Site icon Relaxtrip2018.com

“ค่าไฟแพง” ต้นเหตุของค่าไฟเดือนเม.ย. 64 แพง

ค่าไฟแพง

หลายคน Post ว่า ค่าไฟเดือนเม.ย. 64 ทำไมแพงจัง ซึ่ง เหมือนกับเดือนเม.ย. 63 ที่ผ่านมา ก็พยายามหาสาเหตุ โดยนำใบเสร็จและบิลค่าไฟ เดือนมี.ค.และเม.ย.มาเปรียบเทียมกับ ซึ่งก็คาดคิดว่า เดือนเมษายน ค่าไฟต้องสูงกว่าปกติ เพราะอากาศร้อน แอร์ทำงานมาก ใช้แอร์มาก แต่ด้วยเดือนเมษายนปีนี้มีประมาณฝนเยอะกว่าปกติ ค่าไฟจึงเพิ่มไม่เยอะ หรือ เป็นเพราะมีการกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19

หากดูใบแจ้งหนี้ค่าไฟเดือนเมษายน เพียงเดือนเดียวจะพบว่า ค่าไฟเพิ่มประมาณ 1,000 บาท แต่หากไปเที่ยบกับเดือนมี.ค.ค่าไฟจะไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างที่คิด ค่อเพิ่ม 300 กว่าบาท เพราะในเดือนมี.ค. มีส่วนลดมาตรการช่วยเหลือสถานการณ์ covid-19 ของรัฐบาล หากนำส่วนลดนั้นบวกกลับเข้าไป และหักลบกับใบแจ้ฃหนี้เดือนเมษายน จะรู้ว่าแต่ละบ้านใช้ไปเพิ่มกี่บาท และหากถามสมาชิดทุกคนในบ้าน จะพูดเสียงเดียวกัน ก็มันร้อนจึงเปิดแอร์ พัดลมเยอะ หากโชคดีค่าไฟฟ้าไม่เกินฐานบันไดค่าไฟการไฟฟ้าไปมาก ค่าไปก็จะไม่เยอะ แต่ยังไงๆ เมษายน จ่ายค่าไฟฟ้าแพงทุกบ้าน

เพราะอะไรค่าไฟเดือนเม.ย.จึงเพิ่มขึ้น ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างเลยนะ ไปดูกัน

ต้นเหตุของค่าไฟเดือนเม.ย.ที่เพิ่มขึ้น มาจาก

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน

เปรียบเทีบบค่าไฟฟ้า 2 เดือน มีนาคม และ เมษายน จะเห็นส่วนลดเดือนมีนาคม

1. ความจริงการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ได้
ขึ้นค่าไฟ

2. เดือนกุมภาพันธ์ และ เดือนมีนาคม รัฐบาลออกมาตรการลดค่าไฟฟ้าจากสถานการณ์ covid-19 ทำให้เดือนเม.ย.จ่ายค่าไฟเต็ม

– การไฟฟ้านครหลวง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

3. อากาศร้อนเดือนเม.ย.ส่งผลให้ใช้ไฟเพิ่มขึ้น และจากลูกหลานปิดเทอม หรือการทำ work from homeการกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19

อากาศร้อนเดือนเม.ย.ส่งผลให้ใช้ไฟเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ การทำงานของแอร์จะทำงานหนักขึ้น กว่าจะทำให้ห้องอุณหภูมิถึง 22-25 องศา ตามที่ตั้งไว้ คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนักขึ้น ใช้เวลามากขั้น จากลูกหลานปิดเทอม หรือเจ้าของบ้าน ทำ work from home การกักตัวอยู่บ้านจากสถานการณ์ Covid-19 การใช้ computer การเปิดแอร์ ทีวี ตู้เย็นบ่อย ๆ ฯลฯ

ส่งผลให้การใช้ไฟสูง ยิ่งเกินหน่วยไฟฟ้าที่คิดแบบขั้นบรรได ค่าไฟเดือนเม.ย.จึงสูงกว่าปกติ แบบเห็นชัดเจน

(อันนี้ของที่บ้านเพิ่มน้อยเพราะไม่ได้กักตัว แต่ยอมรับว่า อากาศร้อนจึงจำเป็นต้องเปิดแอร์มาขึ้น ค่าไฟจึงเพิ่มเพียง 300 และที่ผ่านมาก็พยายามติดแผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์ เพื่อใช้กับไฟรอบๆ บ้าน)

แผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์ เพื่อประหยัดค่าไฟส่องสว่าง หรือลงทุนติดใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ

ซื้อออนไลน์ราคาไม่แพง ลดค่าไฟได้ดี
ติดบริเวณหลังบ้าน หรือ ปกกันขโมย เดินผ่านไฟเปิดเอง

4. จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน จำนวนห้อง และชั่วโมงการใช้

อุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละชิ้น เมื่อเปิดใช้งาน 1 ชั่วโมง ในราคาเท่ากัน ยิ่งอากาศร้อนปริมาณตวามต้องการใช้ก็มากขึ้น ส่งผลต่อค่าไฟที่เพิ่มขึ้น

– เครื่องปรับอากาศติดผนัง แบบ Fixed speed ขนาด 9,000-22,000 บีทียู/ชั่วโมง ค่าไฟ 2.5-6 บาท/ชั่วโมง
หากใช้แอร์ 9000 บีทียู 6 ชม.ต่อวัน (2.5x6x30) = 450 บาท หาก 2 ห้อง ค่าไฟ 900 บาทต่อเดือน

ความลับ : ควรล้างทำความสะอาดแผ่นกรองแอร์ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง แอร์เย็น ไม่ต้องลด ไม่ต้องเร่ง ประหยัดค่าไฟฟ้ามากถึง 5-10% (เพิ่งล้างไปต้นเดือน 4 เครื่อง) แต่ค่าไฟเพิ่ม 300 นิดบาท

– ตู้เย็น 2 ประตู ขนาด 5.5-12.2 คิวบิกฟุต ค่าไฟ 0.30-0.40 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องดูดฝุ่น ขนาด 1,400-2,000 วัตต์ ค่าไฟ 6-8 บาท/ชั่วโมง ที่เหนีบผมก็ใช้ไฟ

ต้องรีดเยอะ กินไฟนะ

– เตารีดไฟฟ้า 1,000-2,800 วัตต์ ค่าไฟ 3.5-10 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องเป่าผม ขนาด 1,600-2,300 วัตต์ ค่าไฟ 6-9 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องทำน้ำอุ่น ขนาด 3,500-6,000 วัตต์ ค่าไฟ 13.5 -23.5 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องซักผ้า ฝาบน-ฝาหน้า ขนาด 10 กิโลกรัม ค่าไฟ 2-8 บาท/ชั่วโมง

– พัดลมตั้งพื้น ขนาดใบพัด 12-18 นิ้ว ค่าไฟ 0.15-0.25 บาท/ชั่วโมง

– โทรทัศน์ LED backlight TV ขนาด 43-65 นิ้ว ค่าไฟ 0.40-1 บาท/ชั่วโมง

– เตาไมโครเวฟ ขนาด 20-30 ลิตร ค่าไฟ 3-4 บาท/ชั่วโมง

– หม้อหุงข้าว ขนาด 1.0-1.8 ลิตร ค่าไฟ 3-6 บาท/ชั่วโมง

– เครื่องปิ้งขนมปัง ขนาด 760-900 วัตต์ ค่าไฟ 3-3.5 บาท/ชั่วโมง

– เตาแม่เหล็กไฟฟ้า 1-2 หัวเตา ขนาด 2,000-3,500 วัตต์ ค่าไฟ 8-14 บาท/ชั่วโมง

หมายเหตุ: คิดจากค่าไฟเฉลี่ยอัตรา 3.9 บาทต่อหน่วย ข้อมูลจากการไฟฟ้านครหลวง

5. ค่าไฟเพิ่มขึ้น ตามปริมาณใช้ไฟที่เพิ่ม แบบขั้นบันได ไม่ได้คิดราคาเดียว เหมือนเดิมน้ำมัน (ข้อมูลเฉพาะประเภทที่อยู่อาศัย)

– หากเดือนมี.ค.ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วย ค่าไฟจะคิดที่หน่วยละ 3.2484 บาท
แต่เดือนเม.ย.อากาศร้อน ใช้ไฟเยอะเกิน 150 หน่วย ราคาค่าไฟละเพิ่มขึ้น
หน่วยที่ใช้เกิด 151 – 400 หน่วย ถึงหน่วยละ 0.9734 สตางค์

สรุปคือการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านมีผลโดยตรงกับค่าไฟฟ้า โดยปกติการไฟฟ้าจะคิดค่าไฟ ดังนี้

– ใช้ไปหน่วยที่ 0-150 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 3.2484 บาท

– ใช้ไปหน่วยที่ 151-400 หน่วย จ่ายราคาหน่วยละ 4.2218 บาท

– ใช้ไปหน่วยที่ 400 ขึ้นไป จ่ายราคาหน่วยนะ 4.4217 บาท

ตัวอย่างที่ 1 ใช้ไฟฟ้าไป 200 หน่วย จะคิดค่าไฟ 698.35 บาท  ดังนี้

150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท

50 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 211.09 บาท

รวมเป็นเงิน = 698.35 บาท

ตัวอย่างที่ 2

ใช้ไฟฟ้าไป 400 หน่วย จะคิดค่าไฟ 1,542.41 บาท (ใช้ไฟเพิ่ม 2 เท่า คิดค่าไฟเพิ่ม 844.06 ) ดังนี้

150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท

250 หน่วยที่เหลือ × 4.2218 = 1,055.45 บาท

รวมเป็นเงิน = 1,542.41 บาท

ตัวอย่างที่ 3

ใช้ไฟฟ้าไป 600 หน่วย จะคิดค่าไฟ 2,427.05 บาท (ใช้ไฟเพิ่ม 2 เท่า คิดค่าไฟเพิ่ม 884.64 ) ดังนี้

150 หน่วยแรก × 3.2484 = 487.26 บาท

250 หน่วยถัดมา × 4.2218 = 1,055.45 บาท

200 หน่วยที่เหลือ × 4.4217 = 884.34 บาท

รวมเป็นเงิน = 2,427.05 บาท

ส่วนค่า Ft ในบิลค่าไฟคืออะไร

Ft  คำที่เรียกสั้น ๆ ของสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งเป็นค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า

ล่าสุด คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564 โดยให้เรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ยังคงจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.61 บาทต่อหน่วยต่อไปอีก 4 เดือน

หมายเหตุ: จะเห็นว่า ตัวเลข Ft เป็นค่าติดลบ ถ้าสรุปให้เข้าใจแบบง่าย ๆ คือเมื่อไหร่ก็ตามที่ ค่า Ft ซึ่งเป็นตัวเลขติดลบกลายเป็นตัวเลขที่น้อยลง ก็หมายถึง ตัวที่จะนำไปหักกับค่าไฟฐานลดลง ก็อาจจะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้น

แต่หากค่าไฟฟ้าแพงเว่อร์มากๆ สามารถติดต่อการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบได้นะ ใครแอบพ่วงไฟไปใช้บ้างนะ หรือมีความผิดปกติของการจด หรือ ไฟรั่วหรือเปล่า หรือ จากมิเตอร์ค่าไฟ .. อันนี้ต้องค่อยๆไล่หาสาเหตุ

หากประชาชนสงสัยว่าค่าไฟเพิ่มขึ้นผิดปกติสามารถแจ้งการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบในเรื่องไฟฟ้าแพง โดยสามารถยื่นเรื่องผ่านเว็ปไซต์ www.mea.or.th 

แต่เดือนเมษายน ค่าไฟแต่ละบ้านแพงขึ้นจริงๆ “การเช็คมิเตอร์ไฟ”

“ดูเลขจดครั้งก่อนกับเลขจดครั้งหลังเอามาลบกัน ได้ผลลับเท่าไหร่ก็เอามาคูณกับหน่วยค่าไฟเท่ากับหน่วยละกี่บาท แล้วเอาไปเช็คกับมิเตอร์ไฟปัจจุบัน ถ้าตรงกันแสดงว่าถูกต้องเราใช้ไฟเยอะ แต่ถ้าไม่ตรงกันแสดงว่าคนจดค่าไฟจดผิด ซึ่งน้อยมาก พี่เค้ามีกล่องไว้ส่อง” ห้ามไปต่อว่าคนจดมิเตอร์นะ เค้าก็รับจ้างมากการไฟฟ้า ไม่ได้ทำงานการไฟฟ้าหรอก

“ไม่ยาก ดูตัวเลขก่อนหน้านี้ 2 เดือน ไล่ตัวเลขมาปัจจุบันไปดูที่หน้าหม้อมิเตอร์ว่าตัวเลขมันขึ้นที่เท่าไหร่แล้วก็จดเอาไว้ ถ่ายรูปเอาไว้ก็ได้แล้วปิดไฟทุกดวง ปิดทุกอย่าง ถอดปลั๊กทุกอย่าง รอ 10 นาทีแล้วไปดูหม้อไฟอีกทีว่ามันหมุนไหม ถ้ามันหมุนไฟรั่วลงดินจุดใดจุดหนึ่ง ถ้ามันไม่หมุนเป็นอันว่าปกติ

เมื่อใช้แล้วก็ต้องจ่าย ไม่จ่ายก็โดยตัดไฟ จ่ายค่าต่อมิเตอร์ใหม่อีก “โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง” เรามา “ประหยัดการใช้ไฟ”

แค่เค้าคืนค่าฯ มิเตอร์ให้ ก็ขอบคุณแล้วละครับ ท่องไว้ประหยัดๆๆ

ขอบคุณข้อมูล : การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพจต่างๆ และ www.ddproperty.com

Exit mobile version