เปิดระยะเวลาอุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร
เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนโครงการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไว้แล้ว แต่ยังคงประสบปัญหาไม่ได้รับเงินเยียวยาเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ขอให้รีบดำเนินการอุทธรณ์เงินเยียวยา ประกอบด้วย
- เกษตรกรที่ปรับปรุงข้อมูล ปี 62/63 ภายใน 30 เม.ย. 63 สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ตั้งแต่วันนี้ – 5 มิ.ย. 63 ไม่เว้นวันหยุด
- เกษตรกรที่ปรับปรุงข้อมูลระหว่าง 1 – 15 พ.ค. 63 สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ตั้งแต่ 31 พ.ค. – 5 มิ.ย. 63
.
เกษตรกรสามารถโทรศัพท์สอบถาม หรือเดินทางไปขออุทธรณ์ด้วยตัวเอง ณ ที่ทำการทั้ง 8 แห่งได้แก่ - สำนักงานเกษตรอำเภอ และจังหวัด
- สำนักงานประมงอำเภอ และจังหวัด
3, สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และจังหวัด - สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขตหรือศูนย์เครือข่ายใกล้บ้าน
- เขตบริหารอ้อย และน้ำตาลทราย 1 – 8 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อย และน้ำตาลทรายภาคที่ 1- 4
- สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด
- การยางแห่งประเทศไทย (จังหวัด/สาขา)
- สำนักงานเกษตร และสหกรณ์จังหวัด
.
โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในพื้นที่คอยให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พร้อมตอบข้อซักถามต่าง ๆ ให้แก่พี่น้องเกษตรกร และเมื่อยื่นเรื่องอุทธรณ์เสร็จแล้วถัดไปอีก 8 วัน เกษตรกรที่ยื่นเรื่องอุทธรณ์สามารถตรวจสอบสถานะได้ด้วยตนเองที่ www.moac.go.th
รัฐมนตรี ตอบข้อสงสัย การตรวจสิทธิ์เพื่อรับเงินเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 15,000 บาท
เกษตรกรที่ ตรวจสอบสิทธิ์ กับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรแล้ว พบว่า “ได้รับสิทธิ์” เที่ยงคืนนี้ !! ธ.ก.ส. เตรียมกดปุ่มทยอยจ่ายอีก 1 ล้านรายค่ะ คาดว่าเเล้วเสร็จในช่วงเช้าวันพรุ่งนี้ (18 พ.ค.63) นะคะ อย่าลืมตรวจสอบผลการโอนเงิน หรือแจ้ง ช่องทางการรับเงินโอนได้ที่เยียวยาเกษตรกรดอทคอม http://www.xn--12ca3d6baajb4aw1h6a5kg.com/ส่วนท่านใดที่ขึ้นสถานะ ได้รับสิทธิ์ แต่ยังไม่ได้รับเงินในวันพรุ่งนี้ ธ.ก.ส. จะทยอยจ่ายอีกในวันที่ 19 พ.ค. อีก 1 ล้านรายค่ะรวมระบบตรวจสอบสิทธิ์ โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
click
http://savefarmer2.oae.go.th
http://savefarmer3.oae.go.th
http://savefarmer4.oae.go.th
http://savefarmer.oae.go.th
facebook กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โพสต์ข้อความว่า รวมคำถามยอดฮิต “การตรวจสิทธิ์เพื่อรับเงินเยียวยาเกษตรกร ครัวเรือนละ 15,000 บาท” ดังนี้
1. ใครมีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท บ้าง?
คำตอบ เกษตกรทุกกลุ่ม พืช ประมง และปศุสัตว์ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร กับหน่วยงานนั้นๆ และได้ปรับปรุงทะเบียนปี 2562/2563
2. สิ่งที่ต้องทำสำหรับเกษตรกรเพื่อได้รับสิทธิ์เงินเยียวยา มีอะไรบ้าง?
คำตอบ
– เกษตรกรทุกราย ให้ไปเช็กรายชื่อที่ติดประกาศของหมู่บ้าน
– เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรปี 2562/2563 หากพบรายชื่อในประกาศแล้ว ให้รอกระทรวงการคลังพิจารณาจ่ายเงินผ่านธนาคาร ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารอื่นใดก็ได้ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.เยียวยาเกษตรกร.com
3. เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรก่อนปี 2563 แต่ไม่ได้แจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรต้องทำยังไงบ้าง?
คำตอบ สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนปี 2562 และยังทำการเกษตรกรอยู่ แต่ไม่ได้ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
– ให้ไปตรวจสอบรายชื่อที่ติดประกาศภายในหมู่บ้าน (ตามที่ตั้งแปลงปลูก)
– หากพบรายชื่อในประกาศแล้ว ขอให้รีบแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับผู้นำชุมชน หรือ อาสาสมัครเกษตรกรหมู่บ้าน (อกม.) หรือที่สำนักงานเกษตรกรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการลงไปตรวจสอบแปลงของท่าน
4. หน่วยงานใดที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรบ้าง?
คำตอบ
- เกษตรกรปลูกพืช ขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรที่สำนักงานเกษตรอำเภอ
- เกษตรกรทำประมง ขึ้นทะเบียนที่ สำนักงานประมงอำเภอ/จังหวัด สอบถามโทร 02-104-9444
- เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ขึ้นทะเบียนที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ/จังหวัด เช็กสถานะการขึ้นทะเบียน Line official @ddldthailand
เกษตรกรชาวสวนยาง
รีบขึ้นทะเบียน แจ้งข้อมูลปลูกยาง ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่วันนี้ – 15 พ.ค.นี้ ณ การยางแห่งประเทศไทยใกล้บ้าน ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
เพื่อเตรียมพร้อมรับสิทธิ์ตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยา 15,000 บาท เป็นกลุ่ม 2
ไขข้อข้องใจการลงทะเทียนเกษตรกรด้านพืช
Q : ทะเบียนเกษตรกร หรือ ทบก. คืออะไร
A : ข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน ซึ่งเกษตรกรต้องมายื่นแบบ ทบก.01 เพื่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร
สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือและได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามมาตรการของรัฐ
Q : การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร คืออะไร
A : การแจ้งปลูกพืชทุกรอบการผลิต
และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตร เช่น เปลี่ยน / แก้ไข กิจกรรมการเกษตร หรือ สมาชิกในครัวเรือน
Q : เกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร
A : บุคคลในครัวเรือนคนใดคนนึง หรือ หลายคนที่ประกอบการเกษตร
ฐานทะเบียนเกษตรกร กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน = 1 ครัวเรือน (ตั้งแต่ ต.ค.56 เป็นต้นมา)
Q : ทะเบียนเกษตรกรมีข้อมูลอะไรบ้าง
A: มีข้อมูล 9 หมวด
1. ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน
2. สมาชิกครัวเรือนและการเป็นสมาชิกองค์กร
3. การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร
4. การประกอบกิจกรรมการเกษตร
5. แหล่งน้ำ
6. เครืองจักรกลการเกษตร
7. หนี้สิน
8. รายได้
9. การเข้าร่วมโครงการภาครัฐ
* การแจ้งข้อมูลเท็จในทะเบียนเกษตรกร ถือเป็นความผิดทางอาญา ตามมาตรา 137 และ มาตรา 267 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
Q : การขึ้นทะเบียนเกษตรกรต้องทำอย่างไร
A: ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน ขอขึ้นทะเบียนได้ 1 คน
– ยื่นแบบ ทบก. 01 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก หลังปลูกพืช 15 วัน > จนท.บันทึกข้อมูล > ตรวจสอบข้อมูล > ติดประกาศในชุมชน 3 วัน > จนท.ยืนยันข้อมูลในระบบ > การขึ้นทะเบียนเกษตรกรสมบูรณ์
* ช่วง COVID-19 : ยื่นได้ที่ผู้นำชุมชน หรือ อกม . รวมรวบส่งสำนักงานเกษตรอำเภอ และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการต่อไป
* ดาวน์โหลด แบบ ทบก.01 ได้ที่ http://farmer.doae.go.th/farmerforn63-h.pdf
* แอปพลเคชัน FARMBOOK ไม่สามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกร รายใหม่ แปลงใหม่ ได้ *
รู้ไหม … เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเกษตรกรอย่างไร
1. ตรวจสอบข้อมูลบุคคล กับ กระทรวงมหาดไทย
2. ตรวจสอบข้อมูลเอกสารสิทธิ์ที่ดิน กับ กรมที่ดินและ สปก.
