การช่วยเหลือผลกระทบ Covid-19 และการจ่ายเงินประกันราคาข้าว งวด 2

ที่ประชุมครม. 23 พ.ย. 63 อนุมัติ 3 โครงการ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้แก่

กระตุ้นรายได้ covid-19

1) โครงการโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19

จัดมหกรรมจำหน่ายสินค้า OTOP อาหารชวนชิม บริการท่องเที่ยวชุมชน การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น และนิทรรศการ โดยมีเป้าหมาย คือ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ระดับ 3 – 5 ดาว ทั้ง 76 จังหวัด

2) โครงการพลิกวิกฤต COVID-19 สู่การสร้างเศรษฐกิจจาก OTOP สมุนไพรในชุมชนอย่างยั่งยืน

จ้างงาน สร้างอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริมเกษตรสมุนไพรวนเกษตร 10 แห่ง (จ.เชียงราย ฉะเชิงเทรา ชลบุรี อุทัยธานี อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี นครพนม ชุมพร และพัทลุง) ผู้ประกอบการ OTOP จำนวน 250 ราย วิสาหกิจชุมชนและประชาชนราว 2,500 คน

3) โครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ ด้วยการนวดไทยในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

เปิดหลักสูตรอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง จำนวน 20 รุ่น รุ่นละ 40 คน และหลักสูตรนวดเท้าเพื่อสุขภาพ 60 ชั่วโมง จำนวน 5 รุ่น รุ่นละ 40 คน

ธ.ก.ส. ได้จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างฯประกันรายได้เกษตรกร งวดที่ 2

เงื่อนไข คือ ต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร และเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 9 – 14 พ.ย. 63 จำนวน 636,118 ราย วงเงิน 5,684 ล้านบาท

สาเหตุที่การจ่ายเงินงวดที่ 2 ล่าช้ากว่ากำหนดเล็กน้อย

เนื่องจากปีนี้สถานการณ์ราคาข้าวเปลือกลดต่ำกว่าปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ส่งผลให้เงินชดเชยส่วนต่างฯ ที่ ครม. อนุมัติไว้ไม่เพียงพอสำหรับเกษตรกรในงวดที่ 2 ได้ทั้งหมด
ประเด็นนี้กระทรวงพาณิชย์จะเร่งนำเสนอเข้า ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินเพิ่มเติมโดยเร็ว

นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ฝากแจ้งมาว่า ธนาคารมีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับโครงการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจสำคัญตามนโยบายรัฐบาลทั้ง 5 ชนิด “ข้าว – มัน – ยาง – ปาล์ม – ข้าวโพด”

ยืนยันได้ว่า ธนาคารไม่ได้ขาดสภาพคล่องตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ขอให้พี่น้องเกษตกรไม่ต้องกังวลใจไปครับ

ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการประกันราคาข้าว

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อนุมัติโครงการ และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว “ประกันราคาข้าว” ปีการผลิต 2563/64 วงเงินรวม 51,858 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย 3 โครงการหลัก คือ

1. โครงการประกันรายได้ ปี 2 กำหนดราคา และปริมาณ “ประกันรายได้เกษตรกร” เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ได้แก่

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 14 ตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 30 ตัน
  • ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 25 ตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ปริมาณไม่เกิน 16 ตัน

ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ตุลาคม 2563 – พฤษภาคม 2564

2. มาตรการคู่ขนานควบคู่กับ “โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64”  ได้แก่

(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี (ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 – 29 กุมภาพันธ์2564)

โดยนอกจากเกษตรกรจะได้รับสินเชื่อและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแล้ว เกษตรกรที่มียุ้งฉางจะได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท กรณีสหกรณ์จะได้รับตันละ 1,000 บาท และสมาชิกจะได้รับตันละ 500 บาท

(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (ระยะเวลาดำเนินการ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 ) โดยสหกรณ์เสียดอกเบี้ยร้อยละ 1 และ

(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ระยะเวลาดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 -31 มีนาคม 2564

ให้ผู้ประกอบการเก็บข้าวไว้ระยะเวลา 2 – 6 เดือน และจะได้รับชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 จะสามารถดูดซับอุปทานในช่วงที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมากเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ 7 ล้านตันข้าวเปลือก จะส่งผลให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพช่วยให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณในการชดเชยตามโครงการประกันรายได้

ครม.ยังเห็นชอบ โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563 /2564 โดยให้จ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับกรมการส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท เป็นการจ่ายก่อนในเบื้องต้น วงเงินจ่ายขาด 28,046 ล้านบาท

เกษตรกรผู้มิสิทธิได้รับการชดเชย จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้ เกษตรกรผู้มิสิทธิได้รับการชดเชย จะต้องขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 ตุลาคม 2563 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2563 – 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยเกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการประกันฯ ได้แปลงละ 1 ครั้ง เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อน

ในส่วนของการจ่ายเงิน ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระในการเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ฯ เกษตรกรไม่ต้องทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส.

เกษตรกรที่ปลูกข้าวชนิดต่าง ๆ จะได้รับเงินส่วนต่างไม่เท่ากัน คำนวณจากโควตาสูงสุดที่รัฐบาลให้ ตามประเภทราคาข้าว

  • ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 26,674 บาท
  • ข้าวเหนียว จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 34,199 บาท
  • ข้าวหอมมะลิ จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด 40,756 บาท

ทั้งนี้ ชาวนาจะได้ส่วนต่างจำนวนเท่าไร ขึ้นอยู่กับปริมาณการแจ้งปลูกไว้ตอนขึ้นทะเบียน และการจ่ายก็ไม่เกินจำนวนตันที่รัฐระบุไว้ นอกจากนี้ยังมีเงินค่าพัฒนาคุณภาพข้าว ไร่ละ 1,000 บาท ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ จะได้รับครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ได้รับ 500 บาท งวดต่อไปอีก 500 บาท

          อย่างไรก็ตาม หลังเที่ยงคืนของวันที่ 15 พฤศจิกายน เริ่มเข้าสู่วันที่ 16 พฤศจิกายน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะเริ่มทยอยโอนเงินเข้าบัญชีชาวนา

โดยสามารถเช็กเงินได้ คลิกที่นี่ เพียงกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบจะแจ้งว่าโอนเรียบร้อย แต่ถ้ายังไม่เข้าต้องรอก่อน ซึ่ง ธ.ก.ส. จะทำการโอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 วันทำการ

ล่าสุด 1 ธ.ค. 2563

ชาวนาได้เฮ ครม. อนุมัติเพิ่ม 2.8 หมื่นลบ. โครงการประกันรายได้ปี63/64 เกษตรกรผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยแน่นอน

เพื่อให้การจ่ายเงินชดเชยโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี63/64 เป็นไปอย่างครบถ้วนแก่เกษตรกรที่มีสิทธิ์ทุกราย วันนี้ ครม. จึงมีมติอนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 28,711.29 ล้านบาท เป็นการเพิ่มเติมจากเดิมที่ ครม. อนุมัติเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 18,096.06 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี63/64 ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 46,807.35 ล้านบาท สำหรับวงเงินเพิ่มเติมที่ ครม. อนุมัติในวันนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1)ค่าดำเนินการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาเกณฑ์อ้างอิง โดยใช้แหล่งเงินทุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินเพิ่มเติมจำนวน 28,078.44 ล้านบาท จากเดิม 17,676.54 ล้านบาท รวมเป็น 45,754.98 ล้านบาท
2)ค่าใช้จ่ายในการชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 2.25 วงเงินเพิ่มเติมจำนวน 631.76 ล้านบาท จากเดิม 397.72 ล้านบาท รวมเป็น 100 29.4 9 ล้านบาท
3)ค่าบริหารจัดการ ธ.ก.ส. วงเงินเพิ่มเติมจำนวน 1.09 ล้านบาท จากเดิม 21.8 ล้านบาท รวมเป็น 22.88 ล้านบาท

ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการจ่ายเงินชดเชย จนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 โดยจ่ายเงินชดเชยให้เกษตรกรในงวดที่ 1 ครบถ้วนแล้ว และงวดที่ 2 บางส่วน สำหรับเกษตรกรที่ระบุวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 1,429,135 ครัวเรือน เป็นเงิน 15,260.55 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86.3 ของวงเงินงบประมาณเงินชดเชยที่ ครม. เคยอนุมัติไว้เดิม อย่างไรก็ตาม ยังมีเกษตรกรที่ยังไม่ได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ สำหรับเกษตรกรที่ระบุวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวตั้งแต่วันที่ 15 – 29 พฤศจิกายน 2563 (งวดที่ 2 บางส่วน และงวดที่ 3 – 4) อีกจำนวน 2,905,043 ครัวเรือน เป็นเงิน 26,605.61 ล้านบาท และเกษตรกรที่ระบุวันคาดว่าจะเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 (งวดที่ 5- 30) อีก 487,370 ครัวเรือน ผลผลิตรวม 2,894,905 ตัน คาดว่าจะใช้วงเงินงบประมาณ 3,888.82 ล้านบาท ซึ่งวงเงินชดเชยดังกล่าวอยู่ในกรอบวงเงินเพิ่มเติมที่ ครม.อนุมัติในวันนี้เรียบร้อยแล้ว จึงขอให้เกษตรกรมั่นใจว่า จะได้รับเงินส่วนต่างประกันรายได้ตามสิทธิ์อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดการประชาสัมพันธ์และการดำเนินมาตรการคู่ขนานที่ควบคู่ไปกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี63/64 รวม 3 โครงการคือ 1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ระยะเวลาดำเนินการ 1 พ.ย. 63-29 ก.พ.64 2)โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ต.ค. 63 – 30 ก.ย. 64 และ 3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ระยะเวลาดำเนินการ 1 พ.ย. 63 – 31 มี.ค. 64 ให้ผู้ประกอบการเก็บข้าวไว้ระยะเวลา 2-6 เดือน และจะได้รับชดเชยดอกเบี้ย 3% ซึ่งทั้ง 3 โครงการนี้ จะสามารถดูดซับอุปทานในช่วงที่ข้าวเปลือกออกสู่ตลาดมาก เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก

นอกจากนี้ สำหรับโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 63/64 เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและกระตุ้นให้เกษตรกรดูแลรักษาข้าวให้มีคุณภาพดี ในอัตราไร่ละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาทต่อครัวเรือนนั้น วันนี้ (1 ธันวาคม 2563) ธ.ก.ส. ได้เริ่มจ่ายเงินค่าบริหารจัดการฯ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวงวดแรกไปแล้ว จำนวนกว่า 400,000 ครัวเรือน รวมเป็นเงินกว่า 1,600 ล้านบาท

อีกประการหนึ่งที่ นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำคือ การส่งเสริมพัฒนาพันธุ์ข้าวและการผลิตพันธุ์ข้าว ซึ่งวันนี้ ครม. ได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 1,600 ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพและปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ ปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุกศูนย์ทั่วประเทศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง