สาเหตุและวิธีป้องกัน! ไวรัสโคโรน่า-covid19


อาการของคนที่ติดโรค COVID-19 COVID-19 จะมีไข้และมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อ.เจษฎ์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กเพจ เผยถึงสามารถดูอาการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการตรวจสอบได้ ตามรายงานของคณะผู้ตรวจสอบขององค์การอนามัยโลก ที่ลงไปสำรวจในพื้นที่ระบาดของโรคในประเทศจีน ดูจากคนไข้ที่ยืนยันว่าติดเชื้อแล้วจำนวน 55924 ราย พบว่า

  • เป็นไข้ (87.9%)
  • ไอแห้ง (67.7%)
  • อ่อนเพลีย (38.1%)
  • มีเสมหะ (33.4%)
  • หายใจถี่ (18.6%)
  • เจ็บคอ (13.9%)
  • ปวดหัว (13.6%)
  • ปวดกล้ามเนื้อ หรือ ปวดข้อ (14.8%)
  • หนาวสั่น (11.4%)
  • คลื่นไส้ หรือ อาเจียน (5.0%)
  • คัดจมูก (4.8%)
  • ท้องเสีย (3.7%)
  • ไอเป็นเลือด (0.9%)
  • เยื่อบุตาอักเสบ (0.8%).

ดังนั้น จะเห็นว่าอาการส่วนใหญ่ของคนที่ติดโรค COVID-19 นั้น จะมีไข้และมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ซึ่งรายงานระบุว่า โดยเฉลี่ยจะเกิดขึ้น 5-6 วันหลังติดเชื้อ ซึ่งระยะการฟักตัวของเชื้อนั้นอยู่ที่ 1-14 วัน


ความแตกต่างของอาการไข้หวัดทั่วไปกับCOVID-19

สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์สามารถตรวจหาเชื้อไวรัส โควิด-19 ได้ฟรี สามารถตรวจได้ที่ โรงพยาบาบรัฐฯ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ , โรงพยาบาลราชวิถี , โรงพยาบาลศิริราช , โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยกำหนดเกณฑ์ 2 กรณี ได้แก่

  1. มีประวัติการเดินทางไปกลับ 9 ประเทศสุ่มเสี่ยง ได้แก่ จีน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี อิหร่าน สหรัฐ
  2. มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น เหนื่อย หอบ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ รวมถึงมีไข้ 37.5 องศา รวมถึงบุคลที่อยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยง เช่น ลูกเรือสายการบิน คนขับรถบริการนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะเคยบริการกลุ่มประเทศที่เสี่ยงและบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลเคสผู้ป่วย

สรุปไวรัสโคโรน่า แบบเข้าใจง่ายๆ สาเหตุและวิธีป้องกัน!

ไวรัส covid 19
  • ไวรัสโคโรน่าเกิดจากค้างคาว ซึ่งเป็น #สัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันสูงสุดในโลก ค้างคาวไม่เคยเจ็บป่วย แต่มันเพาะเชื้อโรคได้
  • คนกินค้างคาวได้ถ้าปรุงสุก ไม่มีปัญหา แต่ถ้าค้างคาวกินผลไม้แล้วเราเอามากิน เสี่ยง!!
  • ไวรัสโคโรน่ามาจากคำว่า #คราว ที่แปลว่า มงกุฏ เพราะตัวมันแหลมๆ สามารถเกาะติดกับปอดได้ดีกว่าไวรัสอื่น
  • ไวรัสโคโรน่านี้ไม่รุนแรง เป็นแล้วหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา แต่ต้องรักษาตามอาการ เช่น ตัวร้อน ไข้ ไอ หายใจไม่สะดวก ฯลฯ
  • คนที่เคยเป็นแล้ว จะมีภูมิคุ้มกัน จะไม่เป็นอีก ส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตคือคนแก่ เนื่องจากร่างการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน อาการแทรกซ้อนอื่นๆ
  • ไวรัสโคโรน่าอยู่ในอากาศได้ 1 ชั่วโมงก็ตาย ทำให้การติดไปกับสิ่งของ พัสดุ เป็นไปไม่ได้เลย
  • ไวรัสโคโรน่าตายด้วยแอลกอฮอล 70% ขึ้นไป เจลล้างมือช่วยได้ ส่วนเหล้าขาว 60% ก็พอช่วยได้ แต่เมามาก
  • ไวรัสโคโรน่่าตายในอุณหภูมิ 57องศา ขึ้นไป เจอแดดก็คือจบแล้ว ปรุงอาหารเกือบสุกก็ตายแล้ว
  • ไวรัสโคโรน่าอยู่ในอากาศไม่ได้ ต้องอยู่กับเมือกเท่านั้น ซึ่งคือการไอ จาม (แบบมีน้ำลายติด) หรือเมือกน้ำลาย ถ้าไม่โดนจังๆ ไม่มีทางติด
  • ติดทางตาไม่ได้ #ยกเว้นกรณีร้ายแรงสุดคือ ถ่มน้ำลายใส่ตา ใครทำคือสุดมาก

