ชมความงดงามภายในโบสถ์และร่วมจารึกชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ไว้ใต้ฐานองค์พระ เพื่อนำขึ้นประดิษฐานไว้ในเจดีย์ประจำปีเกิดของผู้สร้าง ณ.วัดพุวราราม ปทุมธานีแห่งนี้
ช่วงหยุด วันแม่ที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปวัดอัมพุวราราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งหากขับรถไปก็ไม่ยากมากนัก อยู่ถนนริมแม่น้ำ
- สถานที่เที่ยวปทุมธานี วัดงดงาม ชมวิถีชุมชน
- หออัครศิลปิน สถานที่เก็บผลงานอันล้ำค่าของจังหวัดปทุม
- เที่ยวเมืองปทุม ชมพระอาทิตย์ตกที่ดงตาล ปล่อยปลาท่าเรือเมืองปทุม ชมศาลากลางเก่า ไหว้ศาลหลักเมือง
- สร้างพระแทนตัว ประจำปีเกิด วัดอัมพุวราราม สามโคก ปทุมธานี
ส่วนตัวชอบไปวัดนี้ เพราะเงียบสงบ ไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียงใดๆ มีพระจำวัดรับสังฆทานและการทำบุญจากญาติโยมที่ศรัทธาร่วมจากวัด และให้ญาติโยมสามารถสร้างพระแทนตัว สลักชื่อ-สกุล ประจำปีเกิด ตั้งไว้บนโบสถ์ ซึ่งพระองค์นี้คงอยู่นานกว่าช่วงอายุเราแน่นอน โดยทำบุญ 500 บาท และหากโชคดีมีพระอาจารย์อยู่บนโบสถ์ท่านจะมอบพระจิตรดา เสาร์ ๕ ให้เพื่อเก็บไว้บูชา
ประวัติความเป็นมาของวัดอัมพุวราราม
วัดอัมพุวราราม วัดเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2000-2300 โดยชาวรามัญที่มาช่วยรบในสมัย ‘สงคราม 9 ทัพ’ เมื่อชนะศึก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 1 โปรดให้ดูแลพระนครด้านทิศเหนือ (กลุ่มใหญ่อีกกลุ่มไปอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) ชาวรามัญจึงได้สร้างวัดนี้ขึ้น พร้อมกับอีกหลายวัดทั้งในเขตจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี
เมื่อปี พ.ศ.2537 พระครูวิสุทธิกัลยาณคุณ (หลวงพ่อเสริม สุกกธัมโม) เจ้าอาวาสวัดอัมพุวราราม ได้นิมนต์ ท่านพระมหาสวง (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระพิมลภาวนาพิธาน วิ. ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม) มาเยี่ยมวัดอัมพุวราราม เมื่อท่านเดินดูโดยรอบวัดแล้วปรารภว่า “วัดนี้เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) น่าจะเคยมาพัก” มีความรู้สึกอย่างนั้น เพราะว่าท่านเดินทางโดยเฉพาะทางน้ำบ่อยมาก ขึ้นล่องบางกอก-อยุธยา-สระบุรี-อ่างทอง แล้วสั่งให้วัดอัมพุวรารามบูชาและท่องคาถาชินบัญชรให้มากๆ วัดจะได้เจริญๆ จากนั้นท่านพระมหาสวง ได้ถามต่อว่า ต้องการสร้างอะไรในวัดบ้าง ขณะนั้นใกล้ปี 2539 ซึ่งเป็นปีกาญจนาภิเษก และจะมีงานฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ครองสิริราชสมบัติ จึงได้ขอความเมตตาจากท่านช่วยเป็นกำลังสร้างอุโบสถดังกล่าว
ในปี พ.ศ.2538 นับว่าเป็นการปรับปรุงและพัฒนาวัดครั้งใหญ่ โดยหัวเรือใหญ่ คือ หลวงพ่อเสริม ด้วยการบูรณะซ่อมแซมของเก่า ก่อสร้างของใหม่ เพื่อให้สภาพวัด ดูดีมีระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น รองรับศรัทธาสาธุชนที่เดินทางมาเยี่ยมชมและกราบไหว้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ โดยเฉพาะ อุโบสถเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เป็นรูปแบบทรงไทยจัตุรมุข 2 ชั้น ภายในมีองค์พระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานอยู่ ด้วยงบประมาณ 50 ล้านบาท แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ท่านก็ละสังขารไปก่อน มรดกธรรมชิ้นนี้ถูกสานต่อโดย พระครูวิสุทธิกิตติคุณ (หลวงพ่อสมชาย กิตติสาโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
ภายในโบสถ์มีพระประธานงดงามมากและมีพระบรมฉายาลักษณ์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รอบด้านบนของโบสถ์ ตั้งแต่พระองค์ทรงผนวช เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่งดงามยิ่งนัก
ในศาลาข้างโบสถ์มีรูปหุ่นขี้ผึ้งเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) พร้อมด้วยพัดยศรูปแบบตั้ง ๆ ให้ญาติโยมได้กราบไหว้
ด้านหลังโบสถ์ติดแม่น้ำเจ้าพระยา มีอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน และทางวัดสร้างศาลาริมแม้น้ำให้นั่งพักผ่อนลมเย็นสบาย หรือจะลองมาใช้แป้งขอหวยจากตะเคียนหรือต้นโพธิ์ก็ไม่ว่ากัน
หากมีเวลาไปแถวปทุมธานีจึงขอแนะนำให้ไปทำบุญหรือไหว้พระที่วัดอัมพุวรารามกันได้
นอกจากนี้ทางวัดกำลังสร้างอาคารปฎิบัติธรรมด้วย ขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม