เที่ยวหาดใหญ่ สงขลา-แลใต้ เที่ยวหาดสมิหลา ชมนางเงือก ไหว้พระเขาตังกวน หาดใหญ่

หาดสมิหลา
นางเงือกแหลมสมิหลา

เที่ยวหาดใหญ่ สงขลา-แลใต้ เที่ยวหาดสมิหลา ชมนางเงือก ไหว้พระเขาตังกวน หาดใหญ่

ทริป 3 วัน 2 คืน หาดใหญ่และสงขลา มีสถานที่ท่องเที่ยวให้พักผ่อนและคลายเคลียดอยู่หลายแห่ง ทริบนี้เราจะไปหาดสมิหลา ขอพระพระเขาตังกวน โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น โรงสีข้าวโบราณอายุกว่า 100 ปี หลักๆ ทริบนี้มาเพื่อกราบญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักนับถือ และไหว้ปู่ย่าพ่อแม่บรรพชนวัดหาดใหญ่ใน พร้อมกับมีความสุขกับครอบครัวไชยชนะ พี่น้องและหลานๆทุกคน จริงๆไปหลายครั้ง แต่ทริปนี้ของเก็บภาพมา Reviwe เท่านี้ก่อน

เหมือนเดิมจองเครื่อง Airasia ไว้ล่วงหน้า เดินทางประมาณ 09.00 น.วันพฤหัส และกลับวันเสาร์ช่วงค่ำ ทริปนี้ไปกัน 3 คน ถึงหาดใหญ่น้องชายและหลานมารับ พร้อมให้รถเก่งไว้ใช้งาน 1 คัน เพราะวันพฤหัส ศุกร์ ข้าราชการตำรวจทำงานปกติ ทริปนี้ลาพักร้อนปกติเหมือนกัน

มาถึงที่พักเคลียร์งานและพักผ่อนกันก่อนขับรถเข้าสงขลาไปรับน้องและหลานๆ ให้พาลุงกับป้าเที่ยวเมืองสงขลา เดินตลาดคนเดิน หาอะไรกินอร่อยๆ ซึ่งสงขลามีของอร่อยมากมาย มากจนต้องเลือกตัดสินใจว่าควรจะกินอะไร


เตียง 2 ชั้น

จากนั้นก็ขับรถเลียบเขาตังกวนไปเที่ยวแหลมสมิหลา ถ่ายรูปกับนางเงือก เกาะหนูเกาะแมว ยามพระอาทิตย์กำลังจะตก และหาแกงส้ม กุ้งทอด ผักผัดอร่อยๆ ริมหาดสมิหลากินให้หายคิดถึงแกงส้มใต้

ในรูปเป็น ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำจุดที่ 1  ส่วนหัวพญานาค เดี๋ยวมา Update ชื่อท่านอีกครั้ง  ตั้งอยู่บริเวณหัวเขื่อนปลายแหลมสนอ่อน  สวนสองทะเล แหลมสมิหลา ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเล บริเวณปลายแหลมเป็นที่ ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งมีส่วนหัว ลำตัว และหางแยกไปตามหาดสงขลา

รูปอาจไม่สวยงามมากนักเพราะถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือถูกๆ หากต้องการรูปสวยต้องมาเที่ยวสงขลาเองนะ คนสงขลายินดีต้อนรับ


หาดสมิหลา สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียงของสงขลา บริเวณหาดสมิหลา หน้าโรงแรม มีรูปปั้นนางเงือก สัญลักษณ์ของหาดสมิหลา ใครมาสงขลาต้องมาที่นี้นะ

นางเงือกแหลมสมิหลา
นางเงือกแหลมสมิหลา
หาดสมิหลา
ถึงเมืองสงขลาแล้วคะ
หาดสมิหลา
โรงแรมนี้ตกแต่งสวย
อาหารเช้าแบบพออิ่ม
อร่อย


ทานอาหารเช้าเสร็จทำบุญก็ไปไหว้ปู่ย่าพ่อแม่บรรพชนใต้พระนอน วัดหาดใหญ่ใน


เสร็จจากทำบุญไหว้บรรพชน ก็เพื่อกราบญาติผู้ใหญ่ที่เคารพรักนับถือ ซึ่งการเลือกพักที่ลลิตา ซึ่งอยู่ในเมืองหาดใหญ่ เพราะอยู่ใกล้วัด และใกล้คลองแห่ บ้านของพี่สาวพี่ชายและญาติผู้ใหญ่ที่มีพระคุณกับเรา มาทุกครั้งก็แวะกราบท่านก่อน และจะแวะมาทุกวัน ซึ่งช่วงนี้คงต้องไปบ่อยขึ้น