ความน่ากลัวมีอย่างเดียวคือ ระยะฟักตัว 14 วัน ซึ่งไม่แสดงอาการอะไรเลย เพราะไวรัสโตช้า ตายง่าย แต่ใน 14 วันนี้สามารถติดคนอื่นได้ ซึ่งมีกรณีเดียวคือการถ่มน้ำลายใส่ เพราะช่วง 14 วันนี้จะยังไม่มีการไอ หรือจามออกมา

  • ความรุนแรง อัตราการเสียชีวิต ถือว่าเบากว่า SARS MERS มาก แต่ด้วย 14 วันไม่แสดงอาการ ทำให้ระบาดง่ายกว่า คือถ้าเห็นว่าป่วยไปเลยยังหลีกหนีได้ แต่ถ้าไม่เห็นอาการเราไม่รู้เลยว่าใครติดไวรัส
  • อาการเป็นแล้วล้มลงเลย ตายทรมาน ฯลฯ มาจากข่าวปลอมทั้งนั้น ส่วนใหญ่มาจากหนังเรื่อง Flu ปี2014 ซึ่งมีการแค็ปภาพออกมาใช้เยอะที่สุด

Credit :ข้อมูลของ
นายแพทย์ พิเชฐ บัญญัติ
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

วิธีสังเกตอาการ

หากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการออกมาภายใน 1 วัน ถึง 2 สัปดาห์ หลังจากได้รับเชื้อ โดยอาการเริ่มแรกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมี ไข้ ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หายใจหอบเหนื่อย ถ่ายเหลวท้องเสีย หากผู้ป่วยมีร่างกายไม่แข็งแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ จะทำให้มีความรุนแรงถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้

วิธีป้องกัน

เบื้องต้นทุกคนสามารถป้องกันตัวเองและคนรอบข้างให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ดังนี้

– เลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ
– เลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นที่เป็นรังโรค และเมืองอื่น ๆ ในประเทศจีนที่มีการระบาด
– ระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่
– ควรล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที
– งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
– เลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
– ทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
– สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยตรง ควรใส่หน้ากาก
อนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา

ป้องกันตัวเองกัน ขึ้นเครื่องบินอย่างไร จึงจะไม่ติดเชื้อหวัด ไข้หวัดรวมทั้ง covid19 ด้วย เครดิต : พญ.ลลิตา. ธีระสิริ.


เนื่องจากสนามบิน และเครื่องบินถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เสี่ยงในการติดเชื้อ เราจะป้องกันตัวเองอย่างไรดี

แม้ว่าจะมีคนบอกว่าเครื่องบินรุ่นใหม่ ไม่อับอากาศเพราะเขาใช้วิธีกรองอากาศเทคโนโลยีแบบเดียวกับห้องผ่าต้ดก็ตาม หรือบอกว่าเขาพ่นยาฆ่าเชื้อและเช็ดทำความสะอาดทุกครั้งก่อนที่ผู้โดยสารจะขึ้นเครื่องก็ตาม
เราควรมีมาตรการส่วนตัวเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อลงอีก ดังนี้

