เที่ยวชุมชนบ้านบ่ “ขันลงหินบ้านบุ” ที่นายกฯลงพื้นที่ โดยไม่นัดหมายล่วงหน้า

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “ชุมชนบ้านบุ”ดูงานหัตถกรรม “ขันลงหินบ้านบุ” มรดกทางปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ กับ “ตลาดไร้คาน” ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ โดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า

ซึ่งจุดแรกคือวัดสุวรรณาราม มีนักเรียนจากโรงเรียนสุวรรณาราม มารอให้การต้อนรับ ซึ่งทันทีที่นายกรัฐมนตรี เดินทางมาถึงได้พูดคุยทักทายกับคณะนักเรียน ก่อนจะถ่ายภาพร่วมกันเป็นที่ระลึก

นายกรัฐมนตรี จึงกล่าวว่าหลายอย่างเป็นสิ่งดีๆที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมอัตลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งจะหายไปไม่ได้เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของเราสร้างกันมา

จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เคารพอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน และให้อาหารปลาที่บริเวณท่าน้ำร่วมกับนักเรียน และเดินไปทักทายเจ้าหน้าที่ ทำความสะอาดกรุงเทพฯ เป็นอย่างไรกันบ้างลำบากกันไหมก่อนจะถ่ายภาพร่วมกัน

โดยเจ้าหน้าที่ กทม. ได้เข้ามาสวมกอดนายกฯ พร้อมบอกว่า “ท่านเป็นตัวอย่างในการทำงานของหนูเลยค่ะ” ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะหันไปถามเด็กว่า รู้จักไหมว่าใคร ซึ่งเด็กตอบว่ารู้จัก นายกรัฐมนตรี จึงบอกว่าให้ตั้งใจเรียน

ทั้งนี้ ขณะที่นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “ชุมชนบ้านบุ” ดูงานหัตถกรรม “ขันลงหินบ้านบุ โดย นายเมตตา สีมายนต์ ทายาทรุ่นที่ 6 สืบทอดงานหัตถกรรมขันลงหิน ได้ขอกอดนายกรัฐมนตรีและบอกว่ารักขอให้สู้ๆคนข้างหลังเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรี พร้อมมอบขันลงหิน ขนาด 6 นิ้ว ราคาไม่เกิน 3,000 บาท ขณะที่นายกรัฐมนตรี ได้อุดหนุนขันลงหินชุดเล็ก ราคา 16,000 บาท

ช่วงท้ายนายกรัฐมนตรีได้ขอให้สืบทอดและอนุรักษ์การทำขันลงหินไว้ และสืบทอดภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย พร้อมฝากให้ดูแลช่างให้ดีๆ

จากนั้น นายกรัฐมนตรี ได้มาพบปะกับคณะครูและนักเรียนที่โรงเรียนวัดสุวรรณาราม ที่ต่างตื่นเต้น ดีใจ ที่นายกรัฐมนตรี มาเยี่ยมและจับมือทักทายด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ซึ่งเด็กนักเรียนได้ร้องมาร์ชประจำโรงเรียนระหว่างที่นายกรัฐมนตรี ลงนามในสมุดเยี่ยมโรงเรียน

ชุมชนบ้านบุ Ban Bu Community

ชุมชนบ้านบุตั้งอยู่บริเวณริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้หลังสถานีรถไฟธนบุรียาวขนานไปกับลำคลองราว 800 เมตร

ถึงบริเวณวัดสุวรรณาราม ในสมัยโบราณเรียกชุมชนด้านวัดสุวรรณารามว่าบ้านบุบน และเรียกชุมชนด้านปากคลองว่าบ้านบุล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งที่ว่าการเขตบางกอกน้อย เป็นชุมชนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกว่า 100 หลังคาเรือนบ้านบุ เป็นย่านที่ทำขันลงหินหรือขันบุมาแต่โบราณ ปรากฎหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาโดยมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาในชุมชนว่า

บรรพบุรุษของชาวบ้านบุ เป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้านภายหลังจากเสียกรุงเมื่อ .. 2310ชุมชนบ้านบุจึงอาจจะก่อตั้งขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการตั้งราชธานีเป็นการมั่นคงแล้วโดยชาวบ้านผู้เคยประกอบอาชีพช่างบุทำเครื่องทองลงหินหรือเครื่องทองสัมฤทธิ์ได้รวมกลุ่มกันเลือกที่ตั้งบ้านเรือนขึ้นในทำเลนอกคลองบริเวณปากคลองบางกอกน้อยอันเป็นที่ตั้งของชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาดังมีวัดอมรินทราราม(วัดบางหว้า) และ

วัดสุวรรณาราม(วัดทอง) วัดโบราณสมัยอยุธยาตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของชุมชนมาแต่เดิม

ชาวบ้านคงดำรงชีพด้วยการทำภาชนะเครื่องทองลงหินเช่นเดียวกับเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดีและสืบเชื้อสายถ่ายทอดวิชาช่างบุต่อเนื่องกันมาในชุมชนหมู่บ้านหลายชั่วอายุคน จนเป็นที่มาของนามบ้านบุถึงในปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสบ้านบุ และทรงตรัสว่า ว่าพวกนี้ดี อยู่กับไฟ แต่ไม่เคยมีไฟใหม้ด้วยการหลอมเนื้อขันนั้นต้องใช้ไฟจากเตาสูบซึ่งลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา เขาปลูกเป็นโรงหลังคาสูง มีเตาสูบ 1-3 เตา ใช้คนชักสูบให้ไฟแรงสม่ำเสมอ ช่างหลอม และ ช่างตีนั้นต้องนั่งล้อมวงอยู่ข้างกองไฟตลอดเวลา ช่างพวกนึ้จึงแทบจะไม่รู้จักร้อน หนาว และ ทั้งที่โรงเรือน สิ่งก่อสร้างต่าง จะเป็นเชื้อไฟได้อย่างดี แต่ก็ไม่เคยปรากฏว่าไฟจะสร้างความเดือดร้อนให้กับพวกเขาเลย เข้าทำนองอยู่กับไฟก็ต้องรู้จักเล่นกับไฟ

วัดสุวรรณาราม

วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร หรือ วัดทอง ในอดีต เป็นสถานที่สำคัญที่พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสให้นำตัวเฉลยศึกพม่าจากค่ายบางแก้ว ในจังหวัดราชบุรีในสมัยนี้ ไปประหารชีวิตที่ วัดสุวรรณารามแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย วัดสุวรรณาราม ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ปัจจุบัน “วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร” พระอารามหลวงชั้นโทที่มีจิตรกรรมฝาผนังโดดเด่นและงดงามซึ่งวาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่นี่ได้รับคำยกย่องว่าเป็นฝีมือชั้นครู และงดงามที่สุด ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐาน “หลวงพ่อศาสดา” พระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย สันนิฐานว่าเป็นฝีมือช่างเดียวกันกับพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ที่เชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมกัน

สำหรับลานวัดสุวรรณารามแห่งนี้ก็ขึ้นชื่อในการใช้เป็นสถานที่ประหารเฉลยศึกสงครามจากประเทศพม่าโดยใช้การตัดคอ ซึ่งก็มีเรื่องเล่ากันว่า มีคนเคยเห็นร่างของผู้ชายร่ายยักษ์ สูงใหญ่ นุ่งโจงกระเบน แต่ไม่มีหัวมายืนให้หลายคนเห็น นอกจากลานวัดจะเป็นที่ตัดคอเฉลยศึกแล้ว บริเวณวงเวียสนามวัดสุวรรณารามในสมัยนี้ ยังเป็นที่ฝังศพคอขาดของชาวพม่าที่จับตัวมาได้มากมายอีกด้วย นอกจากประวัติศาสตร์จะจารึกเรื่องบริเวณตรงนี้ไว้ เมื่อครั้งที่มีการขุดปรับแต่งพื้นที่บริเวณนี้ ในยุคสมัยใหม่ช่างก่อสร้างก็ได้พบเจอกระดูกคนมากมายบริเวณนี้ พร้อมมีเรื่องเล่าสุดหลอนมากมายเกี่ยวกับวิญญาณทหารพม่าคอขาด

จึงมีการตั้งศาลเพียงตาไว้ที่บริเวณ่โรงเรียนวัดสุวรรณารามแห่งนี้ ที่น่าสนใจก็คือ หากผู้ใดที่มาไหว้ศาลแห่งนี้ แล้วมองเข้าไปในศาล ก็จะเห็นเป็นรูปภาพวาด ที่เป็นรูปกองทหารพม่าไว้ทั้งหมด 3รูป แทนที่จะมีจเวกอยู่ด้านในแบบศาลพระภูมิทั่วไปที่ใช้กัน บ้างว่าเป็นการระลึกถึงดวงวิญญาณทหารพม่าที่เสียชีวิตในอดีต

อีกทั้งด้านหน้าศาลก็ยังมีพิระมิดเล็กๆตั้งไว้ด้วย โดยมีความเชื่อกันว่า สถานที่ไหนที่มีอาถรรพ์มากๆ ก็จะมีการนำพิระมิดเล็กๆมาตั้งเพื่อสะท้อนสิ่งอาถรรพ์ไม่ดีเหล่านั้นออกไป

การเดินทาง

รถส่วนตัว เข้าซอยจรัญสนิทวงศ์ 32 จอดที่โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม หรือลานจอดรถข้างวัดสุวรรณาราม

รถประจำทางสาย 40, 42, 56, 68, 509, 80, 108 และ 175

นั่งเรือด่วนเจ้าพระยา ลงท่ารถไฟ ท่าศิริราช แล้วเดินไปทางศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ขึ้นรถสองแถวแดง สายศิริราช-คลองสาน สายศิริราช-ตลาดพลู แล้วลงตรงสถานีรถไฟธนบุรี เลี้ยวซ้ายข้ามทางรถไฟเดินตรงมาก็ถึงวัดสุวรรณารามแล้ว

เรื่องที่เกี่ยวข้อง