แอมะซอน (Amazon) “ปอดของโลก” วิกฤต “เด็ดดอกไม้กระทบถึงดวงดาว”

ล่าสุดในสังคมโซเซียลร่วมออกมาแฮชแท็ก #PrayForAmazonas #Amazonas เพื่อสื่อสารถึงคนทั่วโลกและประธานาธิบดีประเทศบราซิล ให้ออกมาดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่าและการบุกรุกทำลายป่าไม้ในพื้นที่ป่าแอมะซอน (Amazon) โดยเร่งด่วน ซึ่งเป็นป่าแอมะซอน เป็นป่าเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงได้รับขนานนามว่าเป็น “ปอดของโลก” ที่ช่วยดูดซับ คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน-เรือนกระจก และ ช่วยผลิตออกซิเจนให้แก่โลกของเรา

ซึ่งในวันที่ 15 – 21 สิงหาที่ผ่านมา เกิดไฟป่าขึ้นใน แอมะซอน (Amazon) มากถึง 9,500 ครั้ง โดยในรอบปี 7 ปีที่ผ่านมา ปี 2562 ถือว่าผืนป่าแห่งนี้อยู่ในวิกฤต เพราะถูกไฟไหม้ไปแล้วกว่า 3,000 ตารางกิโลเมตร จากพื้นที่ทั้งหมด 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น % และมีสัตว์ป่า ถูกไฟคลอกตายเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้ไม่รวมกับการเข้าบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และการบุกรุกเพื่อทำการเกษตรกรรมของพื้นที่

ภาวะไฟใหม้ป่า แอมะซอน (Amazon) ส่งผลให้เกิดมลภาวะฝั่นควันเข้าสู่นครเซาเปาโล บราซิล

ป่าดิบชื้นแอมะซอน เป็นป่าใบกว้างชื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอ่งแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แอ่งนี้กินพื้นที่ 7 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งป่าดิบชื้นแอมะซอนกินพื้นที่ไป 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ภูมิภาคนี้รวมดินแดนที่เป็นของ 9 ประเทศ พื้นที่ป่าส่วนใหญ่ราวร้อยละ 60 อยู่ในประเทศบราซิล รองลงมา คือ เปรู ร้อยละ 13 และโคลอมเบีย ร้อยละ 10 และมีปริมาณเล็กน้อยในเวเนซุเอลาเอกวาดอร์โบลิเวียกายอานาซูรินาม และเฟรนช์เกียนา 

ป่าแอมะซอนเป็นเนื้อที่กว่าครึ่งของป่าดิบชื้นที่ยังเหลืออยู่บนโลก และเป็นป่าดิบชื้นเขตร้อนขนาดใหญ่ที่สุดและมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก มีต้นไม้ประมาณ 390 พันล้านต้นและมีพันธุ์ไม้ประมาณ 16,000 ชนิด

ภาพจากดาวเทียมล่าสุดถ่ายเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม เผยให้เห็นควันไฟสีขาวที่ปกคลุมป่าฝน แอมะซอน (Amazon) และไฟป่าที่กำลังลุกไหม้ในประเทศบราซิลมาเป็นเวลานับเดือนแล้ว ซึ่งเป็นครั้งที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ควันไฟจากป่ามีให้เห็นได้ถึงในเมืองเซาเปาโลที่อยู่ห่างออกไปถึง 2,700 กิโลเมตร

ล่าสุดเมื่อ 21 สิงหาคม ประธานาธิบดีโบลโซนารู อ้างว่า กลุ่มเอ็นจีโอ อาจจะมาจุดไฟเผาป่าใน แอมะซอน (Amazon) เพื่อทำลายภาพลักษณ์ของรัฐบาล หลังจากที่ถูกรัฐบาลตัดงบสนับสนุน โดยปราศจากหลักฐานยืนยันมาแสดง

ด้าน ‘ริคาร์โด เมลโล’ หัวหน้าโครงการกองทุนโลกเพื่อธรรมชาติ (WWF) ของแอมะซอน เปิดเผยว่า ไฟป่าครั้งนี้เป็นผลมาจากตัวเลขการตัดไม้ทำลายป่าที่เพิ่มขึ้นล่าสุด เช่นเดียวกับภาคอนุรักษ์ที่กล่าวโทษนายโบลโซนารูว่า เขามีส่วนที่ต้องรับผิดชอบกับชะตากรรมปัจจุบันของแอมะซอน เพราะเขาสนับสนุนการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำเกษตร 

ทั้งนี้ รายงานข่าวการลุกไฟไหม้ของไฟป่าในแอมะซอนเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์นโยบายสิ่งแวดล้อมของประธานาธิบดีบราซิล โดยนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ตั้งแต่ประธานาธิบดีโบลโซนารูเข้ารับตำแหน่ง แอมะซอนสูญเสียพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลก่อนสามารถลดการตัดไม้ทำลายป่าด้วยการเปลี่ยนแปลงระบบทำงานของรัฐ  https://themomentum.co/amazon-fires-record/

ซึ่งวิกฤต แอมะซอน (Amazon) นี้ ประเทศต่าง ๆในโลก น่าจะมีส่วนในการช่วยเหลือ หรือส่งตัวแทนไปดับไฟป่า

วันที่ 22 สิงหาคม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ติดตามข่าวสถานการณ์ไฟไหม้ป่าอเมซอนในประเทศบราซิล  ซึ่งเป็นผืนป่าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยไฟป่าลุกลามพื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร และเกิดขึ้นต่อเนื่องยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความห่วงใยไปยังรัฐบาลและประชาชนชาวบราซิล พร้อมย้ำว่ารัฐบาลไทยพร้อมสนับสนุนความช่วยเหลือ เช่น หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละออง ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะได้ประสานกับรัฐบาลบราซิลต่อไป

และด้วยปัจจุบันสถานการณ์ไฟไหม้ป่าพรุในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ทะเลน้อยจังหวัดพัทลุงยังไม่ดีขึ้น เริ่มปะทุรุนแรงอีกครั้ง หลังจากกระแสลมร้อน และภาวะแห้งแล้งยังคงมีความรุนแรงในพื้นที่ โดยในช่วงเย็นของวันที่ 21 ส.ค.62 ได้เกิดไฟไหม้ขึ้น 4 จุด ในพื้นที่พรุป่าเสม็ดขาว ป่าพรุควนเคร็ง รอยต่อท้องที่ ม.4 ต.เคร็ง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช พื้นที่ ม.7 ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ก่อนลุกลามขยายเป็นวงกว้างในช่วงบ่ายของวันนี้ เป็นระยะ ทางยาวกว่า 3 กิโลเมตร และกำลังลุกลาม เข้าไปในพื้นที่ ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา  ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยพัทลุง ซึ่งยังสามารถเข้าไปควบคุมได้ https://www.innnews.co.th/regional-news/news_470984/

แต่หากจะพูดถึงความรับผิดชอบต่อภาวะโลกร้อนของประเทศไทยนั้น รัฐบาลไทยพล.อ.ประยุทธ จันท์โอชา ได้กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – 25 ภายในปี ค.ศ. 2030 ตามสัตยาบันสารเข้าเป็นภาคีความตกลงปารีสของไทยที่ลงนามร่วมกับ 180 ประเทศ จึงมีการผลักดันการรณรงค์เลิกใช้ถุงพลาสติกลงสู่การปฎิบัติ ทั้งห้างสรรพสินค้าใหญ่ หรือ 7-11 ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้ประชาชนคนไทยได้ตระหนักถึงมหัตภัยจากภาวะโลกร้อน ซึ่งหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงในปัจจุบัน

ไฟไหม้ป่าแอมะซอน (Amazon) “ปอดโลก” ในครั้งนี้ และไฟไหม้ป่าป่าพรุควนเคร็ง ครั้งนี้ เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้มนุษย์ตัวเล็กๆที่อยู่บนโลกรู้ว่า ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมมีผลกระทบซึ่งกันและกัน เหมือนวลี “เด็ดดอกไม้กระทบถึงดวงดาว” ทำลายป่าก็จะกระทบต่อชั้นบรรยากาศและอุณหภูมิของโลกด้วยเป็นธรรมดา ..

เรื่องที่เกี่ยวข้อง