วิธีการล้างมือ จาก Health Dee

  1. พกเจลล้างมือแบบพกพาไปด้วยแล้วล้างมือบ่อย ๆ
    เพราะเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ มันเกาะติดไปกับน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย แล้วคนที่เป็นโรคนี้อาจจะเผลอเอาไปป้ายตามพนัก ทึ่เปิดช่องเก็บของ โต๊ะวางถาดอาหาร ประตูห้องน้ำฯลฯ
    ไวรัสสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้น 2-9 ชั่วโมง และถูกกำจัดได้ด้วยแอลกอฮอล์
    ดังนั้นหากจับหรือสัมผัสกับสิ่งใดที่สนามบินหรือบนเครื่องบิน ให้ล้างมือทันที และล้างมือให้บ่อยเข้าไว้
    ..เก็บของเหนือศีรษะเสร็จ นั่งลงเรียบร้อย ให้ล้างมือ
    ..เปิดที่วางถาดอาหารแล้วให้ล้างมือ
    ..เข้าห้องน้ำ กลับมาถึงที่นั่งให้ล้างมือ ฯลฯ
  2. อย่าเอามือสัมผัสใบหน้าเด็ดขาด โดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนที่ปาก จมูกและตา เนื่องจากไวรัสเข้าร่างกายผ่านทางเยื่ออ่อนเหล่านี้ได้
    สำหรับเด็กต้องสอน และกำชับเรื่องเอามือเข้าปากให้บ่อยเข้าไว้
  3. ใส่ผ้าปิดปากอนามัยทุกครั้งที่ขึ้นเครื่อง โดยให้ครอบจมูก บีบลวดให้ตัวผ้าแนบสันจมูกให้มิด แล้วดึงหน้ากากอนามัยให้ปิดลงมาถึงคาง
    แม้ว่าองค์การอนามัยโลกจะบอกว่าถ้าไม่ป่วยไม่จำเป็นต้องปิดปากก็ตาม
    บนเครื่องที่นั่งแออัด การใส่ผ้าปิดปากจะได้ป้องกันการไอจามรดกัน
    อีกอย่าง การที่มีผ้าปิดหน้า เป็นการเตือนตนเองว่าอย่าเอามือไปสัมผัสใบหน้า
    เวลาถอดผ้าปิดปาก ให้พับเอาด้านสีเขียวเข้าข้างใน พยายามอย่าเอามือไปสัมผัสด้านสีเขียวอีก เอาสายรัดไว้แล้วโยนทิ้ง
    ให้ใช้หน้ากากกระดาษเพียงครั้งเดียว ไม่ใช้ซ้ำ
    ถ้าหน้ากากเป็นผ้า ถึงบ้านให้ถอดซักทันที
  4. ถ้าไม่จำเป็น ไม่ต้องกินอาหาร ชา กาแฟ และน้ำบนเครื่อง จะได้ไม่ต้องถอดหน้ากากออก และลดรายการสัมผัสลง
  5. เมื่อกลับถึงบ้าน ถือเป็นความจำเป็น ต้องล้างมือซ้ำด้วยน้ำกับสบู่ทุกครั้ง
  6. หาทางเพิ่มภูมิต้านทานให้ตัวเองโดยกินวิตามินซีชีวภาพ 1-2 กรัมในวันเดินทาง วิธีนี้จะช่วยประกันการป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีกทางหนึ่ง

ข้อมูลของ covid19 ที่ควรตระหนักรู้

จีน ระบุผู้ป่วย COVID-19 อาจไม่ไข้สูง-หลุดรอดเป็น “นักแพร่เชื้อ”

4 มีนาคม 2563 นักวิจัยจีน ค้นพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( COVID-19 ) อาจไม่มีอาการไข้หรือผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ที่ผิดปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ที่ไม่มีไข้หลุดรอดการเฝ้าระวังที่มุ่งเน้นการตรวจวัดไข้เป็นหลัก และกลายเป็นนักแพร่เชื้อ

4 มี.ค.2563 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่าคณะนักวิจัยจีน นำโดยผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจชื่อดัง ค้นพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ( COVID-19 ) อาจไม่มีอาการไข้หรือผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) ที่ผิดปกติ

การค้นพบดังกล่าวเผยแพร่ผ่านบทความในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England Journal of Medicine) เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งมีจงหนานซาน (Zhong Nanshan) ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินหายใจของจีนเป็นผู้เขียนหลัก

นักวิจัยพบว่าไข้ และไอเป็นอาการที่พบมากที่สุด ส่วนอุจจาระร่วงหรือท้องเสียเป็นอาการที่พบไม่บ่อย โดยผู้ติดเชื้อราวร้อยละ 43.8 ในการศึกษาครั้งนี้มีไข้เมื่อเข้าโรงพยาบาล และตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88.7 หลังอาการของโรคเริ่มรุนแรง

ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ไม่มีอาการไข้เกิดขึ้นบ่อยกว่ากรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนาก่อโรคซาร์ส และโรคเมอร์ส จึงอาจทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ไม่มีไข้หลุดรอดการเฝ้าระวังที่มุ่งเน้นการตรวจวัดไข้เป็นหลัก

ไม่พบความผิดปกติในปอดของกลุ่มผู้ติดเชื้อ

การศึกษายังอธิบายลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อไวรัส COVID-19 โดยอ้างอิงข้อมูลจากผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันผล จำนวน 1,099 คน ซึ่งรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 552 แห่งของภูมิภาคระดับเทศบาลนคร เขตปกครองตนเอง และมณฑลทั่วจีน รวม 30 แห่ง

ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ราวร้อยละ 56.4 มีผลการเอ็กซเรย์ทรวงอกด้วยคอมพิวเตอร์ที่พบจุดขาวพร่าในปอด แต่ไม่พบความผิดปกติดังกล่าวในผู้ติดเชื้อ 157 คนจาก 877 คนที่อาการไม่รุนแรง (17.9%) และไม่พบใน 5 คน จาก 173 คนที่อาการรุนแรง (2.9%)

ขณะเดียวกันยังตรวจพบภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ต่ำ (Lymphocytopenia) ในผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ โดยผู้ติดเชื้อในการศึกษาครั้งนี้มีอายุเฉลี่ย 47 ปี ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเฉลี่ย 4 วัน ร้อยละ 41.9 เป็นผู้หญิง และอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 1.4 ซึ่งสอดคล้องกับสถิติทางการ

นอกจากนั้นมีผู้ติดเชื้อในการศึกษาครั้งนี้เพียงร้อยละ 1.9 ที่มีประวัติสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง ขณะที่ผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้อาศัยในอู่ฮั่นร้อยละ 72.3 เคยติดต่อใกล้ชิดกับคนจากอู่ฮั่น และร้อยละ 31.3 เคยเดินทางเยือนอู่ฮั่นอันเป็นศูนย์กลางการระบาด

ผลการศึกษาเสริมว่าอาจตรวจพบไวรัส COVID-19 ในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงน้ำลายและปัสสาวะของผู้ติดเชื้อบางราย จึงแนะนำให้มีการดำเนินมาตรการปกป้องสุขภาพที่เข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น นักวิจัยจีนกลุ่มนี้ ไม่ปฏิเสธการมีอยู่ของ “นักแพร่เชื้อ” (super-spreader)


Wuhan woman with no symptoms infects five relatives with coronavirus – study – Reuters

น่ากลัวกว่าที่คาด! พบผู้ป่วย Covid-19 กลับมาเป็นซ้ำได้อีกครั้งในญี่ปุ่น

27/02/2020 ก่อนหน้านี้มีข่าวไกด์หญิงคนหนึ่งที่ติดเชื้อ Covid-19 ในญี่ปุ่นเข้ารับการรักษาตัวกับทางโรงพยาบาลในเมืองโอซกา จนผลตรวจออกมาเป็นลบ และถูกปล่อยตัวให้กลับบ้าน แต่ข่าวล่าสุดรายงานว่าหลังจากที่เธอกลับมารับการตรวจซ้ำ ตอนนี้เชื้อในร่างกายของเธอมีผลตรวจเป็นบวกอีกแล้ว

เมื่อวันที่ 29 มกราคม เธอได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อ Covid-19 หลังจากนั้นเธอก็เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่โอซากาจนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ อาการของเธอก็ดีขึ้นจนทางโรงพยาบาลปล่อยตัวกลับบ้าน ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เธอกลับไปตรวจร่างกายซ้ำเพื่อความแน่ใจพบว่าผลตรวจเป็นลบ (ไม่พบเชื้อ)

หลังจากนั้นเธอก็กลับมาพักที่บ้าน แต่! หลังจากนั้นเธอก็มีอาการเจ็บคอ และเจ็บหน้าอก เธอจึงตัดสินใจกลับไปเข้ารับการตรวจอีกครั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ผลปรากฏว่าเป็นบวก พบเชื้อในร่างกายของเธออีกครั้งหนึ่ง แต่โชคดีที่ตลอดระยะเวลาที่เธอถูกปล่อยตัวกลับมาพักที่บ้านเธอสวมหน้ากาก และหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนอยู่ตลอด

รัฐบาลประจำจังหวัด Osaka ระบุว่ามีความเป็นไปได้ 2 อย่างที่อาจเกิดขึ้นกับหญิงคนนี้

กรณีแรก คือ เธออาจได้รับเช้อซ้ำอีกครั้งในระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่กรณีนี้อาจารย์แพทย์ของมหาวิทยาลัยโอซากากลับมองว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะปกติร่างกายเราจะสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำอยู่แล้ว นอกจากว่าร่างกายของเธอยังไม่แข็งแรงพอที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์

กรณีที่สอง คือ เชื้อนี้อาจมีการหลบอยู่ในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อรอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอและแสดงอาการขึ้นมาอีกครั้ง

ข่าวนี้ทำให้เราเห็นว่าความจริงแล้วยังไม่มียาหรือวิธีการใดที่สามารถรักษาเชื้อ Covid-19 ให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นช่วยกันระวังการแพร่เชื้อ และคอบเฝ้าสังเกตุอาการของตัวเองกันด้วยนะคะ เพื่อตัวเราและส่วนรวม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง