การจราจร ถนนรังสิต-ปทุมธานี ทั้งขาเข้าและออก สัญจรได้เป็นปกติ

การจราจร ถนนรังสิต-ปทุมธานี ทั้งขาเข้าและออก สัญจรได้เป็นปกติ (มีน้ำท่วมขังบ้างเล็กน้อยบางส่วน)

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2565
เวลา 16.58 น

 9 กันยายน 2565 เวลา 16.30 น. จุดกลับรถใต้สะพาน ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก

จุดกลับรถใต้สะพาน ทางหลวงหมายเลข 305 รังสิต-นครนายก ในเขตความรับผิดชอบของ หมวดธัญบุรี แขวงทางหลวงปทุมธานี …

ติดต่อสอบถามเส้นทางที่ถูกน้ำท่วม หรือเส้นทางในการเดินทางทั่วประเทศ ติดต่อได้ที่ 1586 ตลอด 24 ชม.

มท.1 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี

9 กันยายน 2565 เวลา 09.00 น

อบต.คลองสาม เร่งระบายน้ำออกจากคลองสาม

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม โดยการนำของ ผศ.(พิเศษ)ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายก อบต.คลองสาม กำลังดำเนินการสูบน้ำ ด้วยเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 จุด จุดละ 2 เครื่อง รวมเป็น 4 เครื่อง

1.บริเวณประตูระบายน้ำ หมู่ที่ 1 สูบน้ำไปยังคลองรังสิตประยูรศักดิ์

2.บริเวณประตูระบายน้ำ หมู่ที่ 16 สูบน้ำไปยังคลองระพีพัฒน์

ซึ่งขณะนี้ ดำเนินการสูบน้ำพร้อมกันทั้ง 2 จุด เเละได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่กองป้องกันฯ เฝ้าระวังระดับน้ำ 24 ชั่วโมง

สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2565

เทศบาลรังสิต เข้าดูแลช่วยเหลือประชาชน


ปิดถนนเลียบคลอง ตั้งแต่ สะพานฟ้า – สะพานแดง คลองหนึ่ง

ประกาศ ณ วันที่ 8 ก.ย. 2565 14.47 น.

สภาพการจราจรถนนรังสิต-นครนายก

ติดตามข่าวสารรังสิต คลอง 1 สะพานแดง 8 ก.ย. 2565 เวลา 18.20 น. เลี่ยงเส้นทางเลีบบคลองรังสิต น้ำล้นคลองรังสิต ถนนเลียบคลอง กระทบรถติดหนัก ถนนรังสิต-นครนายก

ถนนเส้นรังสิต – นครนายกช่วงคลองสาม 17.52 น.
ถนนเส้นรังสิต – นครนายกช่วงคลองสาม 17.52 น.

เครดิตภาพ Watcharin Juntip ,,Akito Phettanaki

ถนนเส้นรังสิต – นครนายกช่วงคลองสาม 17.35 น.

ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องการจราจรในถนนรังสิต-นครนายก ช่วง คลองห้า คลองสี่ คลองสาม คลองสอง ถึงคลองหนึ่ง รังสิต

เข้าถนนวิภาวดีรังสิต ต่อขึ้นทางด่วนโทลเวย์ฟรี แบะยกระดับไปฝั่งเหนือ และเมืองปทุมธานี ข้างห้างฟิวเจอร์ รังสิต

นครรังสิต ปทุมธานี 8 ก.ย. 2565 15.00 น. – ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต

เซียร์ รังสิต 8 ก.ย. 65 15.02 น.

ล่าสุด 9 ก.ย. 65กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

ณ สถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ จังหวัดปทุมธานี เจ้าหน้าที่ทำงานเต็มกำลัง ระบายน้ำเต็มที่

เส้นคลองสองฝั่งคลองหลวง ทางเลียบกำแพงวัดพระธรรมกาย

เส้นคลองสองฝั่งคลองหลวง ทางเลียบกำแพงวัดพระธรรมกาย น้ำได้ล้นคลองเข้าท่วมบ้านริมคลอง รถเล็กระมัดระวัง

พิกัดจอดรถฟรี สำหรับชาวรังสิต

สถานศึกษาที่เป็นศูนย์พักพิงสถานการณ์น้ำท่วมเทศบาลนครรังสิต

1. โรงเรียนดวงกมล
2. โรงเรียนประถมศึกษานครรังสิต
3. โรงเรียนนครรังสิต สิริเวชชะพันธ์
4. โรงเรียนมัธยมนครรังสิต
5. โรงเรียนเพียรปัญญา

ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน 2565

 ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ศูนย์กู้ชีพ-กู้ภัย โทร. 0 2567 4944
 ศูนย์ควบคุมและสั่งการเทศบาลนครรังสิต
(ศูนย์ RCC) รับแจ้งเหตุ โทร. 0 2567 6000 ต่อ 119 ,0 2567 4945-6 ,0 2567 3388 ,0 2567 5999

ถนนพหลโยธิน ขาออก มุ่งหน้าไป ม.กรุงเทพ ฝนตกหนักน้ำระบายไม่น้ำเอ่อถนน

น้ำท่วมถนนช่วงบุญถาวร พหลโยธิน

(Cr.ศักดิ์ฯ) JS100


รายงานสถานการณ์ระดับน้ำ ในเขตพื้นที่เทศบาลนครรังสิต 8 กันยายน 2565  เวลา 15.35 น.

ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2565  เวลา 15.35 น.
ระดับน้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เขื่อนสะพานแดง ระดับน้ำ : 1.85 เมตร 🔴 (ธงแดง) สภาวะระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายสูงสุด ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัย

สามารถดูค่าระดับน้ำแบบ Real Time ได้ที่ลิงค์
http://rangsit.org/waterlevel/

ติดสะสมเข้าสู่ ถนนคลองสอง คลองสาม คลองสี่

ซึ่งติดสะสมจากถนนหลังรังสิตนครนายก เข้าไปถึงถนนเชื่อม คลองสาม จุดกลับรถใต้สะพานคลองสาม สะสมเข้าไปในถนนเลียบคลองสามกม. ทำให้มีรถรอออกถนนรังสิตนครนายก 2 เลน สู่ ช่องทางลอดสะพานเลนเดียว

ภาพจากประชาชนคลองสาม ร้องท่านนายกฯอบจ.
ช่วงรอดสะพานคลองสามออกถนนนครนายกรังสิต
ข้าออกถนนใหญ่ติดหนืบ

ซึ่งวันที่ 9 ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธาน พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จังหวัดปทุมธานี เข้าร่วมประชุมโดยที่ประชุมได้รับทราบเรื่อง

  • การจัดการจราจรในช่วงปรับปรุงจุดกลับรถใต้สะพานคลองหนึ่งและใต้สะพานคลองสอง
  • การจัดการจราจรช่วงชั่วโมงเร่งด่วนถนนรังสิต – นครนายก
  • การเตรียมการรองรับ Feeder สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง
  • และแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และพื้นที่โดยรอบ

20 กันยายน  ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) จัด ระบบขนส่งสาธ

ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการของการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อการเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง(สถานีรังสิต) โดยใช้รถโดยสารขนส่งมวลชนแบบพิเศษตามมติคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(อจร.)จังหวัดปทุมธานี และคณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาจราจรและขนส่งระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และให้จังหวัดปทุมธานี กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) และกรมทางหลวง(ทล.) ดำเนินการพัฒนา เพื่อรองรับการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และรายงานผลการดำเนินการให้ คจร.รับทราบด้วย

สำหรับการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะ รถรถอีวี (EV) เชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงนั้น ประกอบด้วย 1.เส้นทางระบบ Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟฟ้ารังสิต 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต – ธัญบุรีคลอง 7 ใช้เส้นทางถนนรังสิต-นครนายก(ทล.305) ระยะทางประมาณ 19.3 กม. เส้นทางที่ 2 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต – ม.ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ใช้เส้นทางถนนเลียบคลองเปรมประชากร และถนนคลองหลวงหน้า ม. ธรรมศาสตร์ (รังสิต) ระยะทางประมาณ 19.1 กม. เป็นระยะแรกก่อน หากสถานีรถไฟฟ้า ม. ธรรมศาสตร์ (รังสิต) เปิดใช้ ก็พิจารณาปรับเส้นทางต่อไป และเส้นทางที่ 3 สถานีรถไฟฟ้ารังสิต – แยก คปอ. ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 10.6 กม.

และ จังหวัดปทุมธานี และ ทล. ดำเนินการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของเส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ 1 บนถนน ทล.305 ถนนรังสิต-นครนายก ได้แก่
(ก) Smart Bus Stop
(ข) ทางเชื่อมสะพานลอยคนข้ามที่เกาะกลาง
(ค) ช่องทางพิเศษ (Reversible Bus Lane)
และ (ง) สัญญาณไฟควบคุมช่องทางพิเศษ

สาเหตุปัญหา รถเยอะ แยกมีมาก

“พ.ต.ต.กิตติพศ สิงห์สถิต” สว.จร.สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ผู้ดูแลการจราจรในพื้นที่ดังกล่าว เปิดเผยว่า

ถนนใหญ่ขาเข้าแบบนี้ ในคลองใจเย็นๆนะ

“ถนนรังสิต-นครนายก” ตั้งแต่คลองหนึ่งจนถึงคลองสามอยู่ในเขตความรับผิดชอบของ สภ.ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์

แต่หากเลยไปจากนั้นเป็นเขตความรับผิดชอบของ สภ.ธัญบุรี โดยถนนเส้นนี้ในช่วงเช้ามีปริมาณรถยนต์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะฝั่งขาเข้ามุ่งหน้า กทม. ช่วงคลองหนึ่งถึงคลองสามรายล้อมไปด้วยชุมชนแออัด  มีทั้งห้องเช่า หมู่บ้านจัดสรรและชุมชนดั้งเดิม รวมทั้งโรงเรียน ทำให้ปริมาณรถมากกว่าทุกจุด

นอกจากนี้ยังมีทางร่วมทางแยกเยอะ บริเวณสะพานข้ามคลอง-จุดกลับรถกลางถนน รถคันอื่นที่ใช้เส้นทางต้องชะลอตัว เกิดเป็นปริมาณรถยนต์สะสมตลอดทั้งสาย 

ควรใช้ “ช่องทางพิเศษ” (Reversible lane) 06.00-08.00 น.

สำหรับการแก้ปัญหาจราจร ผู้ใช้เส้นทางควรเลือกใช้ “ช่องทางพิเศษ” (Reversible lane) ถนนรังสิต-นครนายก ที่เปิดวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 06.00-08.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยเปิดให้รถวิ่งย้อนศรในช่องกลับกัน 1 ช่องทาง เริ่มบริเวณจุดกลับรถหน้าไปรษณีย์รังสิต ช่วงคลองหนึ่ง ซึ่งมีป้ายประชาสัมพันธ์ช่องทางพิเศษบอกอย่างชัดเจน และจะไปสิ้นสุดบริเวณทางขึ้นสะพานเบี่ยงซ้ายมุ่งหน้าเข้า กทม. เชื่อมต่อถนนพหลโยธิน  

ส่วนพื้นที่จุดเสี่ยงจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรคอยประจำทุกจุด เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที หากเกิดอุบัติเหตุหรือมีรถเสียขัดข้อง

ภารกิจพลิกโฉมเมือง‘ปทุมธานี’ เนรมิตรถไฟฟ้า 4 สายใหม่ แก้รถติด เชื่อม‘กรุงเทพฯ’ไร้รอยต่อ

ปัญหาการจราจรก็เป็นนโยบายสำคัญ นโยบายของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์  อยู่ระหว่างให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล จะเป็นโมเดลคล้ายกับรถไฟฟ้าสายสีทอง เพื่อเป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีเขียว

ขีดแนวไว้ 4 เส้นทาง เส้นทางแรก จากสถานีรังสิตของสายสีแดง ผ่านหน้าเทศบาลนครรังสิต ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค จากนั้นเลาะไปตามคลองด้านข้างถนนรังสิต-องครักษ์ ไปสิ้นสุดที่คลอง 6 หรือคลอง 7 จะให้แนวเข้าไปเชื่อมกับสวนสัตว์ดุสิตแห่งใหม่และศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้อีกด้วย

เส้นทางที่ 2 แนวจะฉีกจากเส้นทางแรกเลียบไปกับ ถนนรังสิตคลอง 3 วิ่งไปตามถนนคลองหลวง ผ่านวัดพระธรรมกาย ยกข้ามถนนพหลโยธิน ไปสิ้นสุดที่สถานีธรรมศาสตร์รังสิตของสายสีแดง

เส้นทางที่ 3 จากศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค วิ่งตัดตรงไปทางสนามกีฬาธูปะเตมีย์ และสิ้นสุดที่แยก คปอ. เชื่อมกับสายสีเขียว

 เส้นทางที่ 4 จากสถานีรังสิตสายสีแดงไปตามถนนรังสิต-ปทุมธานี มุ่งหน้าบางพูน ผ่านโรงพยาบาลเซนต์คาร์ลอส ข้ามแม่น้ำ ไปสิ้นสุดถนนราชพฤกษ์ ซึ่งบริเวณนี้เป็นที่ทำการใหม่ของ อบจ.ปทุมธานี กำลังจะเริ่มถมดินปลายปีนี้ และก่อสร้างภายในปี 2565 วงเงินกว่า 500 ล้านบาท

อ่านรายละเอียด ..

เรื่องที่เกี่ยวข้อง