ประกาศเร็ว แต่มีผลบังคับช้าไปนิด อสม. ผู้นำชุมชน ช่วยกันเข้มงวดระมัดระวัง

ศบค.ปรับพื้นที่ จว.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 64 เป็นต้นไป

(อ่านต้นฉบับประกาศราชกิจจานุเษกษา)

ศบค.ออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติ ฯ บังคับใช้ ณ วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน เป็นต้นไป โดยออกประกาศในราชกิจานุเษกตั้งแต่วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน ทำให้สื่อและเพจต่างๆ รวมทั้งประชาชนต่างมีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ว่า

ข้อกำหนดและข้อปฏิบัติฯ มีผลบังคับใช้ช้าเกินไป แรงงานในแคมป์ก่อสร้าง ฯลฯ ต่างออกจากพื้นที่ กลับภูมิลำเนา ทำให้การควบคุม covid-19 ยากมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ covo-19 กระจายไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัด เพราะไม่ได้มีการตรวจหาเชื้อโดยเฉพาะแรงงานในพื้นที่เสี่ยง

จากจนท.ไม่สามารถใช้กม.บังคับใช้และปฏิบัติห้ามการเคลื่อนย้ายฯ ได้ทันที ดังปรากฎการณ์ “รถติดถนนมิตรภาพ” และ”ภาพการออกจากพื้นที่ของคนงาน” ซึ่งแรงงานไม่ได้ฝาฝืนกม. แต่ กม.บังคับใช้ช้าเกินไปและไม่ได้บังคับใช้ทันทีทันใดที่ประกาศใช้ จึงมีช่องว่าง 1 วัน จึงเป็นที่กังวัลว่าเชื้อ covid-19 จะกระจายออกต่างจังหวัด

การจราจรมิตรภาพขาออก ช่วงเย็นวันที่ 27 มิ.ย.

ผู้นำชุมชน หมู่บ้าน อสม. อสส. จนท.ปกครอง สาธารณสุข ตรวจสอบลูกบ้านใกล้ชิด

จึงต้องเป็นหน้าที่ของพื้นที่จังหวัดปลายทาง ทั้ง อสม.อสส. จนท.ปกครอง จนท.สาธารณสุข ในพื้นที่จะต้องช่วยกันเข้มงวดกับแรงงาน หรือบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ให้กักตัวอยู่ในสถานที่บ้าน หรือที่รัฐจัดให้ เพื่อความสบายใจ ปลอดภัยของคนในพื้นที่นั้นๆ

และผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสียงเข้าพื้นที่จังหวัดใด ก็ควรรับผิดต่อสังคมส่วนรวม แจ้งอสม. ผู้ใหญ่ กำนัน สาธารณสุข ฯลฯ ทราบ เพื่อรับผิดชอบต่อครอบครัวและประชาชนในพื้นที่ส่วนรวมเช่นกัน

เข้มงวด ผู้เดินทางมาจากจังหวัดเสี่ยงเข้าพื้นที่

ศบค.ปรับพื้นที่ จว.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด สรุปสาระประเด็นหลักๆ (อ่านต้นฉบับประกาศราชกิจจานุเษกษา) ดังนี้

  1. กรุงเทพมหานคร
  2. นครปฐม
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. สมุทรปราการ
  6. สมุทรสาคร
  7. สงขลา
  8. ปัตตานี
  9. ยะลา
  10. นราธิวาส
  • ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง ,ห้ามก่อสร้างตามกม.ควบคุมอาคารและห้ามเคลื่อนย้าย อย่างน้อย 1 เดือน (กทม.ปริมณฑล)
  • ห้ามนั่งทานอาหารที่ร้าน รวมห้ามเร่ แผงลอย ให้ซื้อกลับเท่านั้น (กทม.ปริมณฑล)
  • ห้ามจัดงานประชุม สัมมนา (กทม.ปริมณฑล)
  • ห้างให้เปิดถึง 3 ทุ่ม (กทม.ปริมณฑล)
  • ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 20 คน เว้นจนท.อนุญาต (กทม.ปริมณฑล)
  • ตรวจเชิงรุกพื้นที่ระบาด ชุมชน ตลาด หากพบการแพร่ระบาดโควิด-19 ให้ผู้ว่าฯ สั่งปิดเขตชุมชนชั่วคราว (10 จว.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด)
  • เข้มงวดตั้งจุดตรวจเข้า-ออก 4 จังหวัดชายแดนใต้ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แสดงบัตรปชช.และหนังสืออนุญาติเข้าออกพื้นที่
  • ตั้งจุดสกัดแรงงานข้ามเขต (กทม.ปริมณฑล) ดำเนินการเท่าที่จำเป็น
  • ให้ประชาชนงดกิจกรรมทางสังคม สังสรรค์ งานรื่นเริงต่างๆ (10 จว.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด)
  • ลงโทษวินัย หากประชาชนเดือดร้อน จากความบกพร่องของจนท.

ตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 64 เป็นต้นไป

ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34)

ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34)

ยกระดับความเข้มมาตรการในกรุงเทพฯ เพื่อแก้ไขและระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนี้

  1. ปิดแคมป์คนงานก่อสร้างในทุกเขตของพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นเวลา 30 วัน และงดเคลื่อนย้ายแรงงาน
  2. ห้ามนั่งทานอาหาร/เครื่องดื่มในร้าน รับกลับบ้านเท่านั้น
  3. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า เปิดได้ถึง 21.00 น.
  4. ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 20 คน ยกเว้นได้รับอนุญาต
  5. การปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว สำหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรม ตามประกาศกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 32 และ 33)

มีผลตั้งแต่ 28 มิ.ย. 64 เป็นต้นไป

ไฟล์ PDF สำหรับดาวน์โหลด

ยอดผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศรายใหม่ ตามรายภาค

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 จำนวน 3,915 ราย

หมายเหตุ- แหล่งอ้างอิงกระทรวงสาธารณสุข- ข้อมูล ณ เวลา 01:00 น.

เรื่องที่เกี่ยวข้อง