กทพ. ลดค่าผ่านทางพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตร Easy Pass ตั้งแต่ 5% ขึ้นไป/เที่ยว ทุกด่าน ทุกสายทาง จำนวน 122 ด่าน ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 30 วัน เริ่ม 4 มกราคม 2563 นี้
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ประกาศให้ส่วนลดค่าผ่านทางพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตร Easy Pass 5% ซึ่งหากมีเศษสตางค์จะปัดเศษทิ้งเพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้บัตรฯ โดยจะให้ส่วนลดทุกด่านฯ จำนวน 122 ด่าน ทุกสายทางพิเศษ ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2563 เวลา 00.01 น. จนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 24.00 น.
ดร.สุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ ผู้ว่าการ กทพ. เปิดเผยรายละเอียดในเรื่องนี้ว่า การให้ส่วนลดค่าผ่านทางพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตร Easy Pass ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ แล้ว จะยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ รวมถึงช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้ทางพิเศษสมัครใช้บัตร Easy Pass มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมียอดผู้สมัครใช้บัตร Easy Pass ตั้งแต่เปิดให้บริการในปี 2553 จนถึงปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.7 ล้านบัตร มีปริมาณจราจรที่ใช้บัตร Easy Pass เฉลี่ยต่อวันจำนวนกว่า 7.6 แสนเที่ยว คิดเป็นสัดส่วน 41.98% ของปริมาณรถทั้งหมดที่ใช้ทางพิเศษ โดยทางพิเศษที่มีรถใช้บัตร Easy Pass มากที่สุด ได้แก่ ทางพิเศษบูรพาวิถี
“การให้ส่วนลดค่าผ่านทางพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตร Easy Pass คาดว่าจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ทางพิเศษที่ชำระค่าผ่านทางพิเศษด้วยเงินสดหันมาใช้บัตร Easy Pass มากยิ่งขึ้น และนอกจากจะได้ส่วนลด ค่าผ่านทางพิเศษแล้ว ยังจะช่วยให้ผู้ใช้บัตรฯ ได้รับความสะดวกในการผ่านทางพิเศษไม่ต้องจอดรถ เตรียมหรือหาเงินชำระค่าผ่านทางพิเศษ ไม่ต้องเปิดกระจกรถ โดยการใช้ส่วนลด 5% นั้น หากมีเศษสตางค์จะปัดเศษทิ้ง ยกตัวอย่างเช่น ค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษเฉลิมมหานคร จะอยู่ที่ 50 บาท ได้ส่วนลด 5% จะคงเหลือ 47.50 บาท และปัดเศษทิ้งจะเหลือค่าผ่านทางพิเศษสำหรับผู้ใช้บัตร Easy Pass เพียง 47 บาท หรือทางพิเศษฉลองรัช ที่ด่านฯ รามอินทรา เป็นเงิน 40 บาท ได้ส่วนลด 5% คงเหลือ 38 บาท ไม่มีเศษสตางค์ เป็นต้น ทั้งนี้ อยากเชิญชวนผู้ใช้ทางพิเศษสมัครใช้บัตร Easy Pass กันเยอะๆ โดยปัจจุบันสามารถสมัครใช้บัตรได้หลายสถานที่และหลายช่องทาง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1543 ตลอด 24 ชั่วโมง”
การเติมเงิน Easy Pass
1. ผ่านหน่วยงานภายนอกการทางพิเศษฯ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ร่วมกับพันธมิตรในโครงการเติมเงินบัตร Easy Pass สำหรับการใช้บริการระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ เปิดให้บริการเติมเงินสำรองค่าผ่านทางพิเศษบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการบัตร Easy Pass ผ่านช่องทางบริการต่างๆ ของพันธมิตรทั้ง 15 ราย คือ
ลำดับ | หน่วยงาน | Link |
---|---|---|
1 | ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) | Link |
2 | ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) | Link |
3 | ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) | Link |
4 | ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) | Link |
5 | ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) | Link |
6 | ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) | Link |
7 | ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) | Link |
8 | ธนาคารออมสิน | Link |
9 | จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ทั่วประเทศ | |
10 | จุดให้บริการ Tesco Lotus ทั่วประเทศ | |
11 | การเติมเงินผ่าน แอพพลิเคชั่น TrueMoney Wallet | |
12 | การเติมเงินด้วยบัตรเครดิต Master Card ผ่าน แอพพลิเคชั่น easyBills | Link |
13 | การเติมเงินผ่านช่องทางเคาน์เตอร์รับชำระ CenPay | |
14 | การเติมเงินผ่านช่องทาง mPay Wallet เเละ จุดรับชำระ mPay Station | |
15 | การเติมเงินผ่านช่องทางเคาน์เตอร์บิ๊กซี |
2. ผ่านหน่วยงานภายในการทางพิเศษฯ
2.1 ศูนย์บริการลูกค้า Easy Pass
ลำดับ | สถานที่ | เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) | แผนที่ |
---|---|---|---|
1 | One Stop Service (สำนักงานใหญ่) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย | 08.30 น. – 15.30 น. | แผนที่ |
2 | Easy Pass Fast Service (ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช CCB3) | 09.30 น. – 15.30 น. | แผนที่ |
3 | Easy Pass Fast Service (จุดพักรถ ปั้ม ปตท. บางนา(ขาออก)) | 09.30 น. – 15.30 น. | แผนที่ |
4 | Customer Service บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) | 09.00 น. – 17.00 น. | แผนที่ |
2.2 อาคารด่านเก็บค่าผ่านทาง
ลำดับ | ทางพิเศษ | อาคารด่าน |
---|---|---|
1 | เฉลิมมหานคร | ทุกด่านฯ |
2 | ศรีรัช | ทุกด่านฯ |
3 | ฉลองรัช | ทุกด่านฯ |
4 | บูรพาวิถี | ทุกด่านฯ |
5 | อุดรรัถยา | ทุกด่านฯ |
6 | กาญจนาภิเษก | ยกเว้น บางครุ 3 และ เทพารักษ์ |
7 | ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ | ทุกด่านฯ |
EXAT Portal Applicaton
EXAT Portal Applicaton ดาวน์โหลดฟรีได้เเล้ววันนี้
คู่มือการใช้ คู่มือการใช้บริการทางพิเศษ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
แผนที่การทางพิเศษ
1. In Bangkok.ai.pdf แผนที่โครงการทางพิเศษ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้กำหนดแผนแม่บทของระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งระบบทางพิเศษระหว่างเมือง ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ
2. Bangna-Chonburi2.ai.pdf แผนที่ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางด่วนสายบางนา – ชลบุรี) ระยะทาง 55.0 กิโลเมตร
มีจุดเริ่มต้นที่ บริเวณบางนา-ตราด (กม. 2 + 500) ไปถึงชลบุรี (กม. 55 + 350) เปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543
3. Bangpain-Parkged.ai.pdf แผนที่ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน – ปากเกร็ด) ระยะทางรวม 32 กิโลเมตร
มีจุดเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ – บางไทร โดยระยะที่ 1 จากถนนแจ้งวัฒนะ – เชียงราก และต่อเชื่อมกับถนนทางเข้ามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 22 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 2 ธันวาคม 2541 และระยะที่ 2 จากเชียงราก – บางไทร ระยะทาง 10 กิโลเมตร เปิดให้บริการ 1 พฤศจิกายน 2542
4. Bangplee.ai.pdf แผนที่ทางพิเศษสายบางพลี – สุขสวัสดิ์