หลังอยู่บ่ายไชยชนะ จนบ่ายๆ ก็เหมือนเดิม เดินทางเข้าสงขลาไปเที่ยวต่อละนะ น้องชายเลิกงานหลานกลับจากโรงเรียนพอดี วันนี้ไปดูลิง ขึ้นเขาตังกวนกัน
เขาตังกวน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในอ.เมือง จ.สงขลา เป็นเนินเขาสูง จากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต จากยอดเขาตังกวนนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองสงขลาได้โดยรอบ บนยอดเขาตังกวนเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์พระธาตุคู่เมืองสงขลาซึ่งสร้างในสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี(อยู่บนยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ฟุต ) โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) ได้พระราชทานเงินหลวงให้เป็นทุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์
เขาตังกวนตั้งอยู่ในตัวเมืองสงขลาใกล้หาดสมิหลา สามารถขึ้นลิฟท์ที่สถานีลิฟท์เขาตังกวน ณ บริเวนถนนตัดระหว่างเขาตังกวนและเขาน้อย ค่าบริการ ผู้ใหญ่คนละ 30 บาท เด็ก 20 บาท โดยเปิดบริการในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. และ ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 8.00-19.00 น. หรือหากอยากออกกำลังก็มีบรรไดขึ้นไปบนเขาได้

ทะเลสาบสงขลา
ทะเลสาบสงขลา
ระฆังหัวใจ
จับล็อคกุญแจรัก


ตำนาน “เกาะหนูเกาะแมว” เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของแหลมสมิหลา ที่มีเรื่องเล่าต่อกันมาว่า มีพ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งคุมเรือสำเภาเดินทางมาค้าขายระหว่างจีนกับสงขลาเป็นประจำ วันหนึ่งพ่อค้าผู้นี้ได้ซื้อหมากับแมวลงเรือไปเมืองจีนด้วย หมากับแมวอยู่บนเรือนาน ๆ เกิดความเบื่อหน่าย จึงปรึกษาหาวิธีการที่จะกลับบ้าน หมากับแมวได้ทราบว่าพ่อค้ามีดวงแก้ววิเศษที่ทำให้ไม่จมน้ำ แมวจึงคิดอุบายโดยให้หนูไปขโมยแก้ววิเศษของพ่อค้ามา และหนูขอหนีขึ้นฝั่งไปด้วย
ทั้งสามว่ายน้ำหนีลงจากเรือโดยที่หนูอมดวงแก้วเอาไว้ในปาก ขณะนั้นหนูนึกขึ้นได้ว่าถ้าถึงฝั่ง หมากับแมวคงจะแย่งเอาดวงแก้วไปจึงคิดที่จะหนี ฝ่ายแมวซึ่งว่ายตามหลังมาก็คิดเช่นกัน จึงว่ายน้ำรี่ไปหาหนู หนูตกใจว่ายน้ำหนีไม่ทันระวังตัว ดวงแก้ววิเศษที่อมไว้จึงตกลงจมหายไปในน้ำ หนูและแมวต่างก็หมดแรงจมน้ำตายกลายเป็น “เกาะหนูเกาะแมว” อยู่ที่อ่าวหน้าเมือง
ส่วนหมาตะเกียกตะกายว่ายน้ำไปจนถึงฝั่งและสิ้นใจตายด้วยความเหน็ดเหนื่อย และกลายเป็นหินบริเวณ “เขาตังกวน” อยู่ริมอ่าวสงขลา ดวงแก้ววิเศษที่หล่นจากปากหนูแตกละเอียดกลายเป็น “หาดทรายแก้ว” อยู่ทางด้านเหนือของแหลมสน