3. ตรวจสอบทางสังคม ผ่านการติดประกาศข้อมูลในชุมชน หากมีการคัดค้าน มีคณะทำงานระดับหมู่บ้านตรวจสอบพื้นที่วัดพิกัดที่ตั้งแปลง – วัดพื้นที่
4. วาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล เพื่อป้องกันการขึ้นทะเบียนซ้ำซ้อน (ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 10 ล้านแปลง)
Q : เมื่อใดต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร
A : เมื่อมีการเพาะปลูกพืชทุกรอบ และเมื่อต้องการเปลี่ยนข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตร ดังนี้
– รายใหม่ แปลงใหม่ / รายเดิม แปลงใหม่ :
ยื่นแบบ ทบก.01 ณ สำนักงานเกษตรอำเภอที่ตั้งแปลงปลูก หลังปลูกพืชแล้ว 15 วัน > จนท.บันทึกข้อมูล > ตรวจสอบข้อมูล > ติดประกาศในชุมชน 3 วัน > จนท.ยืนยันข้อมูลในระบบ > การขึ้นทะเบียนเกษตรกรสมบูรณ์
– รายเดิม แปลงเดิม : สามารถปรับปรุง ผ่าน แอปพลิเคชัน Farmbook
สามารถตรวจสอบสถานะหัวหน้าและสมาชิกครัวเรือนเกษตร ได้ที่ http://farmer.doae.go.th/
Q : สถานภาพในทะเบียนเกษตรกร จะสิ้นสุดลงเมื่อใด
A : 1. เสียชีวิต
2. เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ
3. แจ้งยกเลิกประกอบการเกษตร
4. แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
5. ไม่มีการปรับปรุงสถานภาพเลย ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี
(เริ่มใช้ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป และมีผลย้อนหลัง สำหรับผู้ไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 60)
** การใช้ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการ
ที่มา : https://www.facebook.com/Chalermchai.DP/posts/249338053114247
ลงทะเบียนเยียวยาเกษตรกร สำหรับคนที่ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. เท่านั้น
www.เยียวยาเกษตรกร.com เปิดให้เกษตรกรที่ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. เข้าลงทะเบียนรับเงินเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือนได้แล้ว ตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลัง ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 เม.ย. 2563
สำหรับขั้นตอนการจ่ายเงินดังกล่าว ธ.ก.ส. จะรับข้อมูลผู้ขึ้นทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบแล้วจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง 2 กรณี ดังนี้
- เกษตรกรมีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. แล้ว สามารถใช้บัญชีเงินฝากเดิมได้โดยไม่ต้องมาเปิดบัญชีใหม่
- เกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีเงินฝากที่มีอยู่กับธนาคารใดก็ได้ ผ่านเว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเกษตรกรที่จะไปลงทะเบียน แจงช่องทางการโอนเงินใน www.เยียวยาเกษตรกร.com เฉพาะเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ธ.ก.ส. เท่านั้น ส่วนเกษตรกรที่มีบัญชี ธ.ก.ส. แล้ว ให้รอรับเงินโอน คาดเริ่มทยอยโอนเงินได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค.เป็นต้นไป.
ขึ้นทะเบียนเกษตรกรรับเงินเยียวยาฯ ถึง 15 พ.ค. 63
ไทยคู่ฟ้า เตือนหากใครเคยขึ้นทะเบียนแล้วแต่ไม่มีการอัปเดต หรือปรับปรุงข้อมูลในระยะ 3 ปี ให้รีบดำเนินการติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ภายในวันที่ 15 พ.ค. 63 ดังนี้
1. เกษตรกรปลูกพืช ติดต่อได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ
2. เกษตรกรทำประมง ติดต่อได้ที่สำนักงานประมงอำเภอ/จังหวัด
3. เกษตรกรเลี้ยงสัตว์ ติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ/จังหวัด
4. เกษตรกรทำสวนยาง ติดต่อได้ที่การยางแห่งประเทศไทย
5. เกษตรกรปลูกอ้อย ติดต่อได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
6. เกษตรกรเลี้ยงหม่อนไหม ติดต่อได้ที่กรมหม่อนไหม
7. เกษตรกรปลูกใบยาสูบ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ขึ้นทะเบียน
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่จะขอรับเงินเยียวยา จะต้องไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ซ้ำซ้อนกับโครงการเราไม่ทิ้งกันของกระทรวงการคลัง.
ดีเดย์ 15 พ.ค. นี้ โอนเงินเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกร
พร้อมแล้วสำหรับการโอนเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบของโรค COVID-19 ให้กับเกษตรกร 10 ล้านราย รายละ 5,000 บาทต่อเดือนเป็นเวลา 3 เดือน (พ.ค. – ก.ค. 63) ที่ผ่านการตรวจสอบตามฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
.
สำหรับวิธีการจ่ายเงิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง ซึ่งเกษตรกรที่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. อยู่แล้ว สามารถใช้บัญชีเงินฝากเดิมได้ ไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่
ส่วนเกษตรกรที่ไม่มีบัญชีเงินฝากกับ ธ.ก.ส. ขอให้แจ้งบัญชีเงินฝากของธนาคารใดก็ได้ เพื่อรอรับเงินโอน ที่เว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร .com ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 63 เป็นต้นไป
.
ย้ำว่า เกษตรกรที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการนี้ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับความช่วยเหลือจากมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” ซึ่งธ.ก.ส. จะเร่งโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกร โดยจะกระจายการโอนครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ประมาณวันละ 1 ล้านราย และจะเริ่มทยอยโอนเงินได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 63 เป็นต้นไป
.
และเพื่อหลีกเลี่ยงความสุ่มเสี่ยงของโรค COVID -19 เมื่อได้รับเงินโอนแล้ว เกษตรกรไม่จำเป็นต้องไปถอนเงินสดที่ธนาคาร สามารถใช้บัตร ATM ที่เป็นบัญชีใช้รับเงิน ถอนเงินออกจากตู้ ATM ได้ทุกธนาคาร หรือใช้แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตรได้ที่ตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ได้อีกด้วย