อยากปลูกกัญชา เพื่อสุขภาพ ลงทะเบียนกันเลย
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
http://plookganja.fda.moph.go.th/
ลงทะเบียนขอจดแจ้ง ก่อนปลูกกัญชา ขั้นตอนง่ายๆ
สามารถปลูกได้ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 65 เป็นต้นไป
1. ลงทะเบียน ตาม link http://plookganja.fda.moph.go.th/HOME/FRM_REGISTER
2. กรอก
– เลขบัตรประชาชน
– หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ปัจจุบัน
รอรับ otp แล้วนำเลข otp แล้วกรอกในใบคำขอแจ้งจด
ลงทะเบียนเพิ่มเติม จดแจ้งการปลูก
3. กรอกข้อมูล
– ชื่อ นามสกุล
– ที่อยู่
– วันเดือนปีเกิด
– แจ้งวัตถุประสงค์ที่ปลูก (ดูแลสุขภาพ) และอื่นๆ
ตกลง เป็นเสร็จการลงทะเบียนแจ้งจดปลูกกัญชา บันทึกภาพ และพิมพ์เลขแจ้งจดเอาไว้
อย. เผย หลังปลดล็อกกัญชา กัญชง พ้นจากยาเสพติด ซึ่งมีผลในวันที่ 9 มิ.ย. 65 ทุกคนปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงจดแจ้งผ่านแอปพิเคชั่น
อย. เผย หลังปลดล็อกกัญชา กัญชง พ้นจากยาเสพติด ซึ่งมีผลในวันที่ 9 มิ.ย. 65 ทุกคนปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงจดแจ้งผ่านแอปพิเคชั่น “ปลูกกัญ”ของ อย. สำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชากัญชง และส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น ช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ต้องขอรับอนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชพ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งจะมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2 % ยังเป็นยาเสพติด ในเรื่องการปลูกนั้น ผู้ที่ต้องการปลูกสามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมจะนำมาใช้ในการจดแจ้งการปลูกกัญชาเพื่อดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งการขออนุญาตปลูกในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรที่เหมาะสม ทั้งนี้ การนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ส่วนอื่น ๆ ของพืช เช่น ช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด แต่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 หากเป็นสารสกัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง รวมทั้งกรณีนำเข้าเพื่อใช้เฉพาะตัว ซึ่งหมายถึงการนำติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และการส่งทางพัสดุ/ไปรษณีย์ระหว่างประเทศนั้น ต้องเป็นไปตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์นั้น เช่น ในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอางจะห้ามนำเข้า ส่วนกรณีของผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น อยู่ระหว่างการจัดทำกฎระเบียบเพื่อห้ามนำเข้าและกรณียกเว้น ทั้งนี้ อย. มีนโยบายในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตและใช้วัตถุดิบที่มาจากการปลูกในประเทศ ขณะนี้มีกฎระเบียบที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จำนวน 7 ฉบับ ซึ่ง อย. จะแจ้งความคืบหน้าให้ทราบเป็นระยะต่อไป
หากมีข้อสงสัยเรื่องการปลูกให้สอบถามเพิ่มเติมโทร 0 2590 7767 , 0 2590 7793 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้น ๆ รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด
อย. เผย ขณะนี้มีผู้มาขออนุญาต ปลูก ผลิต แปรรูปกัญชา กัญชง เป็นจำนวนมาก และนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง ทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน
นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในการปลดล็อกให้พืชกัญชาและพืชกัญชงพ้นจากความเป็นยาเสพติด เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ทั้งในด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจ รวมไปถึงการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชน โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิ.ย. 65 ที่จะถึงนี้ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สำรวจภาพรวมประเทศถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 พบว่ามีการขออนุญาตกัญชาทั้งหมด 2,351 ฉบับ ประกอบด้วย นำเข้า 12 ฉบับ ครอบครอง 106 ฉบับ ผลิต (ปลูก) 458 ฉบับ ผลิต (แปรรูป/สกัด) 41 ฉบับ ผลิต (ปรุง) 6 ฉบับ ส่งออก 1 ฉบับ และจำหน่าย 1,650 ฉบับ พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา แบ่งเป็นผู้รับอนุญาตปลูก 397 ราย พื้นที่ปลูกมากกว่า 110 ไร่ จำนวนมากกว่า 245,000 ต้น การขออนุญาตกัญชง ทั้งหมด 2,361 ฉบับ ประกอบด้วย นำเข้า 110 ฉบับ ครอบครอง 21 ฉบับ ผลิต (ปลูก) 2,041 ฉบับ ผลิต (แปรรูป/สกัด) 14 ฉบับ ส่งออก 1 ฉบับ และจำหน่าย 174 ฉบับ พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชง แบ่งเป็นผู้รับอนุญาตปลูก 2,041 ฉบับ (877 ราย) พื้นที่ปลูก 4,845 ไร่
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น มีการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา กัญชง และสารสกัดแคนนาบิไดออล (CBD) รวมทั้งสิ้น 80 รายการ ได้แก่ น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ซอสปรุงรส ขนมเยลลี่ อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที เป็นต้น อนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวม 754 รายการ ได้แก่ เครื่องสำอางที่มีสารสกัดที่มีสาร CBD จากกัญชาและกัญชง 95 รายการ เครื่องสำอางที่ใช้ส่วนของกัญชา 56 รายการ เครื่องสำอางที่ใช้ส่วนของกัญชง 18 รายการ และใช้น้ำมัน/สารสกัดเมล็ดกัญชง 585 รายการ เพื่อบำรุงผิวทำความสะอาดผิวและขัดผิว และอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมทั้งสิ้น 12 รายการ ได้แก่ ยาแผนไทย 11 รายการ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 รายการ
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า อย. พร้อมส่งเสริมให้ กัญชา กัญชง สามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และส่งเสริมสุขภาพ โดยประชาชนสามารถปลูกเพื่อนำใช้ในการดูแลรักษาตนเองและบุคคลในครอบครัวได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งอนุญาตให้นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ ได้ เพื่อสร้างรายได้ให้ประชาชน ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับครัวเรือนและระดับประเทศต่อไป
ขอบคุณที่มาข้อมูล : http://plookganja.fda.moph.go.th/