สลด ช้าง 11 ตัว สังเวยตก “น้ำตกเหวนรก” อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

สลด ช้าง 11 ตัว สังเวยตก “น้ำตกเหวนรก” อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

8 ตุลาคม 2562 พบช้างป่าล้ม เพิ่ม 5 ตัว หลังตกเหวนรกล้มก่อนนี้ 6 ตัว รวมตาย 11 ตัว

เวลา 10.00 น. นายณัฐพงษ์ ศิริชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก พร้อมด้วยนายวิชัย พรลีแสงสุวรรณ์ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ นายปกครอง เนื้อแข็ง หัวหน้าศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา นายอร่าม ทัพหิรัญ ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้ร่วมแถลงข่าวที่จุดด่านเนินหอม หลังชึดปฏิบัติการโดรน บินพบซากช้างป่าตายเพิ่มอีก 5 ตัว ในน้ำตกเหวนรก เมื่อคืนที่วันที่ 7 ตุลาคม ผ่านมา
โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เดินสำรวจตามแนวลำธารน้ำตกเหวนรก บริเวณชั้น 2 พบซากช้างป่าอีก 5 ตัวกระจายในร่องลำธาร รวมแล้วขณะนี้ช้างป่าตาย 11 ตัว ส่วนช้างป่า 2 แม่ – ลูก รอดชีวิตกลับเข้าป่าไปแล้วก่อนหน้านี้

เรามารู้จัก “น้ำตกเหวนรก” กัน

น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุดของอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ทา การฯ ลงมาทางทิศใต้ทางที่จะลงไปปราจีนบุรี โดยต้องเดินเท้าแยกจากทางสายหลักไปประมาณ 1 กิโลเมตรถึงจุดชมวิวที่มีมุมมองเห็นน้ำตกได้สวยงาม น้า ตกมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร
เมื่อน้ำ ไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่มลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะชันดิ่ง 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนสายน้ำ ที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่างจะแรงมากจนน่ากลัวและเมื่อกระทบหิน เบื้องล่างจะแตกกระเซ็นสร้างความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ บริเวณน้ำ ตกเหวนรกเป็นแดนหากินของช้างป่า ซึ่งช้างมักจะไม่เปลี่ยนเส้นทางหากิน
จึงมักเกิดเหตุโศกนาฏกรรมช้างพลัดตกเหวอยู่เนือง ๆ เป็นสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่าง การเดินทาง จากตัวเมืองเดินทางไปทางทิศตะวันออกตามถนนสุวรรณศร ถึงสี่แยกเนินหอม หรือวงเวียนนเรศวร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 3077 ซึ่งเป็นทางขึ้นเขาใหญ่ไป จนถึงกม.ที่ 24

น้ำตกเหวนรก เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นน้ำตกที่มีความสูงและสวยงามมากแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่เดิมก่อนที่จะมีการตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่นั้น จะต้องเดินเท้าเข้ามาโดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง แต่หลังจากตัดถนนสายปราจีนบุรี-เขาใหญ่เสร็จแล้ว ถนนตัดผ่านใกล้น้ำตกเหวนรกมาก โดยมีลานจอดรถห่างจากตัวน้ำตกเพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น
ระหว่างทางสามารถเดินชมธรรมชาติอันสวยงามสองข้างทางได้ เมื่อถึงตัวน้ำตกจะมีบันไดลงไปอีกราว 50 เมตร ซึ่งค่อนข้างแคบและชัน แต่เมื่อลงไปถึงจุดชมวิวก็จะเห็นความยิ่งใหญ่อลังการของน้ำตกได้อย่างสวยงาม หากไปในฤดูฝนมีน้ำมาก ละอองน้ำจะกระเซ็นต้องกับแสงอาทิตย์เป็นสายรุ้งอย่างงดงาม แต่หากมาชมในหน้าแล้งนั้นอาจต้องผิดหวังเพราะไม่มีน้ำ เห็นแต่เพียงหน้าผาแห้งๆ เท่านั้น


