“ประกันสังคม” เยียวยาโควิด” รอบใหม่ ประกันสังคมมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40

“ประกันสังคม” เยียวยาโควิด” รอบใหม่ ประกันสังคมมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40

https://fb.watch/31vov-p1sz/

“การเยียวยาโควิด” รอบใหม่จาก “ประกันสังคม” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือลูกจ้างที่ ทำงานอยู่ในสถานประกอบการซึ่งมีนายจ้าง ประกันสังคมมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ไม่มีนายจ้าง โดยแบ่ง การเยียวยาได้ ดังนี้

 1. ประกันสังคมมาตรา 33

– ลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ ม.ค.-มี.ค. 64

– กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน (จากเดิมได้ร้อยละ 50 ปีละไม่เกิน 180 วัน)

– การว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน (เดิมอยู่ที่ร้อยละ 30 ไม่เกิน 90 วัน)

– การว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (จากประกาศของทางราชการที่สั่งปิดพื้นที่ฯ หรือหยุดการปฏิบัติงานในโรงงานต่างๆ) จะได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน และถ้าเป็นการหยุดกิจการบางส่วนหรือทั้งหมด นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของค่าจ้าง ก่อนหยุดการจ้างเป็นการชั่วคราว

 2. ประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40

สำหรับผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 39 และมาตรา 40 เป็นผู้ประกันตนเองที่ไม่มีนายจ้าง เป็นกลุ่มที่มีลุ้นว่าจะได้รับการเยียวยาจากโครงการ “เราชนะ” ที่คาดว่าจะเปิดให้ลงทะเบียนได้ปลายเดือนมกราคมนี้ ซึ่งจะมีขั้นตอนการลงทะเบียนอย่างไร จะต้องรอการอนุมัติจากมติ ครม. วันที่ 19 ม.ค. 64 อีกครั้งหนึ่ง 

ขั้นตอนการยื่นขอรับสิทธิฯ

ขั้นตอนการยื่นขอรับสิทธิฯ

  1. ลูกจ้าง ผู้ประกันตน กรอกแบบ คำขอรับประโยชน์ทดแทนในแบบ (สปส.2-01/7) กรณีว่างงาน พร้อมเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง และเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
  2. ส่งให้นายจ้างบันทึกข้อมูล ในระบบ e-Service (www.sso.go.th)
  3. นำส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) ของลูกจ้าง ส่งไปยังสำนักงานประกันสังคม ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ภายใน 3 วัน ทำการ
  4. เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับข้อมูลของนายจ้างถูกต้องครบถ้วนแล้วจะทำการอนุมัติจ่ายรอบแรก เงินเข้าบัญชีผู้ประกันตนภายใน 5 วันทำการ
  5. ส่วนที่เหลือจะโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือนจนครบ สำหรับกรณีที่เงินไม่เข้าบัญชีภายในกำหนด

ขอให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านยื่นเอกสาร หรือโทรสายด่วน 1506 เพื่อดำเนินการแก้ไขทันที

เรื่องที่เกี่ยวข้อง