนยัน
มีความเป็นไปได้ว่าเป็นบัญชีปลอม
2. รูปโปรไฟล์และชื่อบัญชีหากรูปหน้าตาดี มีความเป็นไปได้ว่าเอารูปคนอื่นมาใช้ สามารถลองนำชื่อไปค้นหาดูได้ว่ามีรูปจริงตรงกับในบัญชีหรือไม่
3. เพื่อน/ผู้ติดตาม หากจำนวนน้อยเกินไป หรือผู้ติดตามเป็นอวตาร ไม่มีตัวตนอยู่จริง
ก็มีความเป็นไปได้ว่าเป็นบัญชีปลอม
4. ความเคลื่อนไหวของบัญชี การแท็กรูปจากผู้อื่น สถิติการโพสต์ การมีปฏิสัมพันธ์กับบัญชีอื่น ควรเป็นไปอย่างธรรมชาติ เหมือนคนธรรมดาใช้
5. ประวัติของบัญชี บัญชีถูกสร้างมานานหรือยังหรือพึ่งสร้างให้ระมัดระวังบัญชีที่พึ่งสร้าง
หรือสร้างมานานแล้วแต่เคลื่อนไหวน้อย
ด้วยรักและปรารถนาดีจาก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.)
แก๊งคอลเซ็นเตอร์ – ข้อความ sms มิจฉาชีพ – +697 เบอร์มิฉาชีพ
รู้ก่อนปลอดภัย เราต้องช่วยๆกัน จากรูปเเบบมิจฉาชีพมาเเบบโทร เป็นสำนักงานต่างๆ ขนส่งต่างๆ.ตอนนี้มารู้เเบบ SMS ว่ามีคนเข้าเมล์คุณ ห้ามกด เเละที่สำคัญไม่เคยสมัครเมล์นี้เลย ใครได้SMS อย่าไปกดรับข้อมูลมีความจะโดดดูด เงินบัญชีระวังหาย
ข้อความ sms มิจฉาชีพ มาหลากหลายรูปแบบ จับไปแล้วก็เยอะ
ศาลอาญา เตือนภัย! แก๊งคอลเซ็นเตอร์
ศาลอาญาไม่มีนโยบายโทรแจ้งหมายเรียก ขอข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์ และให้โอนเงินเข้าบัญชีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทางโทรศัพท์ ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ
หากสงสัยว่ามีคดีในศาลอาญาหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่ https://aryasearch.coj.go.th หรือโทรสอบถามที่ 0-2541-2284-90 ต่อ 1004 หรือ0-2512-8248 หรือ 0-2938-2574
กำหนดเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย +697 เป็นเบอร์ที่โทรจากต่างประเทศและเป็นมิจฉาชีพ จริง
กสทช.กำหนดเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย +697 เป็นเบอร์ที่โทรจากต่างประเทศและเป็นมิจฉาชีพ จริงหรือ?
สำนักงาน กสทช. ยืนยันเป็นข้อมูลจริง ซึ่ง กสทช.ได้ออกมาตรการป้องกันการถูกมิจฉาชีพหลอกลวง โดยให้ทุกเครือข่ายมือถือใส่เครื่องหมาย + นำหน้าเบอร์ที่โทรมาจากต่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่สังเกตของประชาชนและระมัดระวังอย่ารับสายจากมิจฉาชีพ
23 กันยายน 2021 / เริ่มวันนี้! กสทช. ให้ทุกค่ายมือถือ บล็อก SMS หลอกลวง พนันออนไลน์ อนาจาร
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (#กสทช.) แก้ปัญหาการส่ง SMS หลอกลวง เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ โดยให้ทุกค่ายมือถือทุกรายได้แก่ AIS TRUE DTAC NT และ 3BB ทำการบล็อก SMS ที่มีเนื้อหาชัดเจนว่าเป็นการหลอกลวง เว็บพนันออนไลน์ หรือลามกอนาจารทันที เริ่มดำเนินการวันนี้! 23 กันยายน 2564 และให้แต่ละค่ายมีมาตรการเพิ่มเติมในการแชร์ข้อมูลระหว่างกัน และกำหนดเป็น Blacklist เพื่อดำเนินการบล็อก SMS จากผู้ส่งรายเดียวกัน
สำหรับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมที่ให้บริการขายต่อ SMS กับผู้ให้บริการด้านเนื้อหา (Content Provider) หาก กสทช. ได้รับแจ้งจากค่ายมือถือ ว่าบริษัทเป็นผู้ส่ง SMS ที่เป็นการหลอกลวง เว็บพนันออนไลน์ หรือลามกอนาจาร กสทช.จะตรวจสอบและพิจารณาบทลงโทษจากเบาไปหาหนัก ตั้งแต่เตือน ปรับ พักใช้ใบอนุญาต จนถึงโทษสูงสุด คือ การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ และจะดำเนินคดีตามกฎหมายด้วย
7 ตุลาคม 2021 / เตือนภัย! SMS หลอกลวงให้กู้เงินและเล่นพนันผ่านแอป
#สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัย! อย่าหลงเชื่อ SMS หลอกลวงให้กู้เงินและเล่นพนันผ่านแอป ซึ่งแอปเงินกู้เถื่อนจะมี 2 ลักษณะ คือ
1.อ้างให้กู้เงิน แต่หลอกให้โอนเงินค่าธรรมเนียมไปให้ก่อน พอได้เงินค่าธรรมเนียมจากเรา ก็ติดต่อไม่ได้ทันที
2.ได้เงินกู้ไม่เต็มจำนวน เรียกดอกเบี้ยโหด ผิดนัดชำระถูกประจาน เช่น ให้กู้ 2,000 แต่หักค่าธรรมเนียม 200 บาท +ดอกเบี้ย 400 บาท เหลือโอนเงินกู้มาให้แค่ 1,400 บาท
#แอปเงินกู้เถื่อน เหล่านี้ จะลวงให้เราดาวน์โหลดโปรแกรม เมื่อติดตั้งในมือถือแล้ว โปรแกรมจะดึงข้อมูลเบอร์ติดต่อของคนที่เรารู้จัก เมื่อเราผิดนัดชำระหนี้ ก็จะประจานโดยส่งข้อความหาคนที่เรารู้จักทันที ดังนั้น อย่าหลงเชื่อ อย่าสนใจ และอย่ากรอกข้อมูลส่วนตัว
25 มีนาคม 2021 / กลโกงมิจฉาชีพ สถิติชี้มีการโทร-ส่งข้อความหลอกลวงทั่วโลกกว่า 460 ล้านครั้ง
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รายงานสถิติการเก็บข้อมูลจากแอป Whoscall (แอปพลิเคชันช่วยตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์มิจฉาชีพ) ในปี 2564 พบการหลอกลวงผ่านการโทรและส่งข้อความรวมกว่า 460 ล้านครั้งทั่วโลก เฉพาะในไทยพบการใช้โทรศัพท์หลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นกว่า 270% จากปี 2563 และมีการส่งข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นถึง 57% ด้วยกลอุบายต่างๆ ดังนี้
- หลอกลงทุนในหุ้นหรือคริปโท
- หลอกว่ามีงานให้ทำ
- หลอกว่าไมล์ตั๋วเครื่องบินหมดอายุ
- หลอกขายตั๋วชมกีฬา
- หลอกว่ายอดค่าบริการมือถือเกินกำหนด
- หลอกนัดเจอเพื่อออกเดท
- หลอกปล่อยกู้
- หลอกให้ดาวน์โหลดแอปฯอันตราย
- หลอกว่าพัวพันในคดี เช่น ฟอกเงิน ค่าปรับจราจร
- หลอกว่าพัสดุค้างอยู่ในด่านศุลกากร
- หลอกเรื่องการใช้งานบัตรเครติดที่ไม่ได้อนุญาต
- หลอกแจ้งเตือนการโอนเงิน
- หลอกว่ามีพัสดุมาส่ง
- หลอกว่าเป็นเพื่อน/ครอบครัว ยืมเงิน ขอเงิน
เช็คก่อนโอน
ทุกวันนี้ การซื้อสินค้าออนไลน์ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ศคง. ขอแนะนำเว็บไซต์ตรวจสอบข้อมูลของผู้ขาย หรือผู้รับโอน เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนโอนเงิน แต่ถ้าพลาดท่าเสียทีโอนเงินไปแล้ว ไม่ได้รับของ หรือได้รับของไม่ตรงปก ก็ยังมีหน่วยงานช่วยดูแลเราอยู่นะครับ
ฉลาดโอน https://www.chaladohn.com/
Blacklistseller https://www.blacklistseller.com/
ศาลแพ่ง https://civil.coj.go.th/
ฟ้องศาลออนไลน์ https://efiling3.coj.go.th/eFiling
แจ้งความออนไลน์ https://www.thaipoliceonline.com/
ฉลาดใช้ปลอดภัยกว่า #Hotline1213DigitalLiteracy
โปรดระวัง! แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โหลดแอปพลิเคชัน Team Viewer บนมือถือ
โปรดระวัง! แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โหลดแอปพลิเคชัน Team Viewer บนมือถือ เพื่อเข้าควบคุมโทรศัพท์ของเหยื่อ แล้วโอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อผ่าน Mobile Banking
3 ไม่ : วิธีง่ายๆ ป้องกันตัวเองจากแก๊ง คอลเซ็นเตอร์
ไม่เชื่อ : บุคคลที่โทรเข้ามาขอตรวจสอบข้อมูล โดยแอบอ้างเป็น เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ธนาคาร หรือองค์กรต่างๆ
ไม่บอก : ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน และรหัสต่างๆ ให้บุคคลที่ไม่รู้จักทราบ
ไม่โหลด : แอปพลิเคชันที่ไม่รู้จัก หรือ ไม่น่าเชื่อถือ จากผู้ที่โทรมาแอบอ้างทางโทรศัพท์
แจ้งทันที ภายใน 24 ชม.!
- แจ้ง Call Center ธนาคารทันที
- แจ้ง ตำรวจในพื้นที่ เพื่อแจ้งความดำเนินคดี
- แจ้ง สายด่วน 191 หรือ สายด่วน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599 ตลอด 24 ชม.
และสามารถแจ้งความ Online ที่ www.thaipoliceonline.com โทร.1441 (บช.สอท.) หรือ โทร. 081 866 3000 (ศูนย์ PCT) ตลอด 24 ชม.
Krungthai #เรื่องหลอกให้บอกต่อ
โปรดระวัง! มิจฉาชีพส่ง SMS หลอกลวง อ้างธนาคารกรุงไทย ให้สิทธิ์ยื่นกู้ได้ผ่าน SMS พร้อมแนบลิงค์ปลอม
กรุณาอย่าหลงเชื่อ
หากพบความผิดปกติ สามารถแจ้งผ่าน Facebook Fanpage Krungthai Care หรือ Krungthai Contact Center 02 111 1111 ตลอด 24 ชั่วโมง
ตำรวจPCT เตือน! อย่าหลงกลมิจฉาชีพหลอกลงทุนในผ่านเฟซบุ๊ก
ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT เตือนประชาชนให้ระวังอย่าหลงกลมิจฉาชีพหลอกลงทุนในผ่านเฟซบุ๊ก โดยมักอ้างชื่อตลาดหลักทรัพย์ บริษัทยักษ์ใหญ่ ดารา นักการเงิน มีข้อเสนอจูงใจชวนให้อยากร่วมลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนดี รวยเร็ว ประกันผลตอบแทน และอ้างว่าไม่เสี่ยง
ดังนั้น ก่อนลุงทุนทุกครั้ง จะต้องศึกษาข้อมูลและตรวจสอบให้ชัดเจน ซึ่งวิธีตรวจสอบเบื้องต้น เช่น
1. เครื่องหมายรับรองตัวตน โดยตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่แนะนำการลงทุน ผู้ประกอบธุรกิจ หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th
2. จำนวนผู้กดไลค์ กดติดตามเพจ
3. ดูความโปร่งใสของเพจ ระยะเวลาที่สร้างเพจ การเปลี่ยนชื่อเพจ
สอบถามโทร. 1441 หรือ 081-866-3000
หากตกเป็นเหยื่อแล้วสามารถแจ้งความออนไลน์ ได้ที่ https://www.thaipoliceonline.com/