ระหว่างทางเดินมายังน้ำตกเหวนรกนี้ จะสังเกตเห็นแนวคันปูนเป็นระยะ สร้างขึ้นเพื่อป้องกันช้างพลัดตกไปยังน้ำตก ตั้งแต่ในปี 2530 จะมีช้างตกลงไปยังผาข้างล่างปีละเชือกหรือสองเชือกเสมอ และในครั้งใหญ่ที่สุดปี 2535 มีช้างโขลงหนึ่งจำนวน 8 เชือก หลงเข้ามาและถูกกระแสน้ำพัดตกลงไปตายหมด ทางอุทยานแห่งชาติจึงได้สร้างแนวป้องกันนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันอันตรายแก่ช้างป่ามิให้เกิดขึ้นอีก


“กลางดึกวันที่ 3 ส.ค.2535 หรือเมื่อ 27 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดโศกนาฏกรรมกับ ช้างป่าเข่าใหญ่ มีช้างตกลงไปในน้ำตกเหวนรก มีทั้งที่ตายและรอความช่วยเหลือ เป็นลูกช้าง ก่อนที่แม่ช้างจะตัดสินใจลงไปช่วยลูกของมันที่รอความช่วยเหลืออยู่บนโขดหิน แต่น้ำตกไหลแรงมาก แม่ช้างไม่สามารถทัดทานแรงน้ำได้ จึงไหลไปตามแรงน้ำตกและหล่นลงไปในน้ำตกชั้นที่ 3 ซึ่งทั้งลึกและเชี่ยวกว่าชั้นแรก ทำให้ในครั้งนั้นมีช้างป่าตายไปในคราวเดียวถึง 8 ตัว”

ในความเป็นจริงแล้ว น้ำตกเหวนรกนั้นมีอยู่ 2 ชั้น ที่ได้ชมนี้เป็นชั้นที่ 1 โดยมีความสูงของตัวน้ำตกประมาณ 50 เมตร ส่วนชั้นที่ 2 และ 3 นั้นอยู่ห่างออกไป ซึ่งชั้นที่สองนี้มีความสูงมากกว่าชั้นแรกเสียอีก
ซึ่งในหมู่นักเดินป่าจะรู้ว่ามีเส้นทางสำรวจป่าของทางอุทยานเพื่อไปยังผาอีกด้านหนึ่งเพื่อชมทัศนียภาพของน้ำตกชั้นที่สองและสามแต่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไปเนื่องจากเป็นทางเข้าไปในป่าดิบ มีสัตว์ป่าออกหากินตลอด หากต้องการเข้าชมควรติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานนำทางเข้าไปเพื่อความปลอดภัย
และหากต้องการชมทัศนียภาพของน้ำตกชั้นที่ 2 และ 3 ให้สวยงามที่สุด ควรเดินทางมาชมในช่วงกันยายนหรือตุลาคม เนื่องจากจะมีน้ำมาก ตกลงมาเป็นละออง และหากมาชมในช่วงเวลา 10 นาฬิกา จะเป็นเวลาพอเหมาะที่แสงอาทิตย์ตกกระทบกับละอองน้ำตกเกิดเป็นสายรุ้ง โดยรวมความสูงของน้ำตกชั้นที่ 2 และ 3 นี้ประมาณ 150 เมตร

มาถึงวันนี้ ข่าวสลดก็ออกมาจาก น้ำตกเหวนรก อีกครั้งกับการสูญเสียช้างป่าไปถึง 11 ตัว ซึ่งต่อจากกรมอุทยาน ฯ นี้จะมีวิธีป้องกันเพิ่มเติมขึ้นจากเดิมหรือไม่ นั้นคือคำถามที่ต้องการคำตอบ … ?
และหากเราคิดตามหลักพุทธศาสนา สัตว์ใหญ่เช่นช้าง เพื่อสิ้นกรรมไป บุญกุศลพอจะเกิดเป็นมนุษย์ต่อไป เราก็หวังให้เป็นอย่างนั้น จะสบายใจขึ้นและนำบุญให้ช้างเหล่านั้นบ้าง ทำได้เท่านั้น

เป็นความสุญเสียครั้งใหญ่ของผืนป่าดงพญาเย็นและพวกเราทุกคน

ที่มาข้อมูล https://thailandtourismdirectory.go.th

เรื่องที่เกี่ยวข้อง