พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 หรือ กฎหมาย PDPA

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 หรือ กฎหมาย PDPA

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 หรือ กฎหมาย PDPA มีผลบังคับใช้ 1 มิ.ย. 65 นี้ หลังจากมี พ.ร.ฎ.ประกาศเลื่อนบังคับใช้มา 2 ปี

บางเหตุก็มีข้อให้ยกเว้น สามารถทำได้โดยไม่เบียดเบียนสิทธิคนอื่น พึงรักษาสิทธิคนอื่น และปกป้องสิทธิตัวเอง โดยใช้วิจารณญานของมนุษย์ มาทำความเข้าใจร่วมกันในหลาย ๆ เรื่องของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 หรือ กฎหมาย PDPA

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

โดยกฎหมาย PDPA Thailand (พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และปัจจุบันได้ถูกเลื่อนให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

ถือว่าเป็นกฎหมายที่ทุกคนควรทราบและตระหนักรู้ถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของลูกค้า ผู้ใช้งาน หรือพนักงานในองค์กร

ข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้การคุ้มครองของ PDPA มีอะไรบ้าง?

ส่วนบุคคลทั่วไป

  • ชื่อ-นามสกุล
  • เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน
  • เลขบัตรประชาชน
  • เลขหนังสือเดินทาง
  • เลขใบอนุญาตขับขี่
  • ข้อมูลทางการศึกษา
  • ข้อมูลทางการเงิน
  • ข้อมูลทางการแพทย์
  • ทะเบียนรถยนต์
  • โฉนดที่ดิน
  • ทะเบียนบ้าน
  • วันเดือนปีเกิด
  • สัญชาติ
  • น้ำหนักส่วนสูง
  • ข้อมูลบนอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username /password,  Cookies IP address,  GPS Location

นอกจากนี้ยังต้องระวังการใช้ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล 

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว 

  • เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์
  • ข้อมูลสหภาพแรงงาน
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา

ใครเป็นใครภายใต้ PDPA

  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject)
  • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) คือคน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ  ที่เป็นคนตัดสินใจว่า จะมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอะไร เพื่ออะไร  ภายใต้ PDPA ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดหลักที่ต้องปฏิบัติตาม PDPA ให้ครบถ้วน 
  • ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) คือ คน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะทำภายใต้คำสั่ง หรือในนามของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เท่านั้น ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจทำการประมวลผลข้อมูลด้วยตัวเอง 

โทษหากไม่ปฎิบัติตาม PDPA

  • โทษอาญา: จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • โทษแพ่ง: ค่าสินไหมทดแทน + ค่าสินไหมเพื่อการลงโทษอีกไม่เกิน 2 เท่า
  • โทษปกครอง: ปรับไม่เกิน 1/3/5 ล้านบาท

ข้อเท็จจริง โทษอาญา PDPA

4 เรื่อง ไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA

ข้อยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 

1. การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น

2. การดำเนินการของหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ รักษาความมั่นคงของรัฐ, ความมั่นคงทางการคลังของรัฐ, การรักษาความปลอดภัยของประชาชน, การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน, นิติวิทยาศาสตร์ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

3. บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เฉพาะเพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรม ตามจริยธรรมวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น 

4. สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา รวมถึงคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยสภาดังกล่าว ซึ่งเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในการพิจารณาตามหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา หรือคณะกรรมาธิการ แล้วแต่กรณี 

5. การพิจารณาพิพากษาของศาล และการดำเนินเงินของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดีและการวางทรัพย์ รวมทั้งการดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

6. การดำเนินการกับข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตและสมาชิกตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อยกเว้นในกรณีข้างต้น แต่การรวบรวมข้อมูลจะต้องมีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานด้วย

สคส. Infographic สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

+ 10 เรื่อง ที่ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับ PDPA (เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

+ 4 เรื่อง ไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA (เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

+ PDPA ยกเว้นไม่ใช้บังคับกับกิจกรรมในครอบครัว (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

+ เปรียบเทียบความรับผิดทางแพ่งของ PDPA กับกฎหมายอื่น (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

+ จะรู้ได้อย่างไรว่า แค่ไหนเหมาะสมสำหรับการใช้ฐานเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

+ มาตรการในการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ ตาม PDPA (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

+ มาตรการในการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ สำหรับเครือกิจการหรือเครือธุรกิจเดียวกัน (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) <<เข้าชม>>

Infographic สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

         + ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือใคร ? (เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564) <<เข้าชม>>

         + Cookies เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไร (เผยแพร่เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564) <<เข้าชม>>

         + พนักงานหรือส่วนงานในองค์กร เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือไม่ ? (เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564) <<เข้าชม>>

         + สิ่งที่ควรดำเนินการ หากหน้าเว็บไซต์มีการใช้ Cookies สำหรับผู้ให้บริการเว็บไซต์ (เผยแพร่เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564) <<เข้าชม>>

         + ตั้งค่า Website อย่างไร ? ให้ลดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564) <<เข้าชม>>

         + วิธีการลบข้อมูล Cookies ของ Google Chrome (เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2564) <<เข้าชม>>

ข้อมูลโดย : สนง.คกก.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทางเว็บไซต์นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น 
#พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล #ข้อมูลส่วนบุคคล #PDPA

กฎหมาย PDPA เน้นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหลัก ห้ามไม่ให้องค์กรต่างๆ เผยแพร่หรือขายต่อ สั่งฝ่ายกฎหมายทำความเข้าใจตำรวจทั่วประเทศ

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีวันที่ 1 มิ.ย. 2565 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ กฎหมาย PDPA จะมีผลบังคับใช้ ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ หลังจากนี้ จะให้ฝ่ายกฎหมายทำความเข้าใจกับตำรวจทั่วประเทศอีกครั้ง โดยหลักการแล้วเป็นการคุ้มครองข้อมูลที่องค์กรต่างๆ มีอยู่ และได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ ห้ามไม่ให้ไปเผยแพร่ ขายต่อ หรือ นำข้อมูลส่วนบุคคลไปทำอะไร ทั้งนี้ การเผยแพร่ต่างๆ จะต้องตีความอีกครั้ง

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า ในการพิจารณาจะดูจากเจตนาเป็นหลักว่าอะไรสามารถทำได้หรือไม่ได้ เช่น การไม่ไปเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว อาทิ องค์กรต่างๆ ที่มีข้อมูลในการสมัครสมาชิกจะไม่สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลส่งต่อไปได้ ส่วนของตำรวจจะมีข้อมูลประวัติของประชาชนต่างๆ ทั้งกองทะเบียนประวัติอาชญากร (ทว.) ระบบไบโอแมทริกซ์ ฯลฯ หากปล่อยให้มีการแฮกได้ง่าย อาจจะต้องรับผิดทางปกครอง ทางแพ่ง ทางอาญา อีกด้วย