ครม. เคาะเพิ่มอัตราเดียวหมด ช่วยเหลือผู้ประกันตนว่างงานเหตุสุดวิสัยจากโควิด-19 เป็นร้อยละ 62 ของค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน
31 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้ทบทวนอัตราและระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีวางงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย พ.ศ. …. เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกันตนกรณีได้รับผลกระทบสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยมติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจาก มีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากโรคติดต่อ อันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้ ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย โดยให้
– ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน กักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน เดิม อัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน “แก้ไขปรับเพิ่มเป็น อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน”
– กรณีหน่วยงานภาครัฐ มีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เดิม ร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน เป็นระยะเวลา ไม่เกิน 60 วัน “แก้ไขปรับเพิ่มเป็น อัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งทั้งนี้ไม่เกิน 90 วัน”
สำหรับมาตรการดังกล่าวตามที่กระทรวงแรงงานได้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและทบทวนให้เพิ่มอัตราและปรับระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในครั้งนี้นั้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาลที่มีนโยบายที่จะเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้เท่าเทียมกันมากที่สุด
ศูนย์สารนิเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
ตอบคำถามพบบ่อย!
เรื่องเงินสมทบประกันสังคมจากสถานการณ์โควิด-19นายจ้างและผู้ประกันตน33 39 ยังไม่ต้องรีบนำส่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)คณะรัฐมนตรีจึงมีมติช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในเรื่องของการลดอัตราเงินสมทบและขยายเวลาส่งเงินสมทบ ในการนำส่งเงินสมทบพบว่า
สถานประกอบการและผู้ประกันตนยังมีข้อคำถามมากมาย ตนจึงได้เร่งดำเนินการรวบรวมข้อคำถามที่พบบ่อยและทำคำตอบ(ตามภาพ) เพื่อเผยแพร่แก่สถานประกอบการ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้คลายข้อสงสัยในการนำส่งเงินสมทบมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
ลดอัตราเงินสมทบ
– นายจ้าง เหลืออัตราร้อยละ 4 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค.63)
– ผู้ประกันตน มาตรา 33 เหลืออัตราร้อยละ 1 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค.63)
– ผู้ประกันตน มาตรา 39 เหลืออัตราร้อยละ 1.8 ระยะเวลา 3 เดือน (มี.ค. – พ.ค.63)ขยายเวลาส่งเงินสมทบ นายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39 สำหรับงวดเดือน มีนาคม
– พฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือนค่าจ้าง เดือน มีนาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กรกฎาคม 2563ค่าจ้าง เดือน เมษายน 2563 ให้นำส่งภายใน 15 สิงหาคม 2563ค่าจ้าง เดือน พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กันยายน 2563ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น
สำนักงานประกันสังคมได้รวบรวมข้อคำถามที่พบบ่อยพร้อมคำตอบรวมแปดข้อ(ตามภาพ)
และขอเรียนว่า สถานประกอบการ ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 ท่านยังมีเวลาถึง 3 เดือน ในการนำส่งเงินสมทบ แต่หากยังมีข้อสงสัยขอให้ติดต่อสอบถามที่หน้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ผ่านช่องทาง E-mail : info @sso1506.com Webboard (กระดานสนทนา) Live Chat รวมทั้ง Sso Fan page สำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน
ติดต่อประกันสังคมผ่านหน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคมต้องขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากขณะนี้มีผู้ประกันตนติดต่อเข้ามาเป็นจำนวนมาก สำหรับสายด่วน 1506 เปิดบริการ 24 ชั่วโมง และผู้ประกันตนสามารถติดต่อสอบถามผ่านช่องทางระบบสนทนาออนไลน์ เช่น Live Chat ทางเว็ปไซต์ www.sso. go .th และ Facebook Inbox ของสำนักงานประกันสังคม
สถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกรณีนายจ้างไม่ให้ผู้ประกันตนมาทำงานเนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิด ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้กักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการ และกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราวเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบไม่สามารถทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง และหนึ่งในมาตรการของรัฐในการลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือให้ประชาชน ลดการรวมตัวกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 สำนักงานประกันสังคมได้ให้กำหนดช่องทางการให้บริการเป็นพิเศษ โดยการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ให้ยื่นแบบได้ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th หัวข้อขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน online (e-form for sso benefits) โดยผู้ประกันตนกรอกแบบขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย และนายจ้างกรอกแบบรับรองวันที่ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานได้
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า สำหรับผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน และรายงานตัวผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ที่ เว็บไซต์กรมการจัดหางาน เพียงใช้เลขบัตรประชาชนในการเข้าสู่ระบบ ทาง http://empui.doe.go.th/auth/index กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชนพร้อมกรอกเลขหลังบัตรประชาชน (laser Code) จะได้รหัสผ่านเพื่อใช้งานระบบฯ เมื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ผู้ประกันตนยื่นคำขอ รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) e-form บนเว็บไซต์ www.sso.go.th โดยยื่นเอกสารช่องทาง ดังนี้
ล่าสุด ประกันสังคม คืนเงินให้ผู้ประกันตน ม.33 ที่ส่งเงินเกินแล้ว
วันที่ 25 เม.ย. ประกันสังคมออกมาตรการช่วยเหลือ กลุ่มลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33
ด้วยการลดการส่งอัตราเงินสมทบสำหรับลูกจ้าง เหลือเพียง 1% หรือ 150 บาทเท่านั้น จากเดิมในอัตรา 5 % หรือ 750 บาท ส่วนนายจ้าง เหลืออัตรา 4% ตั้งแต่เดือนมี.ค.-พ.ค.2563
ซึ่งหลายบริษัทได้เริ่มลดการส่งอัตราเงินสมทบสำหรับลูกจ้าง เหลือ 1 % หรือ 150 บาท จากเดิม 5 % 750 บาทแล้ว ตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ผ่านมา
ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ส่งเงินประกันสังคมเกินไปแล้วในอัตราเต็ม 750 บาท ทางประกันสังคมจะโอนเงินคืนให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เดือนละ 600 บาท เข้าบัญชีเงินเดือนให้ ซึ่งตอนนี้หลายคนได้รับเงินคืนเรียบร้อยแล้ว