เกาหนูเกาะแมว


สงขลาเมืองแห่งทะเลสาบแดนใต้ ที่นี่มีสถานที่ท่องที่ท่องเที่ยวมากมาย โดยเฉพาะที่เที่ยวที่เกี่ยวกับธรรมชาติและวัฒนธรรม
ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้างรูปแบบอาคารบ้านเรือนที่ได้รับการผสมผสานศาสตร์แห่งเชิงช่างโบราณอันมีเสน่ห์หลอมรวมวัฒนธรรมทั้งไทย จีน มุสลิม และตะวันตก ไว้ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสความงดงาม โดยในพื้นที่ย่านเมืองเก่ามีรูปแบบสถาปัตยกรรม 4 ชนิด 1. ตึกแถวแบบจีนดั้งเดิม 2. ตึกแถวแบบจีนพาณิชย์ 3. ตึกแถวแบบจีนสมัยใหม่ 4. ตึกแถวแบบสงขลาดั้งเดิม (ชิโน-ยูโรเปี้ยน)

โรงสีแดง หับ โห้ หิ้น โรงสีข้าวโบราณอายุกว่า 100 ปี

เมื่อปี พ.ศ.2457 รองอำมาตย์ตรีขุนราชกิจการี(จุ่น เลี่ยง ลิ้มเสาวพฤกษ์) เปิดกิจการโรงสีข้าว ที่บ้านเลขที่ 13 ถนนนครนอก ริมทะเลสาบสงขลาชื่อโรงสี “หับ โห้ หิ้น” ผู้คนเรียกว่าโรงสีแดง เพราะอาคารทั้งหลังทาด้วยสีแดง ช่วงเริ่มกิจการเป็นโรงสีข้าวขนาดเล็ก สั่งเครื่องจักรมอเตอร์ในการสีข้าวมาจากปีนัง มีคุณสุชาติ รัตนปราการเป็นผู้จัดการต่อมาเปลี่ยนมาใช้แกลบเป็นเชื่อเพลิงทำให้โรงสีเดินด้วยกำลังไอน้ำโดยสั่งเครื่องจักรมาจากอังกฤษ มีคนงาน 30 – 50 คน ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง มีการทำงานเป็นกะเป็นโรงสีขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในยุคนั้น รับสีข้าวจากพื้นที่ปลูกข้าวรอบทะเลสาบสงขลา สามารถผลิตข้าวสาร จำหน่ายแก่ประชาชนในสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านอาทิ เปรัค และอีโป ในประเทศมาเลเซีย เป็นต้นในปี พ.ศ.2490 พื้นที่รอบนอกสงขลามีการสร้างโรงสีขนาดเล็ก ทำให้ข้าวเปลือกที่จะป้อนโรงสีลดลงจึงต้องยุติกิจการโรงสีข้าวมาทำกิจการโรงน้ำแข็งขนาดเล็กจำหน่ายในชุมชน และเปลี่ยนเป็นโกดังเก็บยางพาราสำหรับลำเลียงขนถ่ายไปยังเรือเดินสมุทร ซึ่งจอดอยู่ที่เกาะหนู เพื่อขนส่งไปยังต่างประเทศ และเมื่อมีท่าเรือนน้ำลึกสงขลา การขนส่งยางพาราด้วยเรือลำเลียงจึงต้องหยุดกิจการมาเป็นท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กแทน

วันเวลาล่วงผ่านมากว่า 100 ปี โรงสีแดงยังคงยืนเด่นเป็นสัญลักษณ์ของถนนนครนอกและเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสงขลาไว้เฉกเช่นในอดีต เพราะทายาทรุ่นหลังของตระกูลได้ช่วยกันทำนุบำรุงอาคารโรงสี ทำการซ่อมแซมโครงสร้าง ส่วนประกอบอาคาร ตลอดจนทาสีภายนอกอาคารอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สภาพอาคารและปล่องไฟโรงสีแดง ยังคงความสมบูรณ์อยู่ในสภาพเดิม สามารถรักษาคุณค่าทางสถาปัตยกรรม เอาไว้ได้เป็นอย่างดี จนได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2554 ประเภทอาคารพาณิชย์จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ “หลาดสองเล เก๋า เท่ ริมเลสาบ” ตลาดนัดบนถนนสายวัฒนธรรม
ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือน  เวลา 17.00 – 22.00 น. บนถนนนครนอก ย่านเมืองเก่าสงขลา



เมื่อบรรพชนเป็นชาวสงขลา ก็ขอนำข้อมูลของสงขลามาให้ได้ทัศนากันนิดหน่อย ขอขอบคุณเพจ สำนักงานภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง