21 มีนาคม 2563
หลังจาก กทม.ออกประกาศปิดสถานที่ต่างๆ รวม 26 ประเภท ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2563 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ล่าสุด นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า จังหวัดปริมณฑล 5 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี และปทุมธานี ได้ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแล้ว มีมติให้ปิดสถานที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม-12 เมษายน เช่นเดียวกับ กทม.
โดยหลักๆ คือการปิดห้างสรรพสินค้า ยกเว้นแผนกซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อต่างๆ และไม่ปิดตลาด แต่ให้ขายได้เฉพาะอาหาร และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นเท่านั้น นอกนั้นเป็นสถานที่ที่มีคนไปรวมตัวกันจำนวนมาก เช่น สนามมวย สนามกีฬา สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส สระว่ายน้ำ และอื่นๆ
ซึ่งในเวลาต่อมา นายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ลงนามใน ประกาศจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) เป็นเอกสารปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว 28 จุดเสี่ยง 22 วัน หากฝ่าฝืนปรับหนัก 1 แสน
โดยมีข้อความว่า ด้วยสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COvid-19) อันเป็นโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของ โรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ๒๕๖๓ พบการเพิ่มขึ้นของจํานวนผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดปริมณฑลที่มีภูมิศาสตร์สําคัญทางเศรษฐกิจ การคมนาคม การท่องเที่ยว และมีความหนาแน่นของ ประชากรสูงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว การควบคุมโรคอย่างทันเวลาและ จํากัดการชุมนุมของประชาชนเพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้างจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับ มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรปราการ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 จึงให้ยกเลิกประกาศจังหวัดสมุทรปราการ เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 18 มีนาคม 2563 และให้ปิดสถานที่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 12 เมษายน 2563 ดังต่อไปนี้
1. ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม (ให้เปิดเฉพาะการจําหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อนํากลับไป บริโภคที่อื่น และร้านอาหารในโรงแรมที่ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยในโรงแรม) 2. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือห้างร้านที่มีร้านค้าย่อยในอาคาร หรือบริเวณเดียวกัน เว้นแต่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยาหรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ร้านอาหาร (ให้เปิดเฉพาะการจําหน่ายอาหารเพื่อนํากลับไปบริโภคที่อื่น)
3. พื้นที่นั่งหรือยืนรับประทานอาหารในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต 4. ตลาดและตลาดนัด (เปิดเฉพาะการจําหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสําเร็จ เพื่อนํากลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต)
5.ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผม 6. สถานที่บริการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย 7. สถานที่เล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน 8. สวนสนุก สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง หรือตู้เกม 9. ร้านเกมส์ และร้านอินเตอร์เน็ต
10. สนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ 11.สระว่ายน้ำ สวนน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน 12.. สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่ 13.ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา 14. ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม และสถานที่จัดนิทรรศการ 15. สถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท สถาบันกวดวิชา และสถานรับเลี้ยงเด็ก
16. สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกความสวยงาม และสถานเสริมความงาม 17. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงาม นวดแผนไทย นวดแผนโบราณ) 18. สถานที่ให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ 19. สถานประกอบกิจการ อาบ อบ นวด 20. สถานประกอบกิจการอาบน้ํา อบไอน้ํา อบสมุนไพร
21. โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ) 22. สถานที่ออกกําลังกาย รวมถึงฟิตเนส 23. สถานบริการและสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ 24. สนามมวย ค่ายมวย และโรงเรียนสอนมวย 25. สนามกีฬา และสนามฝึกซ้อมกีฬา 26. ร้านคาราโอเกะ ทุกประเภท 27. โต๊ะบิลเลียด สนุกเกอร์ทุกประเภท 28. บ่อตกปลา บ่อตกกุ้ง หรือกิจกรรมใดในประเภทเดียวกัน
อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจําเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่สาธารณะหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิ์โต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2558
ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563
เช่นเดียวกันกับจังหวัดนครปฐม ที่มีเอกสารออกประกาศปิด 14 สถานที่ คุมระบาดเชื้อโควิดเป็นเวลา 9 วัน โดยในเอกสารระบุว่า
นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครปฐม ลงนามในประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครปฐม ฉบับที่ 7/2563 เรื่อง ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครปฐม ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 จึงให้สถานที่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมดําเนินการ ดังนี้
1. ปิดร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ทุกประเภท (ให้จําหน่ายได้เฉพาะการนําไปรับประทาน หรือดื่ม ที่อื่นเท่านั้น) สําหรับร้านอาหารในโรงแรมให้บริการได้เฉพาะผู้พักอาศัยในโรงแรมเท่านั้น 2. ปิดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือร้านที่มีร้านค้าย่อยในอาคาร หรือบริเวณเดียวกัน เว้นแต่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยาหรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ และ ร้านอาหาร (ให้จําหน่ายได้เฉพาะการนําไปรับประทานที่อื่นเท่านั้น)
3.ปิดพื้นที่นั่งหรือยืนรับประทานอาหารในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านเครื่องดื่ม ซูเปอร์มาร์เก็ต 4. ปิดตลาดและตลาดนัด (ยกเว้นที่เปิดการจําหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสําเร็จ เพื่อนํากลับไปบริโภคที่อื่น อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จําเป็นต่อการดํารงชีพ)5. ปิดสนามกอล์ฟและสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ (สนามไดร์ฟกอล์ฟ) 6.ปิดสถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกที่ให้บริการเสริมความงาม และสถานเสริมความงาม 7. ปิดร้านเสริมสวย แต่งผมและตัดผม (ทั้งหญิงและชาย) 8. ปิดสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน 9. ปิดสถานที่เล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลต หรือการเล่นอื่นๆ ในทํานองเดียวกัน
10. ปิดสวนสนุก สวนน้ำ 11. ปิดศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา 12. ปิดสถานที่บริการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย 13. ปิดสถานที่ให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ (ยกเว้น สถานประกอบการบําบัดโรคสัตว์ที่รับสัตว์ป่วยไว้รักษา) 14.ปิดโรงเรียนและสถานที่ฝึกสอนกีฬาทุกชนิด
ทั้งนี้ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ในพื้นที่ เฉพาะในเขตท้องที่อําเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง ควบคุม กํากับ ให้ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้อย่างเคร่งครัด
หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคําสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา 35 ต้องระวางโทษตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 22 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563
ในขณะที่ จังหวัดสมุทรสาคร ได้ออกประกาศจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 7 เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว 14 สถานที่
เช่นกันกับที่ “จังหวัดนนทบุรี” โดย นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด และในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนนทบุรี ได้ลงนามในหนังสือ เรื่อง “สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) โดยให้ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า เป็นการเพิ่มเติมดังนี้
×